การวิจัย คือ การค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการวิทยาศาสตร์นั่นเอง [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9] การวิจัย คือ การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตทางสังคม เพื่อที่จะขยาย แก้ไข หรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3] การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่า และเพื่อวิเคราะห์ผลก่อนหลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม การวิจัย คือ การหาคำตอบให้แก่คำถามที่ผู้วิจัยอยากรู้เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้วิจัยมองเห็น ซึ่งอาจมีหลายปัญหา แต่ผู้วิจัยต้องเลือกปัญหาที่เห็นว่าสำคัญ และมีความจำเป็นต้องหาคำตอบโดยการศึกษาวิจัย [คู่มือของ วช. p.18] นักวิจัย คือ ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล จรรยาบรรณ คือ หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน จรรยาบรรณนักวิจัย คือ หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัต ิของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
การวิจัยและพัฒนา (nrct.net 2006-02-11) คือ งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ จำแนกได้ 3 ประเภท 1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง 3. การพัฒนาการทดลอง (Experimental Development) เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น หนังสืออ้างอิง - ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ, นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี, 2533
พบการเผยแพร่ คู่มือนักวิจัยมือใหม่ ในเว็บไซต์ของ วช. น่าจะมีประโยชน์กับผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ที่สนใจในการเริ่มต้นทำวิจัย เนื้อหาในคู่มือประกอบด้วย 7 บท ดังนี้ บทที่ 1 ความสำคัญของการวิจัย บทที่ 2 การตั้งโจทย์วิจัย บทที่ 3 การตั้งสมมติฐานในการวิจัย บทที่ 4 การศึกษาวรรณกรรมการวิจัย บทที่ 5 ศิลปะในการทำวิจัย บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย บทที่ 7 การเขียนรายงานและการนำไปใช้ประโยชน์ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โฮมเพจแชร์ คู่มือฯ ที่ https://goo.gl/x4eUqR แชร์คู่มือในกลุ่มเฟส : เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย
กรณีนี้ เป็นเอกสารที่จำลองขึ้นมาว่า .. มีโอกาสได้สื่อสารกับนักศึกษา เรื่องการเตรียมเอกสารนำเสนอหัวข้อ หรือสอบป้องกันหัวข้อ สำหรับ 3 บทแรก ในกลุ่มนักศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก่อนจะเข้าสู่สนามสอบก็ต้องผ่านการพิจารณาซักซ้อมกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน ในการพิจารณาหลายครั้งนั้น ก็จะมีการให้ข้อเสนอแนะปรับแก้ และติดตามให้มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ได้เอกสารสื่อออกมาได้ตรงกับที่ตั้งใจ ซึ่งรายละเอียดที่ใช้ในแต่ละสถาบัน แต่ละหลักสูตรก็จะมีการกำกับดูแล มีตัวแบบ ขั้นตอน หรือเกณฑ์พิจารณา ที่แตกต่างกันไป
ตัวแบบหัวข้อ การศึกษาค้นคว้าอิสระ สำหรับ 3 บทแรก (ตัวเลขหัวข้อย่อย เวลาเขียนจริง ไม่ต้องมีตัวเลขกำกับนะครับ) บทที่ 1 บทนำ 1. ชื่อหัวข้อ - มักพบว่ามีคำที่ใช้เป็นตัวแปรตามในกรอบแนวคิด 2. บทนำ 2.1 ภาพกว้าง 2.2 พบประเด็นอะไร 2.3 เสนอแนวทางหาคำตอบที่สอดรับกับหัวข้อ 3. วัตถุประสงค์ - ตอบหัวข้อ และบทนำ 4. ขอบเขต - เนื้อหา+ประชากร+ตัวแปร+เวลา+สถานที่ 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - สอดรับกับวัตถุประสงค์ 6. นิยามศัพท์ - อธิบายคำที่ต้องขยายความ 7. สมมติฐานการวิจัย - มักได้คำตอบด้วยค่าสถิติ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - ต้องถูกใช้ในแบบสอบถาม 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - ต้องถูกใช้ในการอภิปรายผล 3. กรอบแนวคิดในการวิจัย - สิ่งที่เรารู้ กับสิ่งที่เราค้นหา บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 1. ขั้นตอนดำเนินการวิจัย - เป็นข้อ จนถึงสรุปผล 2. แหล่งข้อมูล - ปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ 3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - ให้เหตุผลของแต่ละเครื่องมือ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล - ใช้เครื่องมือใด ที่ไหน อย่างไร 6. การวิเคราะห์ข้อมูล - ค่าสถิติใด ใช้เพื่ออะไร
