Tag Archives: innovation

Signature restaurant in a province คืออะไร

คำถาม : Signature restaurant in a province คืออะไร

คำถาม : Explain Signature restaurant in a province meaning in thai
[.gm.]

ร้านอาหารชื่อดังในจังหวัด
ร้านอาหารชื่อดังในจังหวัด  หมายถึง ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งมักจะมีจุดเด่นเฉพาะตัว เช่น รสชาติอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ วัตถุดิบชั้นเลิศ บรรยากาศร้านที่โดดเด่น หรือประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ทำให้เป็นที่รู้จักและนิยมของทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
1. ร้านอาหาร (Restaurant)
2. ชื่อดัง (Famous)
3. จังหวัด (Province)
4. เอกลักษณ์ (Unique)
5. วัตถุดิบ (Ingredients)
6. บรรยากาศ (Atmosphere)
7. ประวัติความเป็นมา (History)
8. คนในท้องถิ่น (Local people)
9. นักท่องเที่ยว (Tourists)
[.gm.]

ร้านอาหาร Signature ในจังหวัด หมายถึงร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่รู้จักในพื้นที่นั้น ๆ โดยมักจะมีเมนูพิเศษหรือการตกแต่งที่โดดเด่น
[.cp.]

Signature Restaurant ในบริบทของจังหวัด หมายถึง ร้านอาหารที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดนั้นๆ โดยร้านเหล่านี้มักจะสะท้อนถึงวัฒนธรรม ท้องถิ่น หรือจุดเด่นของพื้นที่ เช่น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่น การนำเสนอเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ หรือการออกแบบร้านที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนั้นๆ
[.cg]

เมนู Signature คือ เมนูอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโดดเด่น ซึ่งช่วยสร้างความแตกต่างให้กับร้านอาหาร โดยมักจะมีรสชาติที่อร่อยและไม่สามารถหาทานได้จากที่อื่น เมนูเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าจดจำร้านได้ดีขึ้น และมักจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่า
[.pp.]

ร้านอาหาร Signature restaurant ในบริบทของจังหวัด หมายถึง ร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและเป็นตัวแทนของจังหวัดนั้นๆ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้:
1)
นำเสนออาหารท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ใช้วัตถุดิบในพื้นที่
2) มีการตกแต่งร้านที่สะท้อนวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
3) มีมาตรฐานการบริการและคุณภาพอาหารที่ดี
4) เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับทั้งจากคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว
[.cl.]

“Signature restaurant in a province” หมายถึง ร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือเป็นที่รู้จักในจังหวัดนั้นๆ มักจะมีเมนูอาหารหรือบรรยากาศที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี หรือวัตถุดิบท้องถิ่นของจังหวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมจากทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมักมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของอาหาร การให้บริการ หรือการสร้างประสบการณ์ในการรับประทานอาหารที่น่าจดจำอีกด้วยครับ
[.dp.]

ความหมายของ “Signature Restaurant” ในจังหวัด
Signature restaurant หมายถึงร้านอาหารที่มีเมนูหรือจานอาหารเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมักจะถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่จดจำและสร้างความแตกต่างจากร้านอาหารอื่น ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ เมนู signature นี้ถือเป็นตัวแทนของร้านและช่วยสร้าง ตัวตน ให้กับร้านอาหาร
[.you.]

http://www.thainame.net/edu/%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%88-%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b9%81%e0%b8%99/

แนะนำร้านกินดี

http://thaiabc.com/lampangkindee/

ลำปางมีพลวัตสูง เปลี่ยนผู้ว่าฯ ลำปาง 5 ปี 8 คน

share of webmaster ..
เคยอ่านหนังสือ Steve Jobs เรื่องของนวัตกรรม
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารก็อาจ
ทำให้มีนวัตกรรมเกิดขึ้นในองค์กรได้นะครับ
ส่วน Barack Obama ก็ชูประเด็น change
ถ้าอยู่กับที่ อะไรอะไรก็เหมือนเดิม เราก็คงไม่พัฒนา
ที่ลำปางมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเกิดขึ้นบ่อย

ก็อาจอยู่ระหว่างการคัดสรร
คนที่จะเป็นพ่อเมืองที่เหมาะสมก็ได้

 

อนุวัตร ภูวเศรษฐ

อนุวัตร ภูวเศรษฐ

 

ลำปาง – สภากาแฟ-สังคมออนไลน์วิจารณ์กันแซด มหาดไทยสั่งเปลี่ยนผู้ว่าฯ ลำปางถี่ยิบ แค่ 5 ปีเปลี่ยนไปแล้ว 8 คน ทำลำปางเป็นเหมือนบ้านพักคนชรา-แหล่งพักรอเกษียณ หรือเก้าอี้ทางผ่าน กระทบแผนพัฒนาจังหวัดขาดความต่อเนื่อง

