Tag Archives: lampang

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม
ตั้งอยู่บนถนนวังเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง
เข้าทางวัดประตูต้นผึ้ง หรือเข้าทางสะพานรัษฎาภิเศก
ซึ่งเป็นแนวกำแพงเพมืองเดิม บนถนนมีกู่เจ้าย่าสุตา
สันนิษฐานว่าเป็นซุ้มประตูโขงของวัดกากแก้วในอดีต
โดยเทศบาลนครลำปาง ได้เปิด “ถนนายวัฒนธรรม”
ซึ่งมีลักษณะเป็น “กาดหมั้วคัวแลง” สืบสานวิถีดั้งเดิม ทุกเย็นวันศุกร์ เวลา 16.00-21.00 น.
เริ่มกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถ้ามีแขกบ้านแขกเมืองมาเที่ยวลำปาง
ผมก็มักจะแนะนำว่าวันศุกร์มีที่เดินที่ยอดเยี่ยม
ทานข้าวแลงย้อนยุค ไปทีไรผมก็จะทานขนมจีนนั่งยอง
เดี๋ยวนี้มีอาหารหลากหลาย และหลายร้านให้เลือก
หากไปเป็นหมู่คณะ ติดต่อไปก่อนก็จะทานข้าวแบบขันโตก
พร้อมกับชมการแสดงบนเวทีไปด้วยได้เลย
การแสดงชมฟรี เพราะอยู่บนถนนระหว่างทางเดินจับจ่ายซื้อของ

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

สินค้าที่มาจำหน่ายมีมากมาย หลากหลาย และเปลี่ยนแม่ค้าอยู่เสมอ
– พืชผักปลอดสาร ต้นไม้
– อาหารพื้นเมือง ปลาปิ้ง หมูย่าง ทอดมัน ลูกชิ้นนึ่ง ต้มแกง น้ำพริกผักนึ่ง
– สินค้าย้อนยุค ของเก่า จักรสาน กรอบพระ แกะสลัก เครื่องเงิน
– เสื้อผ้า กางเกง รองเท้า ของใช้ทำมือ ทำจากไม้ ของที่ระลึก เซรามิค ของเล่น
– ขนมโบราณ ขนมเค้ก หมี่กรอบ ซูชิ นมแพะ ขนมปังสังขยา กาแฟเย็น

ระยะทางประมาณ 550 เมตร

ระยะทางประมาณ 550 เมตร

แหล่งอ้างอิง – [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559]
เฟสบุ๊คหลัก ของ ถนนสายวัฒนธรรม ท่ามะโอ ลำปาง
https://www.facebook.com/culturalroad.lp
เมืองรถม้าเตรียมเปิดถนนสายวัฒนธรรมรับเทศกาลท่องเที่ยว
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000144631
ประวัติความเป็นมา
https://www.facebook.com/notes/702568333129143/
REVIEW – กาดมั่วคัวแลง ลำปาง
http://zeekway.com/review-kad-mua-lang-lampang/
ถนนวัฒนธรรม-คนเดิน จ.ลำปาง
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=numthip25&month=02-2011&date=20&group=3&gblog=2
รู้จักลำปาง – กิน-เที่ยวตามแผนที่ลำปาง
http://www.lampangbrand.com/?page=lampang&cat_id=1&cat_name=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87&a_id=2
ทานข้าวเย็นเป็นขนมจีนน้ำยาป่า กับ น้ำเงี้ยว

ถนนสายวัฒนธรรม



คลิ๊ป แบบใช้ drone


บรรยากาศเมื่อ 4 ตุลาคม 2013


Triptravelgang


การแสดง “วิถีถิ่น วิถีกลอง วิถีชาวละกอน เทิดไท้องค์ราชันย์ ๘๙ พรรษา”
https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/vb.1516851828642525/1596857470641960/

NANAH – แสงสีเสียงเส้นทางถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ๒๙ พค ๕๘


