Category Archives: education

เล่าเรื่องเดินการกุศล

งาน “สายสัมพันธ์ครอบครัวบุญวาทย์
วิทยาลัย 2567″
วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567
ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารมานิตธำรง
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง
เพื่อหางบติดตั้ง BWS solar rooftop
พบผู้ใหญ่ ผู้สนับสนุนที่คุ้นเคยหลายท่าน
.
ตื่นเช้ามาก็มีภารกิจให้ทำ
ออกบ้าน 7:00 เดินรอบเมือง 1 ชั่วโมงเต็ม
ดังนั้น วันนี้งดยาเช้า
ที่อาจทำให้เกิดภูมิแพ้
มาทานยาตอนมื้อเย็นเอา
เดินไปก็ลุ้นอาการทางลมหายใจไป
เดินไกลก็ต้องเหนื่อยเป็นธรรมดา
ด้วยอากาศที่เย็นกลางเมือง
มีแสง และฝุ่นนิดหน่อยให้พอรู้สึกได้
แต่ครั้งนี้ไม่รีบร้อน เดินเดิน หยุดหยุด
มีเด็กร่วมเดินเป็นเพื่อนหลายร้อย
.
กลับเข้าโรงเรียนเก้าโมงเศษ
รอจับรางวัลเสร็จก็สิบโมง
ได้รางวัลครอบครัวเป็นกระติกน้ำแข็ง
(Family prize)
วันนี้ลุ้นไอแพด กับนาฬิกาอัจฉริยะ
วางแผนทางเดินไปรับรางวัลอย่างดี
น่าจะมีเกือบร้อยรางวัล
รางวัลที่เล็งไว้ไม่เข้าโต๊ะนี้เลย
ปีหน้า ถ้าได้บัตรอีก รับมอบหมายอีก
คงได้กลับมาร่วมกิจกรรมการกุศลนี้อีก
เพื่อหลังคารับแสงอาทิตย์ของโรงเรียน
.
ตอนที่เดินกลางถนน
มีเดินเซนิดนึงก่อนถึงจุดสิ้นสุด
คงมีอาการภูมิแพ้บ้างล่ะหละ
กลับถึงบ้านก็นอนยาวเลย
ไม่ได้กินยา แต่เน้นนอนพัก
ร่างกายคงรักษาตัวเองได้
จนมีแรง มีกำลังวังชา
พอมีสติครบก็ออกบ้าน
ไปซื้อขนมนมเนย น้ำขิง น้ำชา กาแฟ
ผลไม้ และอีกหลายอย่างจนครบถ้วน
.
สรุปว่าต้องออกกำลัง
เดินบ้าง วิ่งบ้าง
ให้ปอดได้ทำงานเป็นสิ่งดี
กิจกรรมวันนี้ ขอบคุณโรงเรียนบุญวาทย์
ที่ทำให้มีโอกาสดีดีเช่นนี้

เดินอยู่กลางถนน
ขวดน้ำโรงเรียน
ชิงจับรางวัลครอบครัว
หน้าเวที

ระบบการศึกษาต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง

ระบบการศึกษาต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง

Education system

ระบบการศึกษาต้องพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ดังนี้

* **ความเท่าเทียมทางการศึกษา** ระบบการศึกษาต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ

ความเท่าเทียมทางการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิต ในปัจจุบัน ยังมีเด็กจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือสังคม เช่น เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เด็กที่ยากจน หรือเด็กที่พิการ เป็นต้น ระบบการศึกษาจึงต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

ตัวอย่างแนวทางในการแก้ปัญหาความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น

* การจัดตั้งโรงเรียนประจำและโรงเรียนเคลื่อนที่ในพื้นที่ห่างไกล
* การให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน
* การพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็กพิการ

* **ความทันสมัยของหลักสูตร** หลักสูตรการศึกษาต้องทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน โดยเน้นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกัน

ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน ระบบการศึกษาจึงต้องปรับหลักสูตรให้เน้นทักษะเหล่านี้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตได้

ตัวอย่างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น

* ทักษะการคิดวิเคราะห์: ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล แยกแยะสิ่งต่าง ๆ และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ
* ทักษะการแก้ปัญหา: ความสามารถในการหาวิธีแก้ไขหรือปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ
* ทักษะการสร้างสรรค์: ความสามารถในการคิดนอกกรอบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ
* ทักษะการทำงานร่วมกัน: ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

* **ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน** การเรียนการสอนต้องมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ระบบการศึกษาจึงต้องเน้นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น

