นี่คือแผนที่ร้านต้องห้ามพลาด 12 ร้าน ที่เป็น signature ของลำปาง จากข้อมูล 199 ร้าน ในหนังสือแผนที่กินดีจังหวัดลำปาง ล้วนเป็นร้านขึ้นชื่อของจังหวัด ที่มีร้านเด่นจากหลายกลุ่ม หลายอำเภอ จากภาพหมุด 12 ร้าน พบว่ากระจายอยู่ในอำเภอเมือง
..
ในแผนที่ เราสามารถเพิ่มการปักหมุด marker ที่ให้บริการโดย กูเกิลแมพ เมื่อคลิกสถานที่บนแผนที่ สามารถสั่งเปิดออกไปทำงานบนแอปพลิเคชันได้ ซึ่งมีบริการอีกมากมายที่เลือกใช้ได้ เช่น หาเส้นทางไปร้านอาหารที่ดีที่สุด เขียนรีวิว อ่านรีวิว และให้คะแนนรีวิว หรือแชร์ลิงก์ หรือฝังแผนที่ในหน้าเว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร หรือบริษัท เช่น เพื่อนที่ทำโรงงานของพรีเมี่ยม กับ TTPCargo เค้าก็มีแผนที่ในไซต์เพื่อให้ข้อมูล ซึ่งการเขียนรีวิวและอัพโหลดภาพ เค้ามีคะแนนให้ด้วยนะครับ
..
ร้านอาหารเด่น 12 ร้าน ตามหนังสือแนะนำ ที่รวบรวมโดย เครือข่ายผู้จัดการนวัตกรรม (Certified Innovation Manager) ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว ปู่โย่ง , ครัว เนื้อหอม , ข้าวมันไก่ ทิพย์ช้าง , ส้มตํา ยายขัน , ป้อ ก๋วยจั๊บ , บงกช , โก๋กาแฟ , โอชา วัฒนา , รสดี บะหมี่เกี๊ยว , สวนอาหาร เรือนแพ , อร่อย บาทเดียว , และ ข้าวซอย อิสลาม
..
บริการของ กูเกิลแมพ มีหลายบริการ หลายรุ่น และเงื่อนไขสำหรับ developer พบปัญหาในระหว่างเก็บตำแหน่ง latitude และ longitude สำหรับแต่ละ marker คือ เก็บตำแหน่งไป 12 ร้าน แต่มีร้านหนึ่งที่ตำแหน่งเคลื่อนไปหลายตำบล ต้องทดสอบตำแหน่งอยู่หลายครั้ง เมื่อตรวจอีกครั้งก็พบร้านที่สอง เคลื่อนไป 1 กิโลเมตร ต้องเก็บตำแหน่งใหม่และทดสอบซ้ำอีกหลายรอบ ส่วนอีก 10 ร้าน พบว่าตำแหน่งถูกต้อง
..
หาก นักท่องเที่ยว นักกิน นักล่าร้านอาหาร ที่ต้องการหาตำแหน่ง lat,long สามารถวิวดูโค้ดได้ เพราะส่วนของการแสดงแผนที่ใช้เพียง tag html ในการกำหนดตำแหน่งและเรียกใช้งานแผนที่
..
ออกไปแตะโลกกว้างในร้านอาหารกันครับ
Category Archives: research
Signature restaurant in a province คืออะไร
คำถาม : Signature restaurant in a province คืออะไร
คำถาม : Explain Signature restaurant in a province meaning in thai
[.gm.]
ร้านอาหารชื่อดังในจังหวัด
ร้านอาหารชื่อดังในจังหวัด หมายถึง ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งมักจะมีจุดเด่นเฉพาะตัว เช่น รสชาติอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ วัตถุดิบชั้นเลิศ บรรยากาศร้านที่โดดเด่น หรือประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ทำให้เป็นที่รู้จักและนิยมของทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
1. ร้านอาหาร (Restaurant)
2. ชื่อดัง (Famous)
3. จังหวัด (Province)
4. เอกลักษณ์ (Unique)
5. วัตถุดิบ (Ingredients)
6. บรรยากาศ (Atmosphere)
7. ประวัติความเป็นมา (History)
8. คนในท้องถิ่น (Local people)
9. นักท่องเที่ยว (Tourists)
[.gm.]
