Category Archives: research

ตอนที่ 11 อัตลักษณ์ลำปาง ปี พ.ศ. 2564
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 11 อัตลักษณ์ลำปาง ปี พ.ศ. 2564

http://www.lampangculture.com

ไหน ใคร รู้จักลำปาง
เมื่อปี พ.ศ. 2564 กันบ้าง
แล้วลองบอก อัตลักษณ์ลำปาง มาสัก 3 สิ่ง
แล้วจัดไว้ในหมวดหมู่ใดบ้าง
จากนั้นมาดูเฉลยกันครับ
.
สำหรับนิยามศัพท์แล้ว
อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะ
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จัก หรือจดจำได้
เช่น อัตลักษณ์ลำปาง
คือ สิ่งที่เป็นที่รู้จัก หรือจดจำได้
เมื่อนึกถึงจังหวัดลำปาง

โดยโครงการนี้
มีผู้วิจัย คือ อาจารย์ธวัชชัย ทำทอง
รับทุนวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
.
ซึ่ง อัตลักษณ์ลำปาง ของทีมวิจัยชุดนี้
ได้รวบรวมไว้ ทั้งสิ้น 86 รายการ
แล้วได้จำแนก ลงในหมวดหมู่
ตามลักษณะเฉพาะร่วม แบ่งได้ 13 หมวดหมู่
ซึ่งประกอบด้วย
1. อาชีพ
2. วรรณกรรม
3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย
4. ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ
5. พุทธศิลป์
6. กวีและขับขาน
7. ภาษา
8. สถาปัตยกรรม
9. การแสดง
10. งานศิลปะพื้นถิ่น
11. ดนตรี
12. เซรามิก
13. อาหาร

สรุปว่า สิ่งที่รู้จัก หรือ จดจำได้
ที่นับได้ว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรม.
ของจังหวัดลำปาง มีอะไร
และจัดหมวดหมู่อย่างไร
ก็ขอฝากข้อมูลชุดนี้ไว้
เผื่อได้นำไปพัฒนา ต่อยอด
และใช้ประโยชน์กันต่อไป

https://vt.tiktok.com/ZSYY3EXHT/

ผ้าขาวม้า

https://research.lpru.ac.th/index_researchDetail.php?id=WJlH9j+/q1aMXuL/QSkjAVmGI6WszqEGmDjUL+1+z4eE=

ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก

ที่ลำปาง มีหมู่บ้านแกะสลัก อยู่ที่บ้านหลุก
อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
.
เมื่อได้ชมโบราณวัตถุ
ใน พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชน
ณ วัดบ้านหลุก
ที่เผยแพร่ผ่านระบบเว็บไซต์ ของ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

พบว่า สิ่งของเครื่องใช้โบราณ
ที่ชาวบ้านนำไปมอบให้พิพิธภัณฑ์
ได้ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบ
และเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นห้องเรียนเชิงวัฒนธรรม

พบการบันทึกข้อมูล จำแนกได้ 3 ส่วนหลัก คือ
– ข้อมูลทั่วไป
– การบันทึกข้อมูล
– คำอธิบายวัตถุ
.
พบวัตถุโบราณที่ทำมาจากไม้ น่าสนใจมากมาย เช่น
– ครกตำ
– กระจกกรอบไม้
– ตะเกียงกระป๋อง
– ข้องใส่ปลา
– ไหข้าว
– เตารีดโบราณ
– แมวขูดมะพร้าว
– หม้อข้าวหม่า

ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชม โบราณวัตถุอีกมากมาย
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดบ้านหลุกได้ หรือ สืบค้นข้อมูล
โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
.
หากชอบข้อมูลใดก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยม เพอร์เฟค premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกันครับ

https://vt.tiktok.com/ZSYRAoCEd/

https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2357

ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#บ้านหลุก
#หมู่บ้านแกะสลัก
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
#handmade

ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ที่วัดปงสนุกเหนือ เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ที่วัดปงสนุกเหนือ

การวาดภาพพระกัณฑ์ ใน พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในล้านนา
ณ วัดปงสนุกเหนือ
ที่เผยแพร่ผ่านระบบเว็บไซต์ ของ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

ซึ่งรวบรวมข้อมูล และเผยแพร่
โดยคณะผู้วิจัย นำโดย พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร.

