Tag Archives: network

9 ปี เครือข่ายด้านสุขภาพที่ลำปาง ผ่านคลิ๊ป ชัดเลย

9 ปี สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

9 ปี สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

มีโอกาสชมคลิ๊ปมา เห็นว่า ที่จังหวัดลำปางมี สมัชชาสุขภาพลำปาง ตั้งแต่ปี 2544 เป็นการรวมตัวของฝ่ายการเมือง ราชการ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เป็นทีมเลขานุการ แล้วปี 2555 ได้ปรับโครงสร้าง โดยใช้สามเหลี่ยมเขยื่อนภูเขา โดยการรวมตัวกันของ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ โดยมีภาคประชาสัมคมเป็นทีมเลขาการกิจถึงปัจจุบัน
และในวันที่ 17 ธันวาคม 2559 ได้มีการประชุมสมัชชาสุขภาพลำปาง ครั้งที่ 4 ที่ห้องประชุม ใน องค์การบริหารส่วนจังหวัด
แล้วนำเสนอคลิ๊ปในการประชุมครั้งนั้น
ดังนี้

9 ปีสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

 

ที่ผ่านมามีประเด็นที่ขับเคลื่อนทั้งสิ้น 9 ประเด็น
ปี 2556
1. การพัฒนาสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัดลำปาง
2. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง
3. ความมั่นคง ความปลอดภัยด้านอาหารจังหวัดลำปาง
ปี 2557
4. การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกัน
แก้ปัญหายาเสพติดในเด็ก เยาวชนจังหวัดลำปาง
5. การส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยจังหวัดลำปาง
6. กลไกบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์จังหวัดลำปาง
7. การกำหนดมาตรการพึ่งตนเองตามแนววิถีธรรม วิถีไทย
8. สุขภาวะชาวนาจังหวัดลำปาง
ปี 2558
9. มติที่ 1 การจัดการบูรณาการรองรับสังคมผู้สูงอายุและคนพิการจังหวัดลำปาง
mou ที่ 1 การบูรณาการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่าในพื้นที่ปฏิบัติการจังหวัดลำปาง
มติที่ 2/56 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง
2 การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง
ขับเคลื่อนมติที่ 1/56 เด็ก เยาวชนและครอบครัวจังหวัดลำปาง
และมติที่ 1/57 การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันเด็ก เยาวชนจังหวัดลำปาง

ประเด็นที่ 1 การจัดการน้ำสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=Y6SLvlyeSaY&t=6s
ประเด็นที่ 2 การจัดการภาวะน้ำหนกเกินในเด็กประถมศึกษาจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=5OgzUez7tTU
ประเด็นที่ 3 การจัดการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัวสู่สุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=HJxXX9e-oAs
ประเด็นที่ 4 การส่งเสริมถนนปลอดภัย จังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=0DwvIQv_NsE
สัมภาษณ์ คณะอนุกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง

https://www.youtube.com/watch?v=-1bA93PBDWc

จัดทำคลิ๊ปโดย สราวุธ เบี้ยจรัส
https://www.facebook.com/srawut.biajaras
คลิ๊ปเสียงจากการประชุมเสวนาบนเวที เรื่อง 9 ปี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ : เดินไปข้างหน้ากับอปท.ยุค 4.0 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559
http://www.4shared.com/mp3/_YAF6Iq3ce/health20161217100107.html

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

ท่องเที่ยว ลำปาง

ท่องเที่ยว ลำปาง

14 ก.ย.55 อ.ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และ อ.แดน กุลรูป ทำงานร่วมกับ ทีมงานวิจัย 14 ท่าน ผู้ช่วยวิจัยอีก 6 ท่าน และนักศึกษาช่วยงาน รวมกว่าีอีก 50 ชีวิต จัดสัมมนา เรื่อง “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง” ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด  ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วยบุคคลจากหน่วยงาน สถานศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในจังหวัดลำปาง วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง .. ความสำเร็จในการสัมมนาเกิดจาก เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทีม และภาคีเครือข่าย