ร้านอาหาร Signature ในจังหวัด หมายถึงร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่รู้จักในพื้นที่นั้น ๆ โดยมักจะมีเมนูพิเศษหรือการตกแต่งที่โดดเด่น
[.cp.]
Signature Restaurant ในบริบทของจังหวัด หมายถึง ร้านอาหารที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดนั้นๆ โดยร้านเหล่านี้มักจะสะท้อนถึงวัฒนธรรม ท้องถิ่น หรือจุดเด่นของพื้นที่ เช่น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่น การนำเสนอเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ หรือการออกแบบร้านที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนั้นๆ
[.cg]
เมนู Signature คือ เมนูอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโดดเด่น ซึ่งช่วยสร้างความแตกต่างให้กับร้านอาหาร โดยมักจะมีรสชาติที่อร่อยและไม่สามารถหาทานได้จากที่อื่น เมนูเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าจดจำร้านได้ดีขึ้น และมักจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่า
[.pp.]
ร้านอาหาร Signature restaurant ในบริบทของจังหวัด หมายถึง ร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและเป็นตัวแทนของจังหวัดนั้นๆ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้:
1)
นำเสนออาหารท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ใช้วัตถุดิบในพื้นที่
2) มีการตกแต่งร้านที่สะท้อนวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
3) มีมาตรฐานการบริการและคุณภาพอาหารที่ดี
4) เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับทั้งจากคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว
[.cl.]
“Signature restaurant in a province” หมายถึง ร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือเป็นที่รู้จักในจังหวัดนั้นๆ มักจะมีเมนูอาหารหรือบรรยากาศที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี หรือวัตถุดิบท้องถิ่นของจังหวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมจากทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมักมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของอาหาร การให้บริการ หรือการสร้างประสบการณ์ในการรับประทานอาหารที่น่าจดจำอีกด้วยครับ
[.dp.]
ความหมายของ “Signature Restaurant” ในจังหวัด
Signature restaurant หมายถึงร้านอาหารที่มีเมนูหรือจานอาหารเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมักจะถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่จดจำและสร้างความแตกต่างจากร้านอาหารอื่น ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ เมนู signature นี้ถือเป็นตัวแทนของร้านและช่วยสร้าง ตัวตน ให้กับร้านอาหาร
[.you.]
การสื่อสารผ่านสื่อสังคมของโรงเรียน
องค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้สื่อสังคม เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะมีประสิทธิภาพ จุดเด่นคือเป็นการสื่อสารแบบสองทางที่มีประสิทธิภาพแ และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ทุกกลุ่มอายุ แล้วยังมีหลายค่ายให้เลือก ที่แต่ละค่ายสื่อสังคมมีจุดเด่นในการบริการแตกต่างกันไป
ทำให้สมาชิกในองค์กรที่มีความถนัด หรือมีทักษะแตกต่างในแต่ละบุคคล สามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบของตน และควบคุมความเป็นส่วนตัวได้ด้วยตนเอง ถ้าองค์กรแบ่งปันข้อมูลเป็นสาธารณะ แล้วสมาชิกเข้าไปมีส่วนร่วมกับเนื้อหา engagement ที่เปิดเป็นเวทีในแต่ละสื่อสังคม ย่อมส่งผลถึงเป้าหมาย และประสิทธิภาพในการสื่อสารขององค์กร