พบว่า ภาพพระกัณฑ์ชุดนี้
วาดลงบนกระดาษ 
ด้วยสีฝุ่นจำนวน 8 สี
คือ
– แดง
– เหลือง
– เขียว
– ดำ
– น้ำเงิน
– น้ำตาล
– ขาว
– ฟ้า

ในระบบได้บันทึกข้อมูล เกี่ยวกับ
– ข้อมูลทั่วไป
– การบันทึกข้อมูล
– คำอธิบายวัตถุ
– และ แหล่งที่มา

ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชมโบราณวัตถุต่าง ๆ
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดปงสนุกเหนือกันได้
หรือ สืบค้นข้อมูล
โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
.
หากชอบบทความใดก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยมเพอร์เฟค premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครับ

Lanna museum

https://vt.tiktok.com/ZSYR6cxrL/

https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2363

ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ ที่ #วัดปงสนุกเหนือ
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#พระกัณฑ์
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
#drawing

ตอนที่ 6 พระไม้ที่วัดไหล่หิน
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 6 พระไม้ที่วัดไหล่หิน

สำหรับผู้ที่ชื่นชมพระพุทธรูปโบราณ
วันนี้ ที่จังหวัดลำปาง ขอพาชม
พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ของชุมชนในล้านนา
ณ วัดไหล่หินหลวง
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ซึ่งโครงการนำร่องนี้ จัดทำโดย
พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร.
ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง และคณะ
พบการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
.
ได้พบกับพระพุทธรูป
จำนวนกว่า สามสิบรายการ
ที่รวบรวมไว้ในโครงการนำร่องครั้งนี้
เช่น พระไม้สัก พระไม้แก้ว และ พระแก้วมรกต
.
พร้อมมีรายละเอียดของพระพุทธรูปแต่ละองค์
ที่บันทึกภาพไว้ในหลายมุม  เช่น
– ชื่อวัตถุ
– เลขทะเบียน
– หมวดหมู่
– ประเภท
– ขนาด
– สภาพ
– อายุ
– และ พุทธลักษณะ
.
นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้น
อีบุ๊ค และ บทความวิชาการจากโครงการนี้
ในฐานข้อมูลวารสารไทย
ที่เกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้อ่านทำความเข้าใจ
.
หากชอบบทความไหน หรือภาพใด
ก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน
ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยมเพอร์เฟค
premium-perfect.com  ได้ครับ
.
ชวนกันร่วมส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครับ

พิพิธภัณฑ์
วัดไหล่หินหลวง
พกร่มเดินวัด

https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2145

ตอนที่ 6 พระไม้ที่ #วัดไหล่หิน
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#วัดไหล่หินหลวง
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง

กาดฮิมขัวหรือตลาดข้างสะพาน

ที่จังหวัดลำปาง
มีการจัดตั้งกาดขึ้นหลายรูปแบบ
ล่าสุดมี กาดฮิมขัว
หรือ ตลาดข้างสะพาน
เพื่อพัฒนาตลาดใหม่
สนับสนุนการพัฒนาย่านวัฒนธรรม
ให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
.
จัดขึ้นบริเวณลานหน้าวัดนาเวียง
ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
จัดขึ้นครั้งแรก
ในวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 และ
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567
ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
.
ในภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือ
กาด คือ ตลาด
ฮิม คือ บริเวณด้านข้าง
ขัว คือ สะพาน
.
การเดินทางไปกาดฮิมขัวนี้
แนะนำได้ 2 เส้นทางหลัก
เส้นทางแรก
เข้าซอย 4 บ้านผึ้ง
ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา
ซอยนี้อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลเกาะคา
เมื่อเข้าซอยนี้แล้ว ให้ตรงไปเรื่อย ๆ
ผ่าน 4 แยกทั้งหมดสองแยก
ก็จะพบสะพาน ซึ่งวัดนาเวียง
อยู่ทางขวามือหลังลงสะพาน
.
เส้นทางที่สอง
วิ่งรถมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง
มาทางอำเภอเกาะคา เพื่อเข้าตัวเมือง
เมื่อพบคลองถมเกาะคา ที่จัดทุกวันศุกร์
จะอยู่ทางขวามือ ก็ให้ชะลอรถ
จากนั้นจะพบซอยด้านซ้าย
ให้เลี้ยวเข้าบ้านนาเวียง
วิ่งตรงมาเรื่อย ๆ
จนพบวงเวียน ให้หาที่จอดเลย
อย่าตรงขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำวัง
เพราะเป็นเขตบ้านผึ้ง
ถ้าจอดรถแถววงเวียน
ก็จะเป็นหน้าวัดนาเวียง บ้านนาเวียง
เป็นพื้นที่จัดงานกาดฮิมขัว
.
กาดฮิมขัว จัดขึ้นตามโครงการ
การบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม
และการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
และสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน
.
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกระดับครัวเรือนด้วยอัตลักษณ์ต้นทุนทางวัฒนธรรมลำปาง
2. เพื่อพัฒนาตลาดย่านวัฒนธรรมชุมชนสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวย่านวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
.
สรุปว่าชวนเที่ยวกาดครับ
ภายในกาด พบกับ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน
กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การประกวดแข่งขันการทำลาบเมือง
การประกวดการตกแต่งร้านค้าของชุมชน
การแสดงของกลุ่มเยาวชน
กลุ่มผู้สูงอายุ
และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย

ยอดวิวเป็นเรื่องที่สำคัญ

เคยนั่งคุย กับ #เจ้าของร้านกาแฟ
เรื่องสถิติการเข้าถึงเนื้อหาคลิปสั้น
ชวนส่องผลวิเคราะห์สถิติการเข้าชม
ว่ามียอดวิว #pageview เป็นอย่างไร
อยากชวนมองกลุ่มเป้าหมาย หรือ
ชวนมองชาร์ต #columnchart

ว่าดูจนจบมีร้อยละเท่าไร
แล้วแสดงรู้สึกหรือคิดเห็นอย่างไร
ตามหลักอะไรก็ได้ เช่น #5W1H

ที่เห็นนี้เรียก #คอลัมน์ชาร์ต
แสดงจำนวนเข้าถึง 1ใน 4 blog
ระบบ #wordpress ที่เกี่ยวกับลำปาง
ที่มีโดเมนเนมแบบส่งต่อครอบไว้

ชาร์ตนี้ผิดปกติ
เพราะระบบ blog ล้มเป็นเวลาเกือบเดือน
(ไม่ได้เข้านาน ไปสนใจแต่คลิปสั้น)
เนื่องจากมีโค้ด 2 ฟังก์ชันไม่ทำงาน
เมื่อเข้าไปตรวจใน wp-content/debug.log
แล้วเข้าไปแก้ไขด้วยการเปลี่ยนชื่อ
พบว่า ระบบกลับมาทำงานได้ปกติ
ปล. จะหาเวลาอัพรุ่น ซึ่งแก้ปัญหานี้ได้จริง

province ranking

จังหวัดอันดับ 1

จังหวัดอันดับ 1
ที่มีสถาบันการศึกษาตั้งอยู่มากที่สุดน่ะพอรู้
แต่อันดับ 2 จนถึงอันดับ 7 มีจังหวัดใดบ้าง
ที่ #ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ data.go.th เค้ารวบรวมข้อมูลไว้
เป็น Microsoft excel เข้าไปก็พบได้โดยง่าย
สำหรับท่านที่กำลังมองหา #จังหวัดที่เด่นด้านการศึกษา อยู่

https://www.thaiall.com/data/handsontable_java.htm

จังหวัดที่มีสถาบันการศึกษามากที่สุด 7 อันดับแรก

  • อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มี 83 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 2 เชียงใหม่ และนครปฐม มี 14 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 3 ชลบุรี มี 13 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 4 นครราชสีมา มี 12 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 5 ขอนแก่น มี 11 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 6 สงขลา และ นนทบุรี มี 10 สถาบันการศึกษา
  • อันดับ 7 ลำปาง และ นครศรีธรรมราช มี 9 สถาบันการศึกษา