ตัวอย่างแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอน เช่น

* การใช้เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
* การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
* การให้คำแนะนำและติดตามผลอย่างใกล้ชิด

* **การพัฒนาครู** ครูเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา ครูจึงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความรู้ความสามารถและทักษะการสอน เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาครูจะช่วยให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้เรียน ระบบการศึกษาจึงต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาครู โดยจัดให้มีหลักสูตรการพัฒนาครูที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง

ตัวอย่างแนวทางในการพัฒนาครู เช่น

* การจัดอบรมและพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง
* การให้ทุนการศึกษาแก่ครูเพื่อไปศึกษาต่อ
* การสร้างระบบสนับสนุนครูในการทำงาน

* **การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง** ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการศึกษาของบุตรหลาน โดยช่วยส่งเสริมให้บุตรหลานมีวินัยและรับผิดชอบต่อการศึกษาของตนเอง

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองจะช่วยให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ระบบการศึกษาจึงต้องส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการศึกษาของบุตรหลาน โดยให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาแก่ผู้ปกครอง

ตัวอย่างแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการศึกษา เช่น

* การจัดประชุมผู้ปกครองเป็นประจำ
* การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
* การสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง

การพัฒนาระบบการศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

การพัฒนาระบบการศึกษาเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการให้ทุนการศึกษาและการสนับสนุนด้านต่าง ๆ และภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการศึกษาให้กับบุตรหลานของตนเอง

ศิษย์เก่าทรงคุณค่า และ ศิษย์เก่าดีเด่น

ศิษย์เก่าดีเด่น หมายถึง ผู้ที่เคยศึกษาในโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่มีคุณสมบัติและผลงานดีเด่น เป็นที่ประจักษ์ต่อสมาชิกศิษย์เก่าและสาธารณชนทั่วไป

ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ย่อมทำให้สถาบันการศึกษาที่ตนเองจบออกมามีชื่อเสียงตามไปด้วย ดังนั้นส่วนหนึ่งของความเชื่อถือหรือชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา จึงได้มาจากความสำเร็จของศิษย์เก่า

http://www.thaiabc.com/acla/hall_of_frame.asp

สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง ขอประกาศเกียรติคุณแก่ศิษย์เก่าทรงคุณค่า และ ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2566 

ดังนี้

ศิษย์เก่าทรงคุณค่า
พลเอกวิสันติ  สระศรีดา ACL 21

ศิษย์เก่าดีเด่น
ด้านทำคุณประโยชน์ให้กับสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญลําปาง
นายไพฑูรย์ โพธิ์ทอง  ACL 26

ศิษย์เก่าดีเด่น
ด้านความสำเร็จในอาชีพ /หน้าที่การงาน

1.นายเธียรชัย  เครือสุวรรณ ACL 07

2.นายเศรษฐศิลป์  อัมมวรรธน์ ACL 14

3.พลเอกพรรณนพ ศักดิ์วงศ์ ACL 16

4.นายพงษ์เทพ บุญเกิด ACL 18

5.พลเอก ศักดา ดีเดชา   ACL 21

6.นายกิตติ์ธเนศ  โลหิตกาญจน์  ACL 22

7.นายแพทย์สุธิต คุณประดิษฐ์ ACL 22

8.พลโทสมศักดิ์  เตชะสืบ  ACl 23 (รุ่นไร้เทียมทาน)

9.นายสมศักดิ์  วัชรธาดาพงศ์  ACL 23 (รุ่นเสาเอก)

10.พันตำรวจเอกไกรสิทธิ พรหมปฏิมา  ACL 27

11.นายแพทย์บรรเจิด  นนทสูติ  ACL 29

12.นายแพทย์ กำพล  เครือคำขาว  ACL 31

ประกาศ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0ozqHHjsg6MSUgY5KVhyW7iddNNufSTqaBuRKAyCGAUFzK2GFZvtPQCW3qgKJJULXl&id=100069839348328&mibextid=RtaFA8

ศิษย์เก่าทรงคุณค่า
ศิษย์เก่าดีเด่น
ศิษย์เก่าดีเด่น
ให้ความหมายโดย bard

ลำปางแบรนด์ 2566

ลำปางแบรนด์ คือ ตราสินค้าของจังหวัดลำปางที่แสดงถึงภาพพจน์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของผลงานการออกแบบสินค้า บริการ และภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากตราสินค้าอื่น ซึ่งการสร้างตราสินค้าเพื่อให้เป็นที่จดจำของกลุ่มเป้าหมายและใช้ในการโฆษณาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลาและทรัพยากรในการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์

