Category Archives: place

ตำนานอำเภอแม่พริก

ตำนานอำเภอแม่พริก
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาของอำเภอแม่พริก
– ภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณ
– ประวัติพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี
– ตำนานวัดผาปังกลาง
– ตำนานวัดพระพุทธบาทวังตวง
– ตำนานห้วยขี้ .. ที่ผาปัง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแม่พริก

แผนที่อำเภอแม่พริก

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/maeprik.htm

คำขวัญอำเภอแม่พริก
สวนส้มเกลี้ยงลือไกล ถิ่นลำไยไร้สารพิษ ถ้ำน้ำผ่างามวิจิตร เมืองเศรษฐกิจชุมชน

พื้นที่
ประมาณ 538.921 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
เนื่องจากสภาพพื้นที่มีภูเขาล้อมรอบ ฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (มีนาคม – พฤษภาคม ) ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 4  แห่ง
– หมู่บ้าน 28 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา  ทำไร่  เลี้ยงสัตว์
– อาชีพเสริม ได้แก่ ปลูกพืชฤดูแล้ง  หาของป่า

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
ได้แก่  ทรัพยากรป่าไม้

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น   รวม 17,389 คน
– จำนวนประชากรชาย   รวม 8,611 คน
– จำนวนประชากรหญิง   รวม 8,778 คน
– ความหนาแน่นของประชากร   32.27 คน/ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   ลำไย   ส้มเกลี้ยง
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่  แม่น้ำวัง

ตำนานอำเภอแม่ทะ

ตำนานอำเภอแม่ทะ
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาอำเภอแม่ทะ
– พ่อหนานอินถา
– หนานอินถานายาบ
– พ่อเจ้าติ๊บปาละ (สามขา)
– ความเป็นมาของหมู่บ้านสามขา
– ตำนานพระเจ้าไม้แก่นจันทน์
– ตำนานพระเจ้าทันใจสองพี่น้อง วัดดอนไฟ
– ตำนานวัดดอยม่วงคำ กับนิทานพื้นบ้าน “หมาขนคำ”
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแม่ทะ

แผนที่อำเภอแม่ทะ

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/maetha.htm

คำขวัญอำเภอแม่ทะ
ลำน้ำจางหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระไม้แก่นจันทน์ สินแร่สำคัญถ่านหินดินขาว อาชีพยืนยาวไม้แกะสลัก แหล่งประจักษ์ธรรมถ้ำพระสบาย

พื้นที่
ประมาณ 810.543 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
แบบมรสุม

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 10 แห่ง
– หมู่บ้าน 93 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม   รับจ้าง   ปลูกพืชไร่
– อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ที่สำคัญของอำเภอ  ได้แก่   ดินขาว   ถ่านหินลิกไนท์

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 62,859 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 31,481 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 31,378 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 77.55 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   อ้อย   มะเขือเทศ
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่  ลำน้ำจาง

ตำนานอำเภอเมืองปาน

ตำนานอำเภอเมืองปาน
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานเมืองปาน
– ตำนานพระธาตุวงตา
– ตำนานวัดพระธาตุดอยเต่าคำ
– ตำนานพระธาตุดอยซาง หรือภูซาง
– ตำนานบ้านทุ่งส้าน
– ตำนานพระธาตุจอมก้อย
– ตำนานพระพุทธเจ้าดอกสาน
– ประวัติพระพุทธเจ้าดอกสาน (พระนอนองค์ใหญ่)
– ประวัติการสร้างพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และศาลาพุทธธรรม
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเมืองปาน

แผนที่อำเภอเมืองปาน

 

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/muangpan.htm

คำขวัญอำเภอเมืองปาน
แหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแจ้ซ้อน บ่อน้ำร้อนลือนาม สามต้นสักใหญ่ ไหว้พระธาตุดอยซาง

