Tag Archives: magazine

ไปตัดผมทีไร นั่งอ่านนิตยสารทุกที

Nim magazine

Nim magazine

วันนี้ไปนั่งรอตัดผมที่กาดเกาะคา
อยู่ในซอยหน้าตลาด เข้าไปราว 10 เมตร
ไปถึงก็นั่งรอ และได้อ่าน NIM Magazine
ปีที่ 15 ฉบับ เมษายน 2559
พบ คอลัม พนักงานเล่าสู่กันฟัง
ชอบคำว่า “เวลาเจอปัญหา
ให้บอกกับตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญา”
เขียนโดย คุณสรินยา หล้าติ๊บ
ถือว่าเป็นการจัดการความรู้ (KM) ที่แชร์ออกสื่อ
เชื่อได้ว่าในองค์กรนี้
ต้องมีการจัดการความรู้หลายระดับ
เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคคล (PKM)
หน่วยงาน สาขา และบริษัทเป็นลำดับ
ที่เห็นคือนิตยสารของบริษัท
ที่ถือเป็น CSR (Corporate Social Responsibility) ขององค์กร
นิตยสารมีการแจกทั่วไป (Free copy)
ผมเห็นทั้งที่ร้านอาหาร และร้านตัดผม
เห็นทีไรก็อ่าน และอยากหยิบมาเขียน blog ทุกที

http://www.thaiall.com/communication/news.htm

สรุปว่า ค่าหัวผม รองทรง 60 บาทครับ
พร้อมนิตยสารอ่านฟรีระหว่างรอคิว (Queue)

การศึกษาไทย กับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

 

chiangmai mag : education in 21st century skills

chiangmai mag : education in 21st century skills

คริสต์ศตวรรษที่ 21 ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 2001-2100
http://www.p21.org/overview

critical thinking = การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการคิดเชิงวิพากษ์

3 ส.ค.55 ไปซื้อกาแฟแก้วหนึ่งที่ลำปางระหว่างรอหมอที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ควักแบ็งค์ 20 สองใบเตรียมจ่ายค่ากาแฟ ปกติผมก็ดื่มกาแฟกระป๋องนะครับ กระป๋องละ 10 บาท มาวันนี้เข้าร้านกาแฟ กะว่า 40 บาทคงได้ทอนสัก 10 บาทเป็นแน่ แต่พอพนักงานรับตังไป เธอก็บอกผมว่า 45 บาทค่ะ ผมก็อึ้งเล็กน้อย ในใจลึก ๆ นึกว่า .. นี่ถ้าพกตังมา 40 บาท คงเสียศักดิ์ศรีของคนดื่มกาแฟแย่เลย (ผมมีอัตตาเหลืออยู่ในจิตสำนึกไม่น้อย) เพราะมีตังไม่พอจ่ายค่ากาแฟ 1 แก้ว ก็นึกขึ้นได้ว่าผมคงขาดทักษะในการเข้าร้านกาแฟแบบนี้ คงต้องหากาแฟกระป๋องในร้านสะดวกซื้อดื่มต่อไปซะแล้ว

ในระหว่างรอกาแฟ ก็อ่าน chiangmai mag หน้า 102 ฉบับที่เท่าไรไม่ทราบ แต่เป็นบทความเรื่อง “การศึกษาไทย กับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” เขียนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในบทความกล่าวถึงความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต ว่าต้องการบัณฑิตที่มีทักษะการทำงาน และทักษะชีวิตที่ดี ซึ่งรวมเป็นทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21

แล้วผมตั้งใจใช้ภาพนี้ เริ่มต้นในการสอนสำหรับ ศตวรรษที่ 21 ด้วย เพราะประทับใจคำว่า ผู้ใฝ่รู้ตลอดชีวิต (Life-long learners) เป็นคำถามที่น่าหาคำตอบนะครับ สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21
http://www.magazinechiangmai.com/cm-mag/?author=1
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496427
http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417
http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/
http://www.siamintelligence.com/education-reform-21-century/

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/mba/20120323/443450/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21.html

เราจะ “เรียน” และ “รู้” กันอย่างไรในศตวรรษที่ ๒๑