งานพัฒนาแบรนด์ของจังหวัดได้เคยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับลำปางแบรนด์เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง

ซึ่ง ลำปางแบรนด์กับผลิตภัณฑ์ชุมชนคนลำปางใน lampangbrand.com คือ งานที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 3) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง และ 4) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง

ซึ่งลำปางแบรนด์ เป็นงานวิจัยของ
ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์ อาจารย์สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านวิสาหกิจ เพื่อสังคมด้วยแนวคิดลำปางแบรนด์ ภายใต้ทุนอุดหนุนวิจัยจาก สกสว. ประจำปีงบประมาณ 2566

เมื่อกันยายน 2566 พบว่า ในเว็บไซต์ลำปางแบรนด์ แบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น เครื่องแต่งกาย อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปั้น สมุนไพร เครื่องประดับ เครื่องสำอาง และ งานจักรสาน โดยพบว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลำปางแบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืนและไปได้ไกลที่สุด

ยี่ห้อลำปาง

แล้วพบใน Lampang City
ประกาศเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาเครื่องหมาย “ลำปางแบรนด์” และลุ้นรับของที่ระลึก

https://forms.gle/B2ARHnLpw1DWSrCe8

ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านวิสาหกิจเพื่อสังคมด้วยแนวคิดลำปางแบรนด์ โดย ม.ราชภัฏลำปาง

ผมเข้าไปเลือกแล้ว 1 แบบ

พิธีมอบหมวกและเข็มชั้นปีแก่นิสิต

พิธีมอบหมวกและเข็มชั้นปีแก่นิสิต คณะพยาบาลศาสตร์  โดยมีผู้ปกครองร่วมแสดงความยินดี พร้อมตัวแทนจากหน่วยงาน ที่มีเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานและเก็บภาพเป็นที่ระลึก แบ่งปันข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

เรามักได้เห็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ อาจารย์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เพื่อน บุคลากรที่เกี่ยวข้องนิสิต ทั้งนิสิตพยาบาล นิสิตเทคนิคการแพทย์ นิสิตทันตแพทย์ เป็นต้น ได้แบ่งปันเรื่องราวแห่งความสุขเป็นประจำทุกปี ผมเองก็มักจะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์เหล่านั้นอยู่เสมอ ชอบครับ น่ารักดี

และหวังว่าพวกเค้าจะเป็นคนดีปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ปฏิบัติต่อคนไข้ด้วยความมีเมตตากรุณา เพราะเราท่านทุกคน สักวันก็ต้องมีเจ็บไข้พึงพาพวกเขาเป็นธรรมดา เมื่อถึงเวลานั้นก็ต้องฝากผีฝากไข้พวกเขาแล้ว

ในภาพข่าวเห็นท่านคณบดีหน้าตาสดใส แสดงถึงความมุ่งมั่น ซึ่งผมก็ติดตามผลงานของท่านทั้งผ่านสื่อสังคม และที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ที่ส่งมาให้อ่านอยู่เสมอ .. เป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านครับ

เห็นข่าวนี้แล้วนึกถึงหลายเโฮมเพจที่ทำไว้ครับ

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_nurse.htm

พิธีมอบหมวกและเข็มชั้นปี
พิธีมอบหมวกและเข็มชั้นปี
พิธีมอบหมวกและเข็มชั้นปี
รุ่นน้องแสดงความยินดีกับรุ่นพี่

พัดลมที่บ้าน ไม่ส่ายหน้าเลย แบบนี้ซ่อมได้

การเสาะหาร้านที่รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลมแถวในเวียง คงไม่ใช่เรื่องยาก
บางร้านน้องนักเรียนไปฝึกงาน ออกมาต้อนรับอบอุ่น ยินดีให้บริการกันหลายคน แต่ที่เกาะคาผมรู้สึกว่ามีร้านที่รับซ่อมเพียงไม่กี่ร้าน ต้องขึ้นฟ้ามองลงมาผ่านกูเกิลแม็พ แถมหาผ่านสื่อสังคมอีกแรงก็ยังมองไม่เห็นโดยชัด (สงสัยโลกกว้างไป) สุดท้ายต้องเอ่ยปากถามผญบ.แอ๋ว กับเพื่อนเอก จนได้เบาะแสนำไปสู้การนำพัดลมเก่าเก็บสะสมออกไปซ่อม

