Tag Archives: Philosopher

สี่ปราชญ์ให้โอวาทบัณฑิต

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง

21 ธ.ค.55 มีโอกาสฟังผู้ใหญ่ในพิธีประสาทปริญญาบัตร ซึ่งเป็นที่ประชุมอันทรงเกียรติที่เรายกย่องให้พวกท่านเป็นปราชญ์ผู้มาให้โอวาทแก่บัณฑิต และมหาบัณฑิต ณ อัฒจรรย์กลางแจ้ง มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง (ประสาทปริญญาบัตรกลางแจ้งแห่งเดียวในประเทศไทย) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธาน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี มากล่าวสุนทรพจน์ คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ซึ่งขอเรียบเรียงโอวาทของทั้งสี่ปราชญ์ไว้ดังนี้

1. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี
ให้ข้อคิดไว้ 3 เรื่อง
เรื่องแรก  บัณฑิตต้องเป็นผู้เรียนรู้
แล้วได้เล่านิทานธรรมเรื่อง “พระพุทธทาส” ที่ทั้งโลกยอมรับท่านเป็นปราชญ์
ครั้งหนึ่งศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เคยเข้าไปนมัสการพระพุทธทาส
แล้วก็พบว่าในห้องนอนของท่านมีเพียงหมอนไม้ กับหนังสือภาษาอังกฤษ
รวมถึงหนังสือ top seller ที่พึ่งเปิดตัวในต่างประเทศก็อยู่ในห้องท่าน
เป็นที่ชัดเจนว่าท่านเป็นผู้อ่านที่รักการเรียนรู้อย่างแท้จริง
อ่านหนังสือต่างประเทศที่สั่งซื้อเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเอง แม้สำเร็จการศึกษาไม่สูงนัก ฐานะยากจน
แต่ก็ไม่จนความพยายาม ความรู้แสวงหาได้ตลอดเวลา และการเรียนรู้นั้นสำคัญกว่าวุฒิบัตร หรือปริญญาใด ๆ
จนท่านเป็นบุคคลที่ยอมรับในระดับโลกเพียงหนึ่งเดียวของไทย ที่เทียบเท่าปราชญ์ระดับโลก
เรื่องที่สอง ทางเลือกในปัญหาใด ๆ มากกว่า 3 ทางเสมอ
แล้วได้เล่านิทานธรรมเรื่อง สุนัขดุกับขนมปัง ที่พบกันก็มักจะเห่าและแฮ่ใส่กัน
เมื่อทดลองทางเลือกอื่นแทนที่จะเห่าใส่กันก็ใช้ไม้แข็ง พอไม่ได้ผล ก็ใช้ขนมปังเป็นเหยื่อล่อ
จนสุนัขหันกลับมาส่ายหางแทนการเห่าในที่สุดก็ เพราะขนมปังนั่นเอง
เรื่องที่สาม อย่าด่วนตัดสินอะไร เพราะสิ่งที่เห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เห็น
แล้วได้เล่านิทานธรรมเรื่อง คุ๊กกี้ที่ถูกหยิบ โดยคุณผู้หญิงซื้อคุกกี้มาแล้วก็มีหนุ่มมานั่งใกล้
ต่อมาขนมคุ๊กกี้ออกมาอยู่นอกกระเป๋า
แล้วชายหนุ่มก็หยิบกินหน้าตาเฉย คุณผู้หญิงโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงแต่ไม่ได้พูดอะไร ต่างคนต่างหยิบ
พอกลับถึงบ้านก็พบว่าคุ๊กกี้ของตนอยู่ในกระเป๋ายังไม่ถูกแกะ แสดงว่าคุ๊กกี้ที่อยู่นอกกระเป๋าแล้วตนหยิบกินนั้น
เป็นของชายหนุ่มที่ซื้อมาจากร้านเดียวกัน หีบห่อจึงเหมือนกัน
แต่ก่อนหน้านี้ตัดสินไปแล้วว่าชายหนุ่มเป็นจำเลย

2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
ได้เรียบเรียงข้อคิด ดังนี้
พิธีนี้ฝรั่งเรียกว่า Commencement ซึ่งหมายถึงการเริ่มต้นรับผิดชอบ และอาจแบ่งการรับผิดชอบ เป็น 4 ระดับ คือ 1. รับผิดชอบตนเอง ก็คงต้องหางานเลี้ยงตัวเอง มิใช่ให้พ่อแม่เลี้ยงเหมือนแต่ก่อน 2. ครอบครัว 3. งาน 4. สังคม
แล้วท่านขยายความเรื่องรับผิดชอบครอบครัวไว้ว่า ต้องอย่าตระหนี่กับบุพการี
เพราะเราทำอย่างไรกับพ่อแม่ของเรา ลูกของเราก็จะทำอย่างนั้นกับเรา ถ้ากตัญญูกับท่านอีกหน่อยลูกเราก็จะกตัญญูกับเรา
การใช้จ่ายกับพ่อแม่นั้นอย่าตระหนี่ให้เท่าไรเท่ากัน แต่กับตนเองนั้นตระหนี่บ้างก็ได้
แล้วท่ายกตัวอย่าง ลูกหมูที่หลบเข้าอเมริกา ซึ่งหมายถึงคนจีนที่หลบเข้าเมือง เหมือนคนจีนที่เข้าไทยเมื่อศตวรรษที่ผ่านมาว่า
พวกเขาสำเร็จด้วย 3 คำ คือ 1. ขยัน 2.อดทน 3. โอกาส
โดยเฉพาะคำว่า โอกาสนั้นต้องไม่นั่งรอให้ราชรถเข้ามาเกย ต้องทำงานให้หนัก
เหมือนมีราชรถอยู่ที่ไหนก็ต้องวิ่งเข้าไปชน แล้วจะก้าวได้เร็วกว่าคนที่เช้าชามเย็นชาม

3. คุณสุทธิชัย หยุ่น
มีหลายเรื่องครั้งที่ท่านให้ไว้ในพิธีสวมฮูดและรำลึกความเป็นบัณฑิต
เรื่องหนึ่งคือ ครั้งหนึ่งมีคนถาม bill gates ว่าคุณเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ
เป็นคนที่รวยที่สุดในโลกได้อย่างไร โดยไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการทิ้งการศึกษาไป
แล้วผู้ถามควรทิ้งการศึกษาไปทำธุรกิจ เจริญรอยตาม bill gates หรือ steve jobs หรือไม่
แล้ว bill gates ก็ตอบว่า ถ้าคุณยังมีคำถามอย่างนี้อยู่ก็จงเรียนต่อไป
นั่นหมายความว่า การศึกษามีสำหรับผู้ที่ต้องการ schooling แต่เขาออกจากการเรียนในห้องเรียน
ไปเรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียน ใบปริญญามีความหมายสำหรับสมัครงาน
แต่ใบปริญญาจะไม่มีความหมายสำหรับผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
ถ้าคิดว่าตนเองยังจำเป็นต้องเรียนภายใต้ schooling ก็จงเรียนต่อไป

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
ท่านกำชับบัณฑิตเรื่องอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ไว้เสมอ ดังนี้
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย (Uniqueness)
– เรียนกับมืออาชีพ
– บัณฑิตจิตอาสา
อัตลักษณ์ (Identity)
– ทักษะอาชีพ (Professional Skill)
– ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)
– ทักษะภาษาอังกฤษ (English Skill)
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

 

สูจิบัตรที่มีชื่อบัณฑิต และมหาบัณฑิตทุกท่าน
ที่ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564677650213037.139683.506818005999002