แผนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ หรือ เอกสารประกอบการสอน
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiall.com | thaiabc.com
ปรับปรุง : 2551-09-25 (เตรียมแนะนำ)
แผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้
อ้างอิงจาก คู่มือ การเขียนแผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ และแนวการเขียนตำราวิชาการ
ของอาจารย์ ปานรวี ยงยุทธวิชัย และ พระเทพวิสุทธิกวี
คำนำ
แม้ผมจะทำเอกสารประกอบการสอนมาหลายครั้ง ให้กับสำนักพิมพ์นิมิตร จิวะสันติการ ม.เทคโนโลยีราชมงคล ลำปาง และประกอบการสอนที่วิทยาลัยโยนก แต่ไม่เคยเห็นรูปแบบของเอกสารประกอบการสอนในระดับอุดมศึกษา เมื่อไปดูตามร้านหนังสือ ก็พบว่า รูปแบบที่ใช้ในระดับอุดมศึกษา อ้างอิงมาจาก แผนการสอนที่ใช้ในการขอเลื่อนตำแหน่งเป็น อาจารย์ 3 จึงใช้อ้างอิงในการทำเอกสารประกอบการสอนของตนเอง และนำประสบการณ์มาเผยแพร่
สำหรับแผนการสอนแล้ว หลายสถาบัน เช่น โรงเรียนที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษา หรือโรงเรียนพาณิชย์ หรือม.ราชมงคล จะรู้จักเป็นอย่างดี แต่อาจารย์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา กว่า 90% ไม่รู้จักคำว่าแผนการสอน เพราะในระดับอุดมศึกษา อาจารย์ทำเพียงเค้าโครงรายวิชา (Course Syllabus or Course Outline ) เพียงไม่กี่แผ่น ก็เพียงพอแล้ว เมื่อผมสอบถามเรื่องนี้ หรือสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ก็ไม่พบแผนการสอนในระดับอุดมศึกษาเท่าที่ควร หลายครั้งที่เคยสอบถามจากศึกษานิเทศน์ ก็ทราบว่า มาตรฐานกำหนดไว้สำหรับโรงเรียนที่สังกัดกระทรวงศึกษา ส่วนระดับอุดมศึกษาที่เคยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ยังไม่มีมาตรฐานอะไร เพราะต้องการให้อิสระทางวิชาการแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ
+ lessonplan.ppt : การเตรียมเอกสารเพื่อขอตำแหน่างทางวิชาการ
 
ความหมาย
ตำรา หมายถึง เอกสารที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งที่เขียน หรือแปล หรือเรียบเรียงขึ้นอย่างครบถ้วนตามระบบสากล เพื่อใช้ศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
ตำรา หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชา หรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำรามาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่น ๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ


ตำรา ไม่ใช่ แผนการสอน เพราะตำรามีลักษณะดังนี้
1. เป็นหนังสือหลัก (Text Book) ในการเรียนการสอนวิชา
2. มุ่งให้ความรู้ระดับมาตรฐาน
3. มีลำดับขั้นตอน มุ่งให้ความสะดวกในการเรียนวิชาที่บรรจุอยู่ในหนังสือนั้น
4. ใช้คำศัพท์ และสำนวนที่มีความหมายเชิงวิชาการ และมีความเสมอต้นเสมอปลาย

แนะนำเว็บ (Web Guides)
- http://kanchanapisek.or.th/kp9/physics/lessonplan.html (Physics Cyber Lab)
- http://www.st.ac.th/intel/unitplan.html (โรงเรียนสุราษฎร์ธานี)
- http://www.edu.nu.ac.th/wbi/366514/p2.htm (ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)
- http://www.agro.ku.ac.th/html/coursesyllabus.html (หลายวิชา)
- http://www.me.kmitnb.ac.th/index/News%20boxs/syllabus (King Mongut's Institute)
- http://dental.anamai.moph.go.th/oralhealth/cai/pratom1/manual/p6food_dent.htm
- http://www.act.ac.th/service/info/isced/learn01.htm
- http://www.nsdv.go.th/commerce/planlearning/first.htm
- http://school.obec.go.th/khaokling/009.html
- http://www.payak.ac.th/model/nature/plan.htm (ละเอียดมาก)
- http://www.thaigoodview.com/schoolweb/dongjen/library/sara06/panurat_w/kasluk/sec04.html

