Tag Archives: service

โรงเรียนผู้สูงอายุ กับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย

หนึ่งในหกกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว พ.ค.2565

อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ พร้อมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น นำนิสิตสาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ ออกให้บริการวิชาการแก่นักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมี นายพิตินันท์ ผึ้งต้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งวัน โดยการกำกับดูแลสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และนายสุกฤษฎิ์ สุคำอ้าย ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหัวข้อ ผู้สูงอายุกับการเดินทางยุคโควิด-19 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเชิงบูรณาการกับคณะวิชาต่าง ๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัส การล้างมือสู้โรค การเดินทางโดยเครื่องบิน กิจกรรมยืดเหยียด และการดูแลช่องปาก และการขายผลิตภัณฑ์สู่การตลาดออนไลน์ใน Platform ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ

ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการประสานกับผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการ จาก คุณพิเชษฐ์ จริยงามวงค์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายนวพล จะงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดโครงการ กล่าวขอบคุณในพิธีปิดโครงการ และมอบเกียรติบัตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวเปิดโครงการเวลา 9.00น. กล่าวปิดโครงการในเวลา 15.30น. และมอบเกียรติบัตร

คุยกับผู้สูงอายุและอสม. เรื่องโครงการของบกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ภาพกว้าง ๆ ของที่ประชุม

ภาพกว้าง ๆ ของที่ประชุม

9 ก.พ.58 อ.เบญฯ ชวนไปคุยกับคุณกา น้องต๋อม พี่แดง กับพี่อุบล บ้านหน้าค่าย
ที่เทศบาลฯ ตั้งแต่บ่ายสองถึงสี่โมง เรื่องจะพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพของชุมชนอย่างไร
ที่ตอบความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
เริ่มต้นด้วยการที่ อ.เบญฯ ยกร่างโครงการว่าเราจะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ที่อสม.เก็บได้
มาพัฒนาต่อยอด จัด focus group วิเคราะห์ และพัฒนาเป็นสารสนเทศที่ใช้งานได้
แต่ปัญหาคือมีข้อมูลหลายชุด คือ
1. เก็บข้อมูล จปฐ. โดยอสม. แต่กำหนดส่ง 10 และ 15 ก.พ.58 ให้หน่วยเหนือแล้ว
จะนำมาใช้ก็คงไม่ทันอนุมัติโครงการ และข้อมูลใน จปฐ. ก็มีที่นำมาใช้ได้บางส่วน
2. เริ่มเก็บข้อมูลกับใหม่โดยใช้ฟอร์ม TCNAP (Thailand Community Network Appraisal Program)
แต่แบบฟอร์มมีความละเอียด สมบูรณ์ และมีกระบวนการหลายขั้นตอน
ซึ่งการเข้าเก็บข้อมูลในชุมชนซ้ำ ๆ แบบนี้ อาจทำให้ชุมชนบอบช้ำได้
3. ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลมือ 2 ที่ อสม. หรือผู้สูงอายุ มีอยู่แล้ว
แต่นำข้อมูลมาผ่านกระบวนการ ปรับปรุง เพิ่มเติม วิเคราะห์ กลั่นกรอง
หรือร่วมกับ Focus Group แล้วได้ชุดข้อมูลใหม่
ที่นำไปสู่การพัฒนาโครงการ ที่ตอบความต้องการของชุมชน
ที่รองรับคน 3 วัย คือ วัยสูงอายุ วัยทำงาน และวัยเรียน

สรุปว่าวันนี้ไปพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อน
เตรียมสนับสนุนการเขียนโครงการ
โดยปกติมักดำเนินการโดยคนในชุมชน เป็นงานของชุมชน เพื่อชุมชน
หากมหาวิทยาลัยจะเข้าไปช่วยเขียนโครงการก็สามารถทำได้
แต่ถ้าเป็นเจ้าของโครงการ จะไม่สามารถเบิกค่าวิทยากรให้กับตนเองได้
ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ มีเฉพาะค่าอาหารว่าง กับอาหารกลางวัน .. ประมาณนั้น

คุณอุบล คุณแดง และคุณต๋อม

คุณอุบล คุณแดง และคุณต๋อม

อ.เบญ กับ คุณกา

อ.เบญ กับ คุณกา