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)

ในคลิ๊ปนี้มีบรรยากาศในการประชุม เมื่อวันที่ 14 ก.ย.55

จากเอกสารประกอบการประชุม พบว่า  แผนงานวิจัยเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอัตลักษณ์ชุมชนลำปาง มีหัวหน้าแผนงานวิจัยคือ ดร.ศรีศุกร์  นิลกรรณ์ และมีโครงการวิจัยย่อย จำนวน 6 โครงการได้แก่
1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์ มีนักวิจัยคือ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และคุณทักษิณ  อัครวิชัย รองปลัด อบจ.ลำปาง
2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง อ.ทิวากรณ์ กองแก้ว และอ.ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด สถาบันราชภัฎอยุธยา
3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ อ.วราภรณ์ เรืองยศ และคุณสาวิตรี  ศรีธนวิบุญชัย นักวิชาการที่ดิน กทม.
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ ดร.สุจิรา หาผล ดร.พรธาดา สุวัธนวนิช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และอ.เกศินีย์ สัตตรัตนขจร
5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง นักวิจัยคือ ผศ.ดร.จักรกฤษณ์  สำราญใจ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ และนายจิรพิพัฒน์ สิงห์สอน
6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษาฐกิจอาเซียน นักวิจัยคือ อ.ชินพันธุ์ โรจนไพบูลย์ และอ.นงลักษณ์ สุวรรณวิชิตกุล

 

 

การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

15 ส.ค.55 ได้อ่านบทความวิชาการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม : หลักการและประสบการณ์จากโครงการสถาบันการศึกษาลำปางEstablishment of a network to promote university social responsibility : Concept and experience from Lampang’s academic institutional project จากโครงการวิจัย “แนวทางการทำงานเครือข่ายสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ เพื่อให้ได้รูปแบบ/แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

หากจะสรุปวัตถุประสงค์ สามารถสรุปได้ 3 คำหลัก คือ 1) แนวทางที่สถาบันทำงานร่วมกัน (work together) 2) แนวทางเรียนรู้ชุมชน (learn community) 3) แนวทางการเชื่อมสถาบันกับชุมชน (work with community)

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ 1) การทำงานเป็นภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตรระหว่างสถาบันการศึกษา ด้วยพลังจิตอาสา และนำความเข้มแข็ง ทางวิชาการของสถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันมาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อชุมชน 2) การเรียนรู้ชุมชนโดยอาศัยพลังเครือข่ายกัลยาณมิตร เคลื่อนงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ชุมชน 3) แต่ละสถาบันนำความรู้ในศาสตร์ของตน และนำนักศึกษามาร่วมเรียนรู้ บนฐานคิดที่ว่างานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม

องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ คือ  1) เรียนรู้วิถีชุมชน ผ่าน group discussion และ swot analysis ในประเด็น การศึกษา การเกษตร อาชีพ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนาขั้นตอนการวางแผน และประสานร่วมแรงร่วมใจ

การทำงานก่อให้เกิด คือ 1) ประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ 2) ขยายเครือข่ายงานวิจัยในสถาบันของตน 3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

บทเรียนของภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตร มีดังนี้ 1) ตระหนักในจิตอาสาต่อพื้นที่ชุมชนจังหวัดลำปาง และจิตอาสาต่อพื้นที่การทำงานวิจัย 2) ตระหนักในองค์ความรู้ทางวิชาการของสถาบันที่มีอยู่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3) มีประสบการณ์ร่วมกันในการทำวิจัยเชิงพื้นที่ร่วมกัน 4) รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องร่วมกัน 5) ความเข้าใจในความเชี่ยวชาญของนักวิชาการที่ทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดคุณค่าตามมา 5.1) เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบัน 5.2) ขยายงานวิจัยในองค์กรของตน 5.3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างสถาบัน