บรรยากาศถนนวัฒนธรรม จ.ลำปาง

รักป่าที่น่าน และรักสนามบินที่ห้างฉัตร

สนับสนุนการมีสนามบินที่ห้างฉัตร

สนับสนุนการมีสนามบินที่ห้างฉัตร

นั่งคุยกับคนรู้จัก เสียงดังมากเลย สงสัยมั่นใจว่าคิดถูกล่ะ
บอกว่า ไม่อยากให้ที่จังหวัดน่านตัดไม้ทำลายป่าอีก
งดตัดไม้ทุกชนิด ให้คนที่บุกรุกย้ายออกให้หมด
ต่อไปให้ปลูกไม้ยืนต้นอย่างเดียว
รักป่า เพราะป่าทำให้ไม่แล้ง ให้ความชุมชื่น และเชื่อว่ามีคนทุจริตแน่เลย
พอมานั่งอ่านข่าว สนามบินที่ห้างฉัตร
ผมบอกว่านี่เขาจะถางป่า 3000 ไร่ ให้นกเหล็กบินขึ้นบินลง
พื้นที่ป่าจะหายไปเท่าไร กระทบอีกเท่าไร
หมู หมา กา ไก่ จะเดือดร้อนกันแค่ไหน
แหล่งน้ำ หรือแหล่งต้นน้ำ หรือปอดของลำปาง ลำพูนกำลังจะหายไปอีกเท่าไร
ระบบนิเวศน์จะเสียหาย
คราวนี้เปลี่ยนข้างครับ
ไม่ค้านถางป่าทำสนามบินที่ลำปางล่ะ แต่ค้านถางป่าทำเกษตรที่น่าน
เหตุผล รักป่าที่น่าน แต่รักสนามบินที่ห้างฉัตร .. มีเหตุผลเสมอ

22 เม.ย.59 ที่ศาลากลางจังหวัดลำพูน ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ครั้งที่ 2/2559 โดยมีคณะกรรมการ กรอ.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เข้าร่วมประชุม 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, และลำพูน มีนายณรงค์ อ่อนสอาด ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดฯ และให้ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเอกชน ให้ กรอ. ได้พิจารณาต่อไป
การประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการ กรอ.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้เห็นชอบข้อเสนอ โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติพระนางจามเทวี ที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ใช้พื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ซึ่งมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 70 กิโลเมตร งบประมาณการก่อสร้างประมาณ 193,000 ล้านบาท
http://www.cmprice.com/forum/?content=detail&wb_type_id=1&topic_id=186410
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1566921673600912&id=100008492839407

การรับนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การรับนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การรับนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1 เม.ย.59 ได้อ่านประกาศโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
เรื่อง การรับนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559
เมื่อ 1 เมษายน 2559 พบแฟ้ม http://www.bwc.ac.th/modules/news/pdf/regis1-2559.pdf
อ่านดูพบว่าประกาศรับสมัครนักเรียน
ประเภทห้องเรียนพิเศษ (วิทยาศาสตร์) 30 คน
ประเภทนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ รับจำนวน 254 คน
ประเภทนักเรียนทั่วไป (ในเขต + นอกเขต) รับจำนวน 254 คน
ประเภทนักเรียนความสามารถพิเศษ 30 คน
ประเภทนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ ไม่เกิน 47 คน
รวมทั้งสิ้น 615 คน
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/606590036158485/

ประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์สอบคัดเลือกนักเรียนต่อชั้น ม.4 ปีการศึกษา 2559

เพื่อนที่ลำปางหลายท่านมีลูกมีหลานสอบเข้าโรงเรียนมัธยม ปีการศึกษา 2559
ทั้งมัธยมต้น และมัธยมปลาย ผมเข้าดูข้อมูลโรงเรียนประจำจังหวัดโรงเรียนหนึ่ง
คือ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ที่ http://www.bwc.ac.th
พบรายชื่อนักเรียนเข้าสอบ ม.4 สองร้อยกว่าคน
แต่ประกาศรับจริง รวม 71 คน ดังนี้
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 40 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ 12 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส, อังกฤษ-ภาษาเยอรมัน, อังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น 9 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน 5 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย-สังคมศึกษา 5 คน
http://www.bwc.ac.th/modules/news/pdf/regis-4-2559.pdf

