Tag Archives: burn

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

เทศบาลนครลำปาง
มีมาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน ..
รณรงค์ หยุดเผา ขยะ เศษไม้ ใบหญ้า
ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสุขภาพตัวเองและผู้อื่น
ระหว่าง 21 ม.ค. – 30 เม.ย. 2556

โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าปีนี้น่าจะลดลงกว่าทุกปี
เพราะผมอ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้ไม่กล้าเผาขยะที่บ้าน
ต่อไปบ้านผมก็จะไม่เป็นต้นเหตุของปัญหาหมอกควันอีกแล้ว
http://www.dailynews.co.th/agriculture/184630
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=427482337328857&set=a.232673853476374.55211.228245437252549

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง
ที่จีนยกรับดับเตือนภัยเป็นส้ม
#seethen #thinkof #BangkokPost 14
เห็นแล้ว คิดถึง ฟ้าวันนี้ที่ลำปางเริ่มหม่น
จึงได้ยินว่ามีมาตรการป้องกันปัญหาไฟป่า
ที่เป็นฝีมือของมนุษย์ ที่ปภ.ลำปาง
บอกว่า ถ้ามีไฟ ก็จะมีควัน
และควันไม่หายไป ยังลอยไปตามลม
ไปเข้าบ้าน ตามถนนน และที่ทำงานอยู่เสมอ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152070858077713&set=a.139933287712.105761.133643127712

http://thaiabc.com/lampangnet/admin/666/

ดีต่อดี ของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ต่อยอด คนดีแทนคุณแผ่นดิน ที่ลำปาง

ดีต่อดี เป็นโครงการต่อยอดของโครงการคนดีแทนคุณแผ่นดิน

ดีต่อดี เป็นโครงการต่อยอดของโครงการคนดีแทนคุณแผ่นดิน

ดีต่อดี เป็นโครงการต่อยอดของโครงการคนดีแทนคุณแผ่นดิน
ที่ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 มีการบันทึกเทป เพื่อไปออกรายการทีวี

บริษัท เนชั่น มัลดีมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง จัดเสวนา “ดีต่อดี” แทนคุณแผ่นดิน
เพื่อเป็นการรณรงค์ และส่งเสริมให้เกิดการทำดีในสังคม

story telling
วิทยากรพูดถึงคำว่าต้นกล้าและติดตามผล เป็นการตอกย้ำความสำเร็จ
โครงการดำเนินการต่อเนื่อง ตั้งแต่ 2550
ปีนี้จึงต่อยอดด้วยการจัดเสวนา ดีต่อดี ที่ลำปางเป็นภาคแรก
มีคนดีร่วมโครงการไปแล้วกว่า 600 คนทั่วประเทศ
เพื่อนที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ นำนักศึกษาเข้าร่วมพร้อมหน้า
มีประเด็นพูดคุยหลายเรื่อง จากคนดีต่างวัย ต่างบทบาท ต่างพื้นที่
ประเด็นที่ผุดขึ้นระหว่าพูดคุยที่ชัด คือ การจัดการป่า การเผาป่า ปัญหาหมอกควัน
พระสงฆ์จากเมืองน่าน บอกว่า ป่าสงวนเป็นไร่ข้าวโพดไปหมดแล้ว
ตอนนี้สองผัวเมีย มีเครื่องมือเครื่องจักร เหมาทั้งเขา
การทำไร่ก็มีแต่ได้กับได้ ในการบุกป่าทำกิน
พอแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด แมลงลง ราคาตก พายุ รัฐบาลก็ชดเชย
แล้วป่าจะเหลือเหรอ และชวนคนลำปางไปร่วมกิจกรรมในอนุรักษ์ป่าช่วง summer ด้วย
ส่วนคุณพี่ผู้หญิงบ้านล่องบอน บอกว่าทุกวันนี้ต่อสู้กับนายทุน
ที่หวังมาซื้อที่ดินจากชาวบ้าน แต่ต้องสู้เพื่อปกป้องป่าต้นน้ำให้ลูกหลาน
ถ้าห้ามเผาป่าไม่เข้าใจ ก็ต้องอาศัยพระ คือสวดบังสุกุลในป่าที่ถูกเผา
จากนั้นก็ไม่มีการเผาป่าโดยคนในหมู่บ้านอีก เพราะชาวบ้านกลัวโดนแช่ง
น้องสาวปี 2 เคยเป็นผู้นำเยาวชนก็ยังทำงานต่อเนื่อง
เคยอยู่ลำพูน ตอนนี้เรียนต่อ มรภ.เชียงใหม่
เสนอแนวคิดว่า ภาครัญต้องเข้ามามีบทบาทมากกว่านี้
คุณพี่ egat บอกว่าเจ้านายหนุนให้ลงชุมชน ทำ CSR
ให้รถ ให้เวลา นอกจากสอนดนตรีกับเยาวชน
ก็ยังเผยแพร่เรื่องตอกเส้นด้วย เรื่องหมอกควันก็มาจากคนเก็บของป่าในชุมชน
เหมือนที่อื่นๆ แต่หนักกว่าเพราะแม่เมาะเป็นแอ่งกะทะ ควันไม่มีที่ไป
เผาเสร็จก็ลอยไป ลอยมา เข้าปอดชาวบ้านนั่นหละ
คุณพี่ผู้ชายตัวสูง พูดถึงยาฆ่าแมลงว่าต้องใช้มาตรการของชุมชน
ใครใช้ยาเป็นเลิกคบ ไหลลงแม่น้ำแม่จาก ไปลงแม่น้ำวัง
แล้วคนในเมืองก็สูงไปกินไปใช้ ยาทั้งนั้น