เช่น คุณครูในโรงเรียน สร้างกลุ่มส่วนตัวประจำวิชาผ่านสื่อสังคม หรือใช้งานในระบบเครือข่ายเฉพาะ เพื่อทำกิจกรรม แบบฝึกหัด งานมอบหมาย หรือรับส่งงานจากนักเรียน แล้วเชื่อมโยงเข้ากับสื่อสังคมขององค์กร จนเกิดความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมในมุมมองขององค์กร และบุคคล ย่อมเชื่อได้ว่านักเรียนจะสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมได้อย่างเข้าใจในอนาคต
ชวนนึกว่า ถ้าองค์กร บริษัท สมาคม เทศบาล หรือโรงเรียน มีสมาชิก 1000 คน แล้วมีสมาชิกขององค์กรเฉลี่ยเพียง 10% เข้าไปแสดงการมีส่วนร่วม ต่อโพสต์ที่องค์กรเผยแพร่ในสื่อสาธารณะ ก็จะมียอดไลก์ แชร์ หรือแสดงความคิดเห็น โพสต์ละ 100 ไลก์ หากรวมถึง พ่อแม่ พี่น้อง ญาติสนิท มิตรสหายของเพื่อนสมาชิกที่เข้าร่วมผ่านสื่อสังคมที่เปิดสาธารณะ อีก 10% ก็จะเกิด engagement เพิ่มขึ้นอีกมาก
ยอด engagement จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ต้องมองย้อนกลับไปว่า ทีมผู้บริหารองค์กร ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบหรือไม่ มีขั้นตอนพื้นฐานที่เริ่มจาก 1) กำหนดเป้าหมายเท่าไร 2) วางแผนการมีส่วนร่วมของสมาชิกอย่างไร 3) ดำเนินการกับสมาชิก และติดตามอย่างไร และ 4) ปรับปรุงอย่างไร หากบรรลุ/ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ที่จังหวัดลำปาง ได้เห็น ท่านว่าที่ผู้นำในท้องถิ่น หรือผู้อาสามาเป็นผู้แทนของประชาชน ทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และเผยแพร่เนื้อหาในสื่อสังคม โดยเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการเปิดการมองเห็นแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการโดยสื่อสังคม จนมีผู้สนใจเนื้อหาเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก แสดงว่า ท่านว่าที่ผู้นำได้เห็นประโยชน์ของการสื่อสารผ่านสื่อสังคม วางแผน ทำกิจกรรม ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ ซึ่งเห็นแล้วก็รู้สึกชื่นชม
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ.2567
ตามที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2567 โดยกิจกรรมการประกวดแข่งขันจัดในรูปแบบออนไลน์ โดยครู นักเรียน และโรงเรียน สามารถส่งผลงานคลิปวิดีโอ และรายงานสรุปผลโครงการแบบออนไลน์จากทั่วประเทศ
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลกิจกรรม “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” สำหรับจังหวัดลำปาง มีโครงการได้รางวัลรวมทั้งสิ้น 9 รางวัล ดังนี้
จังหวัดลำปาง มี 2 โครงการที่ได้รับรางวัล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1 เหรียญทอง ห้องดูแลผู้สูงอายุอัจฉริยะด้วยการสั่งการด้วยสัญลักษณ์มือ
1. เด็กหญิงปวีณ์นุช เพียงก๋า
2. เด็กหญิงขวัญน้ำ น้อยปิ่น
3. เด็กหญิงศิริลักษณ์ แก้วมงคล
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
นางขวัญจิตร สุวรรณวงศ์
นางอัญญ์ชลี สิทธิ
2 เหรียญเงิน การศึกษาอาหารไก่จากไข่ผำที่มีผลต่อน้ำหนักไก่ลูกผสมพื้นเมือง
1. เด็กหญิงพิชญธิดา ทามูล
2. เด็กหญิงสโรชา แก้วนันชัย
3. เด็กหญิงอรธิชา ถาเป็นบุญ
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
นางจิรารัตน์ วงศ์วิไล
นางสาวนารีรัตน์ รุ่งเรือง
จังหวัดลำปาง มี 9 โครงการที่ได้รับรางวัล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1 เหรียญทอง การสร้างสมการช้างบนชามเซรามิก
