Tag Archives: education

โรงเรียนผู้สูงอายุ กับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย

หนึ่งในหกกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว พ.ค.2565

อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ พร้อมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น นำนิสิตสาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ ออกให้บริการวิชาการแก่นักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมี นายพิตินันท์ ผึ้งต้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งวัน โดยการกำกับดูแลสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และนายสุกฤษฎิ์ สุคำอ้าย ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหัวข้อ ผู้สูงอายุกับการเดินทางยุคโควิด-19 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเชิงบูรณาการกับคณะวิชาต่าง ๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัส การล้างมือสู้โรค การเดินทางโดยเครื่องบิน กิจกรรมยืดเหยียด และการดูแลช่องปาก และการขายผลิตภัณฑ์สู่การตลาดออนไลน์ใน Platform ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ

ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการประสานกับผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการ จาก คุณพิเชษฐ์ จริยงามวงค์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายนวพล จะงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดโครงการ กล่าวขอบคุณในพิธีปิดโครงการ และมอบเกียรติบัตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวเปิดโครงการเวลา 9.00น. กล่าวปิดโครงการในเวลา 15.30น. และมอบเกียรติบัตร

province ranking

จังหวัดอันดับ 1

จังหวัดอันดับ 1
ที่มีสถาบันการศึกษาตั้งอยู่มากที่สุดน่ะพอรู้
แต่อันดับ 2 จนถึงอันดับ 7 มีจังหวัดใดบ้าง
ที่ #ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ data.go.th เค้ารวบรวมข้อมูลไว้
เป็น Microsoft excel เข้าไปก็พบได้โดยง่าย
สำหรับท่านที่กำลังมองหา #จังหวัดที่เด่นด้านการศึกษา อยู่

https://www.thaiall.com/data/handsontable_java.htm

จังหวัดที่มีสถาบันการศึกษามากที่สุด 7 อันดับแรก

  • อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มี 83 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 2 เชียงใหม่ และนครปฐม มี 14 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 3 ชลบุรี มี 13 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 4 นครราชสีมา มี 12 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 5 ขอนแก่น มี 11 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 6 สงขลา และ นนทบุรี มี 10 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 7 ลำปาง และ นครศรีธรรมราช มี 9 สถาบันการศึกษา

จากข้อมูลทั้งหมด 10 จังหวัดข้างต้น มีสถาบันการศึกษารวมกันได้ 185 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 47.43
เฉพาะกรุงเทพมหานครมี 83 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 21.28 จากทั้งหมด 390 สถาบัน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี อว. ดูแลพื้นที่ลำปาง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2563 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158590477078895&id=814248894

เพิ่มภาพ 14 ก.พ.2564

ประวัติจาก wiki

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ เป็นกรรมการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดวันที่ 20 มกราคมพ.ศ. 2497 ที่ จ.ลำปาง เป็นเจ้าของทฤษฎี “สองนคราประชาธิปไตย” ที่สรุปว่า “คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯ ล้มรัฐบาล” เคยได้รับสมญานามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า “ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง

มาบรรยายให้นิสิตที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น

บทบาทด้านการส่งเสริมการศึกษา ของ วัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง

บทบาทด้านการส่งเสริมการศึกษา

บทบาทด้านการส่งเสริมการศึกษา

ในปัจจุบันวัดกับการศึกษามีความใกล้ชิดจนแยกกันไม่ออก คนในชนบทมองว่าวัดมีบทบาทสนับสนุนการศึกษา หลายครอบครับที่ทุนทรัพย์น้อย จึงมีค่านิยมส่งลูกหลานไปบวชที่วัดที่มีความพร้อม มักเรียกว่าบวชเรียน วัดหลายแห่งจึงมีบทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์เป็นอีกพันธกิจหนึ่ง ที่วัดมิ่งเมืองมูลมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับพระและเณรในบวรพระพุทธศาสนาที่เข้าจำพรรษาในวัด ถ้าอายุถึงเกณฑ์ต้องเรียน เมื่อเข้ามาบวชแล้วก็ต้องเข้าสู่ระบบการศึกษา ในทุกปีการศึกษาทางวัดก็จะสนับสนุนค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นของแต่ละราย สำหรับชุดนักเรียนก็มีค่าใช้จ่ายไม่มาก เพราะมีจีวรอย่างเดียวก็ใส่ได้ในทุกสถานการณ์ สำหรับการเดินทางจากวัดเข้าตัวเมืองมีระยะทาง 12 กิโลเมตร เจ้าอาวาสก็ได้จัดสรรเงินที่ได้รับจากศรัทธา หรือจากการตั้งตู้รับบริจาค ที่ได้ทั้งจากญาติโยมในชุมชน ครูอาจารย์ หรือนักศึกษาที่อยู่ใกล้วัดมาทำบุญวันเกิด อุทิศส่วนกุศลอยู่เป็นประจำ เมื่อมาทำบุญแล้วไม่พบเจ้าอาวาสก็จะเป็นกิจของพระเณรภายในวัดที่ต้องให้พรญาติโยม ปัจจัยที่ได้ก็จะนำใส่ตู้ไว้ เมื่อถึงเวลาก็จะเปิดตู้ และแบ่งเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของทุกคน นอกจากนี้หากพระเณรสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี โท เอกแล้วก็จะจัดสรรทุนการศึกษาให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

บทบาทต่อการศึกษาภายนอกนั้น เมื่อสถานศึกษาทั้งระดับโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีพระเณรไปเรียนอยู่ได้ขอรับการสนับสนุนกิจกรรม หรือทุนการศึกษา เจ้าอาวาสก็จะสนับสนุนค่าเล่าเรียนให้กับพระเณร และมีนโยบายสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ให้ได้เรียนจนสุดกำลังสติปัญญาของแต่ละคนไปจนถึงระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หากเรียนบาลีก็สนับสนุนเต็มที่เช่นกัน ซึ่งเจ้าอาวาสก็ทำตัวเป็นแบบอย่าง ขณะนี้กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก ส่วนบาลีก็สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ถือคติว่าใช้วิธีทำ นำเป็นตัวอย่าง

โดยเจ้าอาวาส : พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี

http://www.wat3m.com

 

ประกาศผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559

เพื่อน ๆ หลายท่านมีบุตรหลานสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนบุญวาทย์ เห็นแล้วก็สนใจ

ประกาศผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ประกาศผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

แล้ววันที่ 1 เมษายน 2559 ได้อ่านประกาศโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย หลายฉบับ
จึงบันทึกเก็บไว้ พร้อมเก็บแฟ้มประกาศ ดังนี้
เรื่อง ประกาศผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559
ประเภทนักเรียนทั่วไป
พบแฟ้ม http://58.137.128.197/pdf/1.pdf
หรือ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/606596729491149/
อ่านดูพบว่าประกาศรับสมัครนักเรียนทั้งหมด 254 คน
และ
เรื่อง ประกาศผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559
ประเภทนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ
พบแฟ้ม http://58.137.128.197/pdf/2.pdf
หรือ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/606598452824310/
อ่านดูพบว่าประกาศรับสมัครนักเรียนทั้งหมด 202 คน

ประกาศรับนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559 นั้น
พบเอกสารที่ http://www.bwc.ac.th/modules/news/pdf/regis1-2559.pdf
หรือ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/606590036158485/

ประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์สอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559
ประเภทนักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการ สมัคร 667 คน
ประเภทนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ สมัคร 285 คน
พบเอกสารที่ http://www.bwc.ac.th/modules/news/pdf/test_student59.pdf

สมศ.ชี้ 8 จว.ขาดยุทธศาสตร์การศึกษา ตามโครงการแอเรียเบสในพื้นที่ 8 จังหวัด

สมศ.ชี้ 8 จว.ขาดยุทธศาสตร์การศึกษา

สมศ.ชี้ 8 จว.ขาดยุทธศาสตร์การศึกษา

สมศ.ชี้ 8 จังหวัดขาดยุทธศาสตร์การศึกษา
ตามโครงการแอเรียเบสในพื้นที่ 8 จังหวัด
ข่าว . คมชัดลึก