แนวการเขียนแผนการสอน มีความหลายหลาย .. ขอเสนอในแนวที่ผมเห็นว่าเหมาะ แต่อาจไม่เหมาะกับของบางท่าน
องค์ประกอบหลักของ แผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางสมอง (Head) ความรู้ในเนื้อหา และ ทฤษฎี
1.2 ทักษะพิสัย (Skill) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางปฏิบัติ (Hand)
1.3 จิตพิสัย (Affective) คือ จุดประสงค์ที่เน้นคุณธรรม และจิตใจ (Heart)
2. การเรียนการสอน (Learning)
คือ กระบวนการที่จะทำให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 สาระการเรียนรู้
2.2 เนื้อหาวิชา
2.3 กิจกรรมการเรียนการสอน
2.4 สื่อการเรียนการสอน
เช่น การอภิปราย การสาธิต การสืบค้น การทำโครงงาน การวิจัย และทดลองปฏิบัติ เป็นต้น
3. การวัด และประเมินผล (Evaluation)
คือ การตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรม หรือลักษณะพึงประสงค์ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
    องค์ประกอบ ในการเขียนแผนการสอน หรือเอกสารประกอบการสอน
  1. มาตรฐานการเรียนรู้
  2. สาระสำคัญ
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
  4. จุดประสงค์ปลายทาง
  5. จุดประสงค์นำทาง
  6. เนื้อหาสาระ
  7. สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน
  8. ลำดับกิจกรรมการเรียนการสอน
  9. กิจกรรมการเรียนรู้
  10. การวัด และประเมินผล
  11. กิจกรรมเสนอแนะ
  12. บันทึกผลหลังการสอน
    - ผลการสอน
    - ปัญหาอุปสรรค
    - แนวทางแก้ไข
    - ข้อเสนอแน
  13. ชื่อผู้สอน

ลักษณะของ เอกสารประกอบการสอน (รูปแบบหนึ่ง)
- จัดทำเป็นรูปเล่ม มี ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ
- มี ลักษณะรายวิชา การแบ่งบทเรียน(ท/ป) การประเมินผลรายวิชา ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน รายการเอกสารประกอบการสอน
- เนื้อหาเรียงตามแผนการสอน และมีจุดประสงค์การสอน แต่ละบท ที่คำนึงถึงลำดับการเรียนรู้
- แต่ละบทมี แบบฝึกหัดท้ายบท วิธีการสอน และกิจกรรม สื่อการสอน การวัดผล
- ความคิดเห็นหัวหน้าสาขา และความคิดเห็นคณบดี

สรุปข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม จาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ในระดับอุดมศึกษา
? คำที่ใช้ต้อง ตรวจสอบจากพจนานุกรมที่เป็นที่ยอมรับ อย่าให้ผิด
? ต้องมี Reference ของภาพ และข้อความ ที่คัดลอกมา
? อย่าใช้คำว่าหน่วยที่ แบบในแผนการจัดการเรียนรู้ แต่ให้ใช้คำว่า บทที่
? หัวข้อใหญ่ตัวอักษรใหญ่ชิดซ้าย หัวข้อย่อยย่อหน้า 1 Tab ตัวเล็กลง และลดหลั่นกันไป
? Technical Term ต้องแปลเป็นภาษาไทย เช่น แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นต้น
? อย่าใช้คำไทย สลับกับคำภาษาอังกฤษ
? เอกสารประกอบการสอน และตำรา ต้องเป็นคนละวิชา
? ตำรา ต้องมีการเปิดสอนในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา (ห้ามเถียง เพราะผมก็ไม่มีโอกาส)
? ขนาดตัวอักษร หัวข้อใหญ่มีขนาด 18 และหนา หัวข้อรองมีขนาด 16 และหนา
ตัวอย่างส่วนต่าง ๆ เฉพาะที่น่าสนใจ
    คำอธิบายรายวิชา
    ศึกษา และปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย การเขียนชุดคำสั่ง และการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโคบอล หลักการต่าง ๆ ของวิธีการเขียนโปรแกรม ความรู้ทั่วไป หลักการภาษาโคบอล ส่วนประกอบ และโครงสร้างของภาษาโคบอล การออกแบบโปรแกรมโครงสร้าง การแก้ไขข้อผิดพลาด การทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม และเทคนิคการจัดการแฟ้มข้อมูลในโปรแกรมภาษาโคบอล และปฏิบัติการเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจด้วยภาษาโคบอล


