มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

เทศบาลนครลำปาง
มีมาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน ..
รณรงค์ หยุดเผา ขยะ เศษไม้ ใบหญ้า
ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสุขภาพตัวเองและผู้อื่น
ระหว่าง 21 ม.ค. – 30 เม.ย. 2556

โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าปีนี้น่าจะลดลงกว่าทุกปี
เพราะผมอ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้ไม่กล้าเผาขยะที่บ้าน
ต่อไปบ้านผมก็จะไม่เป็นต้นเหตุของปัญหาหมอกควันอีกแล้ว
http://www.dailynews.co.th/agriculture/184630
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=427482337328857&set=a.232673853476374.55211.228245437252549

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง
ที่จีนยกรับดับเตือนภัยเป็นส้ม
#seethen #thinkof #BangkokPost 14
เห็นแล้ว คิดถึง ฟ้าวันนี้ที่ลำปางเริ่มหม่น
จึงได้ยินว่ามีมาตรการป้องกันปัญหาไฟป่า
ที่เป็นฝีมือของมนุษย์ ที่ปภ.ลำปาง
บอกว่า ถ้ามีไฟ ก็จะมีควัน
และควันไม่หายไป ยังลอยไปตามลม
ไปเข้าบ้าน ตามถนนน และที่ทำงานอยู่เสมอ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152070858077713&set=a.139933287712.105761.133643127712

http://thaiabc.com/lampangnet/admin/666/

ใช้เครื่องข่ายสังคมเพื่อสื่อสาร (itinlife 383)

fb ของกองการศึกษา

fb ของกองการศึกษา

มีโอกาสฟังคุณศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เล่าถึงการพัฒนาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ก่อนมาที่ลำปางว่ามีการสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสื่อสาร ด้วยการเปิดเฟซบุ๊คของส่วนราชการ องค์กร หรือชุมชน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลเสมือนกลไกขับเคลื่อนให้กลไกอื่น ๆ หมุนล้อไปตามกันให้ภาพใหญ่ปรากฎออกมาเด่นชัด เป็นแรงกระเพื่อมอีกแรงที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ปัจจุบันประชาชนเข้าถึงเฟสบุ๊คเกือบ 20 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แนวคิดของท่านรองฯ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ลำปาง ของ อาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง มีกิจกรรมหนึ่งที่จะจัดให้ผู้ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเข้ารับการอบรมฝึกทักษะเรื่องการใช้ Social Media สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งจัดไว้ 3 หัวข้อตามลักษณะบริการสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ Blog, Facebook.com และ Youtube.com แต่ผู้เข้ารับการอบรมควรมีความเข้าใจใน 3 เรื่องสำคัญ คือ ความรู้เรื่องแหล่งท่องเที่ยวของตน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไอที และความเข้าใจเรื่องการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพ

แฟนเพจ (Fan Page) เป็นระบบเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข่าวสารที่เปิดให้ใช้บริการฟรีโดยเฟสบุ๊ค ผู้เป็นสมาชิกของแฟนเพจสามารถสมัครสมาชิกโดยการกดปุ่มไลค์ (Like button) และไม่ต้องรอรับการยืนยันจากผู้ดูแลเพจ แล้วสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นหรือรับเรื่องราวผ่าน Feed ได้ทันที สามารถนำมาใช้ได้ในระดับองค์กรเพื่อรับความคิดเห็นจากสาธารณะ หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารได้ แฟนเพจในปี 2555 ที่มีคนกดไลค์มากกว่า 1.7 ล้านในไทย คือ 1) ไพ่เท็กซัส 2) ตันภาสกรนที 3) nerkoo.com 4) อัพยิ้มดอทคอม 5) bodyslam หากท่านสนใจการทำแฟนเพจสามารถเรียนรู้จากเพจข้างต้น แต่ก็ต้องไม่ลืมเอกลักษณ์ของตน หากแฟนเพจทางการแพทย์ไปโพสต์เรื่องดูดวงตามราศี หรือแฟนเพจโรงเรียนมัธยมชวนสมาชิกเล่นเกม หรือแฟนเพจธรรมะชวนดูหนังจันดาราก็คงไม่เหมาะอย่างแน่นอน