พื้นที่
ประมาณ 865.103 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
มี 3 ฤดู ฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศา(พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36 องศา (มีนาคม– พฤษภาคม ) ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 5 แห่ง
– หมู่บ้าน 55 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา
– อาชีพเสริม ได้แก่ ทำสวน ทำไร่

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 34,453 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 17,350 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 17,103 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 39.505 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่ ข้าว  อ้อย  ข้าวโพดฝักอ่อน / เลี้ยงสัตว์
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 น้ำแม่เต๊าะ-แม่ต๋อม
2 น้ำแม่สอย
3 น้ำแม่มอน
4 น้ำแม่ปาน
5 น้ำแม่ก๋วม
6 น้ำแม่บอม
7 น้ำแม่ตุ๋ย
8 น้ำแม่นึง

ตำนานอำเภอเมือง

ตำนานอำเภอเมือง
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานเขลางค์นคร ยุคเริ่มสร้าง
– ตำนานพระนางจามเทวี
– เรื่องเล่าชุมชนบ้านวังหม้อ
– ตำนานวัดเจดีย์ซาว
– ประวัติพระเจ้าแสนแซ่ทองคำประดิษฐาน ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง จังหวัดลำปาง
– ประวัติพระพุทธรูป “พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ”
– ตำนานพระธาตุแก้วดอนเต้า
– วัดพระแก้วดอนเต้า นครลำปาง
– ตำนานวัดม่อนพญาแช่
– ตำนานวัดศรีล้อม
– ตำนานต้นศรีมหาโพธิ์
– ศาลเจ้าพ่อมหายักษ์สามพันตน
– วัดพระธาตุเสด็จ
– วัดพระธาตุม่อนจำศีล นครลำปาง
– ตำนานสำนักปฏิบัติธรรมวัดเวียงทอง (วังบัวตอง)
– ตำนานวัดม่อนปู่ยักษ์
– ความเป็นมาชุมชนบ้านปงสนุก
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเมือง

แผนที่อำเภอเมือง

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/muang.htm

คำขวัญอำเภอเมืองลำปาง
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

พื้นที่
ประมาณ 1,156 ตารางกิโลเมตร
http://www.amphoe.com/menu.php?am=546&pv=51&mid=1

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
ฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำระหว่าง 10 – 12 องศา ฤดูร้อน (มีนาคม – มิถุนายน) อุณหภูมิ 35 – 43 องศา ฤดูฝน (เริ่มเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 15 แห่ง
– หมู่บ้าน 176 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก   การเกษตร ได้แก่การปลูกข้าวเหนียว  อ้อย  ถั่วเหลือง และสัปปะรด
– อาชีพเสริม   เลี้ยงสัตว์  ได้แก่  โค  กระบือ  ไก่  เป็ด  และสุกร

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– แม่น้ำวัง
– แม่น้ำตุ๋ย
– ทรัพยากรแร่  ได้แก่  แร่พลวง  ดินขาว  แร่ดินเบา
– ทรัพยากรป่าไม้  ได้แก่  ไม้สัก  ไม้เต็ง  ไม้รัง  ไม้แดง  ไม้ประดู่

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 234,782 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 114,202 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 120,580 คน
– ความหนาแน่นของประชากร – คน/ตร.กม.

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเหนียว,อ้อย ,ถั่วเหลือง,สัปปะรด
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 แม่น้ำวัง
2 แม่น้ำตุ๋ย
3 เขื่อนกิ่วลม
4 เขื่อนยาง

ตำนานอำเภอแจ้ห่ม

ตำนานอำเภอแจ้ห่ม
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานเมืองแจ้ห่มกับเจ้าพ่อพญาคำลือและชาติพันธุ์ดั้งเดิม
– วัดอักโขชัยคีรี
– ตำนานวัดอักโขชัยคีรี
– ตำนานม่อนก๋องข้าว
– ตำนานรอยพระพุทธบาทห้วยลูด
– ตำนานวัดดงนั่งคีรีชัย ตำบลวิเชตนคร แจ้ห่ม ลำปาง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแจ้ห่ม

แผนที่อำเภอแจ้ห่ม

ข้อมูลจาก
http://ldslpg.org/structure/jaehom.htm

คำขวัญอำเภอแจ้ห่ม   
พญาคำลือคู่บ้าน มะขามหวานคู่เมือง เงาพระธาตุลือเลื่อง เมืองน้ำปูดี

พื้นที่
ประมาณ 1,349.121 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าไม้ล้อมรอบ มีที่ราบลุ่มบริเวณ ที่ราบใกล้แม่น้ำเป็นบางส่วน มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 76 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ภูเขาครอบคลุมโดยรอบของพื้นที่อำเภอ

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 7 แห่ง
– หมู่บ้าน 62 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ค้าขาย
– อาชีพเสริม ได้แก่ การทำผักกาดดอง การแปรรูปใบยาสูบ การทำหัตถกรรมในครัวเรือน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– ป่าไม้
– แม่น้ำวัง แม่น้ำสอย แม่น้ำมอญ
– แร่หินปูน

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม  38,476 คน
– จำนวนประชากรชาย  รวม  19,273 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม 19,203 คน
– ความหนาแน่นของประชากร  29 คน/ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผักกาดเขียวปลี ใบยาสูบ
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 แม่น้ำวัง
2 แม่น้ำสอย
3 แม่น้ำมอญ

ตำนานอำเภองาว

ตำนานอำเภองาว
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานอำเภองาว
– ตำนานวัดม่อนทรายนอน อำเภองาว จังหวัดลำปาง
– ตำนานเจ้าแม่สรรพกิจ (สัปปะกิ) – ตุงซาววาเมืองง้าวเงิน
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภองาว

แผนที่อำเภองาว

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/ngao.htm

คำขวัญอำเภองาว
หนึ่งในสยามคือถ้ำผาไท ศูนย์รวมจิตใจเจ้าพ่อประตูผา เครื่องหนังงามตา ล้ำค่าไม้แกะสลัก อนุรักษ์วัฒนธรรม งามล้ำอำเภองาว

พื้นที่
ประมาณ 1,815.313 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
เป็นเขตร้อนชื้น มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 10 แห่ง
– หมู่บ้าน 84 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ การทำเกษตรกรรม (ปลูกข้าว)
– อาชีพเสริม ได้แก่ ปลูกกระเทียม   ปลูกข้าวโพด

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
– ที่สำคัญของอำเภอ ป่าไม้ของอำเภองาว 940,000 ไร่
– แร่ดินขาว อยู่ที่ ต.บ้านหวด
– แร่ลิกไนท์ อยู่ที่ ต.แม่ตีบ

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 58,827 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 29,398 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 17,471 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 30 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว  กระเทียม  ข้าวโพด
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่   แม่น้ำงาว

ตำนานอำเภอเกาะคา

ตำนานอำเภอเกาะคา
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาอำเภอเกาะคา
– ประวัติการสร้างเมืองลำปาง – ตำนานพระนางจามเทวี เกี่ยวข้องกับพระธาตุลำปางหลวง
– ภูมิหลังเมืองลำปางกับตำนานพระธาตุลำปางหลวง
– ตำนานวัดไหล่หินหลวง
– ตำนานพระธาตุจอมพิงค์ชัยมงคล (พระธาตุจอมปิง)
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเกาะคา

แผนที่อำเภอเกาะคา

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/koka.htm

คำขวัญอำเภอเกาะคา
พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตน้ำตาลทราย สวดลายงามเครื่องปั้น จักสานเครื่องใช้ อุ่นไอบ่อน้ำร้อน ลือกระฉ่อนมนุษย์เกาะคา

พื้นที่
ประมาณ 551.152 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
แบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม) ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – มกราคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 9 แห่ง
– หมู่บ้าน 77  แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ ด้านเกษตร  รับจ้างทั่วไป
– อาชีพเสริม ได้แก่ อุตสาหกรรมในครัวเรือน/โรงงานเซรามิคส์กว่า 50 โรง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– แร่ฟอสเฟต  ที่ตั้ง บ้านหาดปู่ด้าย ม. 1 ตำบลนาแส่ง
– ปูนขาว ที่ตั้ง บ้านทุ่งขาม ม.6 ต.ใหม่พัฒนา

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม 63,554 คน
– จำนวนประชากรชาย  รวม 30,990 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม 32,564 คน

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว  อ้อย  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 ลำน้ำวัง ความยาว 42 กม.
2 ลำน้ำยาว ความยาว 18 กม.
3 ลำน้ำจาง ความยาว 8 กม.

ตามรอยละครที่บ้านป่องนัก พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 .. สวยอ่ะ

แผนที่ไปบ้านป่องนัก

แผนที่ไปบ้านป่องนัก

ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมาลำปางไปพะเยา ต้องอ่านครับ
บ้านป่องนัก หรือบ้านหน้าต่างมาก
เปิดให้เข้าชมเวลา 09.00 – 16.00 น. ทุกวัน
หากเข้าชมเป็นหมู่คณะ หรือต้องการผู้พาชม
ติดต่อ 054 – 323744 และ 054 – 225941 ต่อ 72444

บ้านป่องนัก https://www.facebook.com/unseenlampang/photos/pcb.1540716969558914/1540716776225600/

บ้านป่องนัก https://www.facebook.com/unseenlampang/photos/pcb.1540716969558914/1540716776225600/

ภาพจาก http://pantip.com/topic/31935741

ภาพจาก http://pantip.com/topic/31935741

ภาพจาก http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside.php?id=782

ภาพจาก http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside.php?id=782

ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/korpai/2010/05/27/entry-1

ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/korpai/2010/05/27/entry-1

ภาพจาก http://chillblog.chillpainai.com/index.php?c=detail&a=index&shareid=609

ภาพจาก http://chillblog.chillpainai.com/index.php?c=detail&a=index&shareid=609

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1739387099614029.1073741918.1399580723594670

เพื่อนบอกว่าบ้านป่องนัก หลังปิดปรับปรุง .. เปิดแล้ว
เมื่อ 21 ก.พ.59 ผมเข้าไปเที่ยวระหว่าง 10.00 – 11.00 คนไม่เยอะครับ
จึงไปเก็บภาพมาเล่าว่า “บ้านป่องนัก สวย สีสดใสของสีเหลืองตัดด้วยสีเขียวอ่อน” งามมาก
บ้านป้องนัก (บ้านหน้าต่างมาก) คือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32
ตั้งอยู่ในค่ายสุรศักดิ์มนตรี อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
สร้างปี พ.ศ. 2468 โดยกรมยุทธการทหารบก และควบคุมการก่อสร้าง
โดย พันโท พระมหาณรงค์เรืองเดช ผู้บังคับกองทัพที่ 1 กรมทหารราบที่ 17
ซึ่งใช้งบประมาณในการก่อสร้างไปกว่า 16,000 บาท
ที่ชื่อว่าบ้านป่องนักเพราะ มีหน้าต่างจำนวน 469 บาน
บ้านนี้เคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2469
และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือ
ได้จัดให้เป็นพลับพลาที่ประทับอีกครั้ง
ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
1. เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม
และปี 2558 มีละครเรื่อง “หนึ่งในทรวง
พระเอกนางเอกคือ เจมส์ จิรายุ และ ญาญ่า อุรัสยา
มาใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละคร
2. เป็นที่พักรถจุดสุดท้ายในโครงการ Bike for dad 2015
ของจังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558
ช่วงนี้มีการปรับปรุง และยังไม่เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์
ได้รับแจ้งจากเพื่อนก้าที่ทำร้านของชำในค่ายเล่าว่าบ้านนี้
มีดารามาถ่ายทำ และเปิดให้บริการใหม่แล้ว

