Category Archives: education

การเปลี่ยนไปของสถานศึกษาในสู่ศูนย์บริการทางการศึกษาแบบใหม่

โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์วิทยานุเคราะห์ ลำปาง

โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์วิทยานุเคราะห์ ลำปาง

ผมเคยผ่าน โรงเรียนพงษ์สวัสดิ์วิทยานุเคราะห์ ลำปาง
แล้วเคยแวะเข้าไปเก็บภาพถ่ายในโรงเรียน
แต่วันที่ 25 ธ.ค.2555 มีป้ายขึ้นมาหน้าโรงเรียน
จึงรู้ว่ากำลังมีการเปลี่ยนแปลง

Science School Lampang
We create the global citizen

Science Sport Club
สนามฟุตบอลหญ้าเทียม 3 สนาม
คอร์ทแบตมินตันอินดอร์
เทคควันโดอินดอร์และเอาท์ดอร์ยิม
สนามบาสเก็ตบอล
สระว่ายน้ำพร้อมคลับเฮ้าส์และสปา

Canale Boutique hotel
40 ห้องหรูริมสายน้ำ

Conference Hall ศูนย์ประชุม
Training อบรม
Seminar สัมมนา
Banquet จัดเลี้ยง

http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/178547125499429

Thailand 2024 : 12 expectations of change

คิดต่างสร้างเด็กไทย ทาง Nation Channel

คิดต่างสร้างเด็กไทย ทาง Nation Channel

13 ธ.ค.55 ในโอกาสครบรอบ 12 ปี Nation Channel ได้จัดงานคืนกำไรสู่ประชาชน
โดยจัดกิจกรรม 12 ปี Nation Channel  “12 ความหวัง : ประเทศไทย 2567

2555 + 12 = 2567
Thailand 2024

การเสวนาในหัวข้อเรื่อง “คิดต่างสร้างเด็กไทย
โดยเด็กไทยในวันนี้จะมีคุณภาพและสติปัญญาแบบไหนในอีก 12 ปีข้างหน้า
ท่ามกลางตัวแบบและกระบวนการบ่มเพาะทางการศึกษาในวันนี้
ดำเนินรายการโดย อรัญญา  ชัยคาม  และ อุมาพร  ธำรงวงศ์โสภณ
สถานที่จัดงาน มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

http://blog.nation.ac.th/?p=2396

Keynote speaker :
– พ.ญ.จันทร์เพ็ญ  ชูประภาวรรณ ผอ.สถาบันวิทยาการการเรียนรู้(สวร.)

Panelists:  
– คุณเรืองศักดิ์  ปิ่นประทีป  กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– ดร.ม.ล.จันทน์กฤษณา   ผลวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการศึกษา สมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
– ผศ.ดร.พงษ์อินทร์  รักอริยะธรรม อธิการบดี  มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
– ตัวแทนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น

บีบคั้นหัวใจสลับกับสร้างแรงบันดาลใจ ใน spellbound

spell bound (2002)

spell bound (2002)

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และสถานทูตอเมริกา
เชิญ Jeffrey Blitz ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัล Emmy Award
เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักศึกษา ในศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555

Jeffrey Blitz

Jeffrey Blitz

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=467657883284744&set=a.467657723284760.127012.100001216096658

 

http://www.youtube.com/watch?v=XBdpiCxc0MA

มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ร่วมกับ สถานเอกอัตราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาจังหวัดเชียงใหม่ จัดเทศกาลภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกา ( American Showcase ) เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสสัมผัสกับสังคมและวัฒนธรรมแบบอเมริกัน ซึ่งในครั้งนี้ได้เชิญ คุณเจฟฟรีย์ บลิตซ์ (Jeffrey Blitz) ผู้กำกับภาพยนตร์และสารคดียอดเยี่ยมนานาชาติ มาเล่าประสบการณ์และตอบข้อซักถามให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ในเวลา 09.00-12.00 ณ ห้อง 4201 คณะนิเทศศาสตร์

เทศกาลภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาจะจัดขึ้นทุกปี โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะจัดคัดเลือกภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาเผยแพร่ให้ประชาชนชาวไทยที่สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งในปีนี้จะจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Spellbound ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2002 ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าวได้บันทึกประสบการณ์อันเข้มข้นของการแข่งขันสะกดคำ National Spelling Bee ผ่านสายตาผู้เข้าแข่งขันรุ่นเยาว์แปดคนและถ่ายทอดให้เห็นพฤติกรรมการหมกมุ่นกับการเรียน รวมถึงความเป็นไปในครอบครัวที่ทั้งบีบคั้นหัวใจสลับกับสร้างแรงบันดาลใจ
http://www.nation.ac.th/course-news-detail.php?main=7/19/136/151&content=210

Spellbound poster

Spellbound poster

Spellbound (2002)  Director: Jeffrey Blitz

เด็ก ๆ ทั้ง 8 คน
1. Neil Kadakia
2. Emily Stagg
3. Ashley White
4. April DeGideo
5. Harry Altman
6. Angela Arenivar
7. Nupur Lala
8. Ted Brigham

http://en.wikipedia.org/wiki/Spellbound_(2002_film)

เรื่องราว
เรื่องราวของเด็กหนุ่มสาว 8 คนที่ได้รับการหนุนเสริมจากครอบครัว จนนำไปสู่การชนะการแข่งขันในระดับเมือง และเข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขัน the Scripps Howard national spelling bee championship ที่ Washington D.C. ซึ่งยากและต้องฝึกฝนอย่างหนัก เรื่องราวของแต่ละคนถ่ายทอดผ่านการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และครูที่ทำงานร่วมกันในการพัฒนาพวกเขา ในการแข่งรอบสุดท้ายจะพบกับผู้เข้าแข่งขันกว่า 250 คนภายใต้ความกดดัน และการสะกดคำที่ยากขึ้นกว่าเดิม

Storyline
This documentary follows 8 teens and pre-teens as they work their way toward the finals of the Scripps Howard national spelling bee championship in Washington D.C. All work quite hard and practice daily, first having to win their regional championship before they can move on. Interviews include the parents and teachers who are working with them. The competitors not only work hard to get to the finals but face tremendous (มหึมา) pressure as the original group of over 250 competitors is whittled (ลดลง) down and the words they must spell get ever more difficult.

http://www.spellingbee.com/

http://blog.nation.ac.th/?p=2380

NJ Spelling bee 2013 จะจัดแข่งขันที่จังหวัดลำปาง
ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น

 

http://www.scribd.com/doc/134859628/Nj-Spelling-Bee-2013

 

สไลด์แสดงการติดตั้ง senayan

senayan installation

senayan installation

16 ต.ค.55 คุณเปรม อุ่นเรืิอน กับผม มีโอกาสเรียนรู้การติดตั้งโปรแกรมเสนายัน (senayan) ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงเดือนกันยายน 2555 เป็นที่มาของการสนใจเรื่อง home library ประกอบกับได้สนับสนุน มจร.ห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ลำปาง ตามโครงการวิจัยการพัฒนาระบบนำเสนอผลการเรียนออนไลน์ จึงช่วยติดตั้งเครื่องบริการ และระบบบริการห้องสมุด (SLIMS) แล้วได้ชวนน้องหญิง (ศัลณ์ษิกา) ปี 2 CS ไปช่วยงานทะเบียน และงานห้องสมุด มจร. ห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ลำปาง ในส่วนของการนำข้อมูลเข้าระบบห้องสมุด และระบบรายงานผลการเรียน ก็ถือเป็นการเรียนรู้น้องห้องเรียนไปในตัว (แต่มีรายได้ให้นะครับ) เพื่อบันทึกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น จึงทำ slide ช่วยจนจำเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วนำเสนอที่ http://www.thaiall.com/senayan โดยให้รายละเอียดไว้ดังนี้

