Tag Archives: research

สารคดี ไขความลับอัลไซเมอร์

ผู้ทำรายการกังวลเรื่องที่เขาอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ตามคุณแม่

https://www.youtube.com/watch?v=-xJimnsHvPg

โรคนี้คราชีวิตคนในอเมริกาเหนือเป็นอันดับ 6 และไม่มีทางหยุดยั้งได้เลย
การ x-ray ช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ได้
เมื่อผ่าตัดดูสมองของผู้ป่วยจะพบว่าเส้นประสาทพันกัน และเกิดการฉีกขาด
โดยปกติ 1 ใน 8 ของคนที่อายุเกิน 65 ปีจะเป็น และถ้าคนในครอบครัวเป็น ก็จะเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่า
ทางเลือกในการรักษาในคลิ๊ปคือการฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมอง
มีงานวิจัยว่าไนโตรซามีนอาจเป็นสาเหตุทำให้สมองเสื่อมจากการรบกวนสารเคมีในสมองหรือกระทบสารอะมาลอยในไขสันหลังจริง

คุยกับผู้สูงอายุและอสม. เรื่องโครงการของบกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ภาพกว้าง ๆ ของที่ประชุม

ภาพกว้าง ๆ ของที่ประชุม

9 ก.พ.58 อ.เบญฯ ชวนไปคุยกับคุณกา น้องต๋อม พี่แดง กับพี่อุบล บ้านหน้าค่าย
ที่เทศบาลฯ ตั้งแต่บ่ายสองถึงสี่โมง เรื่องจะพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพของชุมชนอย่างไร
ที่ตอบความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
เริ่มต้นด้วยการที่ อ.เบญฯ ยกร่างโครงการว่าเราจะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ที่อสม.เก็บได้
มาพัฒนาต่อยอด จัด focus group วิเคราะห์ และพัฒนาเป็นสารสนเทศที่ใช้งานได้
แต่ปัญหาคือมีข้อมูลหลายชุด คือ
1. เก็บข้อมูล จปฐ. โดยอสม. แต่กำหนดส่ง 10 และ 15 ก.พ.58 ให้หน่วยเหนือแล้ว
จะนำมาใช้ก็คงไม่ทันอนุมัติโครงการ และข้อมูลใน จปฐ. ก็มีที่นำมาใช้ได้บางส่วน
2. เริ่มเก็บข้อมูลกับใหม่โดยใช้ฟอร์ม TCNAP (Thailand Community Network Appraisal Program)
แต่แบบฟอร์มมีความละเอียด สมบูรณ์ และมีกระบวนการหลายขั้นตอน
ซึ่งการเข้าเก็บข้อมูลในชุมชนซ้ำ ๆ แบบนี้ อาจทำให้ชุมชนบอบช้ำได้
3. ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลมือ 2 ที่ อสม. หรือผู้สูงอายุ มีอยู่แล้ว
แต่นำข้อมูลมาผ่านกระบวนการ ปรับปรุง เพิ่มเติม วิเคราะห์ กลั่นกรอง
หรือร่วมกับ Focus Group แล้วได้ชุดข้อมูลใหม่
ที่นำไปสู่การพัฒนาโครงการ ที่ตอบความต้องการของชุมชน
ที่รองรับคน 3 วัย คือ วัยสูงอายุ วัยทำงาน และวัยเรียน

สรุปว่าวันนี้ไปพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อน
เตรียมสนับสนุนการเขียนโครงการ
โดยปกติมักดำเนินการโดยคนในชุมชน เป็นงานของชุมชน เพื่อชุมชน
หากมหาวิทยาลัยจะเข้าไปช่วยเขียนโครงการก็สามารถทำได้
แต่ถ้าเป็นเจ้าของโครงการ จะไม่สามารถเบิกค่าวิทยากรให้กับตนเองได้
ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ มีเฉพาะค่าอาหารว่าง กับอาหารกลางวัน .. ประมาณนั้น

คุณอุบล คุณแดง และคุณต๋อม

คุณอุบล คุณแดง และคุณต๋อม

อ.เบญ กับ คุณกา

อ.เบญ กับ คุณกา

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ
คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ
คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”
พบข่าวนี้ในหนังสือพิมพ์ แมงมุม
ฉบับที่ 672 ปีที่ 13 วันที่  4 – 10 เมษายน 2557