ระเบียงด้านล่าง

ระเบียงด้านล่าง

หน้าห้องบรรทม ผ่านห้องทรงงาน

หน้าห้องบรรทม ผ่านห้องทรงงาน

แดด 10 โมง กำลังสวย

แดด 10 โมง กำลังสวย

บรรไดด้านข้าง

บรรไดด้านข้าง

แสดงกำลังสวย

แสดงกำลังสวย

ทางลงบ้านด้านข้าง

ทางลงบ้านด้านข้าง

+ http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000111323
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81

ถ่ายหน้าประตูห้องบรรทม

ถ่ายหน้าประตูห้องบรรทม

ระเบียงบ้านสวยมาก

ระเบียงบ้านสวยมาก

ด้านหน้าห้องทรงงานถึงห้องบรรทม

ด้านหน้าห้องทรงงานถึงห้องบรรทม

บนบ้านกว้าง หน้าต่างเยอะ แสงสวย

บนบ้านกว้าง หน้าต่างเยอะ แสงสวย

ระเบียบชั้น 1 รอบตัวบ้าน

ระเบียบชั้น 1 รอบตัวบ้าน

ในพิพิธภัณฑ์มีวัตถุโบราณ ภาพโบราณ เตียงนอนสวย ๆ
มีนักท่องเที่ยวถ่ายไว้แล้ว ผมจึงถ่ายเฉพาะภาพ Portrait
เพราะนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งก็นิยมถ่าย Portrait และเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพ
ในภาพแม่หญิงล้านนา เขียนว่า

การแต่งกายของผู้หญิงล้านนา พ.ศ.2445 ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นตาโก้งต่อเอว ใส่เสื้อบะห้อย
มีผ้า “สะหว้านแหล้ง” ห่มเฉียงพาดไหล่ข้างหนึ่ง ถ้าเป็นฤดูหนาว จะมี “ผ้าตุ๊บ” อีกชั้น

IMG_20160221_104805 (2) IMG_20160221_104819 (2)

มั่วทั้งเช้ามั่วทั้งเย็น แต่ไม่มั่ววันค่ำ ณ กาดหัวขัว

กาดหัวขัว

กาดหัวขัว

ตามรอย อ.ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น ที่เขียน หนังสือลำปางพาชิม
เห็นบทที่ 7 “แอ่วกาดเช้า เซาะกิ๋นกับข้าวเมือง” ก็ลองตามไปดู
หน้า 47 บอกว่ากาดหัวขัว หรือตลาดเทศบาล 3 (รัษฏา)
มีอะไรน่าทานเยอะแยะ #เครือข่ายลำปาง

วันนี้แวะไปดูเค้ามั่วกันตอนเย็น มีแกงหม้อน่าทานทั้งนั้น
คนที่บ้านตั้งใจไปเอาแกงอ่อมมาให้ตา เพราะชอบแกงอ่อมเมือง
ผมก็ไปเดินดูกล้วย เห็นมีหลายเกรดทั้ง 15 20 หรือ 25
แต่ไม่ได้หยิบมา เพราะที่บ้านยังมีกล้วยเหลืออยู่อีกหวี
ได้พบกับชมพู่มะเหมี่ยว แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะรีบเดินกลับบ้าน
ได้ของพะรุงพะรังเต็ม 2 มือแล้ว

สรุปว่ากาดนี้มากันได้ทั้งเช้า และเย็น มั่วกันทุกวัน
แต่เช้าจะมั่วมากกว่า ใครไปกาดกองต้าวันเสาร์อาทิตย์
หรือไปถนนสายวัฒนธรรมวันศุกร์
จะแวะไปกาดหัวขัวก่อนก็ได้ เส้นทางใกล้ ๆ กันนั่นหละ
รับรองว่าไปแล้วจะไม่ผิดหวัง ตามแนวโลโซ
เพราะของกินเมืองเยอะม ที่นี่ชาวบ้านเอาผักสวนมาขายกันไม่น้อย
ของใช้อย่างเสื้อผ้า หรือของเบ็ดเตร็ดก็มีบ้างนิดนึง