การติดตั้ง senayan จำเป็นต้องมี webserver ที่บริการ mysql และต้องสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาก่อน เพราะระบบยังไม่สามารถสร้างฐานข้อมูลในระหว่างติดตั้ง แล้วเครื่องบริการส่วนใหญ่ก็ไม่อนุญาตให้สร้างฐานข้อมูลผ่าน script หลังติดตั้งก็จะมีภาพแสดงการใช้งานเบื้องต้น เช่น การสืบค้น OPAC และการพิมพ์ Barcode เป็นต้น โดยสไลด์ชุดนี้จะมีถึง 31 สไลด์ เพื่อนำเสนอภาพรวมของระบบตั้งแต่การติดตั้ง การเพิ่มหนังสือ การเพิ่มสมาชิก การยืมคืน การเปลี่ยนภาษา ไปถึงการพิมพ์บาร์โค้ด

การติดตั้งเป็นจุดเริ่มต้นของสไลด์ เพราะมีเรื่องต้องนำเสนอทั้ง บทบาทของบุคคลทั่วไป บทบาทของสมาชิก บทบาทของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด และบทบาทของ admin ยังมีเวลาค่อย ๆ จัดทำไปครับ ไม่รีบเร่งนัก

กระต่ายกับเต่า

http://www.youtube.com/watch?v=qOiPy4z4Ji8

ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม เล่านิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า ให้ฟัง เชิงอุปมาอุปมัยเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน แต่มีการปรับเนื้อหานิดหน่อย ให้เพื่อน ๆ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเนชั่นฟังเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ณ ห้องประชุมอาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกับบุคลากร

http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=56910

เนื้อเรื่อง ..
มีอยู่ในวันหนึ่ง ได้มีเต่าตัวหนึ่งคลานต้วมเตี้ยม ๆ มาตามวิสัยของมัน และที่ตรงอีกทางด้านหนึ่งก็ได้มีกระต่ายตัวหนึ่งวิ่งผ่านมา ทางนั้นเข้าอย่างบังเอิญด้วยความรวดเร็ว “ฮิฮิ! นี่เจ้าเต่า นายชอบ ที่จะเดินต่วมเตี้ยม ๆ อยู่อย่างนี้เสมอ ๆ ทำไมนายถึงได้เดินได้ช้าอย่างนั้นเล่า?” เต่าจึงได้พูดว่า “ ถึงแม้ว่าข้าจะเดินได้ช้า แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของความอดทนแล้วข้าไม่เคยแพ้ใคร

นายลองมาแข่งขันวิ่งไปที่บนยอดเขานั่นกับข้าดูเอาไหมล่ะ ?” กระต่ายเมื่อได้ยินอย่างนั้น ก็หัวเราะลั่นอย่างดัง “ฮ่ะ ฮ้า น่าสนใจมาก เลยทีเดียว แต่รับรองได้ว่าไม่มีทางที่เจ้าจะ เอาชนะข้าไปได้หรอก มันเปรียบเทียบกันไม่ได้..ว่างั้น” กระต่ายเที่ยวไปเรียกพวกพ้องให้มาชุมนุมกันอย่างทันท่วงที และรวมทั้งให้เป็นกรรมการใน การแข่งขันอีกด้วย “ทุก ๆ คนมาดูเป็นสักขีพยานว่าใครจะเป็นผู้ชนะ ในการแข่งขันวิ่งเร็ว ระหว่างเต่าโง่กับตัวข้า..ฮ่ะฮ่ะ

เตรียมพร้อม !,ไป ” พอสิ้นเสียงบอกสัญญาณเริ่มการแข่งขันโดยสุนัขจิ้งจอก แล้วทั้งเต่าและกระต่ายก็เริ่มออกวิ่งไปพร้อม ๆ กัน “ปิย้อง ปิย้อง ” กระต่าย กระโดดออกวิ่งนำหน้าไปด้วยความเร็วสูง เผลอแผลบเดียวมันก็วิ่งมาจนถึงที่ตรงจุดกึ่งกลาง ของทางระหว่างภูเขา มันจึงได้หยุดวิ่ง “เจ้าเต่ามันมาถึงไหนแล้วล่ะ ? ” พูดแล้วมันก็ได้หันไปดู และก็ได้เห็นว่าเต่านั้นยังคงคลานตามมาอย่างช้า ๆ มองเห็นไกล ๆ