ในที่สุด ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น…จริง ๆ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ๆ กับรางวัล 5 ทีม สุดท้ายจาก สี่ร้อยกว่าทีมทั่วประเทศ รางวัลชนะเลิศโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การนำเสนอดีเด่น อนาคตสร้างได้หากเราร่วมกัน เชื่อมั่นและศรัทธาครับ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611791038897985.1073741969.228245437252549

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อคว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทาง ในการประกวดโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ประจำปี 2556 ชนะเลิศโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ และรองชนะเลิศอันดับ 2 นำเสนอโครงการดีเด่น เข้ารอบ 5 ทีม สุดท้ายสุดท้าย จากสถาบันการศึกษาสี่ร้อยทีมทั่วประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง กล่าวว่า บริษัท กรุงไทย (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้ร่วมมือกับมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ตั้งแต่ปี 2550 ด้วยความร่วมมือจากมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของธนาคารในการเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ ที่มุ่งเน้นการให้บริการที่เป็นเลิศ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการบริหารภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) มาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการสร้างทุนทางปัญญาให้กับทุกภาคส่วนในสังคม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นทุนที่ไม่มีวันหมด ยิ่งใช้ยิ่งมีคุณค่าและช่วยพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนอย่างแท้จริง อีกทั้งมีความมุ่งหวังที่จะเพาะพันธุ์ต้นกล้าสีขาว อันหมายถึงเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ให้เป็นคนที่เก่งและดี มีความรู้ คู่คุณธรรม และรู้จักน้อมนำแนว คิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและขยายผลไปสู่ครอบครัว รวมทั้งชุมชนต่อไป

ในโครงการนี้ ได้มีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขา ทุกชั้นปี ทุกสถาบันการศึกษากว่า 400 ทีม จากทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมการแข่งขันคิดวิเคราะห์แผนธุรกิจ พร้อมลงพื้นที่ดำเนินโครงการจริง แล้วนำเสนอผลงานผ่านภาพโปสเตอร์ทีสื่อให้เห็นถึงแนวคิดและกิจกรรมที่ทำ พร้อมนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทุนการศึกษาอีกจำนวนมาก

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดยทีม CIM Nation – U A ประกอบด้วย นางสาวนัชญา ปาปุ๊ดปลูก ประธานโครงการฯ , นางสาวอัมพิกา ตั้งเชิง , นางสาวปิยะพร ฝั้นจักสาย , นางสาวกัญญา ดีวันไชย , นางสาวนฤมล วงค์ชื่น , นางสาวอภิญญา ต๊ะนางอย และนายศิวัช อำนาจปลูก นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาการค้าและอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีนายวีระพันธ์ แก้วรัตน์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ และนายธวัชชัย แสนชมพู ผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ โดยทีม CIM Nation – U A ได้นำเสนอโครงการ ต้นกล้าสีขาว “บ้านไร่ร่วมใจพัฒนา สร้างคุณค่าให้ยั่งยืน” ณ ชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 5 บ้านไผ่แพะ และหมู่ที่ 6 บ้านไผ่ทอง ตำบลเมืองเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยได้น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว”

สำหรับการนำเสนอโครงการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ทีม CIM Nation – U A ได้นำเสนอโครงการต้นกล้าสีขาว “บ้านไร่ร่วมใจพัฒนา สร้างคุณค่าให้ยั่งยืน” ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 5 บ้านไผ่แพะ และหมู่ที่ 6 บ้านไผ่ทอง ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เพื่อเข้าไปแก้ไขความยากจน การเกษตร ที่เป็นพืชเศรษฐกิจและสัตว์เลี้ยงที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการประกอบอาชีพ และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีการเผาเปลือกข้าวโพด และปัญหาในครอบครัวที่มีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ดังนั้น จึงทำให้ ทีม CIM Nation – U A ติดอันดับ 1 ใน 40 ของประเทศ และติดอันดับ 1 ใน 9 ของภาคเหนือ ได้เป็นตัวแทนของภาคเหนือนำโครงการดังกล่าวเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศที่กรุงเทพมหานคร ได้มีการประกวดบอร์ด, การประกวดโปสเตอร์, การประกวดนิทรรศการ และการพรีเซนเตชันบนเวที ให้กับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ บริษัท กรุงไทย (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้ร่วมมือกับมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุงเทพมหานคร โดยทีม CIM Nation – U A ได้รับสองรางวัลใหญ่ น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทาง ในการประกวดโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ประจำปี 2556 ชนะเลิศโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ และรองชนะเลิศอันดับ 2 นำเสนอโครงการดีเด่น ได้รับทุนการศึกษาพร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศ เข้ารอบ 5 ทีม สุดท้ายสุดท้ายจากสี่ร้อยทีมทั่วประเทศ จะได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมนำมาเป็นแนวทาง ด้านการศึกษา ด้านการทำงาน และอาชีพ ต่อไป

งานวิจัยการจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์

งานการวิจัย เรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ อัตลักษณ์ชุมชนลำปาง” รายละเอียดในแต่ละโครงการย่อยอยู่ในไวนิล ลองเรียนรู้กันดูได้ พบในงาน 6 วัสสา วิจัยยะท้องถิ่น : วิชาการรับใช้สังคมสู่การใช้ประโยชน์ทางการศึกษา  ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เมื่อ 18 ก.พ.2557
มีชื่อโครงการย่อย 6 โครงการ ดังนี้
1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์
2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง
3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์

1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์

2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

เขียนบล็อกเล่าเรื่องกิจกรรมย่อยที่ 1
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/423/

คลิ๊ปกล่าวเปิดงาน

รวมภาพ .. โครงการประมวลความรู้ 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น

ประมวลความรู้ 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น

ประมวลความรู้ 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น

ประมวลรูปภาพ 20 กว่าโครงการตลอด 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น
แยกรายโครงการดังนี้

ประมวลความรู้ 6 ปีวิชาการเพื่อท้องถิ่น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.724680400879427.1073741872.506818005999002

หกปี ยุค 1 โจทย์จากชุมชน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769067933107340.1073741901.506818005999002

หกปี ยุค 2 ทดลองทำงานกับนักวิชาการ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769078463106287.1073741902.506818005999002

หกปี ยุค 3 สร้างกลไกการเปลี่ยนแปลง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769097459771054.1073741903.506818005999002

1.RDG53N0021 สุขภาวะบ้านดง แม่เมาะ

2.RDG54N0009 น้ำบ้านดงแม่เมาะ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761660470514753.1073741881.506818005999002

3.RDG55N0022เห็ดปงยางคก
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761662793847854.1073741882.506818005999002

4.RDG55N0015 กศน.ภูซาง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761669110513889.1073741884.506818005999002

5.RDG56N011บ้านเหล่าพะเยา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761669857180481.1073741885.506818005999002

6.RDG54N0014พุทรา1แพร่
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761670663847067.1073741886.506818005999002

7.RDG55N0019 พุทรา2แพร่
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761671193847014.1073741887.506818005999002

8.RDG50N0037 ขยะนาบอน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769205216426945.1073741908.506818005999002

9.RDG52N0010สิ่งเสพติดนิคม
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761671637180303.1073741888.506818005999002

10.RDG51N0008ผ้าทอเมืองปาน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761672203846913.1073741889.506818005999002

11.RDG52N0012 ผักบ้านจำ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769202473093886.1073741907.506818005999002

12.RDG52N0013 ผักแม่ตาน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769201923093941.1073741906.506818005999002

13.PDG52N0013สื่อไหล่หิน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761672767180190.1073741890.506818005999002

14.RDG52N0014 สารสนเทศศรีดอนมูล
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769221159758684.1073741909.506818005999002

15.PDG52N0011 ป่าชุมชนแม่กึ๊ด
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761673207180146.1073741891.506818005999002

16.PDG52N0012 แมงปู้ชมดวง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761673510513449.1073741892.506818005999002

18.RDG55N0010 บูรณาการตำนานมูลศาสนา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769197273094406.1073741905.506818005999002

19.RDG54N0018 การจัดการความรู้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761673977180069.1073741893.506818005999002

20.RDG50N0033โคมวังหม้อ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761674440513356.1073741894.506818005999002

21.RDG52N0003 ปริวรรตตำนานมูลศาสนา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761674737179993.1073741895.506818005999002

22.RDG53N0012 ปงสนุก
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761675250513275.1073741896.506818005999002

23.RDG54N0008 กลุ่มฮ่วมใจ๋แม่ทะ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761675770513223.1073741897.506818005999002

24.RDG51N0006 น้ำดื่มบ้านสา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761676120513188.1073741898.506818005999002

25.RDG53N0024 เศรษฐกิจพอเพียงแม่ทะ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761676497179817.1073741899.506818005999002

26.RDG54N0006 ม.ลำปาง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.761676820513118.1073741900.506818005999002

การจัดการงานศพบ้านไหล่หิน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769233606424106.1073741912.506818005999002

บ้านท่ากลางท่าใต้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.769234729757327.1073741913.506818005999002

ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว อ.แม่เมาะ

ท่องเที่ยวแม่เมาะ

ท่องเที่ยวแม่เมาะ

27 ก.ย. 2556 ที่จังหวัดลำปาง
มีกลุ่มคนรวมตัวกันระดมสมอง คุยกันเรื่อง
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่น อำเภอแม่เมาะ
จัดที่ ห้อง 1203 อาคารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
เป็นกิจกรรมในโครงการวิจัยเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม
กรณีศึกษา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

ซึ่งการระดมสมอง (Brain Storm) เป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดการความรู้
(Knowledge management)
แล้วในอนาคตเราก็จะได้แหล่งท่องเที่ยวดี ๆ เพิ่มขึ้นในจังหวัดลำปาง

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืน

15 ต.ค.55 อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น เล่าใน yammer.com ว่าลงพื้นที่ 13 อำเภอในลำปางระหว่าง 6 – 11 ต.ค 55 เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนกับแต่ละพื้นที่แล้ว ตามแผนวิจัยฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจาก สัมมนาที่มหาวิทยาลัยเนชั่นเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา

17 ก.ย.55 มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง จัดสัมนาเรื่อง “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง” ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง เป็นประธานเปิดการสัมมนา และมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก ประกอบด้วย ครู อาจารย์ นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่จังหวัดลำปาง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้สนใจ

โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นกิจกรรมหนึ่งในแผนงานการวิจัย เรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ อัตลักษณ์ชุมชนลำปาง” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการหาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีเนื้อหาและแบบแผนที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดลำปาง และให้ตรงกับความต้องการของตลาดการท่องเที่ยวทั่วไป ตลอดจนให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องถึงกันบนเส้นทางโลจิสติกส์ของจังหวัด เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

ในการสัมมนามีการบรรยายเรื่อง การสร้างชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการ อัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืน และมีการประชุมกลุ่มย่อยแสดงความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ชุมชนในด้านต่าง ๆ
– ด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
– ด้านพืชผัก ผลไม้ อาหารท้องถิ่น และร้านอาหาร
– ด้านการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นที่จะนำไปสู่การเป็นของที่ระลึก
– ด้านการพัฒนางานประชาสัมพันธ์และการจัดทำศูนย์สารสนเทศ
– ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมทางการท่องเที่ยวและที่พัก
– ด้านการร่วมกันสร้างเส้นทางท่องเที่ยวอย่างมีอัตลักษณ์
บนเส้นทางการท่องเที่ยว 4 เส้นทาง
1. เส้นทางสายอำเภอห้างฉัตร – เกาะคา – เสริมงาม – แม่ทะ
2. เส้นทางสายอำเภอแจ้ห่ม – เมืองปาน – วังเหนือ
3. เส้นทางสายอำเภอเมือง – แม่เมาะ – งาว
4. เส้นทางสายอำเภอสบปราบ – เถิน – แม่พริก

 

ข้อมูลจาก สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่
http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=120917223527

lampang travel

lampang travel

การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

15 ส.ค.55 ได้อ่านบทความวิชาการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม : หลักการและประสบการณ์จากโครงการสถาบันการศึกษาลำปางEstablishment of a network to promote university social responsibility : Concept and experience from Lampang’s academic institutional project จากโครงการวิจัย “แนวทางการทำงานเครือข่ายสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ เพื่อให้ได้รูปแบบ/แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

หากจะสรุปวัตถุประสงค์ สามารถสรุปได้ 3 คำหลัก คือ 1) แนวทางที่สถาบันทำงานร่วมกัน (work together) 2) แนวทางเรียนรู้ชุมชน (learn community) 3) แนวทางการเชื่อมสถาบันกับชุมชน (work with community)

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ 1) การทำงานเป็นภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตรระหว่างสถาบันการศึกษา ด้วยพลังจิตอาสา และนำความเข้มแข็ง ทางวิชาการของสถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันมาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อชุมชน 2) การเรียนรู้ชุมชนโดยอาศัยพลังเครือข่ายกัลยาณมิตร เคลื่อนงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ชุมชน 3) แต่ละสถาบันนำความรู้ในศาสตร์ของตน และนำนักศึกษามาร่วมเรียนรู้ บนฐานคิดที่ว่างานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม

องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ คือ  1) เรียนรู้วิถีชุมชน ผ่าน group discussion และ swot analysis ในประเด็น การศึกษา การเกษตร อาชีพ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนาขั้นตอนการวางแผน และประสานร่วมแรงร่วมใจ

การทำงานก่อให้เกิด คือ 1) ประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ 2) ขยายเครือข่ายงานวิจัยในสถาบันของตน 3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

บทเรียนของภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตร มีดังนี้ 1) ตระหนักในจิตอาสาต่อพื้นที่ชุมชนจังหวัดลำปาง และจิตอาสาต่อพื้นที่การทำงานวิจัย 2) ตระหนักในองค์ความรู้ทางวิชาการของสถาบันที่มีอยู่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3) มีประสบการณ์ร่วมกันในการทำวิจัยเชิงพื้นที่ร่วมกัน 4) รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องร่วมกัน 5) ความเข้าใจในความเชี่ยวชาญของนักวิชาการที่ทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดคุณค่าตามมา 5.1) เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบัน 5.2) ขยายงานวิจัยในองค์กรของตน 5.3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

บทเรียนใน 6 เดือนแรกช่วงเรียนรู้และหาโจทย์วิจัยกับพื้นที่ คือ
1) ชุมชนสามารถนำเสนอข้อมูลและองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) สร้างบรรยาการร่วมกันในการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเป็นสุข
3) การลงพื้นที่ทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย
4) ภาคีเครือข่ายควรมีแนวทางกระตุ้นให้ชุมชนมีทักษะในการเรียนรู้ปัญหาและช่วยเหลือตนเอง

มีประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่
– บทเรียนการเคลื่อนงานวิจัยท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค
– การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150751001108895.424758.814248894

ถอดบทเรียนโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของ 5 สถาบันที่ มรภ.ลำปาง

สิ่งที่เชื่อมนักวิชาการ กับนักปฏิบัติในชุมชน

สิ่งที่เชื่อมนักวิชาการ กับนักปฏิบัติในชุมชน

9 ส.ค.55 ถอดบทเรียนโครงการวิจัย “แนวทางารทำงานเครือข่ายสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยลำปาง เพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมสร้างศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง” ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ มรภ.ลำปาง แบ่งกลุ่มย่อย ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ แล้วมานำเสนอหลังทานข้าวเที่ยง

มีผู้ประมวลภาพรวมของการสรุปบทเรียน คือ คุณอาภา พงษ์คีรีเสน (คุณน้อย จากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อสังคม) และ คุณภัทรา มาน้อย เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง หรือพี่เลี้ยงของทีมที่แข็งขัน มีแขกนักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญ 2 ท่านคือ อ.สุวลักษณ์ และอ.นิกร นักวิชาการในลำปาง ชวนคิดนอกกรอบ และมีคุณประไพร สะท้อนจากกลุ่มข้าวซ้อมมือ ทำให้เวทีมีรสชาติของการเรียนรู้ร่วมกันชัดเจน แล้วผมก็ถูกอ.ชุติมา พาดพิงว่าไป กระตุ้นต่อม X (แปลเกือบไม่ทัน) มี อ.วิเชพ และ อ.อัศนีย์ เก็บประเด็นกลุ่มต้นน้ำ มี อ.ชุติมา คำบุญชู เป็นผู้สรุปงานโครงการ มี ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล กล่าวรายงาน มี รองอธิการที่ดูแลงานวิจัย เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ปิดประชุม 4 โมงกว่า และผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ชวนทีมวิจัยคุยกันต่อเรื่องวันที่ 16 – 17 ส.ค.55 มี 5 สถาบันการศึกษาในลำปางร่วมทำงานเป็นเครือข่ายได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร http://www.mculampang.com สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง (กศน.) สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง (มทร.) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง (มรภ.) มหาวิทยาลัยเนชั่น (มนช.)

 

ความรู้จากการปฏิบัติ กับงานวิจัย

ความรู้จากการปฏิบัติ กับงานวิจัย

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10151076272017272.450358.350024507271