    มาตรฐานรายวิชา
    1. เขียนโปรแกรมประยุกต์ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาโคบอล
    2. เขียนโปรแกรมขนาดเล็กด้วยภาษาโคบอล
    3. ทดสอบ และแก้ไขการทำงานของโปรแกรม

    สาระการเรียนรู้มาตรฐาน
    123
    1. หลักการเบื้องต้นของภาษา3
    2. โครงสร้างของภาษา3
    3. คำสั่ง33
    4. การทำงานแบบตามลำดับ333
    5. การทำงานแบบมีเงื่อนไข333
    6. การทำงานแบบวนซ้ำ333
    7. การเข้าถึงแฟ้มแบบตามลำดับ33
    8. การเข้าถึงแฟ้มแบบดัชนี33

    จุดประสงค์การสอน หรือจุดประสงค์การเรียนรู้
    1. สามารถบอกความแตกต่างของคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
    2. สามารถจำแนกหน้าที่ และองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ
    3. อธิบายพฤติกรรมของโปรเซส และเทรดได้
    4. อธิบายการทำงานของหน่วยความจำ และการจัดเวลาซีพียูได้อย่างถูกต้อง
    5. สามารถบอกความแตกต่างของอุปกรณ์รับ และแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
    6. อธิบายการทำงานของระบบแฟ้มได้อย่างถูกต้อง
    7. สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแบบใหม่ได้


    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    1. เข้าใจความหมายของโคบอล
    2. สามารถเล่าประวัติของภาษาโคบอลโดยย่อ
    3. เข้าใจจุดเด่น และจุดด้อยของภาษา
    4. เข้าใจขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
    5. เข้าใจการโปรแกรมโครงสร้าง


    ปฏิบัติการสำรวจข้อมูล และถอดประกอบเครื่อง
    - จัดคอมพิวเตอร์ให้นักศึกษาได้ฝึกถอดประกอบคอมพิวเตอร์จากห้องปฏิบัติการ
    - มอบหมายให้เข้าสำรวจฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ในสถาบัน ตามหน่วยงานต่าง ๆ
    - ให้ค้นข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์ในองค์การต่าง ๆ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
    - ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบคอมพิวเตอร์ จากอินเทอร์เน็ต นำมาทำรายงาน แล้วนำเสนอ แนะนำเว็บไซต์ประกอบการค้นคว้าบางส่วน
    + http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1
    + http://www.nectec.or.th/courseware/computer/comp-using/index.html
    + http://www.sanambin.com


    แบบฝึกหัดท้ายบท
    1. ระบบต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีระบบอะไรบ้าง
    2. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
    3. บุคลการมีบทบาท หรือหน้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อะไรบ้าง
    4. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง


    วิธีการสอน และกิจกรรม
    1. บรรยายตามเนื้อหาแต่ละหัวข้อ (เว็บเพจ http://www.thaiall.com/os/os01.htm)
    2. สอบถาม เพื่อทบทวน เมื่อจบแต่ละหัวข้อ
    3. เตรียมบันทึกให้นักศึกษานำไปแสดงตัวต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขอเข้าสำรวจ
    4. ให้นักศึกษาได้ฝึกถอดประกอบคอมพิวเตอร์ ในห้องปฏิบัติการ
    5. นำเสนอผลการฝึกปฏิบัติ
    6. ให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต แล้วรวบรวมส่งเป็นรายงาน


    สื่อการสอน
    1. คอมพิวเตอร์สำหรับอาจารย์
    2. คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษา
    3. เครื่องขยายเสียง
    4. เครื่องฉายข้ามศีรษะ และแผ่นใส
    5. กระดานไวท์บอร์ด และ ปากกาสำหรับไวท์บอร์ด
    6. คอมพิวเตอร์ที่ถูกเตรียม สำหรับฝึกถอดประกอบเครื่องฯ โดยเฉพาะ