 

 

ผู้ที่มีสิทธิ์สอบคัดเลือกนักเรียนต่อชั้น ม.4

ผู้ที่มีสิทธิ์สอบคัดเลือกนักเรียนต่อชั้น ม.4

 

ประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์สอบคัดเลือกนักเรียนต่อชั้น ม.4 ปีการศึกษา 2559
เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2559
http://www.bwc.ac.th/modules/news/pdf/test_student4-59.pdf
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 192 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ 9 คน + 30 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส 5 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเยอรมัน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น 9 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน 9 คน
แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาไทย-สังคมศึกษา 18 คน

รวม 272 คน แต่รับรวม 71 คน
คิดเป็นอัตราส่วน 3.8 คนต่อ 1

 

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/606574459493376/

ตำนานอำเภอเถิน

ตำนานอำเภอเถิน
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– เมืองเถินจากอดีตสู่ปัจจุบัน
– ตำนานพระธาตุเจ้าวัดเวียง
– ประวัติวัดดอยป่าตาล
– ตำนานพระธาตุเจ้าม่อนวัวนอน (วัดดอยป่าตาล)
– ประวัติดอยป่าตาล
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเถิน

แผนที่อำเภอเถิน

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/thoen.htm

คำขวัญอำเภอเถิน
– ส้มเกลี้ยงฉ่ำ น้ำตกงาม โป่งข่ามขลัง วังหินอ่อน

พื้นที่
ประมาณ 1,854 ตารางกิโลเมตร
http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=553&pv=51

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
อยู่ในเขตร้อน มีป่าไม้ ทิวเขา และหุบเขา ฝนจะตกตั้งแต่ เมษายน-พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 878.16 มิลลิเมตร/ปี

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 8 แห่ง
– หมู่บ้าน 93 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม
– อาชีพเสริม ได้แก่ ค้าขาย รับจ้าง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– น้ำตกแม่วะ
– น้ำตกแม่มอก
– ป่าแม่มอก
– ป่าแม่ปะ-แม่เลิม
– ป่าแม่อาบ

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม 63,942 คน
– จำนวนประชากรชาย  รวม 31,596 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม 32,348 คน
– ความหนาแน่นของประชากร  34 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเหนียว   ถั่วลิสง   ถั่วเขียว   หอม  กระเทียม
– แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่
1. แม่น้ำแม่วัง
2. ห้วยแม่ปะ
3. ห้วยแม่มอก
4. ห้วยแม่อาบ

ตำนานอำเภอห้างฉัตร

ตำนานอำเภอห้างฉัตร
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาของชื่ออำเภอห้างฉัตร
– ตำนานวัดปงยางคก (ทิพย์ช้างอนุสรณ์)
– วิหารพระแม่เจ้าจามเทวี
– พญาเบิก ตำนานเจ้าพ่อขุนตาน
– ตำนานวัดพระธาตุปางม่วง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอห้างฉัตร

แผนที่อำเภอห้างฉัตร

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/hangchat.htm

คำขวัญอำเภอห้างฉัตร
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เกรียงไกรเจ้าพ่อขุนตาน ตำนานวิหารจามเทวี ของดีตลาดทุ่งเกวียน

พื้นที่  
ประมาณ 684.757 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
เป็นแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน เดือนตุลาคม ฝนตกชุกพอสมควร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปานกลาง ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 7 แห่ง
– หมู่บ้าน 73 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่  อาชีพเกษตรกรรม  รับจ้างทั่วไปในโรงงาน
– อาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพเสิรมในครัวเรือน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– อุทยานแห่งชาติดอนขุนตาน
– สวนป่าทุ่งเกวียน