จากข้อมูลทั้งหมด 10 จังหวัดข้างต้น มีสถาบันการศึกษารวมกันได้ 185 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 47.43
เฉพาะกรุงเทพมหานครมี 83 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 21.28 จากทั้งหมด 390 สถาบัน

9 ปี เครือข่ายด้านสุขภาพที่ลำปาง ผ่านคลิ๊ป ชัดเลย

9 ปี สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

9 ปี สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

มีโอกาสชมคลิ๊ปมา เห็นว่า ที่จังหวัดลำปางมี สมัชชาสุขภาพลำปาง ตั้งแต่ปี 2544 เป็นการรวมตัวของฝ่ายการเมือง ราชการ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เป็นทีมเลขานุการ แล้วปี 2555 ได้ปรับโครงสร้าง โดยใช้สามเหลี่ยมเขยื่อนภูเขา โดยการรวมตัวกันของ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ โดยมีภาคประชาสัมคมเป็นทีมเลขาการกิจถึงปัจจุบัน
และในวันที่ 17 ธันวาคม 2559 ได้มีการประชุมสมัชชาสุขภาพลำปาง ครั้งที่ 4 ที่ห้องประชุม ใน องค์การบริหารส่วนจังหวัด
แล้วนำเสนอคลิ๊ปในการประชุมครั้งนั้น
ดังนี้

9 ปีสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

 

ที่ผ่านมามีประเด็นที่ขับเคลื่อนทั้งสิ้น 9 ประเด็น
ปี 2556
1. การพัฒนาสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัดลำปาง
2. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง
3. ความมั่นคง ความปลอดภัยด้านอาหารจังหวัดลำปาง
ปี 2557
4. การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกัน
แก้ปัญหายาเสพติดในเด็ก เยาวชนจังหวัดลำปาง
5. การส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยจังหวัดลำปาง
6. กลไกบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์จังหวัดลำปาง
7. การกำหนดมาตรการพึ่งตนเองตามแนววิถีธรรม วิถีไทย
8. สุขภาวะชาวนาจังหวัดลำปาง
ปี 2558
9. มติที่ 1 การจัดการบูรณาการรองรับสังคมผู้สูงอายุและคนพิการจังหวัดลำปาง
mou ที่ 1 การบูรณาการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่าในพื้นที่ปฏิบัติการจังหวัดลำปาง
มติที่ 2/56 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง
2 การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง
ขับเคลื่อนมติที่ 1/56 เด็ก เยาวชนและครอบครัวจังหวัดลำปาง
และมติที่ 1/57 การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันเด็ก เยาวชนจังหวัดลำปาง

ประเด็นที่ 1 การจัดการน้ำสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=Y6SLvlyeSaY&t=6s
ประเด็นที่ 2 การจัดการภาวะน้ำหนกเกินในเด็กประถมศึกษาจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=5OgzUez7tTU
ประเด็นที่ 3 การจัดการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัวสู่สุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=HJxXX9e-oAs
ประเด็นที่ 4 การส่งเสริมถนนปลอดภัย จังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=0DwvIQv_NsE
สัมภาษณ์ คณะอนุกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=-1bA93PBDWc

จัดทำคลิ๊ปโดย สราวุธ เบี้ยจรัส
https://www.facebook.com/srawut.biajaras
คลิ๊ปเสียงจากการประชุมเสวนาบนเวที เรื่อง 9 ปี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ : เดินไปข้างหน้ากับอปท.ยุค 4.0 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559
http://www.4shared.com/mp3/_YAF6Iq3ce/health20161217100107.html

บทเรียนจากการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ แบบมีส่วนร่วมของพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนจังหวัดลำปาง

 

poster

poster

มีการประชุมสมัชชาสุขภาพลำปาง ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม อบจ.ลำปาง
และมีการนำเสนอผลงาน พบ โปสเตอร์นำเสนอผลการวิจัย
[เรื่อง] บทเรียนจากการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ
แบบมีส่วนร่วมของพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนจังหวัดลำปาง
[โดย] กาญจนา ภาสุรพันธ์, อรนุช ดวงเบี้ย,
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, สุมาฬ พรมรุกขชาติ และนงเยาว์ อุดมวงศ์

[ความเป็นมา]
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ทางสมัชชาสุขภาพลำปาง ได้เสนอขอใช้งบประมาณยุทธศาสตร์จังหวัด
เพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง
ตามมติสมัชชาสุขภาพปี 2557 มติที่ 1 โดยมีสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
เป็นผู้ขับเคลื่อนรวมกับพื้นที่ทั้งหมด 4 อำเภอ ๆ ละ 2 ตำบล รวม 8 ตำบล
ระยะเวลาดำเนินของโครงการ 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2559
[วัตถุประสงค์ เพื่อถอดบทเรียน]
1. การสร้างแกนนำเยาวชน
2. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน
[วิธีการศึกษา]
เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูล
ด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การใช้แนวคำถามเจาะลึก
การสนทนากลุ่มและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่
ตัวแทนนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยข้อง คือ บุคลากรทางสุขภาพ
ผู้ปกครอง บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่
แกนนำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
และตัวแทนประชาชนของพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอแม่เมาะ
ประกอบด้วยตำนบนาสัก และตำบลจางเหนือ อำเภองาว ประกอบด้วย
ตำบลบ้านร้อง และตำบลแม่ตีบ อำเภอแม่พริก ประกอบด้วย
ตำบลแม่พริก และตำบลแม่ปุ อำเภอเมืองปาน ประกอบด้วย
ตำบลเมืองปาน และตำบลแจ้ซ้อน
[ผลการศึกษา พบว่า]
1. ด้านการสร้างแกนนำเยาวชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
ในการพัฒนา พบว่าทุกตำบลได้แกนนำเยาวชนที่มีคุณสมบัติที่ชุมชน
มีความพึงพอใจและเยาวชนมีความภูมิใจที่ได้รับการยอมรับ
เช่น การมีแกนนำจิตอาสาเยี่ยมผู้สูงอายุ แกนนำให้ความรู้
และให้คำปรึกษา และแกนนำทำโครงการเพื่อต่อยอดในปีต่อไป
2. ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ทุกภาคส่วนได้ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อน
การเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ ภาคส่วนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้นำท้องที่ แกนนำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน โดยเฉพาะบุคลากรด้านสุขภาพ
และอาจารย์ของโรงเรียน นอกจากนี้ ยังมีภาคประชาสังคม
ซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนและหนุนเสริม

[ข้อเสนอแนะ]
การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสม
กับบริบทของพื้นที่ การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะกลุ่มของเยาวชนต้องมีส่วนร่วม และเป็นแกนนำอย่างแท้จริง
จึงจะทำให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

การประชุมวิชาการ

การประชุมวิชาการ

คลิ๊ปเสียงในการสัมมนาภาคเช้า
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/2362/

บรรยากาศภายในงาน

บรรยากาศภายในงาน

บรรยากาศที่ ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1419095521437908.1073742001.506818005999002

ประชุมเตรียมความพร้อม
https://www.facebook.com/pg/ajarnburin/photos/?tab=album&album_id=1385096828171111

ประกาศแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
http://www.4shared.com/office/lu6NcaLrce/sub_committee_health_59.html
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/687416824742472/

โปสเตอร์นำเสนอการทำงานของเยาวชน

โปสเตอร์นำเสนอการทำงานของเยาวชน