Tag Archives: relation

กีฬาบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดลำปาง

กีฬาบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดลำปาง อ.พ.ร.สัมพันธ์ 2566

ทุกปีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน ด้วยการจัดกิจกรรม “การแข่งขันกีฬาบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดลำปาง” ในชื่อ อ.พ.ร.สัมพันธ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดลำปาง ได้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย มีกิจกรรมทางกายที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกาย และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง 17 สถาบัน ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำวิทยาเขตลำปาง 2) โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง 3) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 4) มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 5) มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง 6) วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 7) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง 8) วิทยาลัยเทคนิคลำปาง 9) วิทยาลัยการอาชีพเถิน 10) วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม 11) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเถินเทคโนโลยี 12) วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง 13) วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง 14) วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง และ 15) วิทยาลัยเทคนิค กฟผ.แม่เมาะ 16) สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และ 17) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โดยในปี พ.ศ. 2566 จัดงานขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ได้จัดการแข่งขันกีฬาสากล ประกอบด้วย การแข่งขัน 1) แบดมินตัน 2) เปตอง 3) เทเบิลเทนนิส 4) ฟุตบอล 7 คน 5) วอลเลย์บอล 6) แชร์บอล 7) เซปักตะกร้อ 8) ปาเป้า 9) ชู๊ตบาสผู้บริหาร ส่วนกีฬามหาสนุก ประกอบด้วย 1) โบลิ่งมหาสนุก 2) กระโดดเชือก 3) ท่อน้ำเลี้ยง 4) อาละดิน 5) บับเบิ้ลโกล 6) เต๋าเฮฮา 7) ปอบจับ 8) เต๋าเฮอริเคน และ 9) ชีวิตสู้กลับ สำหรับกิจกรรมในภาคค่ำ ราตรีสัมพันธ์ มีการมอบรางวัลและพิธีปิดการแข่งขัน โดยส่งมอบธงกีฬา อพร.สัมพันธ์ แก่มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมในปีต่อไป

รวมภาพโลโก้ของ 17 สถาบัน
https://www.thaiall.com/lovelampang/logo/
อัลบั้ม 266 ภาพ

คลังภาพ 266 ภาพ album

เขียนข่าวโดย : จารุวรรณ สุยะ https://lpc.rmutl.ac.th/news/21250

http://www.thaiall.com/weblampang

กีฬาปาเป้า (Darts)
กีฬากระโดด (Jumper)

มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
https://web.facebook.com/prlpru2015/posts/pfbid0GGUbLkGBS53DXtNZ9jcZSkwmXz4nuTz2moZFiATBGGV1As9drzUR8oDPNHT5Vfdul

กำหนดการ อ.พ.ร.สัมพันธ์
กำหนดการ อ.พ.ร.สัมพันธ์

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

ท่องเที่ยว ลำปาง

ท่องเที่ยว ลำปาง

14 ก.ย.55 อ.ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และ อ.แดน กุลรูป ทำงานร่วมกับ ทีมงานวิจัย 14 ท่าน ผู้ช่วยวิจัยอีก 6 ท่าน และนักศึกษาช่วยงาน รวมกว่าีอีก 50 ชีวิต จัดสัมมนา เรื่อง “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง” ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด  ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วยบุคคลจากหน่วยงาน สถานศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในจังหวัดลำปาง วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง .. ความสำเร็จในการสัมมนาเกิดจาก เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทีม และภาคีเครือข่าย

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)

ในคลิ๊ปนี้มีบรรยากาศในการประชุม เมื่อวันที่ 14 ก.ย.55

จากเอกสารประกอบการประชุม พบว่า  แผนงานวิจัยเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอัตลักษณ์ชุมชนลำปาง มีหัวหน้าแผนงานวิจัยคือ ดร.ศรีศุกร์  นิลกรรณ์ และมีโครงการวิจัยย่อย จำนวน 6 โครงการได้แก่
1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์ มีนักวิจัยคือ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และคุณทักษิณ  อัครวิชัย รองปลัด อบจ.ลำปาง
2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง อ.ทิวากรณ์ กองแก้ว และอ.ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด สถาบันราชภัฎอยุธยา
3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ อ.วราภรณ์ เรืองยศ และคุณสาวิตรี  ศรีธนวิบุญชัย นักวิชาการที่ดิน กทม.
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ ดร.สุจิรา หาผล ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และอ.เกศินีย์ สัตตรัตนขจร
5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ ผศ.ดร.จักรกฤษณ์  สำราญใจ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และนายจิรพิพัฒน์ สิงห์สอน
6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษาฐกิจอาเซียน นักวิจัยคือ อ.ชินพันธุ์ โรจนไพบูลย์ และอ.นงลักษณ์ สุวรรณวิชิตกุล