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น   รวม  51,973 คน
– จำนวนประชากรชาย   รวม  25,535 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม  26,438 คน
– ความหนาแน่นของประชากร  78 คน/ตารางกิโลเมตร

ข้อมูลด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ถั่วลิสง ผักปลอดสารพิษ
– แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่  ลำน้ำแม่ตาล  ลำน้ำแม่ไพร่  ลำน้ำแม่ยาว

ตำบลแม่สัน
– อ่างเก็บน้ำแม่ยาว พื้นที่รับน้ำ 3,750 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ ตำบลแม่สัน, ตำบลเมืองยาว ตำบลวอแก้ว
– อ่างเก็บน้ำแม่ไพร พื้นที่รับน้ำ 1,400 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ ตำบลวอแก้ว ตำบลปงยางคก

ตำบลปงยางคก
– อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วยแม่ตาล, ห้วยแม่วัก, ห้วยแม่ฮาว, คลองแม่น้อย

ตำบลเวียงตาล
– อ่างเก็บน้ำห้วยเรียน พื้นที่รับน้ำ 2,500 ไร่
– อ่างเก็บน้ำปางปง พื้นที่รับน้ำ 250 ไร่
– อ่างเก็บน้ำแม่ตาลน้อย พื้นที่รับน้ำ 370 ไร่
– อ่างเก็บน้ำห้วยแม่สัน พื้นที่รับน้ำ 950 ไร่

ตำบลหนองหล่ม
– ห้วยแม่ไพร พื้นที่รับน้ำ 8,514 ไร่
– ห้วยแม่ยิ่ง พื้นที่รับน้ำ 615 ไร่
– ห้วยแม่ติ๊บ พื้นที่รับน้ำ 635 ไร่

ตำบลเมืองยาว
– อ่างเก็บน้ำแม่ยาว พื้นที่รับน้ำ 2,250 ไร่

ตำบลห้างฉัตร
– อ่างเก็บน้ำห้วยลวด พื้นที่รับน้ำ 100 ไร่

ตำนานอำเภอแม่ทะ

ตำนานอำเภอแม่ทะ
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาอำเภอแม่ทะ
– พ่อหนานอินถา
– หนานอินถานายาบ
– พ่อเจ้าติ๊บปาละ (สามขา)
– ความเป็นมาของหมู่บ้านสามขา
– ตำนานพระเจ้าไม้แก่นจันทน์
– ตำนานพระเจ้าทันใจสองพี่น้อง วัดดอนไฟ
– ตำนานวัดดอยม่วงคำ กับนิทานพื้นบ้าน “หมาขนคำ”
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแม่ทะ

แผนที่อำเภอแม่ทะ

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/maetha.htm

คำขวัญอำเภอแม่ทะ
ลำน้ำจางหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระไม้แก่นจันทน์ สินแร่สำคัญถ่านหินดินขาว อาชีพยืนยาวไม้แกะสลัก แหล่งประจักษ์ธรรมถ้ำพระสบาย

พื้นที่
ประมาณ 810.543 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
แบบมรสุม

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 10 แห่ง
– หมู่บ้าน 93 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม   รับจ้าง   ปลูกพืชไร่
– อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ที่สำคัญของอำเภอ  ได้แก่   ดินขาว   ถ่านหินลิกไนท์

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 62,859 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 31,481 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 31,378 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 77.55 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   อ้อย   มะเขือเทศ
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่  ลำน้ำจาง

ตำนานอำเภอเมืองปาน

ตำนานอำเภอเมืองปาน
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานเมืองปาน
– ตำนานพระธาตุวงตา
– ตำนานวัดพระธาตุดอยเต่าคำ
– ตำนานพระธาตุดอยซาง หรือภูซาง
– ตำนานบ้านทุ่งส้าน
– ตำนานพระธาตุจอมก้อย
– ตำนานพระพุทธเจ้าดอกสาน
– ประวัติพระพุทธเจ้าดอกสาน (พระนอนองค์ใหญ่)
– ประวัติการสร้างพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และศาลาพุทธธรรม
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเมืองปาน

แผนที่อำเภอเมืองปาน

 

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/muangpan.htm

คำขวัญอำเภอเมืองปาน
แหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแจ้ซ้อน บ่อน้ำร้อนลือนาม สามต้นสักใหญ่ ไหว้พระธาตุดอยซาง

พื้นที่
ประมาณ 865.103 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
มี 3 ฤดู ฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศา(พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36 องศา (มีนาคม– พฤษภาคม ) ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 5 แห่ง
– หมู่บ้าน 55 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา
– อาชีพเสริม ได้แก่ ทำสวน ทำไร่

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 34,453 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 17,350 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 17,103 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 39.505 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่ ข้าว  อ้อย  ข้าวโพดฝักอ่อน / เลี้ยงสัตว์
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 น้ำแม่เต๊าะ-แม่ต๋อม
2 น้ำแม่สอย
3 น้ำแม่มอน
4 น้ำแม่ปาน
5 น้ำแม่ก๋วม
6 น้ำแม่บอม
7 น้ำแม่ตุ๋ย
8 น้ำแม่นึง

ตำนานอำเภอเมือง

ตำนานอำเภอเมือง
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานเขลางค์นคร ยุคเริ่มสร้าง
– ตำนานพระนางจามเทวี
– เรื่องเล่าชุมชนบ้านวังหม้อ
– ตำนานวัดเจดีย์ซาว
– ประวัติพระเจ้าแสนแซ่ทองคำประดิษฐาน ณ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง จังหวัดลำปาง
– ประวัติพระพุทธรูป “พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ”
– ตำนานพระธาตุแก้วดอนเต้า
– วัดพระแก้วดอนเต้า นครลำปาง
– ตำนานวัดม่อนพญาแช่
– ตำนานวัดศรีล้อม
– ตำนานต้นศรีมหาโพธิ์
– ศาลเจ้าพ่อมหายักษ์สามพันตน
– วัดพระธาตุเสด็จ
– วัดพระธาตุม่อนจำศีล นครลำปาง
– ตำนานสำนักปฏิบัติธรรมวัดเวียงทอง (วังบัวตอง)
– ตำนานวัดม่อนปู่ยักษ์
– ความเป็นมาชุมชนบ้านปงสนุก
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเมือง

แผนที่อำเภอเมือง

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/muang.htm

คำขวัญอำเภอเมืองลำปาง
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

พื้นที่
ประมาณ 1,156 ตารางกิโลเมตร
http://www.amphoe.com/menu.php?am=546&pv=51&mid=1

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
ฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำระหว่าง 10 – 12 องศา ฤดูร้อน (มีนาคม – มิถุนายน) อุณหภูมิ 35 – 43 องศา ฤดูฝน (เริ่มเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 15 แห่ง
– หมู่บ้าน 176 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก   การเกษตร ได้แก่การปลูกข้าวเหนียว  อ้อย  ถั่วเหลือง และสัปปะรด
– อาชีพเสริม   เลี้ยงสัตว์  ได้แก่  โค  กระบือ  ไก่  เป็ด  และสุกร

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– แม่น้ำวัง
– แม่น้ำตุ๋ย
– ทรัพยากรแร่  ได้แก่  แร่พลวง  ดินขาว  แร่ดินเบา
– ทรัพยากรป่าไม้  ได้แก่  ไม้สัก  ไม้เต็ง  ไม้รัง  ไม้แดง  ไม้ประดู่

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 234,782 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 114,202 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 120,580 คน
– ความหนาแน่นของประชากร – คน/ตร.กม.

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเหนียว,อ้อย ,ถั่วเหลือง,สัปปะรด
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 แม่น้ำวัง
2 แม่น้ำตุ๋ย
3 เขื่อนกิ่วลม
4 เขื่อนยาง