สมศ.สรุปผลแอเรียเบส 8 จังหวัด ชี้ปัญหาจังหวัดขาดยุทธศาสตร์การศึกษา เตรียมชงจังหวัด-เชตพื้นที่เชื่อมโยงยุมธศษสตร์การบริหารงานระดับจังหวัดให้เข้ากันกับยุทธศษสตร์ด้านการศึกษาให้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556 ที่อาคารพญาไท พลาซ่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. เปิดเผยว่า ได้จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่ หรือ แอเรียเบส เพื่อสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย ตราด อำนาจเจริญ ชุมพร พังงา สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ชัยนาท และแพร่ รายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษา โดยแบ่งผลการประเมินสถานศึกษารวม 8 จังหวัด ดังนี้

ผลประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,632 แห่ง ผ่านการรับรองมาตรฐาน 1,069 แห่ง ไม่ผ่านการรับรอง 563 แห่ง

ผลการประเมินคุณภาพนอกด้านการอาชีวศึกษา จำนวน 39 แห่ง ผ่านการรับรองมาตรฐาน 26 แห่ง ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน 13 แห่ง
ส่วนผลการประเมินคุณภาพภายนอกศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 55 แห่ง ผ่านการรับรองมาตรฐาน 54 แห่ง และไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน 1 แห่ง ส่วนผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนใน 8 จังหวัด พบว่าผ่านการรับรองทุกแห่งผอ.สมศ.กล่าว
จากการสรุปภาพรวมการดำเนินโครงการแอเรียเบสในพื้นที่ 8 จังหวัด สมศ.มีข้อเสนอแนะไปยังต้นสังกัดสถานศึกษาให้เร่งวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหาสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรอง รวมถึงเสนอไปยังจังหวัดและเขตพื้นที่การศึกษาให้มีการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารงานระดับจังหวัดให้เข้ากันกับยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาให้มากขึ้น เพราะจากการลงพื้นที่พบว่าหลายจังหวัดไม่มียุทธศาสตร์การศึกษาในระดับจังหวัด ยกตัวอย่าง การจัดการด้านอาชีวศึกษาที่ไม่สอดรับการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เช่น จังหวัดมีจุดเน้นด้านการเกษตรแต่ในจังหวัดไม่มีวิทยาลัยเกษตร

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=31939&Key=hotnews
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ใช้เครื่องข่ายสังคมเพื่อสื่อสาร (itinlife 383)

fb ของกองการศึกษา

fb ของกองการศึกษา

มีโอกาสฟังคุณศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เล่าถึงการพัฒนาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ก่อนมาที่ลำปางว่ามีการสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสื่อสาร ด้วยการเปิดเฟซบุ๊คของส่วนราชการ องค์กร หรือชุมชน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลเสมือนกลไกขับเคลื่อนให้กลไกอื่น ๆ หมุนล้อไปตามกันให้ภาพใหญ่ปรากฎออกมาเด่นชัด เป็นแรงกระเพื่อมอีกแรงที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ปัจจุบันประชาชนเข้าถึงเฟสบุ๊คเกือบ 20 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แนวคิดของท่านรองฯ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ลำปาง ของ อาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง มีกิจกรรมหนึ่งที่จะจัดให้ผู้ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเข้ารับการอบรมฝึกทักษะเรื่องการใช้ Social Media สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งจัดไว้ 3 หัวข้อตามลักษณะบริการสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ Blog, Facebook.com และ Youtube.com แต่ผู้เข้ารับการอบรมควรมีความเข้าใจใน 3 เรื่องสำคัญ คือ ความรู้เรื่องแหล่งท่องเที่ยวของตน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไอที และความเข้าใจเรื่องการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพ

แฟนเพจ (Fan Page) เป็นระบบเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข่าวสารที่เปิดให้ใช้บริการฟรีโดยเฟสบุ๊ค ผู้เป็นสมาชิกของแฟนเพจสามารถสมัครสมาชิกโดยการกดปุ่มไลค์ (Like button) และไม่ต้องรอรับการยืนยันจากผู้ดูแลเพจ แล้วสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นหรือรับเรื่องราวผ่าน Feed ได้ทันที สามารถนำมาใช้ได้ในระดับองค์กรเพื่อรับความคิดเห็นจากสาธารณะ หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารได้ แฟนเพจในปี 2555 ที่มีคนกดไลค์มากกว่า 1.7 ล้านในไทย คือ 1) ไพ่เท็กซัส 2) ตันภาสกรนที 3) nerkoo.com 4) อัพยิ้มดอทคอม 5) bodyslam หากท่านสนใจการทำแฟนเพจสามารถเรียนรู้จากเพจข้างต้น แต่ก็ต้องไม่ลืมเอกลักษณ์ของตน หากแฟนเพจทางการแพทย์ไปโพสต์เรื่องดูดวงตามราศี หรือแฟนเพจโรงเรียนมัธยมชวนสมาชิกเล่นเกม หรือแฟนเพจธรรมะชวนดูหนังจันดาราก็คงไม่เหมาะอย่างแน่นอน

 

http://th-th.facebook.com/permalink.php?story_fbid=247968515325777&id=259176487524058

 

 

 

กีฬา อพร.สัมพันธ์ ประจำปีการศึกษา 2555


19 ม.ค.2556 งานเปิดกีฬา ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มหาวิทยาลัยเนชั่น มีงานเปิดตัว กีฬา อพร.สัมพันธ์ เป็นการรวมพลังของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ทั้งสิ้น 11 สถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา

มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง
วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา
วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
วิทยาลัยการอาชีพเถิน
วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี
สถาบันการพลศึกษาลำปาง
มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

🙂

การศึกษาไทย กับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

 

chiangmai mag : education in 21st century skills

chiangmai mag : education in 21st century skills

คริสต์ศตวรรษที่ 21 ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 2001-2100
http://www.p21.org/overview

critical thinking = การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการคิดเชิงวิพากษ์

3 ส.ค.55 ไปซื้อกาแฟแก้วหนึ่งที่ลำปางระหว่างรอหมอที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ควักแบ็งค์ 20 สองใบเตรียมจ่ายค่ากาแฟ ปกติผมก็ดื่มกาแฟกระป๋องนะครับ กระป๋องละ 10 บาท มาวันนี้เข้าร้านกาแฟ กะว่า 40 บาทคงได้ทอนสัก 10 บาทเป็นแน่ แต่พอพนักงานรับตังไป เธอก็บอกผมว่า 45 บาทค่ะ ผมก็อึ้งเล็กน้อย ในใจลึก ๆ นึกว่า .. นี่ถ้าพกตังมา 40 บาท คงเสียศักดิ์ศรีของคนดื่มกาแฟแย่เลย (ผมมีอัตตาเหลืออยู่ในจิตสำนึกไม่น้อย) เพราะมีตังไม่พอจ่ายค่ากาแฟ 1 แก้ว ก็นึกขึ้นได้ว่าผมคงขาดทักษะในการเข้าร้านกาแฟแบบนี้ คงต้องหากาแฟกระป๋องในร้านสะดวกซื้อดื่มต่อไปซะแล้ว

ในระหว่างรอกาแฟ ก็อ่าน chiangmai mag หน้า 102 ฉบับที่เท่าไรไม่ทราบ แต่เป็นบทความเรื่อง “การศึกษาไทย กับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” เขียนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในบทความกล่าวถึงความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต ว่าต้องการบัณฑิตที่มีทักษะการทำงาน และทักษะชีวิตที่ดี ซึ่งรวมเป็นทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21

แล้วผมตั้งใจใช้ภาพนี้ เริ่มต้นในการสอนสำหรับ ศตวรรษที่ 21 ด้วย เพราะประทับใจคำว่า ผู้ใฝ่รู้ตลอดชีวิต (Life-long learners) เป็นคำถามที่น่าหาคำตอบนะครับ สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21
http://www.magazinechiangmai.com/cm-mag/?author=1
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496427
http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417
http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/
http://www.siamintelligence.com/education-reform-21-century/

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/mba/20120323/443450/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21.html
เราจะ “เรียน” และ “รู้” กันอย่างไรในศตวรรษที่ ๒๑