เริ่มจากผมมีพัดลมในบ้านทั้งหมด 4 ตัว ที่เสียต่างกรรมต่างวาระ เริ่มจากพัดลมไอน้ำที่ไม่ได้ใช้นาน มีปัญหาในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวนี้ผมไม่ปลื้ม ตัดใจชั่งกิโลขาย ได้ยินในร้านคุยกันว่าตอนขึ้นชั่งกิโลละ 2 บาท ร้านอยู่แถวโรงเรียนเพ็ญจิตตพงษ์ก็ใจดีให้ผมมา 20 บาท ตัวที่สองสีแดง อาการหมุนบ้างไม่หมุนบ้าง บางทีก็หมุนช้า บางทีไม่หมุน ดูแล้วน่าส่งซ่อมแล้ว

ตัวที่สาม ผมถอดเอาตะแกรงออกไปใส่อีกตัว เสียนานมากแล้ว มอเตอร์ไหม้ ปล่อยตากแดดตากฝน จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ผลัดไว้วันหน้าก่อน จนถึงวันนี้ ตัวที่สี่เป็นพัดลมติดผนัง คงติดผนังมาหลายสิบปี วันหนึ่งคอส่วนที่เป็นพลาสติกหักแต่ติดสายไฟที่คล้องอยู่จึงร่วงลงไม่ถึงพื้น

เมื่อไปพบช่างสุรพล ชัยมณี บ้านหนองจอก ก็ฝากพัดลม 3 ตัวให้ช่วยซ่อมให้ สรุปว่าช่างซ่อมได้ รุ่งเช้าอีกวันบอกว่าเสร็จแล้ว จึงได้พัดลมที่สมประกอบกลับมาใช้งาน 2 ตัว ช่างคิดตังรวมกัน 300 บาท ต่อไปมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเสีย คงคิดถึงที่นี่เป็นร้านแรก ๆ แล้ว เป็นการสนับสนุนช่างบ้านหนองจอก ช่างของชุมชนราคามิตรภาพ

ขากลับ ผมเลี้ยวเข้าซอยทางซ้าย ถนนเชื่อมถึงกันหมด ตรงไปถึงสวนสาธารณะที่สวยงาม และพบกับฝายน้ำล้นขนาดใหญ่ น่าลงไปเดินกว่าฝายน้ำล้นในเวียงเยอะ (อันนี้ ส.ป.อ.ย.) เห็นนายกปุ้ยพาชาวบ้านลงทำกิจกรรมอยู่เสมอ ตามรอยนายกท่านไป แล้วก็ลงไปเก็บภาพเก็บคลิปมาแชร์ไว้ เผื่ออีก 10 ปี กลับมาดูจะได้ไม่ลืมว่านี่คือตัวฉัน พักหลังลืมอะไรไปเยอะ

สรุปว่า มีพัดลมเสีย มีช่างพลบอกว่าซ่อมได้ มีสวนสาธารณะสำหรับออกกำลัง และมีฝ่ายน้ำล้นกว้างใหญ่สวยงามสะอาดตา และกองหินสวย ๆ ให้ลงมาเก็บภาพครับ

ไปงานอุตสาหกรรมแฟร์ กลับออกทางค่ายทหารอเมริกันเก่าทางประตูทิศใต้

เมื่อมองออกจากพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกาะคา พบสิ่งปลูกสร้างทั้งที่พัฒนาไปมาก และที่ยังรอการพัฒนาอยู่ ทำให้นึกย้อนไปสมัยทหารอเมริกันมาสร้างฐาน มีอาคารมากมาย สนามเทนนิสก็มี สมัยเด็ก ๆ เคยปั่นจักรยานไปเที่ยวกับเพื่อนในหมู่บ้าน วันนี้ได้กลับเข้าไปอีกครั้ง ทำให้นึกถึงเรื่องราวที่มีคนบอกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต

วันนี้ขึ้นฟ้าส่องที่กินที่เที่ยวผ่านกูเกิ้ลแม็พ พบงานอุตสาหกรรมแฟร์ #DIPROM #IndustryFair จัดที่ #อำเภอเกาะคา ณ #ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จัดถึง 30 มิ.ย.66 เมื่อเข้าไปก็พบอะไรมากมาย เช่น ผ้าม้งปักมือ ข้าวหลาม ผลิตภัณณ์จากเซรามิก ผลงานนักศึกษามหาวิทยาลัย และขององค์กรไปจัดแสดง เป็นต้น ผมได้ข้าวหลามทุเรียนมาบ้องละ 120 บาท ถ้าเป็นถั่วดำราคา 3 บ้อง 100 บาท แต่ละไส้มีราคาต่างกันไป