พวกผู้ชมที่มาชุมนุมกันต่างก็หัวเราะและได้พูดว่า “ท่านเต่า..ท่านเต่า ท่านนี่ ช่างเป็นผู้ที่เดินได้ช้ามาก อาจที่จะพูดได้ว่าเดินได้ช้าที่สุดในโลกเลยก็ได้..ฮ่ะฮ่ะ ” แม้ว่าจะได้ยินแบบนั้นแต่เต่าก็ไม่สนใจอะไรยังคงคลานของมันต่อไปด้วยความเงียบสงบอย่าง ตั้งใจเพื่อที่จะให้ไปถึงที่บนยอดเขาโดยไม่คิดที่จะหยุดพักผ่อน ข้างฝ่ายกระต่ายเมื่อรอเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่เห็นมีทีท่าว่าเจ้าเต่าจะตามมาทันมันสักที…มันจึงเริ่ม นึกเบื่อกับการรอคอย “เจ้าเต่ามันยังคงคลานอยู่อีกตั้งไกล นอนรอซักงีบหนึ่งคงได้.. ถึงยังไงมันก็ไม่มีทางที่ตามมาทันได้หรอก” มันพูดแล้วก็ล้มตัวลงนอน แล้วหลับไปตรง ที่กลางทางตรงภูเขานั่นเอง

ในขณะที่กระต่ายกำลังหลับอยู่อย่างสนิท เต่าซึ่งได้เดินมาอย่างไม่คิดที่ จะหยุดพักผ่อนนั้น “ถึงแม้ว่าขาของข้าจะสั้นเดินได้ช้าก็จริงแต่เรื่องของ ความอดทนแล้วข้าไม่เคยยอมแพ้ให้ใคร ข้าจะต้องทำดีที่สุดเท่าที่ข้าจะทำได้!” หลังจากที่ในขณะที่เต่าได้เดิน มาจนถึงที่ตรงจุดกึ่งกลางของภูเขา พลันมันก็ได้ ยินเสียงหนึ่งซึ่งเป็นเหมือนกับเสียงกรนจากในที่แห่งหนึ่ง “เสียงกรนที่ไหนนี่… อะฮ้า เจ้ากระต่ายนี่ มันมาแอบนอนหลับอยู่ที่นี่เอง

ที่ใกล้ ๆ ตรงนั้นกระต่ายกำลังนอนหลับอยู่อย่างสุขสบาย ส่วนเต่านั้น ยังคงที่จะ เดินต่อไป…ทีละก้าว..ทีละก้าวอย่างจริงจังและอดทน และแล้วหลังจากนั้นชั่ว ขณะหนึ่งกระต่ายก็เริ่มรู้สึกตัวและสะดุ้งตื่นขึ้นมา “เฮ้..นี่เจ้าเต่า มันคลานมาจนถึงที่ไหนแล้วนี่?? ” มันรีบกวาดสายตามองหา แต่ก็ช้าและสายไปเสียแล้ว เพราะเมื่อมันมองไปที่ตรงจุดเส้นชัยที่อยู่บนยอดเขาโน่น มันก็ได้เห็นว่าเจ้าเต่ากำลังแสดง ความยินดีที่ได้รับชัยชนะอยู่อย่างมีความสุข..อยู่ในขณะนั้นเสียแล้ว

http://sukumal.brinkster.net/isoppu/kametousagi/usagi01.html

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น

 

ปิดปาก ปิดหู ปิดตา ปริศนาธรรม

ปิดปาก ปิดหู ปิดตา ปริศนาธรรม

ปิดปาก ปิดหู ปิดตา ปริศนาธรรม

สุญญตาธรรม

เปรียบจิตคน เหมือนลิง กลิ้งไปมา
หัดปิดหู ปิดตา ปิดปากบ้าง
ไม่ยินดี ยินร้าย สิ่งต่างต่าง
ปล่อยจิตวาง ว่างไว้ ไร้ตัวกู

