#เล่าสู่กันฟัง 63-005 ประสิทธิผลสื่อสังคมอย่างมีเป้าหมาย

การใช้สื่อสังคมของทุกคน ย่อมมีเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เช่น ยินดีที่ลูกศิษย์แต่งงาน เขียนหนังสือ สำเร็จการศึกษา พบผู้ใหญ่ใจดี หรือ reunion

วันนี้ ขอเล่าสู่กันฟัง เรื่อง เป้าประสงค์ #storytelling ว่าปกติแล้ว ผมก็จะมีเพื่อนที่ทำงาน เพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ เพื่อนในชุมชน มักติด hash tag เราเข้ากับกิจกรรมเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ เพราะการติด tag ย่อมมีเป้าหมาย มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และมีผลลัพธ์ที่คาดหวัง มองแล้วก็เห็นเป้าหมายชัดเจน ชอบครับ

ผมมักมองพฤติกรรมของเพื่อน ๆ ทั้งเพื่อนที่รู้จัก เพื่อนที่ไม่รู้จัก เพื่อนร่วมยุคในหนังสือพิมพ์ เพื่อนในจินตนาการ ก็จะเห็นเรื่องราวที่คาดเดาความคิดความเชื่อ ที่สะท้อนผ่านพฤติกรรมอยู่เสมอ รวมถึงพฤติกรรมจากภาพยนตร์ การ์ตูน และมิวสิกวีดีโอ เช่น avenger, starwar, avatar, หน้ากากศิลา, โคนัน, โดราเอมอน, นาจา

ผมใช้เฟสบุ๊คโปรไฟล์ เพื่อพูดคุยกับคนรู้จัก แล้วใช้แฟนเพจแชร์เรื่องราวเป็นสาธารณะ สำหรับคนที่ใช้เฟสบุ๊ค และสนใจในเรื่องเดียวกัน

ปี 2563

เริ่มเปลี่ยนเวทีการแชร์ micro blog ที่แชร์ผ่านแฟนเพจ ไปแชร์ที่อื่นแทน และหวังประสิทธิผลมากกว่า 2 ปีที่ผ่านมา

ในอดีต ปี 2561 เขียนไว้ 61-070 โพสต์ ส่วนปี 2562 เขียนไว้ 62-292 โพสต์ โดย 2 ปีที่ผ่านมา แชร์ผ่านแฟนเพจเป็นหลัก

แต่ปี 2563 จะเริ่มแชร์ผ่าน blog wordpress เป็นหลัก แล้วแชร์ออกไปผ่าน แฟนเพจ และ twitter โดยผมใช้ hash tag #เล่าสู่กันฟัง ซึ่งพบว่ามีรายการออนไลน์ พบใน youtube ก็เริ่มใช้ hash tag คำนี้จริงจัง ผมคิดไปเองว่าเริ่มมีเพื่อนร่วม hash tag แล้ว

http://www.thaiall.com/blog/burin/9637/

มหาวิทยาลัยเนชั่น

logo400

มหาวิทยาลัยเนชั่น เดิมมีชื่อเรียกว่า “วิทยาลัยโยนก” ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ดำเนินการโดยมูลนิธิโยนก วิทยาลัยโยนกได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็น “มหาวิทยาลัยโยนก” เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น” มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบันรวม 26 ปี (พ.ศ. 2531 – 2557) มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้วมากกว่า 6,900 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5,700 คนและระดับปริญญาโท 1,200 คน

มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของจังหวัดลำปางที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้แก่สังคมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นิสิตเป็นนักคิด ใฝ่เรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ การประยุกต์ใช้ และมีคุณธรรม จิตสำนึกต่อสาธารณะ โดยมีกิจกรรมเพื่อฝึกฝนให้นิสิตมีประสบการณ์จริงสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็น “อุทยานการศึกษา” มีการจัดการเรียนการสอนที่นิสิตมีความใกล้ชิดกับคณาจารย์ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ อาทิ ห้องสมุด หอพักนิสิตชาย หอพักนิสิตหญิง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการสื่อสาร (ฝึกปฏิบัติการถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง) ศูนย์ภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 444 ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และเปิดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ที่ศูนย์เนชั่นบางนา ตั้งอยู่เลขที่ 1854 ถนนบางนาตราด กม. 4.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

nation_university vision

ขอขอบคุณ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ส่งผมเข้าโครงการ Sabbatical leave

mypic08

เมื่อ 22 ปีก่อน ระหว่าง 1 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2540 ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ได้สนับสนุนบุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน ไปแลกเปลี่ยนในโครงการ Sabbatical leave ที่มหาวิทยาลัย Baylor สหรัฐอเมริกา เป็นเวลาเดือนครึ่ง ได้แก่ อาจารย์บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อาจารย์ยุวดี ไวทยะโชติ และ อาจารย์โชติ โรจนวิภาค

เมื่อไปถึงที่ Baylor University พวกเราเดินทางไปเรียนมีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร จากอพาร์ทเม้นท์ไปศูนย์อาหาร แล้วไปยังห้องเรียนแต่ละแห่ง ระหว่างทางพบสิ่งต่าง ๆ แปลกหูแปลกตา เช่น ชมรมเรือแคนนู ที่เห็นฝึกกันบ่อย ๆ หรือ ชมรมเบสบอล ที่ขว้างบอลข้ามสนามกันทุกเช้า หรือ การแสดงละครสัตว์ใกล้ที่พัก (Circus) หรือ กิจกรรมรอบมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นสม่ำเสมอ เราเดินทางไปถึงช่วงปลายหนาว เช้ามาก็เดินฝ่าความหนาวไปเรียนหนังสือกัน ยังต้องสวมเสื้อกันหนาวตลอดช่วงเวลาที่อยู่ที่นั่น

จำได้ว่าที่ Baylor University มี Prof. Kathryn (Kay) Mueller พาทีมของเราไปในที่ต่าง ๆ หลายครั้ง ผมรู้จักท่าน ตั้งแต่ก่อนไปที่ BU. เพราะท่านมาเมืองไทยบ่อย ท่านคุยสนุก ร่าเริง พานักศึกษามาแลกเปลี่ยนที่วิทยาลัยโยนก เป็นแขกของ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ หลายปีติดต่อกัน จำได้ว่า Kay พาทีมเราไปกินขนมเค้กที่เขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ คงเป็นครั้งแรกที่ผมได้กิน Pecan cake เป็นที่ท่องเที่ยวที่ท่านทำให้เราประหลาดใจ เดินทางไกล ข้ามทุกดอกสีม่วงกว้างสุดลูกหูลูกตา แวะถ่ายภาพกันด้วย

ตอนไปที่ BU. เราไปพบหน่วยงานต่าง ๆ ตามโครงการแลกเปลี่ยน อ.โชติ และ อ.ยุวดี ไปเรียนในวิชาที่ตนสนใจ ส่วนผมจำได้ว่าเรียนระบบปฏิบัติการ และอีกวิชาทางเทคโนโลยี ผมจำได้ว่าเคยเขียนบันทึกการเดินทางไว้ในสมุดหลายหน้า แต่ ณ ตอนนี้ไม่ได้มีสมุดเล่มนั้นใกล้ ๆ มือ ทุกอย่างที่เล่ามา หรือเล่าต่อจากนี้ มาจากความทรงจำสีจาง ๆ