รายงานข่าวจากจังหวัดลำปางแจ้งว่า หลังจากที่กระทรวงมหาดไทยได้เสนอรายชื่อต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 55 และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการระดับสูง 10 ตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือ นายบุญเชิด คิดเห็น ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ซึ่งเพิ่งมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ลำปาง คนที่ 38 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 54 นับแล้วยังไม่ถึง 4 เดือนยังเดินไม่ทั่วลำปาง คนลำปางส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักไม่เคยเห็นหน้าด้วยซ้ำก็ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดิน ทำให้คนลำปางวิพากษ์วิจารณ์ว่า นับวันลำปาง จะกลายเป็นทางผ่านของข้าราชการที่ย้ายเข้ามาพักรอเวลาเท่านั้น

เพราะแม้แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่คนที่ 39 ที่กำลังจะมาคือ นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ก็ดูเหมือนว่าเป็นการย้ายมาพักผ่อนรอวันเกษียณที่ลำปางอีกคน คนนี้ก็คงอยู่ลำปางได้ไม่ถึงปีอีกตามเคย เพราะปัจจุบันอายุก็ 60 ปีแล้ว

ซึ่งกรณีดังกล่าวนอกจากจะมีการวิจารณ์กันแบบปากต่อปากตามสภากาแฟแล้ว ในสังคมออนไลน์ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้อย่างหนัก
โดย http://www.facebook.com/photo.php?fbid=347936761933133&set=a.162476233812521.37568.100001504374503
พูดถึงเรื่องการโยกย้ายข้าราชการที่จะเข้ามารับหน้าที่พ่อเมืองลำปางต่าง ๆ นานาเพิ่มมากขึ้นว่า ทำไมกระทรวงมหาดไทยถึงใช้ผู้ว่าฯ ที่จังหวัดลำปางเปลืองเหลือเกิน และส่วนใหญ่ก็จะมารอเกษียณ รอย้ายแทบทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละคนเมื่อรู้ว่ามาอยู่ลำปางเพื่ออะไรก็ทำให้การทำงานไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย นั่งเป็นพ่อเมืองไปวันๆ ไปออกงานโน้น รับเชิญไปงานนี้ มากกว่าจะใช้เวลาในการคิดหาโปรเจกต์ใหญ่ๆ ใหม่ๆ มาทำเพื่อคนลำปาง แต่ก็อย่างว่า งานบางอย่างหากไม่อยู่นานก็ทำอะไรไม่ได้เพราะงบประมาณแต่ละอย่างส่วนใหญ่ก็เป็นงบผูกพัน ผู้ว่าฯ คนเดิมทำไว้แล้วก็ย้ายคนใหม่มารับหน้าที่ ยังไม่ทันได้ทำอะไรก็ย้าย ก็เกษียณ มาครึ่งๆ กลางๆ ก็ทำอะไรไม่ได้ ..นั่นก็ถือเป็นความโชคร้ายของคนลำปาง.. หรือนักการเมืองเล่นการเมืองมากกว่าเห็นประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง…แม้แต่กระทรวงมหาดไทยที่มักพูดเสมอว่าการพิจารณาโยกย้ายข้าราชการต้องเป็นไปตามระเบียบ ตามความรู้ความสามารถ…แต่ที่ผ่านมากลับสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด

“การโยกย้ายข้าราชการพิจารณาจาก..คนของใคร..ฝ่ายของใคร..ใครได้ประโยชน์..ไม่ฟังแม้เสียงของประชาชน..ขณะที่พลังเสียงของ ส.ส.ในพื้นที่ก็ไม่แข็งแรง คนละฝั่งคนละขั้ว จนไม่สามารถสร้างพลังใดๆ ให้กับชาวลำปางได้”

นอกจากนี้ยังมีการระบุอีกว่า คนลำปางต้องการผู้ว่าฯ ที่รู้จักลำปางอย่างแท้จริง เข้าใจวิถีชีวิตคนลำปาง เข้าใจความต้องการของคนลำปางไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือประชาชน เพื่อที่จะผลักดันสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นความต้องการของคนลำปางให้เป็นรูปธรรมได้ เพื่อแก้ปัญหาของคนลำปาง และที่สำคัญคือ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่คนลำปาง แต่ที่ผ่านมาคนลำปางเสียโอกาสหลายอย่างจากการเปลี่ยนตัวผู้นำ อาทิ บางโครงการกำลังจะเริ่มต้นเพราะแนวคิดแนวนโยบายของผู้ว่าฯ แต่ยังไม่ได้ทำอะไร หรือบางโครงการกำลังจะเริ่มดำเนินการ ผู้นำกลับถูกเปลี่ยนตัว ก็ทำให้โครงการต่างๆ เหล่านั้นพลอยยุติไปด้วย ไม่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยง ก็ทำให้คนลำปางเสียโอกาสอีกเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้โพสต์ข้อความยังระบุอีกว่า ลองย้อนดูว่าในรอบ 5 ปีมานี้จังหวัดลำปางเปลี่ยนตัวผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางไปแล้วกี่คน