ขากลับ ลองสำรวจถนนภายในศูนย์ฯ เผื่อพบทางออกใหม่ จึงได้ตรงเข้าไปข้างหลังศูนย์ฯ พบว่ามีสามแยกแล้วเลี้ยวออกไปทางขวา เห็นว่ามีทางถนนที่ได้ปรับเรียบร้อยและผ่านได้ มีต้นไม้เยอะหน่อย ไปได้สักพักก็พบอาคารเก่าชั้นเดียวในสมัยที่ทหารอเมริกันมาตั้งฐานเรดาร์ ปัจจุบันเป็นสถานีวิทยุของทหารไทยตั้งอยู่ ขับตรงไปตามถนนจนพบประตูทางออกก็เลี้ยวซ้ายตามถนนคู่ขนานไป แล้วขับตรงตามทางต่อไป เพื่อหาทางยูเทิร์นกลับเข้าสู่เมืองลำปาง

ระหว่างทางพบป้ำน้ำมัน และร้านอาหารชื่อเสบียง เป็นร้านติดแอร์เย็น มีเมนูให้เลือกมากมาย เป็นร้านที่ทันสมัย จำได้ว่าเคยพาคุณแม่ไปทานข้าวที่นี่ เพราะพาท่านเข้าร้านได้ง่าย ชอบบรรยากาศแบบในเมือง อาหารมีทั้งสเต็กหมู หมูกระเพราราดข้าว ต้ม ผัด แกงทอด สั่งได้หมด ราคาก็ไม่แรงมาก อย่างสเต็กหมูที่มีสลัดผักกับเฟรนช์ฟรายส์มาให้จุใจ ราคา 99 บาทเท่านั้น

อิ่มแล้วก็ขี่รถตรงไปตามทางคู่ขนาน แล้วไปสะดุดตรง ร้านแสงจันทร์กาแฟสด และขายเซรามิกราคาย่อมเยาว์ติดกัน เป็นเจ้าของคนเดียวกัน เคยดูร้านนี้ในสื่อสังคม แต่งร้านสวย บรรยากาศดี เป็นร้านสุดท้ายก่อนออกจากทางคู่ขนานเพื่อไปยูเทิร์น เข้าไปก็รู้สึกกระชากวัย เพราะแต่งร้านเอาใจวัยรุ่น ซึ่งผมก็ชอบนะ สั่งอเมริกาโน่แก้วละ 50 บาท แล้วก็ดูทีวีเรื่อง Harry Potter ภาคแรก และนั่งมองรถบรรทุกวิ่งผ่านไปมาบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ร้านนี้มีนักศึกษาของวิทยาลัยสงฆ์เข้ามาใช้บริการต่อเนื่อง เพราะเป็นทางผ่านกลับบ้านพอดี บางทีเค้าก็คงมานั่งประชุมหารือหลังเลิกเรียนก็เป็นได้

ชีวิตคือการแข่งขัน ณ งานอุตสาหกรรมแฟร์

เดินในงาน #DIPROM ที่เกาะคา นอกจากได้พบกับสินค้า OTOP / SME / ผลิตภัณฑ์อีกมากมาย ไปเดินเตร็ดเตร่ยามว่างหลังทำงานบ้านเสร็จ เดินในบ้านเยอะล่ะ ออกไปเดินนอกบ้านบ้าง ไปรับแอร์เย็นฉ่ำ พบเห็นการแข่งขันหลายรายการ ที่ด้านหน้าห้อง Hall ใหญ่ มีการแข่งขันเกี่ยวกับงานช่าง ทำงานกันเป็นทีม ช่วงเที่ยงก็พักนั่งทานข้าวกันตรงจุดแข่งขันเลย ทานเสร็จคงทำงานกันต่อ รายการนี้มีผู้สนใจเพียบเลย

