สาระการเรียนรู้ 1. โครงสร้างระบบแฟ้ม 2. โครงสร้างไดเรกทอรี่ 3. วิธีการเข้าถึง 4. การอนุญาตให้เข้าถึงแฟ้ม
จุดประสงค์การสอน 1. เข้าใจโครงสร้างระบบแฟ้ม 2. สามารถจัดการกับโครงสร้างไดเรกทอรี่ได้ 3. เข้าใจวิธีการเข้าถึง 4. สามารถเขียนภาพแสดงการเข้าถึงได้ 5. เข้าใจการอนุญาตให้เข้าถึงแฟ้ม 6. สามารถบอกลักษณะการอนุญาตเข้าถึงแฟ้มได้
แนะนำบทเรียน การจัดเก็บแฟ้มของ Windows ในระบบ FAT (File Allocation Table) จะใช้ตาราง FAT และ ตาราง Directory โดยแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็น cylender และ cluster และ track และ sector และ block แต่ละแฟ้มจะต้องใช้พื้นที่ที่อยู่ในแต่ละ block หากขนาดแฟ้มเล็กกว่า 1 block ก็จะใช้กินพื้นที่ 1 block เพื่อให้หัวอ่านทำงานได้เร็ว โดยอ่านข้อมูลครั้งละ 1 block ทำให้หัวอ่านเคลื่อนตัวไปเท่าจำนวน block แทนจำนวน byte การจัดเก็บในแต่ละสื่อก็จะมีมาตรฐานและขนาดของ block แตกต่างกันไป อย่างเช่น CD ก็จะเก็บข้อมูลแบบก้นหอย ไม่ได้แบ่งเป็นวงเล็กใหญ่ลดหลั่นกันไปเหมือนใน harddisk
แฟ้ม หรือไฟล์ (File) หมายถึง กลุ่มของสารสนเทศที่สัมพันธ์กัน ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านั้นกำหนดโดยผู้สร้างแฟ้ม และอาจใช้เก็บอะไรก็ได้ หมายถึง กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องเดียวกัน หมายถึง สิ่งที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน หมายถึง A named collection of related information that is recorded on secondary storage. หมายถึง A collection of bytes stored as an individual entity. All data on disk is stored as a file with an assigned file name that is unique within the folder (directory) it resides in. To the computer, a file is nothing more than a string of bytes. The structure of a file is known to the software that manipulates it. For example, database files are made up of a series of records. Word processing files contain a continuous flow of text. [techweb.com]
ระบบแฟ้ม (File system) หมายถึง กลุ่มของสารสนเทศที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ถูกใช้เพื่อควบคุมการเรียกใช้ และจัดเก็บข้อมูลภายในระบบ ระบบแฟ้มเป็นสิ่งที่ผู้ใช้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มักไม่รู้ตัวเนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกโดยระบบปฏิบัติการอย่างอัตโนมัติ ระบบแฟ้มเป็นฐานที่ทำให้เกิดการจัดการโปรแกรม และข้อมูลในทุกการดำเนินงานของระบบซอฟท์แวร์ที่เข้าควบคุมสื่อเก็บข้อมูล
ระบบแฟ้มประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) รวมรวมแฟ้ม (Collection of Files) เก็บข้อมูลที่สัมพันธ์ให้ถูกอ้างอิงได้ในรูปแฟ้มข้อมูล 2) โครงสร้างแฟ้ม (Directory Structure) จัดการอำนวยการเข้าถึงแฟ้มและจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ 3) พาทิชัน (Partitions) ซึ่งแยกเป็นทางกายภาพ (Physically) หรือทางตรรก (Logically) ของระบบไดเรกทรอรี่ (Directory) โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงแฟ้ม และโครงสร้างไดเรกทรอรี่ รวมถึงการป้องกันแฟ้ม จากการเข้าถึงในระบบ Multiple users และระบบ File sharing วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้กันใน OS ทุกตัวคือ จัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ (file) ไฟล์คือสิ่งที่บรรจุข้อมูล,โปรแกรมหรืออะไรก็ได้ที่ผู้ใช้ต้องการรวบรวมไว้เป็นชุดเดียวกัน การอ้างถึงไฟล์หรือข้อมูลต่าง ๆ ภายในไฟล์ของโปรแกรม จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับแอดเดรสของโปรแกรมใด ๆ ทั้งสิ้น OS มีโอเปอร์เรชั่นพิเศษที่เรียกว่า system call ไว้ให้โปรแกรมเรียกใช้ เพื่อให้สามารถจัดการงานที่เกี่ยวกับไฟล์ได้
วิธีการจัดเก็บไฟล์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 3 วิธี 1. เก็บเป็นไบต์เรียงกันไป UNIX เก็บไฟล์ในลักษณะนี้ 2. เก็บเป็นเรคคอร์ด เรคคอร์ดจะมีขนาดคงที่สามารถจะอ่านหรือเขียนที่เรคคอร์ดไหนก็ได้ แต่ไม่สามารถเพิ่มหรือลบเรคคอร์ดกลาง ๆ ได้ วิธีนี้ใช้ใน CP/M 3. เก็บแบบต้นไม้หรือทรีของบล็อก (ในดิสก์) แต่ละบล็อกจะสามารถมี ก เรคคอร์ด แต่ละเรคคอร์ดจะมีคีย์ (key) เอาไว้ช่วยในการค้นหาเรคคอร์ด เรคคอร์ดสามารถเพิ่มหรือลบออกที่ใดก็ได้ ถ้ามีเรคคอร์ดถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกที่เต็มแล้ว บล็อกนั้นก็จะแยกออกเป็น 2 บล็อกใหม่ในทรีและจัดเรียงตามลำดับอักษร วิธีนี้ใช้บนเครื่องระดับเมนเฟรมหลายเครื่อง และเรียกว่า ISAM (indexed sequential access method)
ระบบแฟ้ม (File system) หมายถึง กลุ่มของสารสนเทศที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ถูกใช้เพื่อควบคุมการเรียกใช้ และจัดเก็บข้อมูลภายในระบบ
File system or filesystem is used to control how data is stored and retrieved. Without a file system, information placed in a storage medium would be one large body of data with no way to tell where one piece of information stops and the next begins. wiki1 , wiki2
RAID (Redundant Array of Independent Disks) คือ เทคโนโลยีอย่างหนึ่ง ที่มีมานานแล้ว สำหรับการสร้าง ลอจิกคอลไดร์ฟ ( Logical Drive) หรือเรียกกันทั่วๆไปว่า Array ขึ้นมาจากกลุ่มของ ฮาร์ดดิสต์ (PHYSICAL DRIVE) หลาย ๆ ตัวที่มาเชื่อมต่อด้วยกัน ซึ่งทำให้ระบบมองเห็น อะเรย์ หรือ ลอจิกคอลไดร์ฟดังกล่าวเสมือนเป็นฮาร์ดดิสต์ตัวเดียว แต่มีขนาดและความจ ุ เพิ่มขึ้นโดยซอฟแวร์ควบคุม RAID และการ์ดควบคุม RAID จะคอยบริการจัดเรียงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของมาตรฐาน RAID แก่ ฮาร์ดดิสต์ทุก ๆ ตัวที่ต่ออยู่กับอะเรย์นั้นๆ http://www.thaiall.com/os/raid.htm (ไพศาล โมลิสกุลมงคล p.249 )
Stripping คือ การแบ่งดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ ทำให้การทำงานใน RAID มีความเร็วในการโอนย้ายข้อมูลสูง แต่มีความเชื่อถือในการทำงานต่ำ มีการเพิ่มแนวคิดของ Parity เพื่อทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น
Mirroring หรือ Shadowing คือ การทำสำเนาดิสก์แต่ละตัว มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องสำเนาลงดิสก์หลายตัว