มีโอกาสร่วมฟังการสอบ IS ของนักศึกษา โดยมี ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว ได้กำชับให้นักศึกษาทำการวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามมาด้วย จึงรวบรวมข้อมูล แล้วแบ่งปันไว้ดังนี้ การวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity) หมายถึง การวัดว่าผู้วิจัยออกแบบสอบถามได้ตรงตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด ในการทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาสามารถดำเนินการได้โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง มาช่วยพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับแบบสอบถาม โดยพิจารณาเป็นรายข้อคำถาม วิธีการพิจารณาแบบนี้จะเรียกว่า การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC : Index of Item Objective Congruence) หมายถึง ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ มีค่า ระหว่าง 1.00 ถึง 1.00 ซึ่งข้อคำถามที่มีความตรงตามวัตถุประสงค์จะมีค่า IOC เข้าใกล้ 1.00 ถ้าข้อคำถามใดมีค่า IOC น้อยกว่า 0.5 ก็ควรปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับวัตถุ ประสงค์ที่ต้องการวัด เกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) ของผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้ คะแนนเท่ากับ +1 หมายถึง แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คะแนนเท่ากับ 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คะแนนเท่ากับ -1 หมายถึง ไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กรณีคะแนนเป็น -1 (ไม่มีความสอดคล้อง) ขอความอนุเคราะห์ให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะเพื่อพัฒนาในข้อนั้น
หลักการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 1. ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาคทฤษฎี 2. ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาคปฏิบัติ 3. ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านวิจัย 4. ผู้เชี่ยวชาญมีจำนวน 3 - 5 คน โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวแทนของแต่ละสาย เช่น สายอาจารย์ สายวิชาชีพ สายวิชาการ สายภูมิปัญญา ขั้นตอนการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 1. พัฒนาแบบสอบถามตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา 2. ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความอนุเคราะห์ด้วยวาจา 3. ขอหนังสือจากหลักสูตร 4. ส่งหนังสือและเครื่องมือถึงผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเอง 5. ขอรับเครื่องมือคืนแล้วประมวลผล การทดสอบมีหลายด้าน 1. การทดสอบความสามารถในการทำงานของระบบ (Functional Test) 2. การทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance Test) 3. การทดสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของระบบ (Reliability Test) 4. การทดสอบความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน (Usability Test) 5. การทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน (Security Test) + http://www.thaiall.com/research/efficiency.htm + http://www.mcu.ac.th + http://www.gotoknow.org/posts/370878 + http://www.thaiall.com/research/ioc.xlsx
การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มักใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's coefficient of alpha) เหมาะกับข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องที่เป็น rating scale เรียกว่าการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Coefficient alpha) โดยใช้ค่าความแปรปรวนของข้อมูลมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งค่าที่ได้ควรมากกว่า 0.6 แสดงว่ามีค่าความเชื่อมั่นสูง จึงจะยอมรับได้ ซึ่งมักเขียนไว้ในบทที่ 3 ของรายงานการวิจัย 5 บท ขั้นตอนการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า 1. ออกแบบสอบถาม 2. นำแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คนลองทำ 3. นำมาหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าในภาพรวม ถ้าค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าเชื่อมั่นได้ เหมาะกับคำถามที่เชื่อว่าคนตอบ จะตอบไปทางเดียวกัน หากตอบไปคนละทิศละทาง แสดงว่าเชื่อมั่นไม่ได้ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546 : 449 - 450) ตาราง excel สำหรับช่วยคำนวณค่า Cronbach's coefficient of alpha + http://www.thaiall.com/research/cronbach.xlsx + http://drpisutta.arreerard.com + http://www.udru.ac.th + http://www.svc.ac.th + http://www.rtafa.ac.th
วิธีการศึกษาทางสายสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์ 1. ประชากร - สัมพันธ์กับเรื่องที่ทำ 2. กลุ่มตัวอย่าง - สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) 3. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ และ ข้อมูลทุติยภูมิ - ข้อมูลปฐมภูมิ - ข้อมูลทุติยภูมิ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - ใช้แบบสอบถาม - ใช้แบบสัมภาษณ์ 5. การวัดค่าตัวแปร - สเกล 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 6. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล - chi-square - one-way anova - standard diviation - mean 7. การตรวจสอบเครื่องมือ - หาความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ - หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Coefficient alpha) เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach) + ตัวอย่าง วิทยานิพนธ์เรื่อง การบริหารงานกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการศึกษา (Research Methodology) [WMS Journal of Management Walailak University Vol.4 No.3 (SepDec 2015)] # บทบาทในการกำกับและดูแลความเสี่ยงของกรรมการรัฐวิสาหกิจและปัจจัยสาเหตุ p.52-63 1. กระบวนการฝึกอบรม และทดสอบด้วยกรณีศึกษา (Case Study Method) 2. การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการวิจัย 3. การเก็บข้อมูลระหว่างการจัดการอบรม 4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล - Data Triangulation มีผู้วิจัยแต่ละคน อ่านบทถอดเทปและวิเคราะห์ประเด็น และมาสอบทานด้วย Triangulation Method - Investigator Triangulation มีผู้วิจัย 2 คนเป็นผู้จดบันทึก - Methodological Triangulation ใช้หลายวิธีคือ In-Depth Interview, Focus Group Discussion, Observation วิธีการศึกษา (Research Methodology) [NCCIT2015] # การวิเคราะห์ความรู้สึกแบบอัตโนมัติจากข้อความแสดงความคิดเห็น p.1-6 1. ขั้นตอนการสร้างโมเดล 2. การนำโมเดลไปใช้งาน # การประยุกต์ใช้ฟัซซี่ลอจิก เพื่อจัดสรรหน่วยความจำ p.18-23 1. การออกแบบระบบ 2. เทคนิคการพยากรณ์แบบ EWMA 3. การประมวลผลด้วยวิธีฟัซซี่ลอจิก # ระบบการจัดการเหตุเสียเครือข่ายไอพีด้วยการจำแนกกลุ่มข้อความเหตุเสียแบบอัตโนมัติ p.112-117 1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล 2. การเตรียมข้อมูลและการสร้างตัวจำแนกประเภท 3. ขั้นตอนการออกแบบตาราง Lookup # การจำแนกหมวดหมู่ข้อความข่าวสารภัยพิบัติแผ่นดินไหวภาษาไทย p.118-123 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การจัดเตรียมข้อมูล 3. การสร้างแบบจำลองการจำแนกหมวดหมู่ # การประยุกต์ใช้โพรโทคอลแคนบัสกับการวบคุมตู้ล็อกเกอร์ p.547-552 1. ศึกษาปัญหาและรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3. การพัฒนาระบบ 4. การทดสอบระบบ # การวิเคราะห์โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเข้าสู่บ้านโดยอิงมาตรฐานไอทียูร่วมกับการวางข่าวสายตอนนอก p.649-655 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมจำลอง 3. การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมจำลอง # ระบบติดตามเวลาการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์ด้วย GPS บนมือถือ กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย p.662-667 1. โครงสร้างระบบ 2. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ 3. การพัฒนาเว็บไซต์การแสดงผล