1. นางสาวสุภัสสรา แปงสี
2. นายนิรวิทธ์ พวงเรือนแก้ว
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
นายสาวจิรวรรณ ใจเรือน
นางสาววรรษวรรณ พรรณรัตน์
2 เหรียญทอง ผงดูดซับฟลูออไรด์ในน้ำจากถ่านไม้ไผ่ และแร่ธาตุจากดินขาวในจังหวัดลำปาง
1. นายขจร เฉิน
2. นายเสฏฐพันธ์ นนทสูติ
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
นางสาวคณฑรี สุทธนี
นางสาวชนกกานต์ เนตรรัศมี
ผศ.ดร.ประดับดวง เกียรติศักดิ์ศรี
นายกิตติพงษ์ อยู่ดี
3 เหรียญทอง วัสดุผสมยางครั่งทางเลือกใหม่สำหรับต้านไฟฟ้าและการทนความร้อน
1. นางสาวปริยาภรณ์ ถวิลเวช
2. นางสาวศุภณิชา ขจรประภาสันต์
3. นางสาวอัยยา ภาษิต
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
นางสาวคณฑรี สุทธนี
นางสาวแววดาว รู้เพียร
ผศ.ดร.ณฤทธิ์ ฝั้นสืบ
4 เหรียญทอง ออกาโนเจลสมุนไพรจากพืชเหลือใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ในโรคฟันผุ
1. นายชลัช วิชัยรัตน์
2. นายปัญจธีร์ จันทาพูน
3. นางสาวโชติกา อินญาวิเลิศ
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
นางสาวชนกานต์ เนตรรัศมี
นางสาวอ้อมฤทัย ใจอินทร์
อ.ดร.ธิดา แก้วคต
5 เหรียญเงิน แผ่นกรองอากาศจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดผสมสารสกัดจากใบฝรั่ง
1. นางสาวกฤติยา อานุ
2. นางสาวพรวรินทร์ น่าชม
3. นางสาวภัณฑิรา จำชาติ
โรงเรียนเมืองปานพัฒนวิทย์
นางสาวพีรยา รุจจนพันธุ์
6 เหรียญทองแดง การศึกษาประสิทธิภาพวุ้นว่านหางจระเข้ต่อการยับยั้งเชื้อราในแป้งโรตีสายไหม
1. นางสาวรัชตรา ชมภูน้ำเงิน
2. นางสาวเบญญาภา สุนินตา
3. นางสาวธารพระพร ทรัพย์รุ่งทวีผล
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
นางจิรารัตน์ วงศ์วิไล
นางนงนุช แสนเงิน
7 เหรียญทองแดง การพัฒนาเครื่องตรวจสอบสถานะว่างของห้องน้ำเพื่อนักเรียนผู้พิการทางสายตาโดยใช้ Proximity Sensor
1. นายจิญญวัฒน์ กาญจนมยูร
2. นายรัชชานนท์ ชัยวงค์
3. นายสิรภัทร ตื้อเครือ
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
ครูชลธิช ณ ลำปาง
8 เหรียญทองแดง ประสิทธิภาพของสารสกัดจากหอมแดงในการออกฤทธิ์ด้านเชื้อก่อสิว staphylococcus Aureus เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบของสิว
1. นายปฏิพัตร์ ใจคาฟู
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
นางสาวแววดาว รู้เพียร
นางสาวสุธาสินี ตั้งตัว
นางสาวรรษวรรณ พรรณรัตน์
9 เหรียญทองแดง การจัดทำแผนที่ชั้นดินแสดงค่า SPT ในเขตเทศบาลเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
1. นางสาวชัญญานุช จี๋แก้ว
2. นางสาวพิชญธิดา ปินตาสี
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
นายจิตตวัฒน์ เมืองมาหล้า
นางอัญญ์ชลีย์ สิทธิ
ตอนที่ 11 อัตลักษณ์ลำปาง ปี พ.ศ. 2564
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
ตอนที่ 11 อัตลักษณ์ลำปาง ปี พ.ศ. 2564
ไหน ใคร รู้จักลำปาง
เมื่อปี พ.ศ. 2564 กันบ้าง
แล้วลองบอก อัตลักษณ์ลำปาง มาสัก 3 สิ่ง
แล้วจัดไว้ในหมวดหมู่ใดบ้าง
จากนั้นมาดูเฉลยกันครับ
.
สำหรับนิยามศัพท์แล้ว
อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะ
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จัก หรือจดจำได้
เช่น อัตลักษณ์ลำปาง
คือ สิ่งที่เป็นที่รู้จัก หรือจดจำได้
เมื่อนึกถึงจังหวัดลำปาง
โดยโครงการนี้
มีผู้วิจัย คือ อาจารย์ธวัชชัย ทำทอง
รับทุนวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
.