 

http://th-th.facebook.com/permalink.php?story_fbid=247968515325777&id=259176487524058

 

 

 

รูปแบบการท่องเที่ยว

cultural tourism

cultural tourism

รูปแบบการท่องเที่ยว
1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism)
2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
http://www.thaiall.com/pptx/promote_travel_by_blog.pptx

1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism)
1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism)
1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism)
1.3 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (geo-tourism)
1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (agro tourism)
1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (astrological tourism)

2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism)
2.2 การท่องเที่ยวชมงานวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism)
2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism / village tourism)

3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism)
3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (edu-meditation tourism)
3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism)
3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism)
3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel)
3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และฟาร์มสเตย์ (home & farm stay)
3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (longstay)
3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel)
3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE: M=meeting, I=incentive, C=conference, E=exhibition)
3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน (Integrated travel)

ข้อมูลจาก

http://www.travel.in.th/th/review/knowledge/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7

การส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

lampang travel

lampang travel

การส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

ที่ลำปางจะมีโครงการฝึกอบรมเรื่อง การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง ซึ่งการบรรยายใน 1 วันแบ่งเป็น 4 ส่วน
การบรรยาย โดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง
1. เรื่อง การสื่อสารการตลาดและแนวทางการใช้ Social Media เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
2.  เรื่อง การจัดทำ Blog เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. เรื่อง การใช้ Facebook.com เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. เรื่อง การใช้ Youtube.com เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวได้กำหนดรูปแบบของนักท่องเที่ยว (Typology : a systematic classification or study of types) เพื่ออธิบายพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้มาจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการที่ใช้

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรูปแบบพื้นฐานที่สุดคือ การแบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น     2 กลุ่ม ตามลักษณะของพฤติกรรมของการเดินทาง คือ การแบ่งว่าบุคคลนั้นเป็น 1) นักท่องเที่ยว (Tourists) หรือ 2) นักเดินทาง (travelers) นักท่องเที่ยวคือ บุคคลซึ่งซื้อรายการนำเที่ยวเหมาจ่ายจากบริษัทนำเที่ยว ในขณะที่นักเดินทางคือ บุคคลซึ่งจัดการการเดินทางด้วยตนเอง เช่น ซื้อตั๋วเครื่องบินเอง จองที่พักเอง กำหนดสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง เป็นต้น

Perreault  และ  Dorden (1979) ได้เสนอรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวออกเป็น  4  รูปแบบ ได้แก่

1)  นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) โดยทั่วไปแล้วนักท่องเที่ยวประเภทนี้ทีรายได้ปานกลาง แต่แสวงหาการหยุดพักผ่อนหรือท่องเที่ยวที่ใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ

2)  นักท่องเที่ยวชอบผจญภัย (Adventurous Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการศึกษาดีและมีรายได้ปานกลางถึงสูง มีความชื่นชอบในกิจกรรมระหว่างการหยุดพักผ่อนหรือการท่องเที่ยวแบบผจญภัย

3)  นักท่องเที่ยวประเภทเดินทางระหว่างวันหยุด (Vacationers Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ ซึ่งมักใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือการเดินทางในครั้งต่อไปว่าจะไปที่ไหน อย่างไร นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความกระตือรือร้นแต่มีรายได้ค่อนข้างน้อย

4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเดินทางยาวนาน (Moderates Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีใจรักการท่องเที่ยวเดินทางอย่างมากแต่ไม่สนใจการท่องเที่ยวในระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์หรือการใช้เวลากับการเล่นกีฬา แต่จะชอบการเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานมากกว่า

Cohen (1979) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้

1) นักท่องเที่ยวแบบนันทนาการ (Recreational Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งเน้นความสำคัญในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนันทนาการหรือการพักผ่อนทางร่างกาย

2) นักท่องเที่ยวแบบปลีกตัวหาความเพลิดเพลิน (The Diversionary Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่พยายามทางแนวทางเพื่อลืมความจำเจในชีวิตประจำวัน

3) นักท่องเที่ยวมุ่งหาประสบการณ์ (The Experiential Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่แท้จริง นักท่องเที่ยวประเภทนี้สนใจศึกษาและได้รับประสบการณ์ที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ไปสัมผัส ตัวอย่างเช่น เมื่อเดินทางไปประเทศสเปน ก็ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมต่างๆ ที่แท้จริงเป็นของสเปน

4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบทดลอง (The Experimental Tourists) มีลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ ชอบติดต่อพูดคุยกับคนท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของคนท้องถิ่น

5)  นักท่องเที่ยวที่ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น (The Existential Tourists) นักท่องเที่ยวประเภทนี้ต้องการฝังตัวเองหรือใช้ชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดียวกับคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวที่มาใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในประเทศไทย เช่น พัทยาหรือเชียงใหม่ และพยายามใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัว การับประทานอาหาร การพยายามพูดภาษาท้องถิ่น เป็นต้น

สำนักงานเศรษฐกิจศึกษา  Westvlaams (1986, อ้างจาก Swarbrook และ Horner 1999) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้

1) นักท่องเที่ยวประเภทหลงใหลในทะเล (Active sea lovers)

2)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบผูกมิตร (Contact-minded holiday makers) มีจิตใจชอบติดต่อพบปะกับผู้อื่น แสวงหามิตรใหม่โดนเฉพาะที่เป็นคนท้องถิ่น

3)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบชมธรรมชาติ (Nature Viewers) ชอบความงดงามของภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว

4)  นักท่องเที่ยวประเภทแสวงหาการพักผ่อน (Rest-seekers) ใช้เวลาไปกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ

5)  นักค้นหา (Discovers) ชอบกิจกรรมประเภทผจญภัยและชอบแสวงหามิตรใหม่

6)  นักท่องเที่ยวแบบเดินทางพร้อมครอบครัว (Family-orientated) เป็นนักท่องเที่ยวที่หลงใหลในแสงแดดและทะเล และชอบเดินทางท่องเที่ยวแบบไปเป็นครอบครัว

7)  นักท่องเที่ยวแบบประเพณีนิยม (Traditionalists) ชอบเดินทางท่องเที่ยวที่เน้นความปลอดภัยและไม่   เสี่ยงภัย

http://touristbehaviour.wordpress.com/1/

ขาดแคลนแรงงานไอทีอย่างหนัก เหตุเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว

IT worker

IT worker

อุตสาหกรรมไอที” ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก เหตุเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการแรงงานไอทีสูง “สวทช.” แนะคนไอทีพัฒนาทักษะเพิ่มผ่านกลไกรัฐช่วยหนุน ผ.อ.”ไอเอ็มซี” ชี้คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
ปัญหาจำนวนแรงงานหรือบุคลากรระดับผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เคยเพียงพอของวงการไอทีกลายเป็น “ประเด็นคลาสสิค” ที่ยังไม่มีทีท่าจะเบาบางลง แต่กลับกันยิ่งดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นแปรผันตรงแถมยังตามหลังแบบห่างๆ เมื่อเทียบกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและยิ่งดูสถานการณ์จะยิ่งย่ำแย่เมื่อวัดกันถึงแรงงานระดับ “คุณภาพ” ที่จะสามารถต่อยอดเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมได้มากกว่าจะเป็นแรงงานไอทีทั่วไป

หลักสูตรตามไม่ทันเทคโนฯ
นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กล่าวว่า ส่วนของภาคไอทีนั้นแรงงานเข้าขั้น “ขาดแคลนหนัก” โดยมีหลายปัจจัย เช่น หลักสูตรการเรียนการสอนตามสถาบันการศึกษา ไม่ได้รับการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงให้ทันกับโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเร็วมาก ส่วนใหญ่หลักสูตรที่สอนตามมหาวิทยาลัยก็จะมุ่งเน้นการสอนตามทฤษฏีหลักๆ แต่ไม่เน้นในเรื่องของการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม
“ปัญหาสำคัญ คือ เราตามเทคโนโลยีกันไม่ทัน หลักสูตรการเรียนการสอนที่มีเมื่อนักศึกษาจบมา ไม่ตรงกับคุณสมบัติหรือความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ไทยเสียโอกาสในการพัฒนาคนเก่งๆ ในเรื่องไอที ดังนั้นจึงมีความพยายามระหว่างหน่วยงานด้านไอทีของประเทศ และสถาบันการศึกษาในการพัฒนาคนให้เหมาะกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม”
นางสุวิภา กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันแรงงานด้านไอทีในไทยทั้งอุตสาหกรรมมีเพียงแค่ 50,000 คน แต่ละปีเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 5,000 คน เท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับประเทศเวียดนามแล้ว ถือว่าไทยยังห่างไกลมาก เพราะเวียดนามมียุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ชัดเจนโดยตั้งเป้าว่าปี 2015 จะต้องมีโปรแกรมเมอร์ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน
“ต้องยอมรับว่า แรงงานไอทีของไทย ยังหาคนที่เก่งจริงๆ ยาก เราต้องพยายามพัฒนาแรงงานไอทีเฉพาะทางให้เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ขณะที่ แรงงานไอทีที่มีอยู่แล้ว ต้องพยายามเพิ่มทักษะ หรือ Re-skill ตัวเองขึ้นมาให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต้องไปหาความรู้เพิ่ม ซึ่งความรู้พวกนี้ปัจจุบันสามารถเรียนผ่านเว็บได้ทั้งหมด มีเครื่องมือที่เข้าถึงง้ายขึ้นกว่าในอดีต ขณะเดียวกันก็ต้องมีกลไก จูงใจคนที่คิดจะเข้ามาสู่แรงงานภาคไอทีว่า เขาสามารถพัฒนาทักษะและขึ้นเป็นเจ้าของกิจการได้ ไม่ใช่เป็นได้แค่ลูกจ้างเท่านั้น”
อย่างไรก็ตามเธอยังบอกด้วยว่า แรงงานไอที ควรต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของตัวเองขึ้นมา โดยเฉพาะในระดับโปรเจค แมเนจเม้นท์ เพราะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะสามารถใช้เอาท์ซอร์สจากประเทศเพื่อนบ้านได้
“ขณะนี้ สวทช.กำลังผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงบริษัทในอุตสาหกรรม เพื่อสอนหลักสูตรในด้านไอทีที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เมื่อเด็กจบมาก็ให้ฝึกงานกับบริษัทนั้นๆ ได้เลย ดิฉันมองว่า เด็กไทยเก่งๆ รวมถึง บุคคลากรด้านไอทีขณะนี้ยังรับทักษะใหม่ๆ ได้อีกมาก แต่ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ขณะนี้ รัฐเองก็มีกลไกสนับสนุนในเรื่องของภาษี คือ ให้พนักงานไปพัฒนาทักษะไอทีเพิ่มเติม แล้วนายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาหักภาษีได้” นางสาวสุวิภา กล่าว

ย้ำ”คุณภาพ”สำคัญกว่าปริมาณ
นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี ศูนย์รวมข้อมูลเชิงวิชาการสำหรับอุตสาหกรรมไอซีทีในไทย ระบุว่า แรงงานไอทีเป็นปัญหาที่มีมาต่อเนื่อง แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าการผลิตบุคลากรให้ได้ปริมาณตามความต้องการของตลาดคือ “คุณภาพ” รวมถึงยังควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่คนไทยถนัด เพราะพื้นฐานคนไทยส่วนใหญ่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่าการเป็นผู้ผลิตหรือพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่
“เราต้องเน้นเรื่องของคุณภาพมากกว่ามองเรื่องตัวเลขแรงงานอย่างเดียว เหมือบกับอาชีพหมอที่ยุคไหนๆก็ไม่เพียงพอ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นหมอได้หมด แต่ต้องดูด้วยว่าเราถนัดทางไหน ดูจากภาพรวมแล้วจุดแข็งของไทยที่มองเห็นคือ การทำเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่จะเห็นว่ามีบริษัทเกิดใหม่เกี่ยวกับไอทีช่วงนี้เยอะ และเป็นไปได้มากกว่าการจะเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์องค์กรใหญ่ๆ หรือรับงานเอาท์ซอร์สจากต่างประเทศ”
ผู้อำนวยการไอเอ็มซียังมองว่า การสร้างแรงงานด้านไอทีอาจไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงไอซีทีเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการที่มีบทบาทโดยตรงต่อการสร้างพื้นฐานการศึกษา เพราะคนจะเก่งด้านไอทีควรต้องมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์แข็งแกร่ง ซึ่งควรต้องได้รับการกระตุ้นหรือส่งเสริมด้วยการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
ส่วนค่าแรงไอทีสำหรับตลาดไทยจัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศในแถบเดียวกัน เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ ซึ่งค่าแรงไอทีเริ่มต้นโดยเฉลี่ยยังไม่เกิน 10,000 บาท ขณะที่ไทยมีค่าแรงขั้นต้นสูงกว่ามาก และเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 15,000 บาทมานานแล้ว
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่ากังวลกว่าคือ ความสนใจของเยาวชนที่ปัจจุบันเริ่มมองสาขาวิชาที่เรียนง่าย ไม่ซับซ้อน จบแล้วมีงานทำ ทำให้กระแสการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มน้อยลงไปด้วย

วิศวะ-ไอที ตลาดยังต้องการ
นางสาวธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย ไทย-เวียดนาม กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย จำกัด บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลครบวงจร กล่าวถึงแนวโน้มการจ้างแรงงานปี 2556 ว่า ตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด คือ การตลาด วิศวะ และไอที ซึ่งปี 2555 มีผู้สมัครงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกสายอาชีพ โดยตำแหน่งการตลาดเป็นตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด แต่จำนวนเปิดรับยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนทำงาน ทำให้เกิดการแข่งขันสูง
พร้อมกันนี้ สภาพการจ้างงานในประเทศกำลังพัฒนาจะต้องการแรงงานระดับปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น แต่กลับเกิดสถานการณ์ “Talent shortage” หรือขาดแคลนแรงงานที่มีขีดความสามารถสูง หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ ในระดับบริหารงาน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130206/489083/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2.html

พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี

dragon oven อยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

dragon oven อยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

เตามังกรที่ธนบดี กำลังขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

2 ก.พ.56 ได้ตามรอยชามตราไก่ที่ลำปาง เพราะมีเวลาว่าง 2 ชั่วโมง จึงตามรอยป้ายพิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี (Dhanabadee Ceramic Museum) การเข้าชมมีค่าธรรมเนียมคนละ 50 บาท และมีมัคคุเทศนำชมพิพิธภัณฑ์ น้องเขาใจดี อธิบายละเอียด และช่วยเก็บภาพด้วยครับ  ออกมาก็แวะที่ muse shop ซื้อของที่ระลึก และน้ำชาเย็น ๆ

 

เครือข่ายของธนบดี
1. โรงงานธนบดีสกุล
2. บริษัทธนบดีอาร์ตเซรามิค จำกัด
3. บริษัทธนบดีเดคอร์เซรามิค จำกัด
4. พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี
http://www.dhanabadeeceramicmuseum.com

รวมภาพของนักท่องเที่ยว trip หนึ่ง
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.592430710771064.143332.506818005999002
คลิ๊ปนำเสนอประวัติความเป็นมาของเซรามิกธนบดี
http://www.dhanabadee.com/about_En.php

dhanabadee museum map

dhanabadee museum map

ไข่ต้องลงแก้วเป็นเงื่อนไขเดียวที่จะผ่าน

ไข่ต้องลงแก้วเป็นเงื่อนไขที่จะผ่าน

ไข่ต้องลงแก้วเป็นเงื่อนไขที่จะผ่าน

ภาพของเพื่อนที่มหาวิทยาลัย
ในการแข่งขันกีฬา อพร.สัมพันธ์ ประจำปีการศึกษา 2556
โดยมี มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นเจ้าภาพ
ขณะทำกิจกรรมเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
ทำให้ผมนึกถึงคำว่า “ศรัทธา
ที่เกิดจากการมีเป้าหมายเดียวกัน
มีผู้วางแผน ผู้กำกับ และผู้ปฏิบัติ ที่เรียกว่า “ทีม
สรุปว่า “ไข่ต้องลงแก้ว” ด้วยศรัทธาของทุกคน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=581058378574964&set=a.581054681908667.142410.506818005999002

มาม่าอาจตึงราคาไม่ไหว

มาม่าอาจตึงราคาไม่ไหว

มาม่าอาจตึงราคาไม่ไหว

18 ม.ค.56 ข่าวเรื่องมาม่าอาจตึงราคาไม่ไหว หากน้ำมันปาล์ม กับแป้งสาลีขึ้นเยอะ โรงงานรองเท้าของสหพัฒน์ก็ปิดไปแล้ว เพราะเจอค่าแรง 300 ที่ปรับขึ้น หรือโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปางปิดตัวไปนั้น ทำให้นึกถึงเหตุว่าทำไมผู้ปกครองที่โรงเรียนบุญวาทย์ ลำปาง จ่ายค่าอุดหนุนพิเศษ 2700 บาท สนับสนุนโรงเรียนเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมด จากที่ ดร.สาโรจน์ แก้วอรุณ ผอ.ของโรงเรียน เล่าให้ฟังในการประชุมผู้ปกครองระดับชั้น ม.1 และ ม.2 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 เพราะถ้าผู้ปกครองไม่มีงาน ก็คงไม่มีตังไปจ่ายค่าเล่าเรียนของเด็ก ๆ แล้ว ผอ. ก็เปิดช่องว่า มีอะไรก็ไปคุยกันได้ อย่าเงียบไปเฉย ๆ อาจมีทางออกให้

+ http://hilight.kapook.com/view/81037

+ http://thaiabc.com/lampangnet/admin/539/

+ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358507977&grpid=02&catid=19

งานที่ต้องเสียสละเพื่อเป้าหมาย

game ของผู้เสียสละ

game ของผู้เสียสละ

อพร.สัมพันธ์ คือ การรวมกันของสถาบันการศึกษา 11 แห่งในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง วิทยาลัยการอาชีพเถิน วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี สถาบันการพลศึกษาลำปาง และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

แล้วในการแข่งกีฬาช่วงเย็นของวันที่ 19 มกราคม 2556 ณ สนามเทนนิส มหาวิทยาลัยเนชั่น ก็ได้ภาพการแข่งยืนในพื้นที่จำกัด แล้วนึกถึงกุศโลบายของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ผู้นำการจัดกิจกรรมว่าต้องการให้ผู้ร่วมแข่งขันได้เรียนรู้ว่า  การไปให้ถึงเป้าหมายมีองค์ประกอบมากมาย อาทิ
1. ร่วมแรงร่วมใจทำกิจกรรม (Collaboration)
2. ให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม (Objective)
3. การทำความเข้าใจเกณฑ์ (Criteria)
4. ประเมินความพร้อมก่อนลงสนาม (Preparation)
5. การคัดเลือกทีม (Selection)
6. การประเมินผล (Assesment)

จากภาพ .. เราประจักษ์ได้ว่า
1. เป็นทีมที่ทุกคนพร้อมเสียสละ
2. แบ่งพื้นที่กันยืน
3. เพื่อเป้าหมายของกลุ่ม