1. ตุลาคม พ.ศ. 2546-30 กันยายน พ.ศ. 2550 ผู้ว่าฯ คนที่ 32 คือ นายอมรทัต นิรัติศยกุล
2. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550-19 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ว่าฯ คนที่ 33 คือ นายดิเรก ก้อนกลีบ
3. 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551-15 มีนาคม พ.ศ. 2552 ผู้ว่าฯ คนที่ 34 คือ นายอมรพันธุ์ นิมานันท์
4. 16 มีนาคม พ.ศ. 2552-30 กันยายน พ.ศ. 2552 ผู้ว่าฯ คนที่ 35 คือ นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์
5. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552-30 กันยายน พ.ศ. 2553 ผู้ว่าฯ คนที่ 36 คือ นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์
6. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553-30 กันยายน พ.ศ. 2554 ผู้ว่าฯ คนที่ 37 คือ นายอธิคม สุพรรณพงศ์
7. 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554-18 เมษายน พ.ศ. 2555 ผู้ว่าฯ คนที่ 38 คือ นายบุญเชิด คิดเห็น
8. ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางคนที่ 39 คือ นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ที่ถูกพิษการเมืองเด้งมาพักผ่อนรอเกษียณที่ลำปางในวันที่ 30 กันยายน 2556

ดังนั้น ในรอบ 5 ปี คือระหว่าง 2550-2555 ลำปางมีพ่อเมืองที่มารอเกษียณ และมาพักผ่อนเพื่อรอตำแหน่งถึง 8 คน

ด้านนายอนุวัตร ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง ได้แสดงความเห็นว่า การที่ลำปางเปลี่ยนตัวพ่อเมืองบ่อยจนเกินไปทำให้คนลำปางสูญเสียโอกาสไปหลายอย่าง ในส่วนของภาคเอกชนก็รู้สึกหนักใจ เพราะโครงการต่างๆ ที่ภาคเอกชนเคยนำเสนอไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดคนเก่า ซึ่งกำลังเดินหน้าก็อาจจะหยุดชะงักหรือไม่ก็ล่าช้าไปอีก เพราะเมื่อมีผู้นำมาใหม่ก็ต้องมาเริ่มเรียนรู้งานใหม่ เหมือนกับว่าเราต้องนำเสนอแนวคิดซ้ำไปซ้ำมาทำให้ล่าช้าไม่เหมือนจังหวัดอื่นที่เดินหน้าไปไกลกว่า ทั้งนี้ รวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานล่าช้าและติดขัด

ส่วนที่ผ่านมาทางภาคเอกชนเห็นว่ามี 3 โครงการที่อยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่สานต่องานของผู้ว่าฯ คนเดิม คือ

 

1. เรื่องการรักษาทรัพยากรป่าไม้ที่กำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดีและมีประโยชน์
2. โครงการส่งเสริมด้านธุรกิจคือถนนสายเลี่ยงเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ R3a เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการลงทุน
3. โครงการป้องกันน้ำท่วม หากสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่นักธุรกิจได้ก็จะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในลำปางเพิ่มมากขึ้น

 

นายอนุวัตรกล่าวเพิ่มเติมว่า หากเราไม่สามารถที่จะเลือกคนที่เราต้องการมาเป็นพ่อเมืองได้ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือภาคเอกชนและภาคประชาชนจะต้องรวมพลังในการทำแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดเอง เมื่อทำได้ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้ว่าฯ กี่คนแผนงานต่างๆ ที่คนลำปางต้องการและทำไว้ก็ต้องเดินหน้าต่อไปไม่สะดุด แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ที่พลังของคนลำปางด้วย

สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวในขณะนี้มีกระแสข่าวว่าคนลำปางบางกลุ่มที่ไม่พอใจการโยกย้ายและเปลี่ยนตัวผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางที่บ่อยจนเกินไปจนทำให้ชาวลำปางสูญเสียโอกาสหลายอย่างได้มีการระดมคนเพื่อที่จะออกมาประท้วงเรื่องดังกล่าว แต่ก็ถูกผู้ใหญ่ของจังหวัดขอร้องไม่ให้มีการประท้วง โดยขอให้แสดงออกทางด้านที่สร้างสรรค์แทนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดลำปางเอาไว้

เนื้อหาจาก
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000048642