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ เดินทางไปเยี่ยมพวกเราที่นั่นหลายวัน พาไปพบศูนย์นักศึกษาต่างชาติ พาไปร้าน supermarket พาไปสำนักหอสมุด พาไปร่วมงานดนตรีคอนเสิร์ต ออร์เคสตรา จำได้ว่าอากาศเย็นมาก คงเพราะอากาศเย็น ทำให้ผมผลอยหลับไป ตั้งแต่โน๊ตแรก ๆ เริ่มดังขึ้นเลยทีเดียว เย็นมาก

หนึ่งในเรื่องที่จำได้ คือ การทานอาหาร Kay พาผมไปร้านอาหารไทยหลายร้าน ที่นั่นนิยมทานบุฟเฟ่ต์ เป็นอาหารไทยสไตล์ฝรั่ง ยุคนั้น เมืองไทยยังไม่มีบุฟเฟต์อย่างในปัจจุบัน อยู่เดือนครึ่ง ผมอ้วนเลย เพราะผมได้รับสวัสดิการ มีบัตรเข้าศูนย์อาหาร ที่จะทานอะไรก็ได้ 3 มื้อต่อวัน แล้วผมก็ไม่มีปัญหากับอาหารต่างชาติ ทานได้หมด

การศึกษาที่นั่น ส่งเสริมการอ่าน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ห้องสมุดที่นั่น เปิดกัน 24 ชั่วโมง แต่ผมไม่เคยอยู่ถึงโต้รุ่งนะครับ อย่างมากก็แค่ 5 ทุ่ม ที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้ มีหลายมหาวิทยาลัย เปิดห้องสมุด 24 ชั่วโมงแล้ว

การสื่อสารสมัยนั้น การใช้ hotmail.com ยังไม่เป็นที่นิยม ที่นิยมยังเป็น email ที่บริการผ่าน pop3 หรือ imap ขององค์กร ผมยังใช้ software ของ Baylor University ในการเปิดอีเมล เค้ามีคอมพิวเตอร์ให้ตรวจอีเมล วางตามจุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครมีโน๊ตบุ๊ค หรือสมาร์ทโฟน ส่วนเว็บไซต์ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เข้าอินเทอร์เน็ตก็จะใช้ Linux หรือ Unix สั่งผ่าน Command Line โปรแกรมอ่านอีเมลที่ผมใช้ประจำก็คงเป็น Pine ที่สมัยนี้คงไม่มีใครใช้แล้ว

จำได้ว่า ในมหาวิทยาลัยมีไปรษณีย์ ผมส่งของจากที่นั่นกลับเมืองไทยชิ้นหนึ่ง ค่าส่งแพงมาก จึงส่งเพียงครั้งเดียว โทรศัพท์ทางไกล ผมซื้อบัตร แต่ก็ใช้เพียงไม่กี่ครั้ง เพราะสมัยนั้นไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เมืองไทย ค่าโทรแพงมาก โทยไม่กี่นาทีเสียไปหลายร้อยบาทแล้ว ค่าอาหารแพงระดับหนึ่ง แต่ผมไม่ค่อยได้จ่าย เพราะทานในศูนย์ตลอด ยกเว้นว่า Kay จะพาไปนอกรั้วมหาวิทยาลัย จำได้ว่าแฮมเบอเกอร์ชิ้นละ 1 – 3 ดอลล่าร์ ซึ่งถือว่าไม่แพง ต่างกับบุฟเฟ่ต์ ที่ต่อหัวประมาณ 10 ดอลล่าร์

นี่คือเรื่องราวที่มาจากความทรงจำเมื่อ 22 ปีที่แล้ว

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสี่

ชวนเที่ยวหนา “แอ่วลำปางหกก้าว วันเดียว เที่ยวได้หนา”

กาดกองต้า ลำปาง ตะวันชิงพลบ

กาดกองต้า ลำปาง ตะวันชิงพลบ

ชวนเที่ยวหนา “แอ่วลำปางหกก้าว วันเดียว เที่ยวได้หนา”
All Day Long Lampang

คนที่บ้านเค้าชวนกันไปเที่ยวลำปาง
รอไรล่ะ ตกลง ไปเที่ยวกันเลย
ถึงวันศุกร์ พอเลิกงาน เลิกเรียน ก็เตรียมเลย
เดินทางคืนวันศุกร์ นอนไป
ไปเที่ยววันเสาร์ทั้งวัน พออาทิตย์กลับบ้าน นั่งกลับ
เค้าว่าเมืองนี้ ดีนัก ดีหนา
ไปแล้วก็จะได้เจอนู่น เจอนั่น #เจอนี่ที่ลำปาง
ในที่สุดก็จัดคิวว่างทุกคนในแก๊งที่ตรงกันได้
เราจึงทำแผนท่องไปในเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา
เมืองต้องห้ามพลาด เมืองแห่งความสุข
หรือ เมืองปลายทางฝัน กันดีกว่า
มีภาพประกอบหลายภาพ ตามเรื่องราวที่จะเล่าไปนั้นหนา
วางแผนไว้หกก้าว มาดูว่าแต่ละก้าวไปไหนไหนกันบ้าง

ก้าวแรก เจอนี่ที่ลำปาง

ก้าวแรก เจอนี่ที่ลำปาง

:: ก้าวแรก ::
ออกจากกรุงเทพ ด้วยการขึ้นรถเมย์ตรงไปหมอชิตใหม่
นั่งรอขึ้นรถทัวร์สองทุ่มครึ่ง รอสักพักล้อก็หมุน
แอบมโนว่าภูมิแพ้กรุงเทพจะกำเริบ
ใจจดจ่ออยู่กับที่กินที่เที่ยว ทบทวนแผนจัดเต็มในวันพรุ่ง
ชมแสงสีข้างทาง สว่างไสว มืดลงมืดลง จนมืดไปหมด
พ้นกรุงเทพได้สักพักก็เผลอม่อยหลับ เพลียจากงานเมื่อกลางวัน
สะดุ้งตื่นอีกทีตอนแอร์บัส มาสะกิด
บอกว่าแวะกลางทาง แวะกินข้าวต้มบุฟเฟ่ต์ที่กำแพงเพชร
จัดเต็มเลย ข้าวต้มร้อน ๆ ต้มจืด ปลาทอด กุงเชียง
และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วแต่จะเลือกกันเลย

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสอง

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสอง

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสอง

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสอง

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสอง

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสอง

:: ก้าวสอง ::
สะดุ้งตื่น ตอนน้องแอร์บัสบอกว่าถึงปลายทางฝันละ
เลยต้องเลิกฝัน และตื่นมาเดินในเมืองแห่งความสุข
ลงรถทัวร์ราวตีห้าได้ ขี้ตายังไม่แตกเลย
ก็ไปขึ้นสองแถวแน่นเป็นปลากระป๋องเลย
แก็งเราไปกัน 5 คน กระเป๋าเพียบ รถสองแถวดูแน่นไปเลย
เราลงรถที่โรงแรมใจฮัก (Jai Hug) เจ้าของใจดี จองไว้ 2 ห้อง
อาคารสวยสีเหลืองสดใส ไปถึงก็อาบน้ำแต่งตัว
เสร็จก็ลงมาสูดอากาศยามเช้า
สั่งกาแฟคั่วโอ่งที่ชั้นหนึ่ง แล้วไปเดินตลาดเช้าแถว ๆ นั้น
ตอนเย็น ๆ ก็จะไปเดินกาดกองต้าได้เลย
โรงแรมนี้เค้าล้อมรอบด้วยตลาด สองแถวผ่านตลอดเลยหละ
ไปเดินตลาดเช้า คนเยอะ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
ที่มาซื้อกับข้าวสุกบ้าง ผักผลไม้ หรือของสดไปทำกิน
ทีมเราซื้อขนมนมเนยในตลาด เดินไป ซื้อไป ก็กินหมดเป็นมื้อเช้า
ไม่ค่อยหนัก แต่เยอะ ลูกชิ้น ไก่ทอด เมี่ยงคำ แกงกระด้าง
พอได้เวลา แดดเริ่มส่องฟ้า เราก็ไปรับรถที่เช่าไว้
คันละ 1500 บาทต่อวัน ได้คันเบ้อใหญ่เลย
ถ้าคันละ 1200 บาท ก็จะเล็กลงมาหน่อย
แล้วก็มุ่งสู่ที่หมายที่เด่นทางศิลปะวัฒนธรรม

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสาม

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสาม

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสาม

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสาม

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

:: ก้าวสาม ::
วัดเป้าหมาย คือ วัดไหล่หินหลวง หรือวัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน
มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นวัดขึ้นชื่อของจังหวัดอีกวัดหนึ่ง
อีกวัดที่เสมือนวัดพี่วัดน้อง คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง
นึกถึงเพลง ร่ำเปิงลำปาง ที่ฟังกันไปตลอดทาง
แต่เราแวะเที่ยวกาดเช้าไหล่หิน กันก่อน
เดินดูวิถีชุมชนที่บ้านไหล่หินหมู่ 6
แล้วไปเก็บภาพบรรยากาศที่วัดไหล่หินหลวง
วัดเก่าแก่ มีมุมถ่ายภาพเยอะ
ออกจากวัด
ก็ไปแวะน้ำพุร้อนที่ตำบลใหม่พัฒนา
กินไข่ต้มน้ำพุร้อนกันคนละเข่ง
บ่อน้ำร้อนกลาง
ลงได้ทั้งชุดเลย ไม่ต้องใช้ชุดว่ายน้ำ
ป๊ะป๋าไม่มาด้วย แวะให้ชาวบ้านนวดประคบ ตรงทางเข้า
ม๊ะม๋าก็ไปเข้าห้องอาบน้ำพุร้อน เค้ามีห้องส่วนตัว
ใช้เวลากันสักพัก เพราะมีกิจกรรมให้ทำหลายอย่าง
จากนั้นก็เดินทางต่อ
ไปยังวัดสันตินิคม ซึ่งไม่ไกลจากวัดมากนัก
เป็นวัดที่สวยมาก เราเข้าคิวถวายสังฆทาน
เจ้าอาวาสให้พรแน่นจิตแน่นใจ ประทับใจได้บุญมาเต็ม
ออกวัดมา ก็อยากไปแวะวัดพระธาตุดอยฮางที่อยู่ไม่ไกล
เคยเห็นในทีวี แต่เวลาไม่พอล่ะ
จึงจำใจย้อนกลับออกมา ตามเส้นทางเดิม
แล้วเลี้ยวซ้ายไปวัดพระธาตุลำปางหลวง
เดินในวัดได้ไม่นาน แต่ได้ตีระฆัง
ได้ฟังเสียงเหง่งหง่าง
เสียงดังนั้น ยังดังกังวาลอยู่ในใจเสมอ
หน้าวัดมีข้าวแต๋น เราซื้อติดมือมาหลายถุง
เป็นของฝากจากลำปาง
ข้าวเที่ยง
เราแวะร้าน Login Cafe อยู่ปากทางเข้าวัดไหล่หินหลวง
ร้านนี้อาหารอร่อย ของหวาน กาแฟก็เข้มกลมกล่อม
เจ้าของมาต้อนรับเอง น่ารักมาก
เค้าเป็นมืออาชีพ และมีจิตสาธารณะ ประทับใจอีกล่ะ
ในมีหลายโซน ทั้งริมน้ำ ใต้ต้นไม้ โซฟา ห้องแอร์
ก่อนออกจากเกาะคา แวะถ่ายภาพ
ที่พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ถ้าข้ามสะพาขาวผ่านตลาดเกาะคาก็เลี้ยวขวา
หน้าธนาคารกรุงเทพ จะผ่านอนุสาวรีย์ฯ
อยู่ติดเทศบาลตำบลเกาะคา
ที่นี่จัดงานจัดงานรำลึกช่วง 18 ม.ค. ทุกปี
มีการแสดงแสงสีเสียง และจำหน่ายสินค้า
ปีนี้มาไม่ตรงวันเก็บภาพเป็นที่ระลึกพอ ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสี่

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวสี่

งานเซรามิกแฟร์

งานเซรามิกแฟร์

:: ก้าวสี่ ::
กลับเข้าตัวเมืองลำปาง
แวะเที่ยวงานเซรามิกแฟร์
เราวางแผนมางานปีละครั้ง
มีจานชามสวย ๆ เพียบ จะได้ซื้อใหม่แทนที่เคยแตกร้าว
เจอมุมถ่ายภาพหลายจุด
เราแวะที่ซุ้มของพิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี
เก็บภาพเป็นที่ระลึกไว้ เพราะเพื่อนบอกว่าสวยมาก
ลำปางเป็นเมืองเซรามิก
ได้ถ่ายภาพ ได้มางานเซรามิก ถึอว่าสุดยอดล่ะ
ถ้วยสวย ๆ ในงานนี้ไม่แพง
เราซื้อกลับโรงแรมได้นิดหน่อย
ไหนจะต้องขนขึ้นรถไฟปู้น ๆ หอบหิ้งอีกหลายอย่าง
เหมาเยอะก็ไม่ได้ ซื้อได้แต่พองาม

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวห้า

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวห้า

051

กาดกองต้า

กาดกองต้า

:: ก้าวห้า ::
กลับเข้าตัวเมืองลำปาง
เราแวะพักเอาแรง เปลี่ยนชุดใหม่
โรงแรมใจฮักอยู่ใกล้ไม่รีบล่ะ
กาดกองต้า อยู่บนถนนหลักเส้นเดียว
เค้าเปิด เสาร์ อาทิตย์ 16.30-22.00น.
หัวถึงท้ายถนน ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร
ถ้าเรามาวันศุกร์
คงได้ไปเที่ยวถนนสายวัฒนธรรม ท่ามะโอ
ข้ามสะพานรัฐฎาไปไม่ไกลก็พบถนนแล้ว
ก็ถือว่าไม่ไกลจากที่พักจนเกินไป
จากโรงแรมเข้าไปกลางถนนกาดกองต้าได้เลย
เดินไปตามถนนกาดกาดกองต้าเส้นหลัก
และเดินกลับตามถนนริมแม่น้ำ
ระยะเกือบ 2 กิโลเมตร
เพลิดเพลินไปกับการเก็บภาพสตรีทอาร์ต
เดินดูสินค้าหลากหลาย กินน้ำแข็งไส บิงซู
ขนมจีนนั่งยอง หมูทอด ไก่ทอด หมูปิ้ง
ขนมปัง ขนมจีบ ซาลาเปา ทองหยิบ ฝอยทอง
แมลงทอดก็มา เสื้อผ้า รองเท้า มือสองก็เยอะเลย
ไปเดินช๊อบ ชิม ชิลชิล กันสบายใจ
เหนื่อยก็นั่งหาหวาน ๆ เย็น ๆ กระแทกปากกันไป
อ่านรีวิวมาว่า IYA pungnom ไอหย๋า ปังนม
มีบิงชู มีขนมปังนมสด จัดกันเลย
ดูเวลาอีกที
เห้ย นี่สี่ทุ่มกว่าล่ะ คงไปไหนต่อไม่ได้ .. เหนื่อยนัก
กลับไปสลบเหมือดที่โรงแรมดีกว่า อยากนอนล่ะ