บทเรียนใน 6 เดือนแรกช่วงเรียนรู้และหาโจทย์วิจัยกับพื้นที่ คือ
1) ชุมชนสามารถนำเสนอข้อมูลและองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) สร้างบรรยาการร่วมกันในการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเป็นสุข
3) การลงพื้นที่ทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย
4) ภาคีเครือข่ายควรมีแนวทางกระตุ้นให้ชุมชนมีทักษะในการเรียนรู้ปัญหาและช่วยเหลือตนเอง

มีประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่
– บทเรียนการเคลื่อนงานวิจัยท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค
– การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150751001108895.424758.814248894

ประชุมผู้ปกครอง บว.

เครือข่ายผู้ปกครอง

เครือข่ายผู้ปกครอง

19 มี.ค.55 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ให้ความสำคัญกับ stakeholder โดยเฉพาะผู้ปกครองของนักเรียนกว่า 792 คนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปีการศึกษา 2554 จากการร่วมงานประชุมผู้ปกครอง พบว่ามีการนำเสนอ อัตลักษณ์ (identity) อย่างชัดเจน คือ “รักการทำดี วิชาการมาตรฐานสากล สร้างคนป็นผู้นำ” และมีการวางระบบในการดำเนินการกับผู้ปกครอง สร้างกลไกให้เกิดขับเคลื่อนโรงเรียนได้อย่างชัดเจน

โรงเรียนให้ความสำคัญ ต่อ บทบาทของผู้ปกครอง คือ ให้แต่ละห้องเรียนคัดเลือก เครือข่ายผู้ปกครองแต่ละห้องเรียน มาห้องละ 5 คน นำทั้ง 16 ห้องมารวมกัน คัดเลือกเป็นเครือข่ายผู้ปกครองระดับชั้นได้ 5 คน แล้วนำไปคัดเลือกเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน .. ผู้ปกครองที่เห็นความสำคัญของบทบาทนี้ และคิดว่าจะเข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งต่อตัวนักเรียน และโรงเรียนก็จะอาสาเข้าไปเป็นเครือข่าย และร่วมกันระดมสมองในการพัฒนาโรงเรียน เป็นอีกกลไกหนึ่งของ stakeholder ที่เข้มแข็ง

บล็อกของลำปางดอทเน็ต (blog of lampang.net)

lampang.net move forwarding

lampang.net move forwarding

7 ม.ค.55 เริ่มต้นใหม่กับ lampang.net โดยการย้าย Forwarding with masking ที่เดิมชี้ไป http://www.thaiall.com/lampang แล้วเปลี่ยนให้ชี้ไป http://www.thaiabc.com/lampangnet โดยข้อมูลใน url เดิมมิได้มีปัญหาอะไร แต่เปลี่ยนแนวการพัฒนาจาก one webpage ไปเป็น personal blog ซึ่งผมใช้แนว one webpage (dynamic) มาตั้งแต่ 1998 – 2010 แล้วผมไปกู้โดเมนมาเป็นของตนเอง ก็ยังปล่อยให้เป็น one webpage (dynamic) ตลอด 1 ปีเต็ม จนกระทั่งวันนี้ ใช้บริการ wordpress application ของ windows server of godaddy.com แล้ว post เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก หลังติดตั้ง และเปลี่ยน forwarding ส่วนเนื้อหาเดิม และข้อมูลต่าง ๆ ก็คงทะยอยเข้ามาในระบบของ blog

สิ่งที่แก้ไขเป็นสิ่งแรก ใน Blog Settings คือ Permalink Settings เพราะต้องการให้เข้าถึงแต่ละ post ผ่าน url ที่เป็น Permanent link มิใช่ผ่านการส่งค่าผ่าน get ซึ่งบาง social network ไม่รับ url ทีี่ต้องกำหนด ?

คงต้องกล่าวว่า “สวัสดีชาวโลก”
จาก เว็บมาสเตอร์ลำปางดอทเน็ต

http://www.thaiall.com/lampang