thaiall logomy background

มูเดิ้ล มูเดิล มูดี้ (Moodle CMS and LMS)

my town
Education | Moodle | e-Learning
มูเดิ้ล (Moodle = Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) คือ โปรแกรมที่ประมวลผลในเครื่องบริการ ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่ครู และนักเรียน ผ่านบริการ 2 ระบบ คือ ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหา บริการให้ครูสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ และ ระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ บริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ครูได้จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัติ
สารบัญ
1. มูเดิ้ล คืออะไร (What is Moodle?)
2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับมูเดิ้ล
3. รวมแหล่งคู่มือมูเดิ้ล (คนไทยช่วยเขียนคู่มือกันเพียบ)
4. ดาวน์โหลด (รวมแหล่งโปรแกรมที่จำเป็น)
+ โปรแกรม moodle-1.5.zip 17 MB
+ ภาษาไทย moodle_th4902.zip # 207 KB
+ สำรองข้อมูล ให้นำไปทดสอบกู้คืน moodle_os.zip 318 KB
เอกสารประกอบการสอนสำหรับแผ่นภาพ
41. การติดตั้ง (Installation)ผู้ดูแล 24ภาพ
42. สมัครสมาชิกเป็นนักเรียน และครู (New Members)ผู้ดูแล18ภาพ
43. นำแฟ้มเนื้อหาที่เตรียมไว้ ส่งเข้าเครื่อง(Upload)ครู17ภาพ
44. เพิ่มแหล่งข้อมูล (Resources)ครู9ภาพ
45. เพิ่มกิจกรรมกลุ่ม (Activities)ครู18ภาพ
46. เข้าสำรวจวิชา (Look Around)นักเรียน32ภาพ
47. เข้าการตั้งค่า (Setting)ผู้ดูแล18ภาพ
48. เข้าจัดการสมาชิก (Members Manage)ผู้ดูแล14ภาพ
49. เพิ่มกิจกรรม แบบทดสอบ (Quiz)ครู26ภาพ
50. สร้างแบบทดสอบแบบ GIFT ด้วย Excelครู20ภาพ
51. สร้าง SCORM ด้วย exe แล้วนำเข้าครู20ภาพ
52. สร้าง SCORM ด้วย reload แล้วนำเข้าครู20ภาพ
บทเรียนภายนอก
81. การสร้างแบบทดสอบ บนรุ่น 2.2.1 .. 75 สไลด์
ข้อมูลเพิ่มเติม
92. แปลงแบบทดสอบ Excel เป็นแฟ้มสกุล GIFT
93. สำรอง และกู้คืน (Backup & Restore)
94. สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model)
95. โปรแกรม edi-mo เพื่อการประเมินผลบทเรียน moodle (2550-11-21)
96. ชมรมผู้พัฒนา Moodle e-Learning (ประชุม #1 2547-10-01)
97. งานประชุมวิชาการ Moodle Moot Thailand 2005 (2548-07-01)
98. การมีภาพประจำตัวแต่ละคน (งานของ admin) (รู้จักหน้ากันไว้ จะได้ทักทายได้)
99. ปัญหา และวิธีแก้ไข (Problems and Solutions)
+ รวมเว็บไซต์ด้านอีเลินนิ่งของสถาบันการศึกษา
+ สนง.คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (phpBB2)
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
- แหล่งคู่มือมูเดิ้ล (ภาษาไทยโดยคนไทย)
- Moodle at http://moodle.org/doc/
1. ข้อมูลเบื้องต้น (About)
2. ครู (Teacher)
3. ผู้ดูแล (Administrator)
4. ผู้พัฒนา (Developer)
- Scorm คืออะไร [รศ.ดร.สุชาย ธนวเสถียร]

ทางเลือกใหม่ของระบบอีเลินนิ่ง
- learnsquare.com โดย nectec (ส่งออกเป็นสกอร์มได้)
- atutor.ca (Learning Content Mgmt. Sys.)
- claroline.net (Open Source e-Learning)
- vclass.net (Virtual Class on Demand)
- eclass.net (Open-Source E-Learning Toolkit)
$ de-learn.com (LMS + IBM Partner)
$ asknlearn.com (merge Wizlearn.com)
@ http://www.blackboard.com
! edi-mo ช่วยวิเคราะห์มูเดิ้ล

การใช้มูเดิ้ลจากโปรแกรม thaiabc.com
- download โปรแกรมแก้วสารพัดนึก (.zip 50 MB)
- กด 4 คลิ๊กแล้วได้ webserver+php+mysql+moodle
- ครูเตรียมสอนที่บ้าน แล้วสำรองผลงานไปกู้คืนที่โรงเรียนได้
- ครูคัดลอก .zip ให้นักเรียนนำไปกู้คืนที่บ้าน ได้
- คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง thaiabc จะมีมูเดิ้ลให้ฝึกใช้
- Click ดูตัวอย่าง หลังติดตั้ง thaiabc

จัดอันดับเกี่ยวกับอีเลินนิ่ง
IMS(Innovation Adoption Learning)
เว็บไซต์นี้มีชื่อระบบอีเลินนิ่งที่ผมไม่รู้จักมากมาย แล้วที่นี่จะได้เห็นมูเดิ้ลอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้ให้บริการหลายราย เช่น Open University, UK ได้ Platinum Awards ปี 2007
ผู้สนับสนุน ยินดีรับ ผู้สนับสนุน เว็บไซต์ด้านการศึกษา
กลุ่มเว็บไซต์นี้ เริ่มพัฒนา พ.ศ.2542
โดยบุคลากรทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
โทร. 081-9927223 (ผมเป็นคนลำปางหนา)
ปล. ขอไม่รับ work at home / อาหารเสริม
1. มูเดิ้ล คืออะไร (What is Moodle?)
มูเดิ้ล (Moodle = Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) คือ โปรแกรมที่ประมวลผลในเครื่องบริการ (Server-Side Script) ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่ครู และนักเรียน ผ่านบริการ 2 ระบบ คือ 1)ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหา (CMS = Course Management System) บริการให้ครูสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ 2)ระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ (LMS = Learning Management System) บริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ครูได้จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัติ
ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเพียงระบบซีเอ็มเอส(ไม่มีระบบแอลเอ็มเอสในตัว) สามารถสร้างวัตถุเรียนรู้จากนอกมูเดิ้ล แล้วนำเข้าไปใช้งานในมูเดิ้ล เช่น สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model) ที่สามารถนำไปติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งในมูเดิ้ล หรือโปรแกรมเลินสแควร์ (Learnsquare) ได้
ผู้พัฒนามูเดิ้ล คือ Martin Dougiamas โปรแกรมมีลักษณะเป็นโอเพนท์ซอร์ท (Open Source) ภายใต้ข้อตกลงของจีพีแอล (General Public License) สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีจาก moodle.org โดยผู้ดูแลระบบ (Admin) นำไปติดตั้งในเครื่องบริการ (Server) ที่บริการเว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) รองรับภาษาพีเอชพี (PHP Language) และมายเอสคิวแอล(MySQL)
ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
#1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
#2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
เลิร์นนิ่งออฟเจ็ค (Learning Object) คือ แฟ้มดิจิทอลเพื่อใช้นำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของสื่อ มักอยู่ในรูปของสื่อผสมที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ # # #
    ความสามารถของมูเดิ้ล
  1. เป็น Open Source ที่ได้รับการยอมรับ (13,544 sites from 158 countries 2549-07-19)
    ตัวนี้ฟรี : ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทย ยังไม่มีข้อตกลงเป็นเอกฉันท์ว่าจะใช้อีเลินนิ่งตัวใด แต่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้มูเดิ้ลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
  2. รองรับทั้ง ซีเอ็มเอส(CMS = Course Management System) และ แอลเอ็มเอส(LMS = Learning Management System)
    ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหาของครู พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา บันทึกกิจกรรมของนักเรียน และตัดเกรด
  3. เป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารออนไลน์ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น
    ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
  4. มี ระบบติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และครู เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น
    นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งการบ้านไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้
  5. มี ระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบให้คะแนนที่หลากหลาย
    ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel ได้
  6. สำรองข้อมูลเป็น .zip แฟ้มเดียวได้ ทำให้ครูหรือนักเรียนนำไปกู้คืนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้
    อย่างของผมทำวิชาระบบปฏิบัติการ แล้วเก็บเป็น .zip เปิดให้ Download ใครจะนำไปทดสอบกู้คืนในเครื่องตนเองก็ได้
  7. ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และใจกว้าง ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ ครูได้ทำหน้าที่ นักเรียนได้เรียนรู้ และสถาบันยกระดับการให้บริการ
    ครูเตรียมสอนเพียงครั้งเดียว แต่นักเรียนเข้ามาเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้าแล้วกลับมาทบทวนก็ได้

2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับมูเดิ้ล
  1. สิ่งที่ควรมี ก่อนใช้มูเดิ้ล (Requirement)
    1. มี เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เพื่อติดต่อกับโปรแกรมมูเดิ้ล จำเป็นทั้งต่อครู และนักเรียน
    2. มี เว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) เพื่อบริการรับการเชื่อมต่อเข้าไป โดยรองรับภาษาพีเอชพี (php) และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (mysql)
    3. มี ผู้ติดตั้ง (Installer) และ ผู้ดูแลระบบ (Admin) เพื่อทำให้ระบบเกิดขึ้น และให้บริการแก่ผู้ใช้
    4. มี ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่ยอมรับเทคโนโลยี ดังนั้นมูเดิ้ลเหมาะสำหรับนักเรียนที่รับผิดชอบ ครูที่มุ่งมั่น และผู้บริหารที่ให้งบประมาณ
    5. มี การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย (Network) เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
  2. จำนวนเว็บไซต์ที่ใช้มูเดิ้ล (ข้อมูลจาก http://moodle.org/sites/ )
    + 2554-07-17 : 54,373 + 9,500 sites (Thailand 787 sites + private 45 sites)
    + 2552-09-30 : 39,180 + 6,347 sites (Thailand 659 sites + private 637 sites)
    + 2549-07-19 : 13,544 sites (Thailand 462 sites)
    + 2547-03-18 : 1,216 sites (Thailand 34 sites)
  3. บทบาทของผู้เข้าใช้มูเดิ้ล (Who are them?)
    1. ผู้ดูแล (Admin) มีหน้าที่ ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น กำหนดสิทธ์การเป็นครู แก้ไขปัญหาให้แก่ครู และนักเรียน
    2. ครู (Teacher) มีหน้าที่ เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรม ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสารกับนักเรียน
    3. นักเรียน (Student) มีหน้าที่ เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
    4. ผู้เยี่ยมชม (Guest) สามารถเข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และถูกจำกัดสิทธ์ในการทำกิจกรรม
  4. แหล่งเรียนรู้ (Resources)
    1. หน้าตัวหนังสือ (Plain Text) คือ การเขียนข้อความตามปกติ
    2. หน้าเว็บเพจ (Webpage) คือ การเขียนตามแบบเว็บเพจ
    3. ลิงก์ไปไฟล์ หรือเว็บไซต์ (Link) คือ การสร้างจุดเชื่อมโยงแฟ้ม หรือเว็บไซต์ภายนอก
    4. แสดงไดเรคทอรี่ (Directory) คือ การแสดงรายชื่อแฟ้มในดาวน์โหลด
    5. ลาเบล (Label) คือ การเขียนข้อความประกาศอย่างสั้น
  5. กิจกรรม (Activities)
    1. สกอร์ม (Scorm) คือ แหล่งข้อมูลที่รวมเนื้อหา หรือแฟ้มข้อมูลจากภายนอก ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานหนึ่งของ Learning Object
    2. สารานุกรม (wiki) คือ ระบบจัดการนิยามศัพท์ หรือให้ความหมายที่ยืดหยุ่น เป็นระบบเปิดที่เข้าจัดการแต่ละความหมายร่วมกันได้
    3. กระดานเสวนา หรือเว็บบอร์ด (Webboard) คือ แหล่งที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือถามตอบ
    4. การบ้าน (Assignment) คือ การมอบหมายให้ทำงานแล้วกลับมาส่ง ด้วยการอัพโหลด พิมพ์คำตอบ หรือส่งนอกเว็บไซต์ก็ได้
    5. บทเรียนสำเร็จรูป (Lesson) คือ เนื้อหาบทเรียนที่ออกแบบเส้นทางการศึกษา ที่แต่ละเนื้อหามีคำถามประเมินความเข้าใจก่อนไปเนื้อหาต่อไป
    6. ห้องปฏิบัติการ (Workshop) คือ การกำหนดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถให้คะแนนทีละองค์ประกอบ หรือทีละระดับได้
    7. ห้องสนทนา (Chat) คือ การสนทนาระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันแบบออนไลน์ในเวลาจริง ผ่านแป้นพิมพ์
    8. อภิธานศัพท์ (Glossary) คือ ให้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างพจนานุกรมออนไลน์ โดยให้ความหมายแก่ศัพท์ทีละคำ
    9. แบบทดสอบ (Quiz) คือ ข้อสอบวัดผลการเรียนรู้ เพื่อประเมินก่อนเรียน หรือหลังเรียน
    10. แบบสอบถาม (Survey) คือ การสอบถามที่ใช้รูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน อาจนำผลมาใช้ปรับปรุงการสอนได้
    11. โพลล์ (Choice) คือ การสอบถามความคิดเห็น เพื่อระดมความคิดเห็นอย่างเร็ว ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
  6. กิจกรรมของครู (Teacher Activities)
    1. สมัครสมาชิกด้วยตนเอง และรอผู้ดูแล อนุมัติ ให้เป็นครู หรือผู้สร้างคอร์ส
    2. ครูสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
    3. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
    4. ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
    5. สามารถสำรองข้อมูลในวิชา เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
    6. สามารถกู้คืนข้อมูลที่เคยสำรองไว้ หรือนำไปใช้ในเครื่องอื่น
    7. สามารถดาวน์โหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทำกิจกรรม ไปประมวลผลใน Excel
    8. กำหนดกลุ่มนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจำนวนมาก
    9. ยกเลิกนักเรียนในรายวิชา ถ้าพบว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเข้าเรียนผิดรายวิชา
    10. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถี่ในการอ่านบทเรียน หรือคะแนนในการสอบ
    11. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงด้วยปฏิทิน
    12. สร้างเนื้อหาใน SCORM หรือสร้างข้อสอบแบบ GIFT แล้วนำเข้าได้สู่ระบบ
  7. กิจกรรมของนักเรียน (Student Activities)
    1. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเองได้
    2. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
    3. เรียนรู้จากเอกสาร หรือบทเรียน ที่ครูกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
    4. ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือสนทนาระหว่างครูและนักเรียน
    5. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน
    6. แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้
    7. เรียนรู้ข้อมูลของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม เพื่อสร้างความคุ้นเคยได้



3. รวมแหล่งคู่มือ moodle
    ชื่อแฟ้มด้านหลัง หมายถึง ชื่อแฟ้มที่ผมเก็บไว้แล้ว แต่ไม่เปิดให้ download ทั่วไป เพราะแฟ้มใหญ่มาก
  1. คู่มือผู้ดูแล (ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (สพฐ) 33 หน้า 3.71 MB [mdl_labschools_admin.pdf]
  2. คู่มือผู้ดูแล (ดร.กานดา รุณนะพงศา ม.ขอนแก่น) http://e-learning.en.kku.ac.th
  3. คู่มือผู้ดูแล (อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ม.โยนก) http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
  4. คู่มือนักเรียน (SUT-LMS ม.เทคโนโลยีสุรนารี) http://sutonline.sut.ac.th 1.14 MB [mdl_sut_lms.pdf]
  5. คู่มือผู้ดูแล (thaimoodle.net) http://www.thaimoodle.net/inst_moodle/install_Moodle_02.pdf 883 KB [mdl_thaimdl_inst.pdf]
  6. คู่มือครู (ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี เภสัชศาสตร์ จุฬา) https://camel.me.psu.ac.th 4.4 MB [mdl_anuchai_teacher.pdf]
  7. คู่มือครู (ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.วลัยลักษณ์) https://camel.me.psu.ac.th 1.63 MB [mdl_wucenter_teacher.pdf]
  8. เอกสารจากการประชุมวิชาการด้าน e-Learning ที่ ม.ขอนแก่น http://www.idc.su.ac.th
  9. คู่มือติดตั้ง moodle 1.7 ใช้ appserv-win32-2.4.7 http://www.cmsthaicenter.com
  10. คู่มือผู้ดูแล (อ.เสรี ชิโนดม ม.บูรพา) http://course.buu.ac.th
  11. คู่มือผู้ดูแล (อ.นวพร กิตติพัฒนบวร ม.วลัยลักษณ์) http://mlearning.wu.ac.th/doc/manualMoodle1.pdf
  12. คู่มือผู้ดูแล (อ.สรวง(ศักดิเดช) ศรีแก้วทุม 01-5685296 รร.แม่เมาะวิทยา) http://www.comlampang.com
  13. Moodle Documents :: http://moodle.org/doc/ หรือ http://class.yonok.ac.th/doc/
    1. About : Background, Philosophy, License, Features, Release Notes, Future, Credits, Case for Moodle, ..
    2. Teacher : Getting Started, Editing A Course, Activity Modules, Resources, Blocks, General Advice
    3. Administrator : Planning your installation, Installation, Security and performance, Configuration, Users, ..
    4. Developer : Guidelines, Resources and tools, How you can contribute, Plans for the future, Doc. for ..
  14. เอกสารกว่า 1000 บทความ โดย ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)

4. ดาวน์โหลด (Download)
การติดตั้งมูเดิ้ลมักทำโดยผู้ดูแลระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบัน ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี
1) ติดตั้งโปรแกรมทีละโปรแกรม ได้แก่ apache, php, mysql และ moodle
2) ติดตั้งโปรแกรมที่รวมชุดมา เช่น appserv, thaiabc, xoops
แนะนำแหล่งโปรแกรม
+ Moodle http://download.moodle.org
+ Apache http://httpd.apache.org/
+ Appserv http://www.appservnetwork.com
+ Thaiabc http://www.thaiabc.com
+ PHP http://www.php.net/downloads.php
+ MYSQL http://www.mysql.com
+ โปรแกรมบริหาร mysql ด้วย PHPmyadmin
+ ตัวอย่างบทเรียนวิชา ระบบปฏิบัติการที่สำรองข้อมูลไว้ นำไปกู้คืนได้ 318 KB

41. การติดตั้ง (Installation) โดย ผู้ดูแล
    การนำเสนอ
    การสอนจะใช้ Windows Picture and Fax Viewer ซึ่งมีอยู่ใน Windows XP ก็ได้
    เปิดภาพ .GIF ขนาด 800 * 600 แล้วกด F11 (Slide Show) 
    สามารถ Pause และใช้ Manual Click for Next Image ได้
    
    แฟ้มที่ใช้
    1. moodle-1.5.zip 17 MB
    2. moodle_th4902.zip# 207 KB
    
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Web Server ด้วย Apache
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Server-Side Script ด้วย PHP
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Database ด้วย MySQL
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเองได้
    
    แฟ้มภาพ : minst01.gif - minst24.gif
    
Click to open thumbnails & details

42. สมัครสมาชิกใหม่ เป็นนักเรียน และครู โดย ผู้ดูแล
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิกเป็นนักเรียน
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิกเป็นครู
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ รู้วิธีแก้ไขข้อมูลของตนเอง
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เพิ่มผู้สร้างรายวิชาได้
    5. เพื่อให้ครูสามารถสร้าง และแก้ไขวิชาได้
    6. เพื่อให้ครูสามารถแนะนำนักเรียน เข้าเรียนวิชาของตนได้
    
    แฟ้มภาพ : mnewmem01.gif - mnewmem18.gif
    
Click to open thumbnails & details

43. นำแฟ้มเนื้อหาที่เตรียมไว้ ส่งเข้าเครื่องบริการ โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูแก้ไขรายละเอียดในหน้าวิชาได้
    2. เพื่อให้ครูอัพโหลดแฟ้มเข้าไปในแหล่งเก็บแฟ้มได้
    3. เพื่อให้ครูเพิ่มแฟ้มที่เคยเตรียมสอน เข้าไปเป็นในแหล่งข้อมูลให้นักเรียนศึกษาเองได้
    
    แฟ้มภาพ : mcontent01.gif - mcontent17.gif
    
Click to open thumbnails & details

44. เพิ่มแหล่งข้อมูล โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูล
    2. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลเว็บเพจได้
    3. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลไดเรกทรอรี่ได้
    4. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลป้ายประกาศได้
    
    แฟ้มภาพ : mresource01.gif - mresource09.gif
    
Click to open thumbnails & details

45. เพิ่มกิจกรรมกลุ่ม โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
    2. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมกระดานเสาวนาได้
    3. เพื่อให้ครูสามารถเพิ่มกระทู้ในกระดานเสาวนาได้
    4. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมการบ้านได้
    5. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมบันทึกความก้าวหน้าได้
    6. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมห้องปฏิบัติการได้
    7. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมห้องสนทนาได้
    8. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมโพลล์ได้
    
    แฟ้มภาพ : mactivities01.gif - mactivities18.gif
    
Click to open thumbnails & details

46. เข้าสำรวจวิชา โดย นักเรียน
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจ พฤติกรรมการเข้าเรียนในวิชา
    2. เพื่อให้นักเรียนแก้ไขข้อมูลของตนเองได้
    3. เพื่อให้นักเรียนบันทึกรูปถ่ายของตนเข้าในระบบ
    4. เพื่อให้นักเรียนแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นได้
    5. เพื่อให้นักเรียนเพิ่มกระทู้ลงกระดานเสวนาได้
    6. เพื่อให้นักเรียนส่งหรืออัพโหลดการบ้านได้
    7. เพื่อให้นักเรียนเขียนบันทึกความก้าวหน้าได้
    8. เพื่อให้นักเรียนตอบโพลล์ได้
    9. เพื่อให้นักเรียนแสดงปฏิทินได้
    
    แฟ้มภาพ : msurvey01.gif - msurvey32.gif
    
Click to open thumbnails & details

47. เข้าการตั้งค่าในการจัดการระบบ โดย ผู้ดูแล
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าตั้งค่าเพื่ออะไร
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลทราบว่าสามารถตั้งค่าได้
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยน Theme ได้
    5. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเลือกกรองข้อมูลที่ต้องการได้
    
    แฟ้มภาพ : mconfig01.gif - mconfig18.gif
Click to open thumbnails & details

48. เข้าจัดการสมาชิกในการจัดการระบบ โดย ผู้ดูแล
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจมีข้อมูลสมาชิกอะไรที่จัดการได้บ้าง
    2. เพื่อให้ผู้ดูแลเลือกวิธีการอนุมัติสมาชิกได้
    3. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าสามารถอัพโหลดสมาชิกจำนวนมากได้
    4. เพื่อให้ผู้ดูแลกำหนดวิธีการรับเข้าเรียนได้
    5. เพื่อให้ผู้ดูแลกำหนดครูให้กับวิชาได้
    6. เพื่อให้ผู้ดูแลลบนักเรียนออกจากระบบได้
    
    แฟ้มภาพ : mmembers01.gif - mmembers14.gif
Click to open thumbnails & details

49. เพิ่มกิจกรรม แบบทดสอบ โดย ครู
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการสร้างแบบสอบแบบเลือกตอบ
    2. เพื่อให้ครูสร้างแบบสอบแบบต่าง ๆ ได้
    3. เพื่อให้ครูเพิ่มข้อสอบในแบบสอบได้
    4. เพื่อให้ครูทดสอบแบบสอบก่อนเปิดใช้ได้
    5. เพื่อให้ครูเข้าใจการส่งคำตอบและการจบแบบสอบ
    6. เพื่อให้ครูสามารถตรวจดูคะแนนของนักเรียนได้
    7. เพื่อให้ครูสามารถนำคะแนนไปใช้ใน Excel ได้
    
    แฟ้มภาพ : mquiz01.gif - mquiz26.gif
Click to open thumbnails & details

50. สร้างแบบทดสอบแบบ GIFT ด้วย Excel
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจการพิมพ์แบบสอบใน Excel
    2. เพื่อให้ครูเข้าใจแฟ้มตามมาตรฐาน GIFT
    3. เพื่อให้ครูสามารถนำแฟ้มแบบ GIFT เข้าไปใน Moodle ได้
    4. เพื่อให้ครูสร้างแบบสอบโดยใช้แฟ้มที่นำเข้าได้
    5. เพื่อให้ครูสามารถนำแฟ้มข้อสอบออกจากโปรแกรม Moodle ได้
    
    แฟ้มภาพ : mgiftxls01.gif - mgiftxls20.gif
    
Click to open thumbnails & details

51. สร้าง SCORM ด้วย exe แล้วนำเข้า
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจคำว่า SCORM
    2. เพื่อให้ครูเข้าใจหน้าที่ของโปรแกรม exe
    3. เพื่อให้ครูสร้าง SCORM ด้วย exe ได้
    4. เพื่อให้ครูนำ SCORM ที่สร้างขึ้นเข้า Moodle ได้
    
    แฟ้มภาพ : exescorm01.gif - exescorm20.gif
    
    หมายเหตุ
    - สร้าง SCORM ด้วย exe มีปัญหาภาษาไทย .. ผมยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข
    - ตัวอย่างแฟ้มที่ได้จาก exe (SCORM Editor)
    
    : exescorm.zip 236 KB
    : scormexephp.zip 2,952 KB (8 Chapters in PDF) - โปรแกรมที่ทำงานบบน Handy Drive หรือ CD รุ่น 1.04
Click to open thumbnails & details

52. สร้าง SCORM ด้วย reload แล้วนำเข้า
    จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. เพื่อให้ครูเข้าใจคำว่า SCORM
    2. เพื่อให้ครูเข้าใจหน้าที่ของโปรแกรม reload
    3. เพื่อให้ครูสร้าง SCORM ด้วย reload ได้
    4. เพื่อให้ครูนำ SCORM ที่สร้างขึ้นเข้า Moodle ได้
    
    แฟ้มภาพ : reloadscorm01.gif - reloadscorm20.gif
    
    หมายเหตุ
    - สร้าง SCORM ด้วย reload มีปัญหาภาษาไทย ในเมนู .. ผมยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข
    - ตัวอย่างแฟ้มที่ได้จาก reload (SCORM Editor)
    
    : thaiallscorm.zip 209 KB
    : scormreloadpl.zip 3,246 KB (12 Chapters in PDF)
Click to open thumbnails & details

92. แปลงแบบทดสอบ Excel เป็นแฟ้มสกุล GIFT
moodle 1.5 สามารถพิมพ์ข้อสอบใน excel แล้วแปลงเป็น text file แบบ GIFT เพื่อ import ไปใน moodle
โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วย php นี้ ใช้แปลงข้อมูลจาก Text ไปเป็นแฟ้มแบบ GIFT เพื่อส่งเข้า Moodle
เปิดใช้แบบออนไลน์จาก http://www.thaiall.com/php/txt2gift.php หรือ Download thaiabc5b.zip จาก thaiabc.com
:: http://www.soberit.hut.fi/sprg/resources/moodle/GiftConverter.html
:: http://learn.uci.edu/cms/help.php?module=quiz&file=formatgift.html (good)

GIFT is the most comprehensive import format available for importing Moodle quiz questions from a text file. It supports Multiple-Choice, True-False, Short Answer, Matching and Numerical questions, as well as insertion of a _____ for the Missing Word format. Various question-types can be mixed in a single text file, and the format also supports line comments, question names, feedback and percentage-weight grades.
Special Characters ~ = # { } : These symbols ~ = # { } control the operation of this filter and cannot be used as normal text within questions. Since these symbols have a special role in determining the operation of this filter, they are called "control characters." But sometimes you may want to use one of these characters, for example to show a mathematical formula in a question. The way to get around this problem is "escaping" the control characters. This means simply putting a backslash (\) before a control character so the filter will know that you want to use it as a literal character instead of as a control character.
ตัวอย่างข้อมูลในแฟ้มแบบ GIFT
- แฟ้มนี้มีสกุล .txt สามารถส่งเข้าไปเป็นแบบทดสอบใน Moodle ได้
- ตัวอย่างนี้มี 1 คำถาม คำตอบที่ถูก มีเครื่องหมาย = นำหน้า
- มีตัวอย่างข้อสอบหลายข้อเขียนในหัวข้อ 99 ด้านล่างสุด

::j0101::[html]Result of 3 & 5?{
=1
~3
~6
~7
}

93. สำรอง และกู้คืน (Backup & Restore)
เมื่อครูเตรียมสอน สามารถทำได้ทั้งแบบ online และ offline ถ้าทำแบบ online หมายถึงทำกับ server โดยตรง ข้อมูลทั้งหมดจึงอยู่ใน server เพื่อความไม่ประมาท ครูควรสำรองข้อมูลเก็บเป็นแฟ้ม .zip เก็บไว้ ถ้าสักวันหนึ่ง server ล่ม หรือถูก hack จนข้อมูลเสียหาย ครูสามารถนำแฟ้มที่สำรองไว้ นำกลับมากู้คืนได้ด้วยตนเอง หรือครูบางท่านอาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน และติดตั้ง moodle เพื่อใช้เตรียมสอนแบบ offline สามารถสำรองข้อมูลจากที่บ้าน มากู้คืนในเครื่อง server ของสถาบันได้ ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเตรียมการสอนแบบ online เพราะไม่สะดวกเรื่องเวลา และสถานที่
ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรอง และกู้คืน
1. การสำรองข้อมูลนี้อาจทำโดยผู้ดูแลระบบ เก็บข้อมูลจากห้อง moodle data folder และจาก mysql หรือใช้ระบบสำรองที่ระบบเตรียมไว้ให้
2. การสำรองนั้นทำได้ไม่ยาก .. แต่ให้ระวังเรื่องขนาดแฟ้ม เพราะเป็นข้อจำกัดใน php.ini
3. การกู้คืนจะต้อง upload เข้าไปใน ไฟล์ของเว็บไซต์ จึงจะกู้คืนแฟ้มนั้นได้
4. กู้คืนได้ 3 แบบ 1.รายวิชาใหม่ 2.เพิ่มลงในรายวิชาที่มีอยู่ 3.ลบก่อนลงข้อมูลในวิชาที่มีอยู่
5. ถ้าเลือก กู้คืน .zip แต่มีวิชาเดิมอยู่ หรือเคยกู้คืนมาก่อนหน้านี้ และเลือกแบบรายวิชาใหม่ ระบบจะเพิ่มวิชาที่มีคำว่า สำเนา 1 ต่อท้าย
6. ถ้ากู้คืน วิชาที่มีอยู่ก่อน ควรเลือกเพิ่มใหม่ หรือลบของเดิม อย่างเข้าใจ
7. ชื่อย่อ (Code) ซ้ำกันไม่ได้ แต่ชื่อเต็มซ้ำกันได้ ให้ระวังถ้ามีครูหลายคนในระบบ
8. กู้คืนแบบ เพิ่ม หรือลบ ต้องเลือกวิชา

8.1 ถ้าเลือกเพิ่มในวิชาเดิม ข้อมูลหลายส่วนจะมี 2 ชุด อย่างไม่ถูกต้อง

8.2 ถ้าเลือกลบในวิชาเดิม ก่อนลงใหม่ ปัญหาจาก 8.1 จะหายไป
9. ครูมีสิทธิ์สำรอง หรือกู้คืนในวิชาของตนเองเท่านั้น แต่ผู้ดูแลระบบทำได้ทุกวิชา
10. วิชาเดียวกัน อาจมีสำรองไว้หลายชุด และสามารถกู้คืนสลับกันได้ ในแต่ละภาคเรียน
11. เพื่อความปลอดภัย ครูไม่ควรเป็นผู้สร้างวิชา เพราะอาจกู้คืนไปทับวิชาอื่น ควรเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ชำนาณ

94. สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model)
SCORM รุ่น 2004 = 1.3 (Current)
? เริ่มต้นพัฒนามาจากกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ (DOD) เพื่อศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบอีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ DOD จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิ่งกลาง ผลจากความพยายาม จึงมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่าง DOD, รัฐบาล, ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่ ี่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning, www.adlnet.org) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2001
สกอร์ม (SCORM) คือ การรวมกันของมาตรฐาน และข้อกำหนด ที่มาจากแหล่งข้อมูลหลายประเภท เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสื่อทั้งหมดสามารถ ทำงานร่วมกัน เข้าถึงได้ และนำมากลับมาใช้ได้อีก นอกจากนี้ยังอาจหมายถึง การบีบอัดเนื้อหาเข้าเป็นแฟ้มเดียว (ZIP) ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบกระจายขั้นสูง (ADL = Advanced Distributed Learning)
บันทึกการทดสอบ SCORM
1. ทดสอบเพิ่มกิจกรรม SCORM
Download แฟ้มจาก http://moodle.org/file.php/15/moddata/glossary/93/4384/SCORMdemonstrator.zip 138 KB
Upload เข้าวิชา และเพิ่มกิจกรรม SCORM จากแฟ้ม .zip ก็จะแตกออกมาให้ใช้
2. ทดสอบโปรแกรม exe (http://www.exelearning.org)
พบปัญหา เมนูภาษาไทย หลัง import เข้า Moodle
มีระบบข้อสอบแบบ Alert ด้วย Javascript
นำ SCORM ของ reload ไปเปิดใน exe ไม่ได้ แม้สร้างด้วย exe แต่ไม่ save ก็เปิดไม่ได้
3. ทดสอบโปรแกรม reload (http://www.reload.ac.uk)
พบปัญหา เมนูภาษาไทย หลัง import เข้า Moodle
ใช้งาน แต่ขาดอะไรหบายอย่าง
นำ SCORM ของ exe มาเปิดได้ โดยเปิดแฟ้ม imsmanifest.xml ใช้ได้ปกติ
4. ทดสอบด้วย CMS ของ http://www.learnsquare.com (2549-11-09)
export เป็น SCORM ด้วย learnsquare แล้วทดสอบนำไปใช้ใน Moodle 1.5
1. ชื่อเนื้อหา และชื่อบทเรียนภาษาอังกฤษ แต่ในบทเรียนเป็น ภาพ ชื่อแฟ้มเช่น scorm_a01.zip

- พบปัญหาหลังนำ SCORM เข้าใน moodle แล้ว

- ปัญหาคือ ภาพใน scorm ไม่ออกใน moodle เพราะโดยแสดง link จาก http://127.0.0.1/moodle/images/
2. ชื่อเนื้อหา และชื่อบทเรียนภาษาอังกฤษ แต่ในบทเรียนเป็นข้อมูลภาษาไทย ชื่อแฟ้มเช่น scorm_a02.zip

- ไม่พบปัญหาใด
3. เหมือนใน scorm_a02 แต่มีหลายบทเรียน แต่ละบทมีหัวข้อย่อย ชื่อแฟ้มเช่น scorm_a03.zip

- ไม่พบปัญหาใด
4. เหมือนใน scorm_a03 แต่เพิ่มเนื้อหา วัตถุประสงค์ คุณสมบัติ เอกสารอ้างอิง เป็นภาษาอังกฤษ

- ไม่พบปัญหา แม้วัตถุประสงค์ คุณสมบัติ และเอกสารอ้างอิงจะเป็นภาษาไทย ก็ไม่พบปัญหา

- แต่ถ้าเปลี่ยน เนื้อหาเป็นภาษาไทย จะพบปัญหา XML error: not well-formed ดังในแฟ้ม scorm_a04.zip

- พบปัญหาบรรทัดที่ 31 ในแฟ้ม imsmanifest.xml เมื่อเปลี่ยนเป็น unicode ปัญหานำเข้า moodle ก็จะหายไป

ของเดิม <imsmd:langstring>ทดสอบ</imsmd:langstring>

ถ้าเปลี่ยนเป็น <imsmd:langstring>&#3607;&#3604;&#3626;&#3629;&#3610;</imsmd:langstring> จะไม่พบปัญหาการนำเข้า

- การเปลี่ยนเป็น unicode ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับการแก้ปัญหา SCORM ภาษาไทยในขณะนี้ (2549-11-11)
5. เหมือนใน scorm_a01แต่เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็นภาษาไทย เช่น ทดสอบ

- พบปัญหา XML error: not well-formed ดังในแฟ้ม scorm_a05.zip
6. เหมือนใน scorm_a01แต่เปลี่ยนชื่อบทเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ทดสอบ

- พบปัญหา XML error: not well-formed ดังในแฟ้ม scorm_a06.zip
7. ทดสอบเปลี่ยนการแสดงผลภาษาใน moodle และข้อสรุป

- แม้เปลี่ยน moodle เป็นภาษาอังกฤษ ก็ยังพบปัญหาเดิม ใน scorm_a04 ถึง scorm_a06

- เปลี่ยนภาษาไทยใน imsmanifest.xml เป็น unicode ก็ยังมีปัญหาการแสดงผลทั้งใน moodle และ learnsquare

- ปัญหานี้พบใน moodle 1.5 และ LearnSquare 1.0 ในรุ่นใหม่ไม่น่าพบปัญหา

- ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องภาษาไทย กับความเข้ากันได้ในโปรแกรมต่าง ๆ .. ในอนาคตน่าจะมีปัญหาน้อยลง
8. Unicode คืออะไร (unicode.org)

- คือ การกำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับทุกอักขระ โดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใด และไม่ว่าจะเป็นภาษาใด

- PHP code ทดสอบ Unicode โดย ก-ฮ อยู่ระหว่า 3585 ถึง 3630


echo "&#". (ord("?") - 161 + 3585) . ";";


for ($i=3585;$i<=3630;$i++) { echo $i." : &#". $i ."; <br>"; }
หนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับ SCORM
- การออกบทเรียนอีเลิร์นนิงฯ โดย รศ.ดร.สุชาย ธนวเสถียร และ อ.ชูเกียรติ ศักดิ์จิรพาพงษ์
- สกอร์มมาตรฐานอีเลิร์นนิงที่ใช้กันทั่วโลก โดย รศ.ดร.สุชาย ธนวเสถียร และ ดร.อมรวรรณ ลิ้มสมมุติ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสกอร์ม
+ http://moodle.org/mod/glossary/view.php?id=2740 (SCORM Exchange เยอะมาก)
+ http://www.thai2learn.com/whatsnew/scorm2.html (อ่านเข้าใจง่ายมาก)
+ http://www.thai2learn.com/sipa/sipascorm.php (อบรมฟรี .. กค.49)
+ http://en.wikipedia.org/wiki/SCORM (ความหมายของ Scorm)
+ http://www.adlnet.gov (ADL = Advanced Distributed Learning DOC Download)
+ http://www.scorm.com/pages/resources.aspx (เอกสารดี ๆ สำหรับ Developer)
+ http://moodle.org/file.php/15/moddata/glossary/93/4132/CookingUpASCORM_v1_2_Draft_0_8_pif.zip 845 KB
+ http://moodle.org/file.php/15/moddata/glossary/93/4194/Mastering_VB_6_Sample_Chapter.zip 7 MB
+ http://www.reload.ac.uk # # SCORM Authoring Tool (Without Java 21.5MB รุ่น 2.0.2)
+ http://www.exelearning.org SCORM Authoring Tool (USB stick or CD-ROM without installing รุ่น 1.04)

95. โปรแกรม edi-mo เพื่อการประเมินผลบทเรียน moodle (2550-11-21)
โดย ศุภชานันท์ วนภู
supachanun@g.sut.ac.th

ลักษณะโปรแกรม
+ พัฒนาด้วย java + php
+ client-server
+ Multi-thread

โครงการการศึกษาไร้พรมแดน เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญในการดำเนินการผลิตชุดสื่อประสม (Multimedia) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดเรียนรู้ด้วย E-Learning โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบบริหารจัดการขึ้นใช้เองในรูปแบบสื่อ WBI (Web Based Instruction) ซึ่งปัจจุบันได้ทำเป็น Demo Course
นับตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 2547 ได้มีการนำเอา LMS ในรูปแบบเปิดเผยซอร์สโค๊ดของ Moodle ย่อมาจาก Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment มาใช้ในการจัดการเรียนการรู้ด้วย E-Learning โดยใช้ชื่อว่า “SUT-LMS” ด้วยคุณสมบัติหลายประการของ Moodle โดยเฉพาะการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆที่ง่ายและสะดวก ประกอบกับ Moodle ได้รับการเลือกให้นำไปใช้สำหรับโครงการโรงเรียนในฝันของรัฐบาล จึงส่งผลให้ Moodle เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามแม้ว่า Moodle จะได้มีการออกแบบและพัฒนาฟังก์ชันพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนแล้วก็ตาม จากการที่ผู้วิจัยได้ติดตามและประเมินผลการใช้งานจริงบนระบบ SUT-LMS ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สามารถสรุปประเด็นปัญหาหลักๆ ที่พบจากในการใช้งานจริงระบบ SUT-LMS ดังนี้
1. มีการใช้งานในระบบ E-Learning จำนวนมาก แต่ยังไม่มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารงาน
2. ครูไม่ได้รับความสะดวกในการติดตามและประเมินผลการการเข้าศึกษาบทเรียนต่างๆ โดยเฉพาะรายวิชาที่มีนักเรียนจำนวนมาก
3. เนื่องจากมีการบรรจุสื่อต่างๆ ไว้ในระบบ LMS จำนวนมาก ทำให้พบปัญหาในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพสื่อการสอนต่างๆ ว่าควรจะดำเนินงานอย่างไร
4. ปัญหาในการจัดการลงทะเบียนนักเรียนให้เข้าใช้บทเรียนที่สอดคล้องกับการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล และฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการเข้าใช้บทเรียนของนักเรียน ของระบบ LMS-Moodle โดยวิเคราะห์จากข้อมูลจริงที่ได้จากระบบ SUT-LMS ของรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ในภาคการศึกษาที่ 3/2547 และรายวิชาองค์การและการจัดการ ในภาคการศึกษาที่ 2/2548 โดยทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้บทเรียน E-Learning จำนวน 2 เรื่อง จากผลการวิจัย พบว่า สามารถนำเอาข้อมูลที่ได้บันทึกการเข้าใช้บทเรียนที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบ LMS นั้น มาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อไปได้
จึงเป็นที่มาของการออกแบบและพัฒนา " โปรแกรม Edi-Mo" ในครั้งนี้
โปรแกรม Edi-Mo มีชื่อภาษาไทยว่า “โปรแกรมการประเมินผลบทเรียน E-Learning โดยใช้การถ่ายโอนข้อมูลจาก Moodle” ส่วนคำว่า “Edi-Mo” ย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษ “E-Learning Evaluation Program by Using Data Interfacing from Moodle”
Edi-Mo เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาจาวา รองรับการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL โดยโปรแกรม Edi-Mo จะทำการเชื่อมโยงและถ่ายโอนข้อมูลต่างๆ มาจากระบบฐานข้อมูล LMS ของ Moodle เพื่อนำมาจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการทำรายงานรูปแบบต่างๆ เมื่อทำการประมวลผลข้อมูลการเข้าใช้งานบทเรียน E-Learning ต่างๆ แล้ว ผู้ใช้สามารถที่จะจัดทำรายงานหรือ Report ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ กราฟวงกลม กราฟเส้น กราฟแท่ง และเอกสารรายงานจำแนกตามภาคการศึกษา หรือจำแนกตามรายวิชา เพื่อนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลบทเรียน E-Learning ต่อไป
Edi-Mo เป็นการพัฒนา Application Software ขึ้นมาใหม่ โดยการนำเอาหลักการที่เกี่ยวข้อง 3 ด้าน ได้แก่ หลักการออกแบบและพัฒนาบทเรียน E-Learning หลักการวัดและประเมินผล และหลักการพัฒนาระบบสารสนเทศ มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาในการติดตามและประเมินคุณภาพบทเรียน E-Learning ที่ใช้ระบบ LMS ของ Moodle ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานในสถานศึกษาต่างๆ ทุกระดับ เหมาะสำหรับนำไปใช้เพื่อการพัฒนาบทเรียน E-learning ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป
http://sutonline.sut.ac.th/edi-mo/modules/content/background.php
http://sutonline.sut.ac.th/edi-mo/modules/content/components1.php
สนับสนุนโดย กองทุนนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โปรแกรมนี้ผมทดสอบเมื่อใช้กับ moodle ในโปรแกรม thaiabc.com แล้วเชื่อมต่อได้ .. แต่เชื่อมเข้าขององค์กรยังไม่ได้

96. ชมรมผู้พัฒนา Moodle e-Learning แห่งประเทศไทย
ผมทราบเรื่องการประชุมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพราะได้รับหนังสือเชิญจาก ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม ให้เข้าประชุมกลุ่มผู้ใช้งาน Software Opensource Moodle e-Learning ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย (LMS) ณ ห้องประชุมหน่วยประสานงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 22 กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมหาแนวทางการดำเนินกิจกรรม และการก่อตั้งชมรม โดยมีผู้เข้าร่วมจากสถาบันต่าง ๆ มากมาย
แต่ผมไม่สามารถเดินทางไปร่วมประชุมได้ ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
1. เรื่องเงิน : ผมต้องเสียเงินส่วนตัว 800 บาท เป็นอย่างน้อย (สถาบันไม่มีงบ) สำหรับค่าเดินทางจากลำปาง ไปประชุมแค่ 2 ชั่วโมง .. ไม่คุ้ม
2. เรื่องหัวข้อ : เข้าใจว่าไปเพื่อรวมกลุ่มกันตั้งชมรม ถ้าไปแค่นี้ผมก็ไม่สะดวก เพราะหัวข้อน้อยไป
3. เรื่องศรัทธา : ผมศรัทธาใน moodle เพราะไม่มีระบบไหนยอดเท่า moodle แต่ผมไม่ศรัทธาใน "อุดมการณ์ของนักการศึกษาไทย ด้านคอมพิวเตอร์ ในภาพรวม" ทุกวันนี้เห็นแต่นักวิชาการที่คมในฝัก มีนักวิชาการจำนวนไม่มากที่ออกมาพัฒนาเว็บไซต์ และถ่ายทอดความรู้
ผมเคยเข้าประชุมในกลุ่มนักการศึกษา ที่พัฒนา e-Learning แต่สิ่งที่ผมไปฟังคือ เขามาทะเลาะกัน ว่าทำไมมีงบให้แล้ว ไปให้คนอื่น สถาบันของตนก็ทำ ทำไมไม่ได้ และองค์กรที่ไปดูงานก็ไปดูงานของตน แต่พอให้งบพัฒนาไปให้ที่อื่น .. ทำให้ผมไม่ค่อยอยากเข้าประชุมเรื่อง e-Learning กับใครเท่าไร เพราะความคาดหวังของผมสูงครับ ผมรู้ว่าความสามารถของครูในสถาบันต่าง ๆ ทำอะไรได้ รู้ถึงศักยภาพของมนุษย์ และองค์กรด้านการศึกษา แต่สิ่งที่ขาดไปคือ การให้ความรู้แก่สังคม บวกกับความไม่หวงวิชาในฐานะครู ขนาดผมเป็นแค่เด็กบ้านนอก ไอคิวก็ไม่สูง เงินเดือนหมื่นกว่า ยังทำเว็บไซต์ได้ขนาดนี้ .. แล้วมองออกไปหาเว็บไซต์ของนักวิชาการชาวไทย ที่เป็น ผศ. รศ. ดร. หรือ ม. เต็มบ้านเต็มเมือง ทำไมมีน้อยเหลือเกิน .. สรุปได้ว่าผมจะสู้ต่อไปเพื่อการศึกษา .. เพราะปัจจุบันผมมีอาชีพเป็นครูครับ และผมไม่คิดว่าตนเองรับจ้างสอน เหมือนที่ นายกด่านักวิชาการบางคนแน่นอน .. แม้อนาคตจะเปลี่ยนอาชีพ แต่เว็บผมต้องอยู่ (ยกเว้นผมจะไปขายก๋วยเตี๋ยว)
มีใครทราบบ้างว่าเว็บด้านการศึกษาใน truehits.net มีเท่าไร ผมบอกได้ว่า ประมาณ 1500 เว็บ ซึ่งมากที่สุดในทุกกลุ่ม และกลุ่มเว็บด้านการศึกษาครองอันดับ 10 ของการถูก hit มาโดยตลอด คือประมาณ 2% จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทาง truehits.net มีนโยบายให้ผู้ดูแลต้อง login ทุกเดือน (ธ.ค.47 เหลือ 983 เว็บ) เพียงเท่านี้ กลุ่มเว็บมือถือ และกลุ่มยานยนต์ ก็ผลัดกันขึ้นมาครองอันดับ 10 แทน แล้วกลุ่มเว็บด้านการศึกษา ก็ลงไปอยู่อันดับที่ 15 .. เกือบบ๊วยแล้วครับท่าน .. แล้วใคร แคร์ .. แต่อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งหละที่แคร์
คณะกรรมการชมรม MOODLE e-learning แห่งประเทศไทย
ข้อมูลจาก http://www.thaimoodle.net/mod/resource/view.php?id=14
ที่ปรึกษาชมรม
คุณวิมลลักษณ์ สิงหนาท Oxford University England
รศ.ดร.คณิต ไข่มุกดิ์ สำนักเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ผศ.ดร.ปานใจ ธานทัศนวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา รองผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.สรรเสริญ วิสุวรรณ บริษัท SBC Integration Co.Ltd.
อ.ดร.ประชิต อินทะกนก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
อ.ดร.ปรัชญนัทน์ นิลสุข คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
คุณจักรพงษ์ เจือจันทร์ เว็บมาสเตอร์กระดานดำออนไลน์
ประธานชมรม
อ.เสรี ชิโนดม ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รองประธานชมรม
อ.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
ประธานภาคกลางและกทม.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.นพ.ธีรวรรธน์ ขันทอง
ประธานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อ.สรวง(ศักดิเดช) ศรีแก้วทุม
ประธานภาคเหนือ
โรงเรียนแม่เมาะวิทยา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
อ.ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า
ประธานภาคใต้
โรงเรียนเกาะสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี
กรรมการชมรม
อ.ภูชิต แสงบัว โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม
อ.กรัณย์ ศิวารัตน์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้
อ.อดิเรก สัญญะเขื่อน โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ปทุมธานี
คุณวรวุฒิ เชาว์ประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร จ.ปทุมธานี
คุณวรวุฒิ มั่นสุขผล ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คุณบุญรัตน์ ไทภู่รัตน์ UNITNET สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คุณรัชนี จิรธรรมธนากูล UNITNET สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
อ.รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อ.อภิชาติ กุลธานี วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
คุณไพฑูรย์ ทิพย์สันเทียะ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อ.ศราวุธ เรืองสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฏร์ธานี จ.สุราษฏร์ธานี
คุณนวพร กิตติพัฒนบวร ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
อ.ดร.ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ ภาควิชาการประเมินผลและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
เลขานุการชมรม
อ.กิตติพงษ์ พุ่มพวง โครงการการศึกษาไร้พรมแดน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ผู้ช่วยเลขานุการชมรม
อ.วรัท พฤกษาทวีกุล เว็บมาสเตอร์ Edtechno.com
อ.สยาม จวงประโคน เว็บมาสเตอร์ Siamednet.com
รายนามสมาชิก : เครือข่ายพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและสังคม และ รายละเอียดของเครือข่าย

97. งานประชุมวิชาการ Moodle Moot Thailand 2005 (1 - 3 กรกฎาคม 2548)
ข้อมูลจาก อ.กิตติพงษ์ พุ่มพวง
1. อ.อนุชัย ธีระเรืองชัยศรี
แม่งานจาก ครุศาสคร์ จุฬาฯ
2. ผศ.ดร.ปานใจ ธานทัศนวงศ์
จัดหางบประมาณ จาก uni.net.th
3. ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท
ประสานงานกับคุณมาติน

ภาคที่ 1 ภาคการประชุม สัมมนาวิชาการ 1 วัน ผู้เข้าร่วม 300 ท่าน เชิญคุณ Martin และ คุณวิมลลักษณ์ และ......มาร่วมงาน (ต้องขอบคุณคุณวิ รับเป็นผู้ประสานมาร์ตินครับ)และ มี session ย่อย เฉพาะเรื่อง เช่น Present paper , Development Code, กลุ่มการประยุกต์ใช้งาน แบบต่างๆ ฯลฯ (อยากให้จัดประเด็นไหนช่วยกันแนะนำกันมาได้ครับ)
ภาคที่ 2 ภาคเสวนาเชิงปฎิบัติการ Computer workshop วันที่ 2-3 รวม 2 วัน 4 ห้องlab Moodle Tetorial สำหรับ ผู้ดูแลระบบ (Adminnistration) และ ผู้สร้างรายวิชา (Content Developer) ภาคนี้ Computer workshop ขอแรงสนันสนุนจากทุกท่านที่จะสามารถช่วยรับเป็นวิทยากรหรือผู้ช่วยวิทยากรได้ครับ

ข้อมูล
- ท่านเลขานุการ สำนักงานคณะการการอุดมศึกษา ร่วมเป็นประธานพิธีเปิด และบรรยายพิเศษ
- Mr.Martin Dougiamas:Moodle.org จะบินจาก Australia มาถึงเมืองไทยวันที่ 30 มิย.48 ร่วมบรรยายพิเศษวันที่ 1 กค.48 เรื่อง การพัฒนา Opensource Moodle+LAMS และกลับด่วนเช้า วันที่ 2 กค. 48
- ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท ผู้พัฒนา Moodle ภาษาไทย บินจากรัสเซีย มาร่วมงาน Moodle Moot Thailand และบรรยายพิเศษ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Moodle เพื่อการบริหารจัดการองค์ความรู้ขององค์กร (Knowledge Management)
- การอบรมรมเชิงปฏิบัติการ Moodle for Instructors or Teacher วันที่ 2-3 กค. 48 ร่วมปฏิบัติการพิเศษ โดย ดร.อนุชัย ธีระเรืองชัยศรี (Moodler from คณะเภสัชจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รอง ผอ. Thai Cyber University) และ ดร. วิมลลักษณ์ สิงหนาท ผู้พัฒนา Thaimoodle Section ผู้เขียนหนังสือ Moodle E-Learning
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ Moodle for Administrator (ผู้ดูแลระบบ) วันที่2-3 กค.48 ร่วมปฏิบัติการพิเศษ โดย คุณไพทูรย์ คุณวรัท คุณสยาม คุณอดิศร ดร.คะชา ชาญศิลป์ และคุณกิตติพงษ์ Webmaster Team จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ กระทรวงศึกษาธิการ
น่าเสียดายที่ 2 - 3 กรกฎาคม 2548 ผมติดอบรม JAVA เพื่อ เข้าสอบ JAVA Programmer ซึ่งเป็นโครงการของ SIPA

98. การมีภาพประจำตัวแต่ละคน (งานของ admin)

เคยเข้า moodle.org แล้วเห็นภาพคุณ Martin Dougiamas มิใช่ภาพขนมเค๊กใส่แว่นดำเหมือนที่ระบบมีให้ เมื่อศึกษาก็พบว่าต้องติดตั้ง GD Library ใน php.ini จึงจะแสดงภาพแทนตัวเราได้ แล้วไปตรวจ Server ของผมว่าติดตั้ง GD หรือไม่ด้วยการเปิดเว็บ http://class.yonok.ac.th/admin/phpinfo.php (admin เท่านั้นที่ตรวจได้) ก็ไม่พบคำว่า GD Support จึงใช้ notepad เปิดแฟ้ม c:/windows/php.ini แล้วลบ ; ที่อยู่หน้าคำว่า extension=php_gd2.dll จากนั้นก็ restart apache ใหม่ เมื่อเปิดอีกครั้งก็พบว่ามี GD support มีค่าเป็น enabled แล้ว จึงเข้าไปแก้ไขข้อมูลของตนเองอีกครั้ง พบว่า upload ภาพถ่ายของตนเองเข้าไปใน server แทนภาพขนมเค๊กใส่แว่นดำสำเร็จ ภาพที่ผมใช้มีขนาด 100*100 และมีสกุลเป็น .jpg


ใช้ mouse over บนภาพสักครู่ จะแสดงชื่อเจ้าของภาพครับ
+ อ.องอาจ ชาญเชาว์ (หน่วยศึกษานิเทศก์) chanmedia@hotmail.com
+ อ.โสภณ จาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง sophonja@yahoo.com #

99. ปัญหา และวิธีแก้ไข (Problems and Solutions) (ปัญหาส่วนใหญ่ หาวิธีแก้ได้จาก moodle.org)
  1. แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย Forum ของ moodle.org
    click : http://moodle.org/mod/forum/view.php?f=429 ถามปัญหาการติดตั้ง
  2. ค่าของ config.php ใน moodle.org ที่แก้ไขเพื่อให้เป็น Dynamic แทน Static (กรณีตัวอย่างใน thaiabc.com)
    $CFG->wwwroot = 'http://'. $_SERVER["SERVER_ADDR"] .'/moodle';
    $CFG->dataroot = str_replace("apache2/htdocs","moodledata",$_SERVER["DOCUMENT_ROOT"]);
  3. ถ้า login แล้วพบ Your session has timed out. Please login again.
    เป็นไปได้ว่ากำหนดตำแหน่งของ $CFG->dataroot ไม่ถูกต้อง
  4. รุ่น 1.5+ พบ error ใน Calendar จาก Case Sensitive ในตัวแปร $CFG->dirroot จากแฟ้ม /moodle/config.php
    เดิม $CFG->dirroot = 'C:\Thaiabc\Apache\Apache2\htdocs\moodle';
    ใหม่ $CFG->dirroot = 'C:\thaiabc\apache\apache2\htdocs\moodle';
    หรือ $CFG->dirroot = str_replace(chr(47),chr(92),$_SERVER["DOCUMENT_ROOT"]).'\moodle';
    ไม่พบปัญหานี้ในส่วนงานอื่น แต่พบเมื่อใช้ Calendar
  5. พบ "The file is damaged and could not be repaired" เมื่อเป็นแหล่งข้อมูล จากแฟ้ม .pdf
    หลังส่งแฟ้ม .pdf เข้าไป แล้ว link เป็นแหล่งข้อมูล จะไม่สามารถเปิดผ่านโปรแกรม file.php
    จึงทราบว่าปัญหานี้เกิดกับผู้ใช้ Acrobat Reader ต่ำกว่า 7 แต่ผมโชคร้ายที่ใช้รุ่น 5 จึงพบปัญหาเข้า
    เท่าที่หาข้อมูลมาก็ยังไม่พบวิธีแก้ปัญหา .pdf กับ Acrobat Reader รุ่นเก่า
    ปัญหานี้จะไม่พบถ้าใช้ Acrobat Reader รุ่นใหม่ .. http://moodle.org/mod/forum/discuss.php?d=49978
  6. เรื่อง วิธีการอนุมัติการเป็นสมาชิก
    ถ้ากำหนดเป็น ไม่ต้องขออนุมัติ อนุญาตทันที .. จะพบปัญหาใน 1.5 คือสมัครสมาชิกไม่ได้ ต้องเข้าไปแก้แฟ้ม auth/none/lib.php
    ปัญหานี้น่าจะเป็น bug ของรุ่น 1.5 แก้ไขโดยเปลี่ยน return false; --- > return true;
    จาก http://moodle.org/mod/forum/discuss.php?d=25858
  7. ใช้ 127.0.0.1 เมื่อติดตั้ง อยากเปลี่ยนทำไง
      ตอนผมติดตั้งก็ใช้ 127.0.0.1 แต่เปิดจากเครื่องอื่น แล้วใช้ IP Address จริงไม่ได้
      สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตนเองภายหลัง โดยเปลี่ยน IP ของเครื่องแบบ manual
      เปิดแฟ้ม /moodle/config.php แล้วหาบรรทัดด้านล่างนี้ เพื่อเปลี่ยนเป็น IP ที่ต้องการ
      $CFG->wwwroot = 'http://127.0.0.1/moodle';
  8. พบ ERROR: Could not instantiate mail function
    เมื่อสมัครเข้าวิชา จะพบ และหายไปเร็วมาก
    น่าจะเกิดจากที่ Server ของผมไม่มี mail server แต่โปรแกรมพยายามเรียกใช้
  9. การตัด Paragraph ของกระดานแลกเปลี่ยนข่าวสาร
    พบว่าการเขียนบทความยาว ๆ จะไม่ตัด Paragraph ให้ จุดไหนที่ผมต้องการตัด Paragraph แล้วที่เหลือให้ Click เข้าไปอ่าน ก็พิมพ์ . ต่อท้าย
    ถ้าพิมพ์ . เพื่อตัด paragraph ไปแล้ว สามารถตรวจดูผลได้ว่าถูกใจหรือไม่ ถ้าไม่ถูกใจ ก็แก้ไขได้ใน 30 วินาที
  10. รุ่น 1.5 ส่งคำถามออกเป็นไฟล์ แต่ click นำไปใช้ไม่ได้
    หลังจากสร้างข้อสอบในโปรแกรมของ moodle ก็อยาก copy ออกมา เพราะเรียนรู้หลักการ import และ export เริ่มด้วยการ export แบบ GIFT จนเสร็จ แล้ว click คำว่า Click to download the exported category file ก็พบปัญหา Internal Server Error แม้จะเข้าไปในส่วนของ ไฟล์ประจำวิชา ก็ click ไม่ได้ พบปัญหาเดียวกัน หาข้อมูลจาก moodle.org ก็ไม่มีใครกล่าวถึง
    มาบางอ้อตรงที่สงสัยเรื่องภาษาไทย จึงทดสอบเปลี่ยน version เป็น english แล้วทำทุกอย่างเหมือนเดิม ไม่พบปัญหาเรื่อง click ไม่ได้ ถ้าจะแก้ให้ได้แบบไม่มีปัญหา ก็ต้องไปแก้แฟ้ม index.php ในห้อง moodle/files ให้ยอมรับ folder ที่เป็นชื่อภาษาไทย
    เดิม $ffurl = "/file.php?file=/$id$fileurl";
    ใหม่ $ffurl = "/file.php?file=/". urlencode("$id$fileurl");
    ต่อจากนี้ ผมก็จะศึกษาเรื่องการ import ที่พิมพ์ข้อสอบไว้ใน excel ว่าจะนำเข้า moodle อย่างไร
    ตัวอย่างแฟ้ม quiz1.txt ที่ export แบบ GIFT (แต่ผมตัด code เหลือแต่เนื้อนะครับ)
  11. พบว่า การตั้งค่าของเว็บไซต์ ให้รูปแบบหน้าแรกแสดงข่าว .. อาจมีปัญหา
    เพราะการมีข่าวมาก อาจต้องอ่านข้อมูลมาก ทำให้การแสดงผล homepage ช้า เมื่อเปลี่ยนเป็นแบบแสดงประเภทพบว่าการตอบสนองเร็วกว่าเดิมมาก สำหรับ delay ที่เกิดขึ้นในกรณีแสดงข่าว เกิดขึ้นแม้แต่การใช้เครื่องบริการภายใน intranet
  12. วิธีเพิ่มขนาดแฟ้มที่ต้องการ Upload
    Moodle จำกัดขนาดแฟ้มที่ upload ต่อแฟ้มไม่เกิน 2 MB เพราะ PHP จำกัดขนาดใน c:\windows\php.ini ในบรรทัด upload_max_filesize = 2M ให้เปลี่ยนเป็น 5 M แล้ว Reboot เครื่องใหม่ จากนั้น login เข้า moodle ในฐานะ admin เข้าไป การจัดการระบบ, การตั้งค่า, แก้ไขตัวแปร และหาคำว่า maxbytes เปลี่ยนเป็น 5 M ได้เลย
  13. เปลี่ยน font ภาษาไทยเป็น microsoft sans serif โดยแก้แฟ้ม d:\moodle\theme\standard\styles.php (ถ้าได้กำหนด Style เป็น Standard)
    เดิม
    body, td, th, li {
    font-family: "Trebuchet MS", Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif;
    }

    ใหม่
    body, td, th, li, a {
    font-family: "microsoft sans serif", Arial;
    font-size: 12pt;
    }
  14. เพิ่ม Image ใน header.html
    - ดูว่าท่านใช้ theme ใด เช่น standard หรือ metal ก็ให้เข้าไปเปิดแฟ้มชื่อ header.html ด้วย notepad จากห้องนั้น
    เช่น c:\thaiabc\apache\apache2\htdocs\moodle\theme\metal\header.html
    - หาข้อความดังตัวอักษรสีน้ำเงินในแฟ้ม header.html และเพิ่มตัวอักษรสีแดง ซึ่งเป็น tag สำหรับเพิ่มภาพ
    <body<?php
    echo " $bodytags";
    if ($focus) { echo " onload=\"setfocus()\""; } ?>>
    <center><img src=/moodle/theme/metal/background.png border=1></center>
    <div id="page">
  15. เพิ่ม truehits.net ใน footer.html
    - ดูว่าท่านใช้ theme ใด เช่น standard หรือ metal ก็ให้เข้าไปเปิดแฟ้มชื่อ footer.html ด้วย notepad จากห้องนั้น
    - เพิ่ม <iframe src=/truehits.htm width=16 height=16 frameborder=0 scrolling=no></iframe>
    - สร้างแฟ้มใน Root Directory ของ moodle ชื่อ truehits.htm แล้วพิมพ์คำสั่ง 3 บรรทัดต่อไปนี้
    <body topmargin=0 leftmargin=0>
    <script language='javascript1.1'>page="moodle";</script>
    <script language='javascript1.1' src='http://truehits.xxxxxx.js'></script>
  16. ถ้า moodle 1.6.1 พบ ??? ต้องแก้ lib/setup.php ?
    - โดยใส่ // ข้างหน้า $db->Execute("SET NAMES 'utf8'"); บรรทัดที่ 198
    - มีเพื่อนท่านหนึ่ง download th.zip สำหรับ moodle ผิดรุ่น เอาของ 1.6 ไปใช้ใน 1.5 .. ต้องเลือกให้ตรงรุ่นนะครับ
  17. เปลี่ยน lang_list ใน การตั้งค่า เป็น th_utf8 และให้ locale เป็น th_TH ถ้า copy ลงห้อง lang แล้ว ?
    - สำหรับ moodle 1.5 : http://download.moodle.org/lang15/
    - สำหรับ moodle 1.6 : http://download.moodle.org/lang16/
    - เอกสารอธิบายการแปลงจาก รุ่น 1.6 เป็น 1.7 ของ อ.สรวง ศรีแก้วทุม
  18. คำถามแบบหลายตัวเลือก มักชิดขวา ทำอย่างไรให้ชิดซ้าย
    - เปิดแฟ้ม moodle/mod/quiz/questiontypes/multichoice/questiontype.php
    - หาคำว่า right แล้วเปลี่ยนเป็น left
  19. ขยายข้อจำกัดของ apache ที่รองรับผู้ใช้ได้จำกัด
    - เปิดแฟ้ม httpd.conf ในห้อง เช่น c:\thaiabc\apache\apache2\conf
    - พิจารณาตัวแปร MaxKeepAliveRequests ถ้าเป็น 0 หมายถึงไม่จำกัด
    - พิจารณาตัวแปร KeepAliveTimeout น่าจะขยายเพิ่มอีกนิด ถ้าพบปัญหา Timeout บ่อย และหาวิธีแก้อื่นยังไม่ได้
  20. ขยายข้อจำกัดของ php ที่รองรับผู้ใช้ได้จำกัด
    - เปิดแฟ้ม php.ini ในห้อง เช่น c:\thaiabc\php
    - พิจารณาตัวแปร max_execution_time น่าจะขยายเพิ่มอีกนิด ถ้าพบปัญหา Timeout บ่อย และหาวิธีแก้อื่นยังไม่ได้
    - พิจารณาตัวแปร mysql.connect_timeout น่าจะขยายเพิ่มอีกนิด ถ้าพบปัญหา Timeout บ่อย และหาวิธีแก้อื่นยังไม่ได้
  21. ลืมรหัสผ่าน (Forgot Password) ของ admin หรือผู้ใช้คนใดก็แก้ปัญหาได้เหมือนกัน
    - ติดตั้ง phpmyadmin หรือโปรแกรมที่เข้าจัดการฐานข้อมูล mysql ได้โดยตรง
    - เปิดตาราง mdl_user ดู field ชื่อ password
    - copy 05a671c66aefea124cc08b76ea6d30bb ลงไปใน user ใด ก็จะได้รหัสผ่านว่า testtest
    - ใช้รหัสอื่นจากช่องอื่นได้เช่นกัน เพราะรหัสผ่านในระบบ moodle ไม่สัมพันธ์กับ username
  22. รับแจ้งจาก moodle.org ว่ามีปัญหเรื่อง security เกี่ยวกับ KSES related issues มีผลต่อ <1.6.7, <1.7.5, <1.8.5
    - รายละเอียดปัญหาอ่านจาก http://moodle.org/mod/forum/discuss.php?d=95031
    - code updated : http://cvs.moodle.org/moodle/lib/kses.php
    - code updated : http://cvs.moodle.org/moodle/lib/weblib.php
  23. ถ้า login ไม่ได้แล้วพบ Could not create guest user record !!! บรรทัดบนสุด
    - น่าจะเกิดจากตาราง mdl_user ผิดพลาด (error) อาจเกิดขึ้นได้กับทุกตารางในระบบ MySQL อยู่แล้ว
    - แก้ไขได้หลายวิธี สำหรับผมทดสอบวิธีที่ 3 คือ ใช้โปรแกรม EMS SQL Manager ครับ
    1. เข้า DOS แล้วเชื่อม MySQL ผ่าน DOS>mysql -u root แล้วเข้า mysql>use moodle; สั่ง mysql>repair table mdl_user;
    2. เข้า phpmyadmin แล้วสั่ง ซ่อมตารางชื่อ mdl_user
    3. เข้า EMS SQL Manager เลือก Services, Repair Tables จาก Toolbar เลือกตาราง mdl_user
  24. HTMLArea ใช้งานไม่ได้
    กรณีที่ 1 : ต้องกำหนดในส่วน แก้ไขข้อมูลส่วนตัว เลือกแบบในการแก้ไขข้อความเป็น Richtext HTML editor
    กรณีที่ 2 : Server-Side Script ติดไวรัสทำให้บริการ HTMLArea หายไป ต้องลบไวรัสออกจาก Script
  25. ย้าย Login Page ไป https
    วิธีเพิ่มความปลอดภัยให้กับการ login
    1. ทำให้ Server บริการ SSL และเข้าผ่าน https ได้
    2. เปิดแฟ้ม login/index_form.html มาแก้ไข
    3. เปลี่ยน 1 บรรทัดในแฟ้มดังนี้

    จาก <form action="index.php"

    เป็น <form action="https://www.xxx.com/login/index.php"
    เพราะในระบบของผมใช้ Hub และมีคนเปิด Sniffer จึงต้องแก้ไขดังข้างต้น
    เพื่อปกป้องผู้ใช้ ส่วนเรื่องการเปลี่ยนเป็น Switch เป็นอีกขั้นตอนที่ต้องทำ
  26. ตัวเลือกวันที่สิ้นสุดที่ปี 2010 ไม่มี 2011 ให้เลือก
    พบปัญหาใน moodle 1.5.3 ที่มีปีให้เลือกถึงค.ศ.2010
    การขยายปีออกไปทำได้โดยแก้ไขแฟ้ม lib/weblib.php
    หาคำสั่ง for ($i=2000; $i<=2010; $i++)
    แล้วก็เปลี่ยนจาก 2010 เป็นปีที่ต้องการ เท่านี้ก็ขยายปีออกไปได้แล้ว
เล่าเรื่องการสร้างข้อสอบใน moodle
การเพิ่มแบบทดสอบ
1. คลิ๊ก เพิ่มกิจกรรม, แบบทดสอบ
2. ชื่อ "สอบย่อย 1" แล้วคลิ๊ก Save and return to course
3. คลิ๊ก "สอบย่อย 1" เพื่อเพิ่มคำถาม
4. พบว่า Questions in this quiz ยังไม่มี ให้คลิ๊ก สร้างคำถามใหม่ (ทีละคำถาม) เลือก คำถามปรนัย
5. ชื่อคำถาม "ant"
6. Question text "ant แปลว่าอะไร"
7. Choice 1 คำตอบ "แมงหวี่"
8. Choice 2 คำตอบ "มด" คะแนนที่ได้ 100%
9. บันทึกการเปลี่ยนแปลง
10. เลือกเพิ่มเข้าไปในแบบทดสอบ คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลง
11. คลิ๊ก ข้อมูล, Preview quiz now
12. เลือกคำตอบ แล้วคลิ๊ก ส่งคำตอบแล้วสิ้นสุดการทำแบบทดสอบ
13. ระบบจะเฉลยว่าข้อใดถูก และเราได้คะแนนเท่าใด
14. คลิ๊ก "แก้ไข แบบทดสอบ"
15. uncheck "คำตอบที่ถูกต้อง" ทำให้หลังทำข้อสอบไม่แสดงคำตอบที่ถูก
สรุปหัวข้อ ได้ดังนี้
1. รู้ขั้นตอนว่านิสิตต้องทำอะไรบ้าง เมื่อเข้าระบบอีเลินนิ่ง
2. อาจารย์สมัคร และเข้าระบบได้ เข้าใจการเข้าเรียนวิชาอื่น
3. มองเห็นวิชาทั้งหมดในระบบตามกลุ่มคณะได้
4. สร้างวิชาขึ้นมา เพื่อเปิดสอนแบบอีเลินนิ่ง
5. เพิ่ม แหล่งข้อมูล ได้ เช่น แขวนลิงค์ แขวนคลิ๊ป ฯลฯ
6. เพิ่ม กิจกรรม ได้ เช่น การบ้าน แบบทดสอบ ฯลฯ
7. เพิ่ม กิจกรรม : แบบทดสอบ ได้อย่างเข้าใจ เช่น ข้อสอบปรนัย

+ class_student_2562.pdf + class_teacher_2562.pdf + class_student_2562.pptx + class_teacher_2562.pptx

Thaiall.com