    การวัดผล
    1. สังเกตความสนใจขณะฟังคำอธิบาย และการตอบข้อซักถาม
    2. การปฏิบัติในชั่วโมงปฏิบัติ
    3. การทำงานตามที่มอบหมาย


    ความคิดเห็นหัวหน้าสาขา
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
    ลงชื่อ ______________
    วันที่ ______________


    ความคิดเห็นคณบดี
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
    ลงชื่อ ______________
    วันที่ ______________
ลักษณะของผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการพิจารณาตำแหน่งทางวิวชาการ (kku.ac.th)
1. เอกสารประกอบการสอน
หมายถึง เอกสารหรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นเอกสารหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอนประกอบด้วยแผนการสอน หัวข้อคำบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และอาจมีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้อีกก็ได้ เช่น รายชื่อบทความหรือหนังสืออ่านประกอบบทเรียบเรียง คัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่องแผนภูมิ (Chart) แถบเสียง (Tape) หรือภาพเลื่อน (Slide) ฯลฯ เป็นต้น
2. เอกสารคำสอน
หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรืออุปกรณ์ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมีเนื้อหาสาระคำสอน ที่มีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน ถ้าเป็นเอกสารจะพิมพ์เป็นโรเนียวก็ได้แต่ต้องทำเป็นรูปเล่ม
3. หนังสือ
หมายถึง เอกสารทางวิชาการหรือกึ่งวิชาที่ได้เรียบเรียงอย่างมีระบบ เข้าปกเย็บเล่มเรียบร้อย มีสารบัญแบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหาชัดเจนใช้อักษรตัวพิมพ์และมีการเผยแพร่
4. บทความทางวิชาการ
หมายถึง เอกสารซึ่งเรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือของผู้อื่น ในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวความคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการนั้นๆสำหรับบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ทั่วไปสำหรับประชาชนนั้น อาจใช้ได้บ้างหากมีคุณค่าทางวิชาการเพียงพอ
5. ตำรา
หมายถึง เอกสารที่ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะที่ได้เรียบเรียงอย่างมีระบบ เช่น ประกอบด้วย คำนำ, สารบัญ, เนื้อเรื่อง, สรุป และการอ้างอิงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทันสมัยโดยจะต้องมีเนื้อหาสาระอย่างละเอียด ครอบคลุมวิชาหรือส่วนของวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และต้องจัดทำเป็นรูปเล่มอย่างเรียบร้อย
6. ผลงานวิจัย
หมายถึง ผลงานค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายอย่างแน่นอนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการนั้นมาประยุกต์ มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการเช่น มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความ และสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้
7. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
หมายถึง ผลงานอย่างอื่นที่มิใช่เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือบทความทางวิชาการ ตำราหรือผลงานวิจัย โดยปกติ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า เช่น เครื่องทุ่นแรงผลงานด้านศิลปะ ฯลฯ ผลงานทางวิชาการดังกล่าวอาจบันทึกเป็นภาพยนต์ หรือแถบเสียง ฯลฯ ก็ได้
8. การพิมพ์เผยแพร่
หมายถึง การพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์ขึ้นหรือการพิมพ์จากโรงพิมพ์ก็ได้ ต้องมีลักษณะดังนี้
ก. ถ้าเป็นเอกสารประกอบการสอนเอกสารคำสอนหรือตำราจะตีพิมพ์หรือพิมพ์เป็นโรเนียวก็ได้ สำหรับหนังสือและตำรา จะต้องพิมพ์เป็นรูปเล่มและเผยแพร่อย่างกว้างขวางในวงวิชาการ
ข. ถ้าเป็นผลงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการจะต้องลงพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ในสาขาวิชาชีพที่เผยแพร่โดยสม่ำเสมอ หรือในหนังสือรวมบทความทางวิชาการโดยการนำเสนอต่อที่ประชุมสัมมนาก็ได้ แต่ต้องแนบรายงานการประชุมทางวิชาการที่มีเนื้อเรื่องสมบูรณ์มาประกอบการพิจารณาด้วย ( สำหรับงานวิจัยที่ยาวมากก็อาจจะพิมพ์เผยแพร่โดยหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวงวิชาชีพที่เชื่อถือได้ในสาขานั้นๆ หากไม่สามารถพิมพ์เผยแพร่ได้ทั้งฉบับก็ให้พิมพ์ในรูปของรายงานฉบับย่อที่มีสาระสำคัญครบถ้วน (ไม่ใช่บทคัดย่อ) ลงในวารสารหรือรายงานการประชุมวิชาการที่เชื่อถือได้หรือเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพสาขานั้น
ส่วนประกอบของเอกสารประกอบการสอน
1. ส่วนนำ
1.1 ปก หมายถึงหน้ากระดาษอย่างหนาที่จัดไว้เป็นหน้าแรก แสดงถึงข้อมูลเบื้องต้นของผู้เสนอเอกสารประกอบการสอน ได้แก่ ชื่อผู้จัดทำ ชื่อวิชา รหัส ภาคการศึกษา ปีการศึกษา สาขาวิชา
1.2 เอกสารรับรอง เป็นคำรับรองของผู้บังคับบัญชา ว่าผู้เสนอผลงานได้ทำการสอนในวิชาที่เสนอเอกสารประกอบการสอนจริง
1.3 คำนำ เป็นข้อความที่กล่าวนำให้ทราบความเป็นมาในการจัดทำเอกสารประกอบการสอน
1.4 สารบัญ หมายถึงบัญชีเอกสารต่าง ๆ เรียงลำดับตามที่ปรากฏในเอกสารประกอบการสอน และช่วยให้สะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการอ่าน
2. ส่วนแผนการสอน
2.1 กำหนดการสอน
2.2 แผนการสอนรายครั้ง
2.2.1 ชื่อวิชา รหัสวิชา ชั้นปีที่ ภาคการศึกษา ปีการศึกษา
2.2.2 ครั้งที่ ชื่อเรื่อง ระยะเวลา
2.2.3 วัตถุประสงค์
2.2.4 ชื่อหัวเรื่อง
2.2.5 เนื้อเรื่องโดยสรุป ควรประกอบด้วย การนำเข้าสู่บทเรียน เนื้อเรื่อง สรุปและเอกสารอ้างอิง
2.2.6 กิจกรรม และวิธีการสอน
2.2.7 สื่อการสอน
2.2.8 การประเมินผล
ตัวอย่าง ส่วนแผนการสอนรายครั้ง
1. ชื่อวิชา………………………………….รหัส………………………..ชั้นปีที่…………………
ประจำภาคการศึกษาที่……………………………ปีการศึกษา…………………………………
2. ครั้งที่ ………เรื่อง………………………………………………………ใช้เวลา………………
3. วัตถุประสงค์
3.1 ………………………………………………………………………………………
3.2 ………………………………………………………………………………………
4. ชื่อหัวเรื่อง
4.1 ………………………………………………………………………………………
4.2 ………………………………………………………………………………………
5. เนื้อเรื่องโดยสรุป
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
6. กิจกรรมและวิธีการสอน
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
7. สื่อการสอน
……………………………………………………………………………………………………
8. การประเมินผล
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
2.3 ส่วนท้าย
ประกอบด้วยหนังสืออ้างอิงที่ใช้ในวิชา ภาคผนวก และอื่น
แบบประเมินคุณภาพตำรา หรือเอกสารประกอบการสอน
ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป
1. ชื่อตำรา/เอกสารประกอบการสอน ..................
2. ชื่อผู้แต่ง ...................
3. วิชา ................ หลักสูตร ........................
4. วันที่ ......................... ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา .............................
ส่วนที่ 2 : คุณภาพ
1. รูปแบบของเอกสาร
2. เนื้องหา
2.1 การเรียงลำดับในเอกสาร
2.2 ความถูกต้อง
2.3 ความทันสมัย
2.4 ความชัดเจนตรงประเด็น
2.5 ความง่ายต่อการทำความเข้าใจ 3. การใช้ภาษา 4. ความสอดคล้องกับหลักสูตร 5. นวัตกรรมทางวิชาการ 6. การอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลภายนอก ส่วนที่ 3 : ข้อเสนอแนะ ....................
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223