http://www.facebook.com/TanKhunPaenDin

 

สาเหตุของการเกิดไฟป่ามี 2 สาเหตุ

fire

fire

ไฟป่าเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากธรรมชาติ และสาเหตุจากมนุษย์
1. สาเหตุจากธรรมชาติ
ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous Combustion) โดยทั่วไปมี 2 สาเหตุ ดังนี้
1.1 ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า ทั้งนี้โดยที่ฟ้าผ่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ฟ้าผ่าแห้ง (Dry or Red Lightning) คือ ฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีฝนตก มักเกิดในช่วงฤดูแล้ง สายฟ้าจะเป็นสีแดง เกิดจากเมฆที่เรียกว่าเมฆฟ้าผ่า ซึ่งเมฆดังกล่าวจะมีแนวการเคลื่อนตัวที่แน่นอนเป็นประจำทุกปี ฟ้าผ่าแห้งเป็นสาเหตุสำคัญของไฟป่าในเขตอบอุ่น
(2) ฟ้าผ่าเปียก (Wet or Blue Lightning) คือ ฟ้าผ่าที่เกิดควบคู่ไปกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) ดังนั้นประกายไฟที่เกิดจากฟ้าผ่า จึงมักไม่ทำให้เกิดไฟไหม้ หรืออาจเกิดได้บ้างแต่ไม่ลุกลามไปไกล เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นของเชื้อเพลิงสูง ฟ้าผ่าในเขตร้อนรวมถึงประเทศไทยมักจะเป็นฟ้าผ่าเปียก จึงแทบจะไม่เป็นสาเหตุของไฟป่าในเขตร้อนนี้เลย
1.2 กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน

2. สาเหตุจากมนุษย์
ไฟป่าที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อนส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ สำหรับประเทศไทยจากการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 ซึ่งมีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่าเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติ คือ ฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง ได้แก่ 1) ที่ภูกระดึง จังหวัดเลย 2) ที่ห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ 3) ที่ท่าแซะ จังหวัดชุมพร และ 4) ที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แห่งละหนึ่งครั้ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าไฟป่าในประเทศไทยทั้งหมดเกิดจากการกระทำของคน โดยมีสาเหตุต่างกันไป ได้แก่
2.1 เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ได้แก่ ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ำผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า
2.2 เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
2.3 เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผาป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้า เพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์
2.4 ล่าสัตว์ โดยใช้วิธีไล่เหล่า คือจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่าง ๆ จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าขึ้นใหม่ ล่อให้สัตว์ เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้น ๆ
2.5 แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกินหรือถูกจับกุมจากการกระทำผิดในเรื่อง ป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่ด้วยการเผาป่า
2.6 ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใด ๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น
2.7 ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า เป็นต้น

http://www.dnp.go.th/forestfire/FIRESCIENCE/lesson%201/lesson1_6.htm