ฟังจูดี้เล่าเรื่องคุณพ่อขายาว
เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ช่วงนี้ ผมมีโอกาสย้อนวัย
ฝึกฟัง #listen หลับตา มโนภาพขึ้นมา
กลับไปฟังหนังสือเสียงแบบเด็ก
เพราะผู้ใหญ่ก็คงฟังกันมาหมดแล้ว
ฟังแล้ว ชอบวิถีชีวิตของจูดี้จัง
.
ตอนที่เธอมีโอกาสออกจากบ้าน
และเลือกว่าจะเรียนหนังสือในวิทยาลัย
หรือออกไปทำงานเลี้ยงตนเอง
ใช้ชีวิตอิสระนอกบ้าน
เธอเลือกที่จะเรียนตามโอกาสที่ได้รับ
เข้าสู่ระบบการศึกษา #education
คุณพ่อเลือกให้เธอเรียนภาษา
มุ่งสู่การเป็นเป็นนักเขียนในที่สุด
เพราะเห็นว่าเธอน่าจะเหมาะ
.
เธอเล่าเรื่องสมัยเรียนได้สนุกจัง
แต่เน้นที่การใช้ชีวิตตอนเรียน
ว่าพบเพื่อนใหม่ การเดินทาง
ตกเลข เล่นกีฬา ช้อปปิ้ง เจอหนุ่ม ๆ
และใช้ชีวิตฤดูร้อนในฟาร์ม
.
รูปแบบการเล่าก็เป็นจดหมาย
ที่คุณพ่อเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์
ให้เธอเขียนเล่าเรื่อง
แต่คุณพ่อไม่ตอบจดหมายนะ
เธอก็ไม่ชอบที่เขียนแล้วไม่มีคนตอบ
แต่นั่นก็เป็นการฝึกให้เธอเป็นนักเขียน
.
เรื่องของคุณพ่อก็น่าสนใจ
เธอเล่าเรื่องให้คุณพ่อขายาวฟังหมด
มาสนุกตื่นเต้น
ก็วันที่จูดี้ได้พบคุณพ่อนี่หละ
เป็นการจบเรื่องเล่าที่ลงตัวสุดล่ะ
แบบสุขปนเศร้าแบบนั้นเลย
ชีวิตก็เป็นแบบนี้
.
แอบคิดตอนนอนฟังหนังสือเสียง
ว่า ถ้าจูดี้ไม่เลือกเรียน
แล้วไปใช้ชีวิตในโลกกว้างเอง
เธอคงได้ประสบการณ์ที่ต่างออกไป
แล้วเส้นทางชีวิตของเธอ
จะออกไปในแนวไหนกัน ไม่รู้เหมือนกัน
.
Tag Archives: story telling
ประชุมถอดบทเรียนกลไกพะเยาระยะที่ 1 และเตรียมเดินหน้าระยะที่ 2 กับทีมกศน.พะเยา และ ว.พยาบาล
สกว.ลำปาง พาทีม ม.ลำปาง ไปประชุมร่วมกับทีมกลไกพะเยา
เมื่อ 18 ต.ค.59 ที่วิทยาลัยพยาบาลพะเยา ร่วมกับ กศน.พะเยา
กลับมาแล้วเห็นความเคลื่อนไหวว่า คุณภัทรา มาน้อย
แชร์งานเขียนของน้องนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สกว.ลำปาง
นางสาวชรินทิพย์ เชื้อเตจ๊ะ ได้ถอดบทเรียนจากการร่วมเวที
ในรูปของการเขียนแบบเรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling)
ไว้ดังนี้
สรุปบทเรียนเส้นทางการติดตามของ Node สกว.ลำปาง และทีมพี่เลี้ยงกลไกจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม 2559
#บทเรียนแรก เวทีประชุมหารือแผนการดำเนินงานระยะที่ 2 ภายใต้โครงการ การพัฒนากลไกสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี พะเยา
จากการหารือและร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความเห็น ทำให้กระบวนดังกล่าว นำไปสู่ผลลัพธ์การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้งานพัฒนาโจทย์และงานติดตามของพี่เลี้ยงกลไก พร้อมทั้งได้รูปแบบการดำเนินปี 60 และรูปแบบการติดต่อประสานงาน รวมถึงการบริหารจัดการภายในทีม ให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
#บทเรียนที่สอง เวทีติดตามงานสันหนองเหนียว ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา คืนวันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นการทบทวนสถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน โดยมีทีมครูกศน.เมือง กศน.จังหวัด และทีมสกว.ลำปาง
จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ทีมครูกศน.ได้ข้อมูลที่เป็น #ข้อมูลเชิงประจักษ์ และ #ได้แนวทางการฟื้นฟูประมงพื้นบ้าน ผ่านการระดมความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างคนในชุมชนและทีมครูกศน.เมืองและจังหวัด ขยายผลสู่การขับเคลื่อนและทิศทางการฟื้นฟูประมงต่อไป
#บทเรียนที่สาม เวทีติดตามงานบ้านต๋อมดง อ.เมือง จ.พะเยา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2559
รูปแบบการจัดกระบวนการดังกล่าว มีนักศึกษาจาก วพบ. มาร่วมดำเนินเวที โดยมีทีมพี่เลี้ยงกลไก วพบ.เป็นผู้ดูแล เวทีดังกล่าวเป็น การชวนคนในชุมชนร่วมพูดคุยถึง แหล่งที่มาของขยะ และประเภทของขยะที่มีอยู่ในชุมชน โดยใช้เครื่องมือ #แผนที่ขยะ #ปฎิทินขยะ #โอ่งขยะ เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักคิดและรู้ถึงแหล่งที่มาของขยะ นำไปสู่วิธีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
#บทเรียนที่สี่ บทเรียนจากพื้นที่บ้านแม่จั๊วะ อ.ปง จ.พะเยา เมื่อเย็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทีมครูกศน.ปงและชุมชนร่วมกันค้นหาสาเหตุ จนกระทั่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องระบบการจัดการน้ำ #โดยใช้เครื่องตะบันน้ำ เป็นกลไกในการกระจายน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้ง หญิงและชาย
… กลไกการขับเคลื่อนงานที่ดีที่สุดไม่ใช่เทคโนโลยีหรือเครื่องมือ #แต่เป็นกำลังคนต่างหากที่เป็นแรงพลักให้เกิดงาน โดยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น
#งานสร้างคน #คนสร้างงาน
https://www.facebook.com/groups/318171165053323/permalink/513338725536565/