เมื่อจิตว่าง วางได้ ไร้ตัวตน
ไม่ต้องมัว สะละวน ปิดตาหู
มีสิ่งใด ให้เห็น ให้ตาดู
สักแต่รู้ จิตไม่ยึด ไม่เกาะตาม

อันความทุกข์ มีได้ เพราะใจยึด
ดิ้นไม่หลุด ติดพัน เพราะใจหาญ
กล้าไปแต่ง เป็นตัวกู ของกูตาม
มีแต่พาล ให้เกลือกกลั้ว ในชั่วดี

อันจิตว่าง ใจว่าง ตามแต่เดิม
ไม่ต้องเสริม ไม่ต้องตัด ให้บัดสี
ปล่อยจิตใจ เป็นธรรม ชาติดี
ทุกอย่างมี ล้วนไม่หลุด ไม่ติดใคร

อันความว่าง ว่างอยู่แล้ว ตามธรรชาติ
ไม่ต้องอาจ ไปเสริมแต่ง ให้ว่างใหม่
ธรรมชาติ ล้วนสมบูรณ์ อยู่ภายใน
หัดเข้าใจ เช่นนั้นเอง ในตัวเรา

หัดฝึกจิต ให้แยบคาย เมื่อผัสสะ
ใช้ตบะ ใช้ปัญญา อย่าได้เขลา
เมื่อกระทบ อย่ากระเทือน เป็นตัวเรา
ปล่อยให้เขา เป็นธรรม ของเขาเอย

อันความรู้ ในธรรมขั้น สุญญตา
อย่าเพ่งหา ในที่ใด สหายเอ๋ย
ตถตา แจ้งอยู่แล้ว ตามที่เคย
ฝึกให้เคย ทุกสิ่งว่าง แล้วในตัว

http://www.bansuanporpeang.com/node/7032

การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

15 ส.ค.55 ได้อ่านบทความวิชาการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม : หลักการและประสบการณ์จากโครงการสถาบันการศึกษาลำปางEstablishment of a network to promote university social responsibility : Concept and experience from Lampang’s academic institutional project จากโครงการวิจัย “แนวทางการทำงานเครือข่ายสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ เพื่อให้ได้รูปแบบ/แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

หากจะสรุปวัตถุประสงค์ สามารถสรุปได้ 3 คำหลัก คือ 1) แนวทางที่สถาบันทำงานร่วมกัน (work together) 2) แนวทางเรียนรู้ชุมชน (learn community) 3) แนวทางการเชื่อมสถาบันกับชุมชน (work with community)

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ 1) การทำงานเป็นภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตรระหว่างสถาบันการศึกษา ด้วยพลังจิตอาสา และนำความเข้มแข็ง ทางวิชาการของสถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันมาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อชุมชน 2) การเรียนรู้ชุมชนโดยอาศัยพลังเครือข่ายกัลยาณมิตร เคลื่อนงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ชุมชน 3) แต่ละสถาบันนำความรู้ในศาสตร์ของตน และนำนักศึกษามาร่วมเรียนรู้ บนฐานคิดที่ว่างานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม

องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ คือ  1) เรียนรู้วิถีชุมชน ผ่าน group discussion และ swot analysis ในประเด็น การศึกษา การเกษตร อาชีพ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนาขั้นตอนการวางแผน และประสานร่วมแรงร่วมใจ

การทำงานก่อให้เกิด คือ 1) ประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ 2) ขยายเครือข่ายงานวิจัยในสถาบันของตน 3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

บทเรียนของภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตร มีดังนี้ 1) ตระหนักในจิตอาสาต่อพื้นที่ชุมชนจังหวัดลำปาง และจิตอาสาต่อพื้นที่การทำงานวิจัย 2) ตระหนักในองค์ความรู้ทางวิชาการของสถาบันที่มีอยู่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3) มีประสบการณ์ร่วมกันในการทำวิจัยเชิงพื้นที่ร่วมกัน 4) รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องร่วมกัน 5) ความเข้าใจในความเชี่ยวชาญของนักวิชาการที่ทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดคุณค่าตามมา 5.1) เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบัน 5.2) ขยายงานวิจัยในองค์กรของตน 5.3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

บทเรียนใน 6 เดือนแรกช่วงเรียนรู้และหาโจทย์วิจัยกับพื้นที่ คือ
1) ชุมชนสามารถนำเสนอข้อมูลและองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) สร้างบรรยาการร่วมกันในการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเป็นสุข
3) การลงพื้นที่ทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย
4) ภาคีเครือข่ายควรมีแนวทางกระตุ้นให้ชุมชนมีทักษะในการเรียนรู้ปัญหาและช่วยเหลือตนเอง

มีประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่
– บทเรียนการเคลื่อนงานวิจัยท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค
– การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150751001108895.424758.814248894

หัวงูกับนักศึกษาสาว มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง

ศึกกลางมหาวิทยาลัย .. เสียดายครับ
หัวงู น้องกบ และนักศึกษาสาว กลางมหาวิทยาลัย
มีเสียงเชียร์มาเป็นระยะด้วยครับ

ตั้งแต่เห็นงูที่มหาวิทยาลัยมาหลายตัว .. ผมว่าตัวนี้เล็กสุดแล้ว

เสียดายงูครับ ตัวยังเล็ก .. จะยำงูก็คงไม่พอลำ
ส่วนกบก็ต้องปล่อยเป็นอาหารของงูไป
เพราะอยากเห็นงูอ้วนจ้ำม่ำกว่านี้ ..
ด้วยใจเมตตา .. อยากให้เห็นเขาเป็นสุข

ข้อความในคลิ๊ป

หัวงู น้องกบ กับนักศึกษาสาว (lady students)
มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง (ม.เนชั่น)
เรื่องมีอยู่ว่า น.ศ.พบหัวงูแล้วมีทีท่าว่ากลัว หลายคนถึงกับกริ๊ด (กริ๊ดทำไม)
ในคลิ๊ปนี้น้องกบ (frog) โดนหัวงู (snake) กอดรัด (hug) ฟัดเหวี่ยง
ดูท่าจะไปไหนไม่ได้ เสร็จหัวงูไปอีกราย
เป็นวัฏจักร (cycle) ของหัวงูกับน้องกบ .. หลายคนบอกว่าสงสาร
แต่บางคนก็เชียร์ (cheer) บ้างเชียร์หัวงู บ้างก็เชียร์กบ
แล้วคุณล่ะเลือกข้างรึยัง (question)

 

imagination and knowledge

ImagiNation is more Important than knowledge

ImagiNation is more Important than knowledge

คำตัวโตที่เขียนบนเวที
ปรากฎในการปฐมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555
ว่า “ImagiNation is more Important than knowledge
เป็นประโยคเด่นของ Albert Einstein
จัดขึ้นระหว่าง 17 – 18 มิถุนายน 2555 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

ผมลองตั้งคำถามกับนักศึกษา
ว่า “จงแสดงความคิดเห็นต่อประโยคเด่นบนเวที โดยให้ความหมายในมุมมองของท่าน” บางทีคำถามข้อนี้อาจกลายเป็นข้อสอบข้อยากข้อหนึ่งในแบบสอบก็เป็นได้ .. ใครจะรู้

บางที “ข้อนี้อาจเป็นข้อสอบข้อยาก
ที่ผมจะใช้ถามนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกภาคเรียน

http://www.youtube.com/watch?v=zJrXbYSSwg4

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.326011404142618.73874.228245437252549

http://www.youtube.com/watch?v=mYXDpe7UGXw

http://www.scribd.com/doc/102715883/01intro2555-2