ซึ่ง อัตลักษณ์ลำปาง ของทีมวิจัยชุดนี้
ได้รวบรวมไว้ ทั้งสิ้น 86 รายการ
แล้วได้จำแนก ลงในหมวดหมู่
ตามลักษณะเฉพาะร่วม แบ่งได้ 13 หมวดหมู่
ซึ่งประกอบด้วย
1. อาชีพ
2. วรรณกรรม
3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย
4. ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ
5. พุทธศิลป์
6. กวีและขับขาน
7. ภาษา
8. สถาปัตยกรรม
9. การแสดง
10. งานศิลปะพื้นถิ่น
11. ดนตรี
12. เซรามิก
13. อาหาร
สรุปว่า สิ่งที่รู้จัก หรือ จดจำได้
ที่นับได้ว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรม.
ของจังหวัดลำปาง มีอะไร
และจัดหมวดหมู่อย่างไร
ก็ขอฝากข้อมูลชุดนี้ไว้
เผื่อได้นำไปพัฒนา ต่อยอด
และใช้ประโยชน์กันต่อไป
https://vt.tiktok.com/ZSYY3EXHT/
ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก
ที่ลำปาง มีหมู่บ้านแกะสลัก อยู่ที่บ้านหลุก
อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
.
เมื่อได้ชมโบราณวัตถุ
ใน พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชน
ณ วัดบ้านหลุก
ที่เผยแพร่ผ่านระบบเว็บไซต์ ของ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
พบว่า สิ่งของเครื่องใช้โบราณ
ที่ชาวบ้านนำไปมอบให้พิพิธภัณฑ์
ได้ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบ
และเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นห้องเรียนเชิงวัฒนธรรม
พบการบันทึกข้อมูล จำแนกได้ 3 ส่วนหลัก คือ
– ข้อมูลทั่วไป
– การบันทึกข้อมูล
– คำอธิบายวัตถุ
.
พบวัตถุโบราณที่ทำมาจากไม้ น่าสนใจมากมาย เช่น
– ครกตำ
– กระจกกรอบไม้
– ตะเกียงกระป๋อง
– ข้องใส่ปลา
– ไหข้าว
– เตารีดโบราณ
– แมวขูดมะพร้าว
– หม้อข้าวหม่า
ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชม โบราณวัตถุอีกมากมาย
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดบ้านหลุกได้ หรือ สืบค้นข้อมูล
โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
.
หากชอบข้อมูลใดก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยม เพอร์เฟค premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกันครับ
https://vt.tiktok.com/ZSYRAoCEd/
https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2357
ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#บ้านหลุก
#หมู่บ้านแกะสลัก
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
#handmade
ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ที่วัดปงสนุกเหนือ เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ที่วัดปงสนุกเหนือ
การวาดภาพพระกัณฑ์ ใน พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในล้านนา
ณ วัดปงสนุกเหนือ
ที่เผยแพร่ผ่านระบบเว็บไซต์ ของ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
ซึ่งรวบรวมข้อมูล และเผยแพร่
โดยคณะผู้วิจัย นำโดย พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร.
พบว่า ภาพพระกัณฑ์ชุดนี้
วาดลงบนกระดาษ
ด้วยสีฝุ่นจำนวน 8 สี
คือ
– แดง
– เหลือง
– เขียว
– ดำ
– น้ำเงิน
– น้ำตาล
– ขาว
– ฟ้า
ในระบบได้บันทึกข้อมูล เกี่ยวกับ
– ข้อมูลทั่วไป
– การบันทึกข้อมูล
– คำอธิบายวัตถุ
– และ แหล่งที่มา
ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชมโบราณวัตถุต่าง ๆ
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดปงสนุกเหนือกันได้
หรือ สืบค้นข้อมูล
โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
.
หากชอบบทความใดก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยมเพอร์เฟค premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครับ
https://vt.tiktok.com/ZSYR6cxrL/
https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2363
ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ ที่ #วัดปงสนุกเหนือ
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#พระกัณฑ์
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
#drawing
ตอนที่ 6 พระไม้ที่วัดไหล่หิน
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
ตอนที่ 6 พระไม้ที่วัดไหล่หิน
สำหรับผู้ที่ชื่นชมพระพุทธรูปโบราณ
วันนี้ ที่จังหวัดลำปาง ขอพาชม
พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ของชุมชนในล้านนา
ณ วัดไหล่หินหลวง
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ซึ่งโครงการนำร่องนี้ จัดทำโดย
พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร.
ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง และคณะ
พบการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
.
ได้พบกับพระพุทธรูป
จำนวนกว่า สามสิบรายการ
ที่รวบรวมไว้ในโครงการนำร่องครั้งนี้
เช่น พระไม้สัก พระไม้แก้ว และ พระแก้วมรกต
.
พร้อมมีรายละเอียดของพระพุทธรูปแต่ละองค์
ที่บันทึกภาพไว้ในหลายมุม เช่น
– ชื่อวัตถุ
– เลขทะเบียน
– หมวดหมู่
– ประเภท
– ขนาด
– สภาพ
– อายุ
– และ พุทธลักษณะ
.
นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้น
อีบุ๊ค และ บทความวิชาการจากโครงการนี้
ในฐานข้อมูลวารสารไทย
ที่เกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้อ่านทำความเข้าใจ
.
หากชอบบทความไหน หรือภาพใด
ก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน
ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยมเพอร์เฟค
premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนกันร่วมส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครับ
https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2145
ตอนที่ 6 พระไม้ที่ #วัดไหล่หิน
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#วัดไหล่หินหลวง
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
กาดฮิมขัวหรือตลาดข้างสะพาน
ที่จังหวัดลำปาง
มีการจัดตั้งกาดขึ้นหลายรูปแบบ
ล่าสุดมี กาดฮิมขัว
หรือ ตลาดข้างสะพาน
เพื่อพัฒนาตลาดใหม่
สนับสนุนการพัฒนาย่านวัฒนธรรม
ให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
.
จัดขึ้นบริเวณลานหน้าวัดนาเวียง
ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
จัดขึ้นครั้งแรก
ในวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 และ
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567
ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
.
ในภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือ
กาด คือ ตลาด
ฮิม คือ บริเวณด้านข้าง
ขัว คือ สะพาน
.
การเดินทางไปกาดฮิมขัวนี้
แนะนำได้ 2 เส้นทางหลัก
เส้นทางแรก
เข้าซอย 4 บ้านผึ้ง
ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา
ซอยนี้อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลเกาะคา
เมื่อเข้าซอยนี้แล้ว ให้ตรงไปเรื่อย ๆ
ผ่าน 4 แยกทั้งหมดสองแยก
ก็จะพบสะพาน ซึ่งวัดนาเวียง
อยู่ทางขวามือหลังลงสะพาน
.
เส้นทางที่สอง
วิ่งรถมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง
มาทางอำเภอเกาะคา เพื่อเข้าตัวเมือง
เมื่อพบคลองถมเกาะคา ที่จัดทุกวันศุกร์
จะอยู่ทางขวามือ ก็ให้ชะลอรถ
จากนั้นจะพบซอยด้านซ้าย
ให้เลี้ยวเข้าบ้านนาเวียง
วิ่งตรงมาเรื่อย ๆ
จนพบวงเวียน ให้หาที่จอดเลย
อย่าตรงขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำวัง
เพราะเป็นเขตบ้านผึ้ง
ถ้าจอดรถแถววงเวียน
ก็จะเป็นหน้าวัดนาเวียง บ้านนาเวียง
เป็นพื้นที่จัดงานกาดฮิมขัว
.
กาดฮิมขัว จัดขึ้นตามโครงการ
การบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม
และการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
และสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน
.
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกระดับครัวเรือนด้วยอัตลักษณ์ต้นทุนทางวัฒนธรรมลำปาง
2. เพื่อพัฒนาตลาดย่านวัฒนธรรมชุมชนสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวย่านวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
.
สรุปว่าชวนเที่ยวกาดครับ
ภายในกาด พบกับ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน
กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การประกวดแข่งขันการทำลาบเมือง
การประกวดการตกแต่งร้านค้าของชุมชน
การแสดงของกลุ่มเยาวชน
กลุ่มผู้สูงอายุ
และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย