เล่าเรื่องข้าวซอยลำปาง

ข้าวซอย

ข้าวซอย

ชอบ [like] .. การรับประทานข้าวซอย มาแต่เล็กแต่น้อย
ราวปี 2525 ชอบไปรับประทานข้าวซอยหลังโรงหนัง
เป็นข้าวซอยเส้นกลม มีเฉพาะข้าวซอยไก่ กับข้าวซอยเนื้อ
แต่ปัจจุบันลักษณะเส้นข้าวซอยหลายร้านจะแบน
ที่เคยทานจะอยู่ในซอยเล็ก ๆ ตรงข้ามห้างเสรีสรรพสินค้า
สมัยนั้นข้าวซอยก็เหมือน KFC เมื่อ 10 ปีก่อน
เป็นความฝันเล็ก ๆ ของคนบ้านนอก หากได้ลิ้มลอง
เพราะไม่บ่อยนักที่ได้เข้าในตัวเมือง
เข้าทีไรก็ต้องหาอะไรอร่อยสุดยอดเสมอรับประทานเสมอ
เช่น บะหมี่ในตลาดราชวงค์ ก๋วยเตี๋ยวปู่โย่ง
ที่คนแน่นทุกวัน หาที่นั่งไม่ค่อยได้
ถ้วยหนึ่งไม่ถึง 10 บาท อร่อยสุดยอด

โตขึ้นมาหน่อย
เห็นข้าวซอยที่ BigC ลำปาง
ก็ไปอุดหนุนบ่อย ๆ ขายคู่กับก๋วยจั๊บ
ต่อมาไม่นานนัก ก็เลิกขายข้าวซอย ขายแต่ก๋วยจั๊บอย่างเดียว
ส่วนที่ Central Plaza นั้นไม่เคยเห็นข้าวซอย
เห็นคนนิยมทานอาหารฝรั่ง อาหารบุฟเฟ่ต์ ก๋วยเตี๋ยว ลาดหน้า
ข้าวขาหมู ข้ามมันไก่ ข้าวลาดแกง ผัดไทย อาหารญี่ปุ่น
แต่ไม่เห็นข้าวซอย
ระยะหลังเห็นเพื่อนพาแขกต่างเมืองไปทานข้าวซอยบ่อยครั้ง
เพราะเห็นเป็นของหายาก และยากขึ้นทุกวัน
มีร้านในลำปางไม่กี่ร้าน คนลำปางด้วยกันอาจนึกไม่ออกว่ามีด้วยเหรอ
เคยทานข้าวซอยตรงข้ามโรงเรียนปงสนุก ก็เปิดได้ไม่นานนัก
ปัจจุบันเห็นมี ข้าวซอยแม่คำแสน และข้าวซอยโอมา ที่ขึ้นชื่อ
และอยู่ในบริเวณของหมู่บ้านสุขสวัสดิ์ ทั้งสองร้าน

[wiki]
ข้าวซอย คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย
เดิมเรียกว่า “ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ”
เป็นอาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน
มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส
เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล
ในตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว
แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน
บางแห่งอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ
อาหารจานนี้มักไม่ค่อยมีจำหน่ายในร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
จะพบบ่อยก็แต่ทางภาคเหนือของไทย

[ที่มา]
ข้าวซอยมีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิมที่อพยพ
มาอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว
แต่เดิมข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เรียกว่า ข้าวซอยน้ำใส
ต่อมาได้มีการเพิ่มกะทิเข้าไปจนเป็นที่นิยมอย่างมาก
และกลายมาเป็นลักษณะข้าวซอยที่รู้จักกันในปัจจุบัน
ข้าวซอยจึงเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างอาหารจีน
อาหารตะวันออกกลาง และอาหารเอเชียอาคเนย์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ข้าวซอยแม่คำแสน

ข้าวซอยแม่คำแสน

นายบุญชู ตรีทอง

นายบุญชู ตรีทอง

นายบุญชู ตรีทอง

15 มี.ค.57 ได้เอกสารเผยแพร่
ของนายบุญชู ตรีทอง ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.ลำปาง)
ได้มาแล้วก็ต้องอ่านกันหน่อยครับ
เนื้อหาด้านในเรียงร้อยได้ดีมาก
เป็นคำประกาศเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อครั้งรับพระราชทานปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕

http://lampang.tu.ac.th/library/

นายบุญชู ตรีทอง

นายบุญชู ตรีทอง

เทศกาลท่องเที่ยวนครลำปาง : สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองลำปาง

สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองลำปาง

สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองลำปาง

เชิญเที่ยวงานประเพณี
สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองลำปาง
ประจำปี 2557

แกงฮังเลหลวง

แกงฮังเลหลวง
https://www.facebook.com/benyapa.ton/media_set?set=a.341511962627449.1073741849.100003059451266

https://www.facebook.com/benyapa.ton/media_set?set=a.341511962627449.1073741849.100003059451266

จังหวัดลำปาง ผนึกกำลัง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน
จัดงานยิ่งใหญ่ ต่อเนื่อง 1-13 เมษายน 2557
พร้อมเปิด เทศกาลท่องเที่ยวนครลำปาง อย่างเป็นทางการ
โดยกำหนดจัดกิจกรรมสำคัญร่วมกันในช่วงงานประเพณี
สลุงหลวง กลองใหม่ ปีใหม่เมืองลำปาง” ประจำปี 2557 ดังนี้

1-5 เมษายน 2557
งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ รถม้า
ย้อนยุคสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อรถไฟมาถึงนครลำปางครั้งแรก

6 เมษายน 2557
กระทบไหล่ดารา ช่อง 3
Work point บริเวณสวนสาธารณเขลางค์นคร

7-13 เมษายน 2557
เลือกซื้อสินค้า ราคาประหยัด
ของดีนครลำปาง ในเทศกาลอาหารเมืองเหนือ

8 เมษายน 2557
การแข่งขันตีกลอง
ณ บริเวณ สวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา จังหวัดลำปาง

This video is an example of a public relations of local and international drums playing in celebration of the “Songkran Festival – a celebration of Thai New Year” that held in Lampang Province, northern of Thailand in 2010.  This Festival is held in April since 2009 and is regarded as a great event of Lampang.   The Festival was organized under the collaboration of Lampang Province, Municipality of Lampang City, Lampang Provincial Administration Organization, Cultural Office of Lampang Province, Cultural Council of Lampang Province and Dr.Udomsak  Sakmunwong; CIOFF World President.
Objective of the Festival:
1. To promote the preservation and safeguarding of local tradition and culture, especially the performance of Klong Pu Cha Drum (Drum of Worship; a Giant and typical folk drum that can only found in Lampang) that manifested in the form of Klong Pu Cha Drum competition among the youth.
2. To promote a tourism in Lampang – the Horse Carriage City and the Ceramic Town.
Venue of the Festival: 5 Way Intersections of the Clock Tower of the Lampang City and the Khuang Nakorn (The Public Park nearby the Clock Tower).
Amount of the audiences and visitors: 1,000 people/ day.
Number of Foreign Drum Performance Groups: around 5 – 7 countries.
Admission is Free.
Foreign Drum Groups that interested to perform in this event,
please email to: cioff.udomsak@gmail.com 
Cell phone (66) 870902123, (66) 1061938

9-10 เมษายน 2557
ชมแสดงแสง สี เสียง สุดตระการตา
ตอน “เล่าขานตำนานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองลำปาง

11 เมษายน 2557
พ่อเมืองลำปาง ทำพิธีเปิดเทศกาลท่องเที่ยวนครลำปาง
อย่างเป็นทางการ “แอ่วลำปาง ม่วนแต้หนา
ชมการถ่ายทอดสดทั่วประเทศ
ในการประกวดเทพบุตร เทพธิดาสลุงหลวง ประจำปี 2557

12 เมษายน 2557
ชมขบวนแห่ “สลุงหลวง” แห่งเดียวในประเทศไทย
ชิม “แกงฮังเลหลวง” ใหญ่ที่สุดในโลก
ชมขบวนอัญเชิญองค์พระเจ้าแก้วมรกตจากวัดพระธาตุลำปางหลวง
แห่รอบเมืองสู่ข่วงนคร และชมวงดนตรีศิลปินล้านนา ณ ข่วงนครลำปาง

13 เมษายน 2557
ทำบุญตักบาตร รับพรปีใหม่ร่วมกัน
ชมขบวนแห่ “ปี๋ใหม่เมือง”อย่างยิ่งใหญ่
พบศิลปินลูกทุ่งวงใหญ่ เล่นน้ำให้ชุ่มฉ่ำใต้อุโมงค์น้ำบนถนนฉัตรไชย

ข้อมูลปี 2556
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/673/

http://www.youtube.com/watch?v=-b6tKLmuGqM

 

แอ่วลำปาง ม่วนแต้หนา อย่าลืม! เรามีนัดกันที่ลำปาง นครแห่งความสุข

บรรยากาศงานรถน้ำดำหัว .. ปีใหม่เมือง

งานแสดงก่อนประเพณีรดน้ำดำหัว

อบรมผู้ประกาศข่าว โดย เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

album จากผู้เกี่ยวข้อง

album จากผู้เกี่ยวข้อง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิด “การอบรมผู้ประกาศข่าวประจำชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร” โดยมีผู้ประกาศข่าวประจำชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จาก 4 ตำบล ประกอบด้วยตำบลกล้วยแพะ, ตำบลพระบาท, ตำบลชมพู และตำบลปงแสนทอง รวม 63 ชุมชน เข้าร่วมการอบรม

จัดโดยเทศบาลเมืองเขลางค์นคร โดยการนำของ นายไพฑูรย์ โพธิ์ทอง นายกเทศบาลฯ  ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 มีนาคม 2557 8.30 – 16.00น.

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1473540512865357.1073741864.1399580723594670

วิทยากรประกอบด้วย
1. อ.ภาคภูมิ เรืองสิร์กุล หัวข้อการถ่ายภาพ
2. ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ หัวข้อการใช้ facebook.com
3. อ.เกศริน อินเพลา หัวข้อการใช้ facebook.com
4. นายเปรม อุ่นเรือน หัวข้อการใช้ facebook.com
5. นายภสุ นิ่มสุวรรณ หัวข้อการใช้ facebook.com

 

อบรมผู้ประกาศข่าว โดย เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

อบรมผู้ประกาศข่าว โดย เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

 

เหลืองปรีดียาธร

เหลืองปรีดียาธรกับผลปาล์มสีแดง

เหลืองปรีดียาธรกับผลปาล์มสีแดง

ผลปาล์มสีแดง

ผลปาล์มสีแดง

เหลืองปรีดียาธร

เหลืองปรีดียาธร

เหลืองปรีดียาธร

เหลืองปรีดียาธร

เหลืองปรีดียาธร

เหลืองปรีดียาธร

ชื่อ     เหลืองปรีดียาธร
ชื่อวิยาศาสตร์     Tabebuia argentea Britt.
ชื่อวงศ์     BIGNONIACEAE
ชื่อเรียกอื่น     Silver trumpet tree, Tree of gold, Paraguayan silver trumpet tree
ลักษณะ     ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
การกระจายพันธุ์     ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน (ปารากวัย อาร์เจนตินา บราซิล) ออกดอก มกราคม – มีนาคม การปลูกเลี้ยง ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประโยชน์     ปลูกเป็นไม้ประดับ
แหล่งข้อมูล     หนังสือไม้ต่างถิ่นในเมืองไทย เล่มที่ 1
ถ่ายเมื่อ    23 ก.พ.2557 12.00น. กับ ต้นปาล์มมีผลสีแดงดูสวยดี
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2341
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1470160983203310.1073741863.1399580723594670

งานวิจัยการจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์

งานการวิจัย เรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ อัตลักษณ์ชุมชนลำปาง” รายละเอียดในแต่ละโครงการย่อยอยู่ในไวนิล ลองเรียนรู้กันดูได้ พบในงาน 6 วัสสา วิจัยยะท้องถิ่น : วิชาการรับใช้สังคมสู่การใช้ประโยชน์ทางการศึกษา  ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เมื่อ 18 ก.พ.2557
มีชื่อโครงการย่อย 6 โครงการ ดังนี้
1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์
2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง
3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์

1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์

2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

เขียนบล็อกเล่าเรื่องกิจกรรมย่อยที่ 1
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/423/

คลิ๊ปกล่าวเปิดงาน

พระธาตุดอยฮาง ที่ดอยฮาง

พระธาตุดอยฮาง ที่ดอยฮาง

พระธาตุดอยฮาง ที่ดอยฮาง

ประวัติพระธาตุดอยฮาง
พระธาตุดอยฮาง ตั้งอยู่พื้นที่บ้านทุ่งขาม ตำบลใหม่พัฒนา
ห่างจากตัวอำเภอเกาะคาประมาณ 13 กิโลเมตร
ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็ก ๆ หากจะขึ้นไปกราบไหว้พระธาตุ
ต้องปีนป่ายตามบันไดธรรมชาติที่สูงชัน
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมธรรมชาติ

ดอยฮางเป็นภูเขาหินปูนทั้งลูก และยังเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุดอยฮาง
และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บนยอดดอยมีบ่อน้ำที่มีน้ำอยู่ตลอดทั้งปีไม่เคยแห้ง
ถึงแม้จะขุดบ่อเข้าไปในหินปูนก็ตาม

เมื่อขึ้นไปถึงจุดหมายด้านบนแล้วนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไป
จะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “เมื่อมาถึงข้างบนนี้แล้ว หายเหนื่อย”
ข้างบนมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ มีพระพุทธรูปอยู่ภายในชื่อว่า พระพุทธเจ้าสองดอยทอง

ดอยฮางมีตำนานเล่าขาน เริ่มจากพวกไทยลาง ที่ถอยร่นลงมา
โดยการนำของแม่ทัพได้อพยพเข้าพม่าล่องลงมาตามแม่น้ำเมยมาขึ้นฝั่งแหลมทอง
ที่หมู่บ้านแม่เมย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
เข้าบ้านเหล่ายาว ผ่านบ้านโป่ง บ้านแม่เรียง บ้านแม่ผึ้ง เดินลัดไปตามลำห้วย
ล่องตามแม่น้ำยาว จนมาถึงม่อนช้างผู้เอก
เห็นดอยสองลูกตั้งสง่างามอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
จึงให้ทหารลูกทัพค้นหาถ้ำต่าง ๆ เพื่อใช่เป็นที่พักอาศัยค้างแรม
แม่ทัพใหญ่พักอยู่ที่ถ้ำหลวง ลูกทัพพักอยู่ถ้ำหลดเตี่ยว(ถอดกางเกง)
ครั้นเมื่อถึงตอนเช้าได้พบรังเหยี่ยวหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าฮุ้ง(รุ้ง)
ที่อยู่ด้านบนดอย ใกล้กับถ้ำที่ค้างคืน
แม่ทัพพม่าจึงได้ตั้งชื่อดอยนี้ว่า ดอยฮางฮุ้ง
เล่าขานกันต่อมาจนกลายเป็นดอยฮาง
ดอยฮางมีหลุมบ่อ เป็นลำห้วยเหมาะแก่การตั้งทัพของพม่าเป็นอย่างยิ่ง
ตั้งแต่คราวนั้นเป็นต้นมามีความเชื่อว่า
วิญญาณของแม่ทัพพม่าสิงสถิตย์อยู่ที่ดอยฮางจนถึงปัจจุบัน

เส้นทางท่องเที่ยว วัดไหล่หินหลวง น้ำพุร้อน และดอยฮาง

เส้นทางท่องเที่ยว วัดไหล่หินหลวง น้ำพุร้อน และดอยฮาง

ประเพณีของพระธาตุดอยฮาง คือ งานสรงน้ำพระธาตุดอยฮาง
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลใหม่พัฒนา
โทรศัพท์ 054-274564

ถ้ำบนดอยฮาง

ถ้ำบนดอยฮาง

แหล่งข้อมูล
http://www.m-culture.in.th/album/135332/js/

คลิ๊ปวีดีโอ

รวมภาพ
https://plus.google.com/u/0/photos/102904910498297435158/albums/5980863371761340417

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1466046133614795.1073741861.1399580723594670

หนังสั้น ไพรีพินาศ

หนังสั้น ไพรีพินาศ

หนังสั้น ไพรีพินาศ

หนังสั้น ไพรีพินาศ

ฝากผลงานหนังสั้นของคนลำปาง
เรื่องธรรมะและวิทยาศาสตร์
ออกอากาศในรายการ เด็ดปีกคุณธรรม
เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2557
งบจาก สสส.และกระทรวงวัฒนธรรม
โดย ณ หนา และ สตูดิโอ 888

สถานที่ถ่ายทำ คือ วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ (วัดดอยพระบาทปู่ผาแดง) มีถ้ำหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ดอยผาแดง รอยพระพุทธบาท และดอยปู่ยักษ์ เส้นทางใช้เส้นทางทางเข้าบ้านใหม่เหล่ายาว หมู่ที่ 8 ตำบลวิเชตนคร มีจุดชมวิวบนยอดดอยสูงสุดของดอยพระบาทที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองแจ้ ห่มและเมืองปานได้อย่างชัดเจน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 815 เมตร
http://www.touronthai.com/placeview.php?place_id=13000044

แผนที่ท่องเที่ยวลำปาง

พบหนังสือ Sabai .. Sabai .. Lanna Style
โดยจังหวัดเชียงใหม่ ชวนเที่ยวเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
มีแผนที่การท่องเที่ยวลำปาง แบบ Slow travel

lampang map

lampang map

หน้า 27 หนังสือ Sabai .. Sabai .. Lanna Style

Lampang : Bicycle route in the old city

Lampang is a large province to the east of Chiangmai
with Lampang city itself being the cultural and commercial centre.
The city is filled with the new and the old; temples and shops, architecture and parks.

The highlight of any visit to the city of Lampang must be to take the famous horse and carriage ride around the city,
a common mode of transportation for both locals and visitors alike.

This laidback city, with chilled riverside restaurants and bars, ancient temples dating back a millennia, and interesting buildings,
is a charming destination to explore.

Take your time, there is no rush; the joy of Lampang is in the simple discoveries.


ebook slow travel in thailand
http://www.thailand.org.il/sites/thailand/UserContent/files/pdf/special-slow-travel.pdf

http://www.scribd.com/doc/207334471/Special-Slow-Travel


โมเดลรถม้าลำปาง 360 องศา
ในนิทรรศการเทศกาลวันแห่งความรักแต่งงานบนรถม้า ปี 2557 จังหวัดลำปาง