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวหก

เจอนี่ที่ลำปาง ก้าวหก

61

:: ก้าวหก ::
มารถทัวร์ แต่กลับด้วยรถไฟดีเซลราง
สถานีรถไฟแห่งนี้ มีประวัติยาวนาน
เค้าจัดงานรถม้ารถไฟทุกปี
ตลาดรถไฟช่วงเย็นของอร่อยก็เยอะ เสียดายไม่ได้แวะ
ช่วงเช้าเราไปทานก๋วยจั๊บ บริเวณหน้าสถานี
พลาดไม่ได้เลย สำหรับมื้อเช้าหน้ารถไฟ
คนก็จะเยอะ ๆ หน่อย
ในสถานีมีมุมสวย ๆ ให้ถ่ายภาพเยอะ
ที่เลือกกลับรถไฟ เพราะอยากชมวิวสองข้างทาง
ระหว่างทางกลับ ได้สัมผัสธรรมชาติเต็มอิ่ม
แม้จะถึงช้ากว่า แต่ปลอดภัย
เราไม่รีบ ถึงก็ช่าง ยังไม่ถึงก็ช่าง
เพราะชมวิวสองข้างทางเพลินไปเลย

https://web.facebook.com/ajburin/posts/10156965867383895

บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ ของ วัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง

บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์

บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์

สังคมไทยเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนมาแต่โบราณกาล วัดกลายเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน มีบทบาทได้เป็นสาธารณสงเคราะห์ที่ให้ทั้งสถานที่ อุปกรณ์ และบุคลากร นอกจากนี้ที่วัดได้จัดกิจกรรมส่งเคราะห์ตามเทศกาลต่อชุมชนในหลายรูปแบบ เช่น ในช่วงฤดูหนาวก็จะมีกิจกรรมที่ทางวัดออกพบชุมชน ด้วยการจัดหาเครื่องนุ่งห่ม เครื่องกันหนาวไปมอบให้ผู้สูงอายุในชุมชนถือเป็นน้ำใจที่วัดมีให้กับคนในชุมชน ตอบแทนที่ชุมชนมีอุปการะคุณต่อทางวัดมาโดยตลอด

ในช่วงเช้าหลังทำวัตรสวดมนต์ ทำความสะอาดบริเวณวัดให้ดูดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระเณรก็จะแยกย้ายออกรับบิณฑบาตในชุมชน มีผู้สูงอายุรอใส่บาตร พระเณรรู้สึกกตัญญูกตเวทีก็จะนำขนม ดอกไม้ธูปเทียนไปรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในชุมชนช่วงวันผู้สูงอายุวันครอบครัวช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือมีผู้สูงอายุในชุมชนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือป่วยติดเตียงก็เป็นโครงการพระเยี่ยมไข้ พระก็จำนำขนมนมเนยที่ได้รับบิณฑบาตไปมอบ มีด้ายผูกข้อแขนเป็นสิริมงคล และให้ศีลให้พร ผู้สูงอายุที่ได้รับก็จะมีกำลังใจฮึกเหิมต่อสู้กับการเจ็บป่วยได้ ถือเป็นยาวิเศษที่ช่วยรักษาใจได้เป็นอย่างดี เสริมยารักษากายที่รับจากโรงพยาบาล ดังคำว่า หมอเป็นหมอรักษากาย พระเป็นหมอรักษาใจ

หากมีญาติโยมถึงแก่กรรม และจัดพิธีทำบุญให้กับผู้ล่วงลับก็จะนิมนต์พระไปสวดทุกคืน ในคืนสุดท้ายของการสวดอภิธรรม วัดมิ่งเมืองมูลจะขอเป็นเจ้าภาพหากนิมนต์พระจากที่อื่น ถ้านิมนต์พระที่วัดไป ปัจจัยที่ถวายให้พระก็จะมอบร่วมทำบุญกับเจ้าภาพทั้งหมด ถือเป็นโอกาสที่ได้ตอบแทนบุญคุณที่ชุมชนมีต่อพระเณร และทางวัดด้วยดีเสมอมา

โดยเจ้าอาวาส : พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี

http://www.wat3m.com

บทบาทด้านการส่งเสริมการศึกษา ของ วัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง

บทบาทด้านการส่งเสริมการศึกษา

บทบาทด้านการส่งเสริมการศึกษา

ในปัจจุบันวัดกับการศึกษามีความใกล้ชิดจนแยกกันไม่ออก คนในชนบทมองว่าวัดมีบทบาทสนับสนุนการศึกษา หลายครอบครับที่ทุนทรัพย์น้อย จึงมีค่านิยมส่งลูกหลานไปบวชที่วัดที่มีความพร้อม มักเรียกว่าบวชเรียน วัดหลายแห่งจึงมีบทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์เป็นอีกพันธกิจหนึ่ง ที่วัดมิ่งเมืองมูลมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาสำหรับพระและเณรในบวรพระพุทธศาสนาที่เข้าจำพรรษาในวัด ถ้าอายุถึงเกณฑ์ต้องเรียน เมื่อเข้ามาบวชแล้วก็ต้องเข้าสู่ระบบการศึกษา ในทุกปีการศึกษาทางวัดก็จะสนับสนุนค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นของแต่ละราย สำหรับชุดนักเรียนก็มีค่าใช้จ่ายไม่มาก เพราะมีจีวรอย่างเดียวก็ใส่ได้ในทุกสถานการณ์ สำหรับการเดินทางจากวัดเข้าตัวเมืองมีระยะทาง 12 กิโลเมตร เจ้าอาวาสก็ได้จัดสรรเงินที่ได้รับจากศรัทธา หรือจากการตั้งตู้รับบริจาค ที่ได้ทั้งจากญาติโยมในชุมชน ครูอาจารย์ หรือนักศึกษาที่อยู่ใกล้วัดมาทำบุญวันเกิด อุทิศส่วนกุศลอยู่เป็นประจำ เมื่อมาทำบุญแล้วไม่พบเจ้าอาวาสก็จะเป็นกิจของพระเณรภายในวัดที่ต้องให้พรญาติโยม ปัจจัยที่ได้ก็จะนำใส่ตู้ไว้ เมื่อถึงเวลาก็จะเปิดตู้ และแบ่งเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของทุกคน นอกจากนี้หากพระเณรสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี โท เอกแล้วก็จะจัดสรรทุนการศึกษาให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

บทบาทต่อการศึกษาภายนอกนั้น เมื่อสถานศึกษาทั้งระดับโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยที่มีพระเณรไปเรียนอยู่ได้ขอรับการสนับสนุนกิจกรรม หรือทุนการศึกษา เจ้าอาวาสก็จะสนับสนุนค่าเล่าเรียนให้กับพระเณร และมีนโยบายสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ให้ได้เรียนจนสุดกำลังสติปัญญาของแต่ละคนไปจนถึงระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หากเรียนบาลีก็สนับสนุนเต็มที่เช่นกัน ซึ่งเจ้าอาวาสก็ทำตัวเป็นแบบอย่าง ขณะนี้กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก ส่วนบาลีก็สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ถือคติว่าใช้วิธีทำ นำเป็นตัวอย่าง

โดยเจ้าอาวาส : พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี

http://www.wat3m.com

 

ชีวประวัติหลวงพ่อ พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต

 

 

schedule 49175722_10156903002443895_1646549045193211904_n 49132400_10156903002283895_7556580312579309568_n 49098694_10156903002163895_3827212183138205696_n 49122157_10156903001963895_3238583530787176448_o 49690710_10156903001833895_7629203210212737024_n

49239958_10156903002603895_1005401657300746240_n

ชีวประวัติหลวงพ่อ พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต

ณ หมู่บ้านต่าสี่ อำเภอเหย่สะโจ่ จังหวัดปขุกกู่ ประเทศสหภาพพม่า คุณแม่หง่วยหยี่ ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ ๓ ด้วยโสรดิถี มกรนักขัตตฤกษ์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ (จุลศักราช ๑๒๘๒ คริสตศักราช ๑๙๒๑) คุณแม่หง่วยหยี่กับคุณพ่อโภเตด ได้ตั้งมงคลนามให้บุตรชายผู้เป็นดุจดวงตาดวงใจว่า “เด็กชายตันหม่อง” และได้ให้กำเนิดบุตรชายทั้งสิ้นรวม ๔ คน

ตระกูลนี้มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เมื่อเห็นว่าหมู่บ้านต่าสี่ยังไม่มีวัดเลย จึงได้ร่วมกันสร้างวัดต่าสี่ให้เป็นวัดประจำหมู่บ้าน และได้สร้างเจดีย์ทองประดิษฐานไว้ในวัดนั้นด้วย ซึ่งเป็นบรรยากาศที่น้อมอัธยาศรัยของลูกหลานทุกคนให้ได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์ เมื่อเด็กชายตันหม่องอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาได้นำท่านไปฝากไว้ให้เป็นลูกศิษย์วัด กับท่านอาจารย์อูญาณะ เจ้าอาวาสวัดโตงทัตในหมู่บ้านต่าสี่ ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๐

นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในเส้นทางพระพุทธศาสนาของเด็กชายตันหม่อง เธอจึงได้เรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นอนุบาลและชั้นประถม แม้จะเป็นเด็กวัดตัวน้อยๆ ท่านก็มีความทรงจำที่เป็นเลิศกว่าผู้อื่น สามารถทรงจำบทสวดมนต์ต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทรงจำพระปริตร์ ได้ทั้ง ๑๑ สูตร ทรงจำคัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชยมังคลคาถา ชินบัญชร นาสนกรรม ทัณฑกรรม เสขิยวัตร และขันธกะ ๑๔ วรรค ทั้งภาคบาลีและคำแปล แม้กระทั่งโหราศาสตร์ที่นับตัวเลขด้วยคำภาษาบาลีที่เรียนยาก ท่านก็ได้เรียนจนเข้าใจและจำได้ไม่หลงลืม

เมื่อถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ท่านมีอายุ ๑๔ ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร มีฉายาภาษาบาลีว่า “สามเณรธัมมานันทะ” โดยมีท่านอาจารย์อูจารินทะ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ให้ท่านท่องจำกัจจายนสูตรและคำแปล ตามคัมภีรย์กัจจายนสุตตัตถะ ทั้งได้สอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ท่านด้วย

ต่อมา ได้ย้ายไปอยู่วัดปัตตปิณฑิการาม ในตัวอำเภอเหย่สะโจ่ โดยมีอาจารย์อูอุตตระเป็นเจ้าอาวาสและอาจารย์สอน ได้เรียนคัมภีร์เพิ่มเติมอีกหลายคัมภีร์ คือ คัมภีร์พาลาวตาระ กัจจายนะ สัททนีติสุตตมาลา อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระวินัยปิฏก

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ โดยมีท่านอาจารย์อูสุชาตะ ผู้เป็นศิษย์ท่านอาจารย์อูอุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดหญ่องเป่งต่า จังหวัดมอละไมฺยจุน มีนายพละกับนางเส่งมยะ ผู้อยู่บ้านเลขที่ ๒๐ ถนนสายที่สี่ ในจังหวัดมอละไมฺยจุน เป็นโยมอุปัฎฐากถวายเครื่องอัฎฐบริขาร นับว่าท่านได้ทำเพศแห่งสมณะให้มีความมั่นคงถาวรในพระพุทธศาสนา อันเข้าใกล้มรรคผลและนิพพานแล้ว

หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านอาจารย์อูอุตตระ ได้ส่งท่านไปศึกษาพระปริยัตติธรรมต่อ ในสำนักของท่านอาจารย์อูโกสัลลาภิวังสะ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล จึงได้ศึกษาคัมภีร์ไวยากรณ์ภาษาบาลี คือคัมภีร์ปทรูปสิทธิและคัมภีร์ปทวิจยะ

ในช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันดเลเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นเมืองหลวงอันดับสอง รองจากกรุงย่างกุ้ง จึงถูกโจมตีอย่างหนัก เป็นเหตุให้ท่านอาจารย์อูธัมมานันทะ ย้ายจากจังหวัดมันดเลไปอยู่จังหวัดมะไลย ได้ศึกษาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ฉันโทปกรณ์ สุโพธาลังการะ เภทจินตา และกัจจายนสาระ ในสำนักของท่านอาจารย์อูจันทโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริโสมาราม หมู่บ้านกันจี จังหวัดมะไลย และยังได้ศึกษาคัมภีร์กัจจายนสุตตตัตถะ พร้อมทั้งวิธีการสร้างรูปคำศัพท์ ตามนัยของคัมภีร์กัจจายนะ นามปทมาลา และอาขยาตปทมาลา ได้ศึกษาคัมภีร์พระอภิธรรม คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และธาตุกถา รวมทั้งคัมภีร์ปาราชิกกัณฑอรรถกถา (สมันตปาสาทิกา) ท่านพำนักอยู่ที่วัดสิริโสมารามรวม ๕ ปี จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง

ประกอบกับสมัยนั้น แถบจังหวัดปขุกกู่ และอำเภอเหย่สะโจ่ ไม่นิยมสอบสนามหลวง เพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้แตกฉานเท่านั้น ท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบ ตั้งแต่เป็นสามเณรเรื่อยมาจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง จึงได้เริ่มสอบสนามหลวง และสอบไล่ได้ชั้น “ปะถะมะแหง่” แล้วย้ายจากวัดสิริโสมาราม ไปอยู่วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล อันเป็นที่พำนักอยู่เดิม ในที่นั้น ท่านได้เรียนคัมภีร์ต่างๆ จากอาจารย์อูโกสัลลาภิวังสะ อูชาเนยยพุทธิ อูสุวัณณโชติภิวังสะ และอูอานันทปัณฑิตาภิวังสะ จนสอบได้ชั้น “ปะถะมะลัด”

หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดเหว่หยั่นโผ่งต่า ได้เดินทางไปศึกษาคัมภีร์ปัฎฐานที่วัดปัฎฐานาราม ภูเขาสะกาย จังหวัดสะกาย เป็นพิเศษด้วย โดยมีท่านอาจารย์อูอินทกะ (อัครมหาบัณฑิต) เป็นผู้สอน จึงทำให้สอบไล่ชั้น “ปะถะมะจี” ได้เป็นอันดับ ๓ ของประเทศ

ในปีถัดมา ท่านได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆในชั้นธัมมาจริยะ จากท่านอาจารย์อูกัลยาณะ ผู้มีชื่อเสียงในการสอนคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะมากที่สุดในเมืองมันดเลในเวลานั้น จึงสอบไล่ชั้น “ธัมมาจริยะ” ได้ทั้ง ๓ คัมภีร์ คือ ปาราชิกบาลีและอรรถกถา สีลักขันธวรรคบาลีและอรรถกา ธัมมสังคณีบาลีและอัฎฐสาลินีอรรถกถา จึงได้รับตราตั้งว่า “สาสนธชธัมมาจริยะ” และยังสอบได้คัมภีร์พิเศษในชั้นธัมมาจริยะอีก คือ คัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกายอรรถกถา และวิภังคาทิอรรถกถา จึงได้รับตราตั้งชั้นพิเศษว่า “สาสนธชสิริปวรธัมมาจริยะ” ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่ใครๆจะทำตามท่านได้ เมื่อย้อนดูประวัติการสอบตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นธัมมาจริยะ ของท่านอูธัมมานันทะแล้ว จึงได้รู้ว่าท่านสอบได้ทุกชั้นมาโดยตลอด ไม่เคยสอบตกเลย จึงได้รับความยกย่องจากอาจารย์และเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัด ๓ แห่ง คือ วัดสิริโสมาราม จังหวัดมะไลย วัดปัตตปิณฑิการาม อำเภอเหย่สะโจ่ และวัดเหว่หยั่นโผ่งต่า จังหวัดมันดเล มาตั้งแต่ก่อนจะเรียนจบชั้น “ปะถะมะจี” เสียอีก

เมื่อท่านเจริญอายุได้ ๓๗ ปี ช่วงเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ กรมการศาสนาของประเทศสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านให้เป็นพระธรรมฑูต เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในต่างประเทศ ท่านจึงย้ายไปอยู่ในสังฆมณฑลกะบ่าเอ กรุงย่างกุ้ง ซึ่งเป็นทั้งกรมการศาสนา และมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อการเผยแผ่ (ธัมมฑูตวิชชาลยะ) ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศญี่ปุ่น ในปีเดียวกันนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย ได้ส่งหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศสหภาพพม่า ขอพระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในพระปริยัตติธรรม มาเป็นอาจารย์สอนที่วัดโพธาราม กรมการศาสนาแห่งประเทศสหภาพพม่าพิจารณาดูความเหมาะสมแล้ว เห็นว่าควรจะส่งท่านอูธัมมานันทะมาเป็นอาจารย์สอนพระปริยัติที่ประเทศไทย จึงได้กราบเรียนโดยรับรองกับท่านว่า เมื่อท่านสอนพระปริยัติธรรมในประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ ตามที่กรมการศาสนานิมนต์ ในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒

เมื่อมาอยู่ที่วัดโพธาราม ท่านอาจารย์อูธัมมานันทะได้ทำการสอนพระปริยัติติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรจำนวน ๒๐๐ รูป เมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็ยังไม่ได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นตามความมุ่งหมายเดิม เพราะท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อ ท่านจึงได้พำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเวลาถึง ๖ ปี

ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างที่ท่านพำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์นั้น กรมการศาสนาประเทศสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านให้เดินทางกลับ เพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรมพระไตรปิฏก ฉบับบาลี-พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจชำระคัมภีร์ต่างๆ มีสุโพธาลังการฎีกาเป็นต้น ในสมัยปัจฉิมฏีกาสังคายนา ที่มหาปาสาณคูหา กะบ่าเอ กรุงย่างกุ้ง ท่านจึงได้เดินทางกลับประเทศของท่านเป็นการชั่วคราว เพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์ดังกล่าว เป็นเวลา ๑ ปี หลังจากการทำสังคายนาพระบาลี อรรถกถา และฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่างๆ ได้สิ้นสุดลง ท่านก็ได้เดินทางกลับมาพำนักอยู่ที่วัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ตามเดิม

ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ท่านอาจารย์อูเนมินทะ (อัครมหาบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ รูปที่ ๓ ชราภาพมากแล้ว จึงได้ทำหนังสือไปถึงกรมการศาสนาประเทศสหภาพพม่า บอกความประสงค์ว่า จะนิมนต์ท่านอาจารย์อูธัมมานันทะให้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำอยู่ที่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ทางกรมการศาสนาประเทศสหภาพพม่า ก็ได้ทำหนังสือแจ้งให้ท่านทราบ ท่านจึงได้ย้ายจากจังหวัดนครสวรรค์มาอยู่ที่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ ท่านย้ายมาอยู่ที่วัดท่ามะโอเพียง ๕ เดือนเท่านั้น ท่านอาจารย์อูเนมินทะ เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ก็มรณภาพลงด้วยโรคชรา ท่านอาจารย์อูธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอสืบมาจนถึงปัจจุบัน

เพราะท่านเป็นผู้เรียนเก่ง สอนก็เก่ง มีความรักในการเรียนการสอนมากเป็นพิเศษ จึงไม่อยู่นิ่งเฉย ท่านเริ่มจัดการเรียนการสอนด้านพระปริยัติธรรม อันเป็นหลักสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยการตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น ในวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ จนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่มีชื่อเสียงขึ้นตามลำดับ กิตติศัพท์ของท่านและสำนักเรียนดังกระฉ่อนไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีพระภิกษุและสามเณรผู้ใฝ่ใจศึกษา เดินทางมาจากทั่วทุกมุมของประเทศ เพื่อสมัครเป็นศิษย์ผู้สืบสานการเรียนการสอนที่เข้าถึงแก่นแท้ของพระปริยัติศาสนา จะได้มีปรีชาสามารถจรรโลงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร สมกับเป็นพระศาสนาที่ประเสริฐสูงสุดในโลก เหล่าศิษยานุศิษย์ผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปศาสตร์แขนงเอก จากท่านอาจารย์อูธัมมานันทะ ล้วนเป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถที่จะสืบทอดเจตนารมย์ของบูรพาจารย์ จึงได้พากันเอาใจใส่ในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง จนสามารถผลิตนักศึกษาให้สอบไล่ได้ทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลีเป็นจำนวนมาก ทุกปีเสมอมา ทั้งมีความสามารถในการสอนและทรงจำคัมภีร์ต่างๆ ในระดับชั้นพระไตรปิฎกอันเป็นชั้นเรียนสูงสุดอีกด้วย

ท่านอาจารย์อูธัมมานันทะได้พร่ำสอนลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอว่า “การศึกษาพระไตรปิฎกให้แจ่มแจ้งนั้น จำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์ คือ (๑) คัมภีร์บาลีไวยากรณ์ทั้ง ๓ สาย ได้แก่ คัมภีร์สายกัจจายนะ สายโมคคัลลานะ และสายสัททนีติ (๒) คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา (๓) คัมภีร์วุตโตทยฉันโทปกรณ์ และ (๔) คัมภีร์สุโพธาลังการะ ท่านจึงสอนลูกศิษย์ให้ได้ศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระไตรปิฎกทั้ง ๔ คัมภีร์นั้นให้ช่ำชองก่อน โดยการให้ทรงจำหลักสูตร ทั้งสอนและอธิบายให้เข้าใจในหลักสูตรอย่างแจ่มแจ้ง แล้วหมั่นสาธยายทบทวนไม่ให้ลืมเลือน และจัดพิมพ์คัมภีร์เหล่านั้นไว้เป็นหลักสูตรจนแพร่หลาย เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักปราชญ์สายบาลี ได้รับการยกย่องเรียกขานว่า “บาลีใหญ่”
มีคัมภีร์ที่ได้รับการจัดพิมพ์แล้วรวม ๒๐ คัมภีร์ คือ
๑. กัจจายนะ
๒. ปทรูปสิทธิ
๓. โมคคัลลานพฺยากรณะ
๔. สัททนีติ สุตตมาลา
๕. นฺยาสะ
๖. อภิธานัปปทีปิกา
๗. สุโพธาลังการะ
๘. วุตโตทยฉันโทปกรณ์
๙. สุโพธาลังการะปุราณฎีกา
๑๐. สุโพธาลังการะอภินวฎีกา
๑๑. ขุททสิกขาและมูลสิกขา
๑๒. ธาตฺวัตถสังคหะ
๑๓. สัททัตถเภทจินตา
๑๔. กัจจายนสาระ
๑๕. ณฺวาทิโมคคัลลานะ
๑๖. พาลาวตาระ
๑๗. สังขฺยาปกาสกะ
๑๘. สังขฺยาปกาสกฎีกา
๑๙. ปโยคสิทธิ
๒๐. วุตโตทยฉันโทปกรณ์แปล

ส่วนคัมภีร์ที่ท่านอาจารย์ได้รจนาขึ้นมี ๔ คัมภีร์ คือ
๑. อุปจารนยะและเนตติหารัตถทีปนี
๒. อุปสัมปทกัมมวาจาวินิจฉัย
๓. สังขิตตปาติโมกขุทเทสวินิจฉัย
๔. คัมภีร์นานาวินิจฉัย

๗๔ ปี ของท่าน ที่ได้อยู่ในร่มผ้ากาสาวพัตร์ ช่างเป็นชีวิตที่แสนประเสริฐสูงสุด บัดนี้ ท่านดำรงอยู่ในฐานะผู้มีวัยอันเจริญครบ ๘๘ ปี ผู้มีอัธยาศรัยอันถูกหล่อหลอมกล่อมเกลาให้งดงามด้วยวิชชาคือพระปริยัติศาสนาที่ได้ศึกษามาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ งดงามด้วยจรณะคือปฏิปทาอันเป็นข้อวัตรปฏิบัติอันคล้อยตามหลักพระสัทธรรมที่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดี งดงามด้วยโอวาทานุสาสนีที่ได้ตักเตือนพร่ำสอนมวลหมู่ศิษย์ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ความงดงาม ความน่าเลื่อมใส ข้อวัตรปฏิบัติที่บริบูรณ์ของท่าน ศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ต่างชื่นชมโสมนัส เคารพยำเกรง ถือปฏิบัติเอาเป็นแบบอย่าง พากันเรียกขานด้วยความเคารพและอบอุ่นยิ่ง ว่า “หลวงพ่อ ภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ”

ด้วยผลงานด้านการสอนและการเรียบเรียงรจนาคัมภีร์อีกมายมายหลายคัมภีร์ รัฐบาลประเทศสภาพพม่า ได้รับทราบเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของท่าน จึงได้น้อมถวายตำแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต” แด่หลวงพ่อ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ จึงเป็นที่รู้จักกันในมงคลนามว่า “หลวงพ่อ ภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต” แม้มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของประเทศไทย ก็ได้ทราบเกียรติคุณของหลวงพ่อ จึงได้น้อมถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ท่าน

แม้เวลานี้ หลวงพ่อของพวกเรา จะชราภาพมากแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่ได้คำนึงถึงความชราภาพของตนเองเลย ยังมีดวงหทัยอันเต็มเปี่ยมด้วยเมตตา มีความอุตสาหะพร่ำสอนศิษยานุศิษย์ให้พยายามศึกษาเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอ มวลศิษยานุศิษย์เล่า ก็พากันถือปฏิบัติตามอย่างเคร่องครัด เพราะมาเล็งเห็นโทษที่ไม่ปฏิบัติตาม และเล็งเห็นประโยชน์อันประเสริฐที่ได้ปฏิบัติตาม จึงได้ช่วยกันขวนขวาย จัดการเรียนการสอนตามแนวที่หลวงพ่อได้สอนตนมา ให้สืบทอดถึงรุ่นลูกหลานต่อไปในอนาคต พากันหวังอยู่ว่า หลวงพ่อจะเบาใจและวางใจได้ว่า พระพุทธศาสนาที่แผ่ซ่านอยู่ในสายเลือดของท่านนั้น ได้รับการสืบทอดแล้วอย่างลงตัว สมกับเจตนารมย์ที่ได้ตั้งอธิษฐานไว้ว่า

“จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา”

ขอให้พระสัทธรรมจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ขอให้ชนทั้งหลายจงมีความเคารพยำเกรงในพระธรรม

เมื่อวันที่ ๑๘-๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางกลับไปเยือนบ้านเกิดเพื่อสงเคราะห์หมู่ญาติ เพื่อเยี่ยมสำนักเรียนที่เคยเรียนเคยสอน และเยี่ยมสำนักที่เคยอยู่อาศัย เพื่อย้อนรอยสู่อดีตอันอบอุ่น สู่ความทรงจำอันยากจะลืมเลือน ที่อยากบอกเล่าให้ลูกศิษย์ทุกคนได้รับฟัง

เมื่อเป็นโอกาสดีอย่างนี้ พวกเราเหล่าศิษย์จึงขอติดตามหลวงพ่อไปด้วย เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง อย่างภาคภูมิใจและชื่นชมโสมนัส

ภาพและเสียงที่จะได้รับชมรับฟังต่อไปนี้ คือบันทึกการเดินทางเยือนบ้านเกิดของหลวงพ่อผู้ยิ่งกว่าพ่อของพวกเราทุกคน

“หลวงพ่อ พระภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต”

จากหนังสือ งานละสังขาร 100 วันหลวงพ่อใหญ่

https://web.facebook.com/notes/ta-tuk-tatuk/

 

repost จาก note ของ FB: ta-tuk-tatuk

ถ่ายภาพกับ street art ลือชื่อของลำปาง

IMG_20181015_114029 IMG_20181015_113923

ถ่ายภาพกับ street art ลือชื่อของลำปาง

Landmark : แลนด์มาร์ก
คือ จุดสังเกต หรือ หลักเขต หรือ สถานที่ที่เป็นจุดสังเกต หรือ สถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ ประจำพื้นที่ หรือเมือง
ไปเยือนแล้ว
ต้องไปถ่ายรูปให้ได้
ไม่งั้นถือว่า ไปไม่ถึง

สตรีทอาร์ตลำปาง
(Street art) ปลายทางฝัน
หากใครได้ไปลำปางแล้ว ไม่ได้ถ่ายภาพด้วย
อาจถือว่าไปไม่ถึง
ภาพเหล่านี้กระจายอยู่ระแวก
กาดกองต้า เป็นโครงการของจังหวัด และมีแนวโน้มจะแพร่หลายต่อไป
เมื่อเห็นภาพเหล่านี้ก็ชื่นชอบ
เพราะชอบสีสัน ชอบแสงสี ชอบศิลปะ มีเพื่อนเป็นศิลปิน และมีแลนด์มาร์คในจังหวัดที่อาศัย

หลังมีข่าว street art ดังมาก
เมื่อ 20 พ.ค.2561 ก็ทำให้มีความฝันว่าจะต้องถ่ายภาพ
กับ street art สักภาพหนึ่ง
และด้วยปัจจัยอำนวย
ทำให้คืนที่ 14 ต.ค.61 พาตนเองไปเดินกาดกองต้าฟากริมแม่น้ำ
พบภาพสวยหลายภาพ
ก็ถือโอกาสถ่ายภาพตนเอง
โดยมีฉากหลังเป็น street art
และแบ่งปันไป 2 ภาพ
สรุปว่าชอบมากครับ
ต่อไปมีคนถามว่าถ่ายมารึยัง
จะได้ตอบว่า ถ่ายมาล่ะ
มีหลักฐานด้วย
ตั้งชื่อภาพว่า
“พ่อไก่แจ้ในเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา”

ณ เวลาหนึ่งในซอยแขนงหนึ่งที่กาดกองต้า นครลำปาง

ซองหนึ่ง ที่กาดกองต้า นครลำปาง

ซองหนึ่ง ที่กาดกองต้า นครลำปาง

 

วันนี้ ณ กาดกองต้า
หรือ ถนนคนเดินลือชื่ออันดับหนึ่งของลำปาง
คึกคักไปด้วยหนุ่มสาวเสื้อเหลือง กว่าทุกคืนสุดสัปดาห์ที่เคย ๆ
เพราะวันนี้เป็นวันที่ 13 ตุลาคม 2561
ชาวลำปางร่วมกิจกรรม
“ร้อยริบบิ้นแห่งความรัก .. ล้านดวงใจภักดิ์แห่งแผ่นดิน”
ที่ข่วงนคร ลำปาง
หลังเสร็จกิจ ส่วนหนึ่งก็จะมาเดินที่ถนนคนเดินแห่งนี้
หาของกิน ของใช้ หรือเดินชมตลาดตามอัธยาศัย
ลักษณะของกาดกองต้า
จะมีถนนเส้นหลัก เหมือนก้างหลักของปลา
และมีก้างแขนงแยกออกไป ตามตรอก ซอกซอย
บางซอยเน้นของกิน บางซอยเน้นของใช้
และแต่แม่ค้า พ่อค้าเค้าจะไปหาทำเลของตนเอง
แน่นอนว่า บางซอยคนเดินเยอะ บ้างก็น้อย
คนเดินวันนี้ สวมเสื้อเหลืองมากเป็นพิเศษ
สิ่งที่ผมเห็น คือ
บ้างเดินคนเดียว
บ้างเดินเป็นคู่
คู่ชายบ้าง คู่หญิงบ้าง คู่แม่ลูกบ้าง
บ้างเดินกันเป็นทีม
ทีมเพื่อน ทีมครอบครัว ทีมทำงาน หรือทีมบังเอิญมาเจอกัน
อาหารการกินก็เยอะ เห็นแปลก ๆ ก็มี
ข้าวเกียบว่าว ทองม้วนสด เมี่ยงคำ
ถั่วเน่า กระบองเพชร ต้นไม้แคระ หรือบอนไซ
ประทีปปลอม ปิ้งย่างหม่าล่า ยากิโซบะ
ชุดผ้าฝ้าย ชุดมัดย้อม เสื้อยืดลำปาง บ๊อกเซอร์
และกะโหลกกะลา อีกมากมาย

ถนนคนเดิน ก็มีปัญหาเดิม ๆ
คือ หาที่จอดรถยากมาก
ที่หาได้ก็เดินไกล
ผมมักจอดรถเลยจวนผู้ว่าไปนิดหน่อย
ระยะทางของกาดกองต้า
จากหัวสะพานรัษฎา ถึงข้าวต้นบาทเดียว
ประมาณ 1 กิโลเมตร เดินไปกลับก็ 2 กิโลเมตร
ขยันหน่อย เดินเลาะริมแม่น้ำวังด้วยก็อีกเกือบเท่าตัว

ภาพประกอบที่ถ่ายมานี้
มีสาวชุดเหลืองในภาพ แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร
ถนนเส้นนี้ เป็นแขนงหนึ่ง
เป็นหลิ่งขึ้นไปถึงห้างเสรีสรรพสินค้า
ถนนหน้าห้าง วันนี้มีกลุ่มคนรักสุนัข
มาขอรับบริจาคเงินไปทำหมันให้สุนัขจรจัดในลำปาง
ที่มีมากก็บริเวณวัดม่อนพระยาแช่
มีกิจกรรมร้องเพลงขอรับบริจาค
มีนักเรียนจากโรงเรียนบุญวาทย์ มาร่วมร้องเพลง
ฟังเพลงภูมิแพ้กรุงเทพแล้วชอบมาก
จึงบริจาคไปส่วนหนึ่ง ก็นิดหน่อยครับ เป็นกำลังใจ

เรื่องฟังเพลงไม่ได้หยุดยืนฟังครับ
แต่นั่งทานขนมจีนน้ำเงี้ยวของป้า
ได้เยอะมาก 30 บาท เกือบล้นถ้วย
และส้มตำ 35 บาท
ก็เยอะแบบไม่น่าเชื่อ ทานคนเดียวคงไม่หมด
ร้านลุงป้าเค้าอยู่ติดกัน ก็อยู่บริเวณหน้าห้าง
ตรงข้ามร้านตัดเงาะดีไซน์นั่นหละครับ
สรุปว่า เดินกาดกองต้าครั้งนี้
ได้ทานของอร่อยบนถนน
ได้ฟังเพลงไพเราะจากนักเรียน และคุณลุง
ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวลำปางยุคนี้
ที่เอาของซะเป๊ะซะป๊ะ มาวางขาย ตั้งขาย
บนถนนลือชื่ออันดับหนึ่งของลำปาง
เดินเสร็จบอกได้คำเดียวว่า “เหนื่อย แต่เพลิน ลืมระยะทางเลย
หลังกลับที่พัก ก็ขอนอนก่อนล่ะ
มีโอกาสคงไปเดินใหม่ ยังเดินไม่ทั่วเลย