เมื่อเดินไปยังอาคารต่อไป ได้เห็นนักเรียน หน้าดำคร่ำเครียด ก้มหน้าก้มตา วาดภาพกันขมักเขม้น ดูทรงออกครับว่าเป็นนักเรียน ชุดมันฟ้อง มีทีมหนึ่งนั่งอยู่ด้านหลังมาจากโรงเรียนวิสุทธิ์วิทยากร ชุดเหลืองเด่นมาแต่ไกล เข้าไปถามน้องที่คุมห้องแข่งขันอยู่ เค้าบอกว่า นี่เป็นการประกวดแข่งขันวาดภาพบนผลิตภัณฑ์เซรามิก หัวข้อ “เส้นสายอัตลักษณ์ล้านนาสู่สากล” แข่งกันถึง 4 โมงเย็น ผมไปตอนเที่ยงกว่า ๆ จึงยังไม่มีภาพผลงานมาโชว์ แต่ชอบที่ได้เห็นบรรยากาศที่นักเรียนมุ่งมั่นตั้งใจวาดภาพ น่าชื่นชม ที่สำคัญชุดนักเรียนดูน่ารักดี

ย้อนกลับไปเดินใน Hall ใหญ่ ได้พบน้องนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของการไฟฟ้าแม่เมาะ เค้าอยู่ในทีมร่วมทำโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น้องเค้าคุยเก่ง หน้าตาเหมือนในไวนิลนั่นหละ ได้เล่าให้ผมฟังเป็นฉากเป็นฉากเรื่อง City Data Platform ที่เปิดเว็บไซต์ให้ลองคลิกสำหรับนำเสนอ เพื่อดูข้อมูลได้ หากสนใจก็ส่อง QR Code บนแผ่นไวนิล และยังมี Line OA อีกด้วย น้องเค้าเล่าว่าต่อไปจะรวบรวมข้อมูลเมืองในทุกมิติ ตอนนี้อยู่ระหว่างพัฒนา ในเร็ววันนี้คงมีฟังก์ชันมาให้ได้ใช้งานกันครบตามเป้าหมาย รู้สึกแม่เมาะของเราก้าวไปไกลแล้วนะครับ

สรุปว่า นอกจากของกินของใช้ และเรื่องราวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว ยังพบนักเรียน/นักศึกษาไปแข่งขันกันในหลายรายการ ถ้าเดินแล้วง่วงเหงาหาวนอน ก็อุดหนุนขนมนมเนย น้ำหวาน น้ำสมุนไพร น้ำชากาแฟ ทุเรียนหลงลับแล หรือผลิตภัณฑ์จากหลากหลายชุมชนที่มาเปิดบูธให้บริการกันได้ ชวนไปเดินเตร็ดเตร่กันครับ เค้ามีถึง 30 มิ.ย.66 ยังมีเวลาไปเที่ยวอีกหลายวัน

งาน​ประเพณีสระเกล้าดำหัว​ คณะครูอาวุโสโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

สระเกล้าดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2566

งาน​ประเพณีสระเกล้าดำหัว​ คณะครูอาวุโสโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
วันเสาร์ที่​ 22​ เมษายน​ 2566​ ณ​ กรีนโดมของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566
แล้วสมาชิกของสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
ได้อัพโหลดภาพ เพื่อแบ่งปันลงในเฟซบุ๊กแบบเผยแพร่ทั่วไป
พบอัลบั้มใหญ่ ๆ อยู่หลายอัลบั้ม
จึงนำไปแชร์ต่อโดยแขวนไว้ในโฮมเพจ เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงได้ง่าย
แล้วต่อไปจะสืบค้นได้ผ่านบริการสืบค้นต่าง ๆ ในอนาคต
รวมได้ 4 อัลบั้ม = 781 ภาพ

  1. อัลบั้มของ Pongtep Boonkird – 28 ภาพ
  2. อัลบั้มของ Wijitra Gann – 596 ภาพ
  3. อัลบั้มของมนัสพี เดชะ – 80 ภาพ
  4. อัลบั้มของมาสเตอร์เรืองฤทธิ์ – 77 ภาพ

http://www.thaiabc.com/acla/thainewyear.asp

หากมีข้อเสนอแนะแจ้งเข้ามาได้ครับ
ปล. ไม่ได้เก็บภาพของพี่ ๆ ไว้ครับ แต่ลิงก์ตรงไปยังอัลบั้ม

สระเกล้าดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ประเพณีที่ศิษย์เก่ากลับมารวมกันทำกิจกรรมแสดงมุทิตาจิต ระลึกคุณความดีของครูอาวุโส ศิษย์เก่าอาวุโส ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ หรือขึ้นปีใหม่ไทย โดยสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และชมรมศิษย์อัสสัมชัญลำปาง(กรุงเทพ) ถือเป็นวัฒนธรรมอันดีที่ร่วมกันรักษาไว้ และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี

“พวกเรารักกัน อัสสัมชัญ สามัคคีกัน รักสถาบัน”
ปุณณสิน มณีนันทน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง