Tag Archives: lampang

บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32

บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566

บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566 โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2566 ในประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่

โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า “บ้านป่องนักเป็นอาคารที่มีความสำคัญ ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางสถาปัตยกรรมที่ยังรักษาความแท้ของรูปทรงภายนอก องค์ประกอบอาคารไว้ได้ค่อนข้างครบถ้วน มีการดูแลรักษาอาคารเป็นอย่างดี โดยมีการซ่อมแซมโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์และสื่อความหมายให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามยังขาดการออกแบบอนุรักษ์ที่มีกระบวนการทำงานที่ครบถ้วน ที่มีการวิเคราะห์รูปแบบ วัสดุ และสีดั้งเดิมของอาคาร ขาดความละเอียดในการเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรม

“บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32
เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ทางเข้าอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
สร้างปี พ.ศ. 2468 หรือประมาณ 103 ปีที่แล้ว
ใช้งบประมาณสร้างถึง 16,000 บาท มีหน้าต่าง 469 บาน
เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับในหลวง รัชกาลที่ 7
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ มีอุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชม
มีน้อง ๆ ในค่ายฯ คอยดูแล ตอบข้อซักถาม และพาชม
ปี 2565 เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
มีกาแฟสดจำหน่าย มีดนตรี และมีที่พัก
เป็นเรือนรับรองที่บุคคลภายนอกขอเข้าพักได้
ตัวบ้านออกแบบตามสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิค
ถ้าได้เข้าไปเที่ยวที่บ้านป่องนัก ลองซื้อกาแฟชิม
แล้วชวนกันเดินนับป่องดูครับ ว่าจะได้จำนวนเท่าใด”

ภาพบ้านป่องนัก คัดเพียง 9 ภาพ เผยแพร่ใน เสี่ยวหงซู (Xiaohongshu)
และภาพชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ดร.อติชาต หาญชาญชัย

สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
https://asa.or.th/news/asa-conservation-awards-2023/

คุณมนัสพี เดชะ ได้แบ่งปันเรื่องราวผ่านเฟซบุ๊ก
https://web.facebook.com/manaspee/

ตามรอยละครที่บ้านป่องนัก
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1745/

บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566
บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566

ในการประกาศผลครั้งนี้ มีราลวัลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้


ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน

ระดับดีมาก

  1. ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  2. โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ กรุงเทพฯ

ระดับดี

  1. วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง
  2. กุฎิหลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน จังหวัดชุมพร
  3. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น “ชุมทางประวัติศาสตร์ทุ่งสง” จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. มัสยิดบ้านควนลังงา จังหวัดปัตตานี

ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน
ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่

  1. พิพิธภัณฑ์บ้านป่องนัก จังหวัดลำปาง
  2. อาคารสำนักงานคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดสุโขทัย วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร จังหวัดสุโขทัย
  3. ยงคัง ท่าวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเภท ข. งานออกแบบใหม่ในบริบทการอนุรักษ์

  1. คาเฟ่ อเมซอน สาขาย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา

ประเภท ค. บุคคลหรือองค์กร อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม

  1. ศูนย์อนุรักษ์เฮือนโบราณ โดย นายรุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ จังหวัดเชียงใหม่

งาน​ประเพณีสระเกล้าดำหัว​ คณะครูอาวุโสโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

สระเกล้าดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2566

งาน​ประเพณีสระเกล้าดำหัว​ คณะครูอาวุโสโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
วันเสาร์ที่​ 22​ เมษายน​ 2566​ ณ​ กรีนโดมของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566
แล้วสมาชิกของสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
ได้อัพโหลดภาพ เพื่อแบ่งปันลงในเฟซบุ๊กแบบเผยแพร่ทั่วไป
พบอัลบั้มใหญ่ ๆ อยู่หลายอัลบั้ม
จึงนำไปแชร์ต่อโดยแขวนไว้ในโฮมเพจ เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงได้ง่าย
แล้วต่อไปจะสืบค้นได้ผ่านบริการสืบค้นต่าง ๆ ในอนาคต
รวมได้ 4 อัลบั้ม = 781 ภาพ

  1. อัลบั้มของ Pongtep Boonkird – 28 ภาพ
  2. อัลบั้มของ Wijitra Gann – 596 ภาพ
  3. อัลบั้มของมนัสพี เดชะ – 80 ภาพ
  4. อัลบั้มของมาสเตอร์เรืองฤทธิ์ – 77 ภาพ

http://www.thaiabc.com/acla/thainewyear.asp

หากมีข้อเสนอแนะแจ้งเข้ามาได้ครับ
ปล. ไม่ได้เก็บภาพของพี่ ๆ ไว้ครับ แต่ลิงก์ตรงไปยังอัลบั้ม

สระเกล้าดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ประเพณีที่ศิษย์เก่ากลับมารวมกันทำกิจกรรมแสดงมุทิตาจิต ระลึกคุณความดีของครูอาวุโส ศิษย์เก่าอาวุโส ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ หรือขึ้นปีใหม่ไทย โดยสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และชมรมศิษย์อัสสัมชัญลำปาง(กรุงเทพ) ถือเป็นวัฒนธรรมอันดีที่ร่วมกันรักษาไว้ และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี

“พวกเรารักกัน อัสสัมชัญ สามัคคีกัน รักสถาบัน”
ปุณณสิน มณีนันทน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง

น้ำเงี้ยวเส้นก๋วยเตี๋ยวสูตรเชียงรายในบ้านศิลปิน

เช้านี้ 2 เม.ย.66 ไปทานข้าวเช้า
ที่ร้านครัวลุงติ
สั่ง น้ำเงี้ยวเส้นก๋วยเตี๋ยวสูตรเชียงราย
กับ กระเพาะปลาน้ำแดง อิ่มเลย
เป็นร้านเปิดใหม่อยู่หลังวิทยาลัยพยาบาล
เข้าซอยหลังหอพักหญิงหน้าปากซอย
ไปอีกประมาณ 20 เมตร
ร้านอยู่ทางขวามือ
เป็นร้านของเพื่อนติ เพื่อนจี๋ และน้องจูลี่
เพื่อนสมัยเรียน ป.ตรี และทำงานด้วยกัน

ครั้งนี้ออกบ้านเช้าหน่อย กลัวหมดแบบเมื่อวาน ได้พบเพื่อนมหา กับเพื่อนโส ซึ่ง 2 คนนี้สั่งกลับบ้าน ถ้านั่งคุยกันต่อสงสัยพบเพื่อนอีกหลายคน เหมือนเป็นที่ทำการสมาคมศิษย์เก่าเลย เป็นอีกสถานที่ให้เพื่อนได้ไปพบปะกัน

น้ำเงี้ยวเส้นก๋วยเตี๋ยว

น้ำเงี้ยวเส้นก๋วยเตี๋ยว รสเข้มข้น
มีหมูสับเข้าเนื้อเข้าน้ำนุ่มลิ้น
พร้อมกระดูกหมูชิ้นโตมาให้ไซร้เอาเอง
ผักกาดดองก็ได้รสเปรี้ยวกำลังดี
ส่วนกระเพาะปลาน้ำแดงก็อร่อย
ของแบบนี้ 10 ปากว่า
ไม่เท่าไปลิ้มรสด้วยตนเอง

ระหว่างรอ และหลังจากอิ่มแล้ว
ได้เดินดูงานศิลปะของเพื่อนติ
ที่จัดแสดงภายในร้าน และเป็นบ้าน
เค้าเป็นศิลปินที่มีผลงานแสดง
ในเทศกาลต่าง ๆ มาหลายปี
งานวาดออกมาหลายแนว
อย่างเยอะเลย
ใครที่ชื่นชอบงานวาดภาพ
ต้องไปกินน้ำเงี้ยวร้านนี้แล้วหละ
เพราะได้เดินชมภาพฟรี ไม่ต้องเสียตัง

งานศิลปะภายในร้าน
เพื่อนมหา เลือกรายการอาหาร
สั่งผ่านแอป
แผนที่ ร้านครัวลุงติ
ถ่ายภาพกับเจ้าของร้าน
ประธานกรรมการมูลนิธิ

มูลนิธิศูนย์มะเร็งลำปาง

มูลนิธิศูนย์มะเร็งลำปาง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิศูนย์มะเร็ง ลำปาง” เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2542 มีประธานกรรมการมูลนิธิท่านแรก คือ นายเกษม โรจนศักดิ์ มีวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ คือ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ส่งเคราะห์ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากจนในด้านต่าง ๆ ให้สุขศึกษา และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคมะเร็งแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในพื้นที่ พัฒนาบุคลากรของศูนย์ จัดหาอุปกรณ์การแพทย์และอื่น ๆ เพื่อใช้เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ดำเนินงานเพื่อสารธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข ดำเนินกิจกรรม เพื่อหารายได้ให้แก่มูลนิธิ ในปี พ.ศ.2566

ประธานกรรมการมูลนิธิ คือ คุณปุญญสิน มณีนันทน์
และนายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง สมัยที่ 25

ประธานมูลนิธิศูนย์มะเร็ง ลำปาง

https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/219587

กีฬาบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดลำปาง

กีฬาบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดลำปาง อ.พ.ร.สัมพันธ์ 2566

ทุกปีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน ด้วยการจัดกิจกรรม “การแข่งขันกีฬาบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดลำปาง” ในชื่อ อ.พ.ร.สัมพันธ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดลำปาง ได้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย มีกิจกรรมทางกายที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกาย และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง 17 สถาบัน ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำวิทยาเขตลำปาง 2) โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง 3) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 4) มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 5) มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง 6) วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 7) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง 8) วิทยาลัยเทคนิคลำปาง 9) วิทยาลัยการอาชีพเถิน 10) วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม 11) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเถินเทคโนโลยี 12) วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง 13) วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง 14) วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง และ 15) วิทยาลัยเทคนิค กฟผ.แม่เมาะ 16) สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และ 17) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โดยในปี พ.ศ. 2566 จัดงานขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ได้จัดการแข่งขันกีฬาสากล ประกอบด้วย การแข่งขัน 1) แบดมินตัน 2) เปตอง 3) เทเบิลเทนนิส 4) ฟุตบอล 7 คน 5) วอลเลย์บอล 6) แชร์บอล 7) เซปักตะกร้อ 8) ปาเป้า 9) ชู๊ตบาสผู้บริหาร ส่วนกีฬามหาสนุก ประกอบด้วย 1) โบลิ่งมหาสนุก 2) กระโดดเชือก 3) ท่อน้ำเลี้ยง 4) อาละดิน 5) บับเบิ้ลโกล 6) เต๋าเฮฮา 7) ปอบจับ 8) เต๋าเฮอริเคน และ 9) ชีวิตสู้กลับ สำหรับกิจกรรมในภาคค่ำ ราตรีสัมพันธ์ มีการมอบรางวัลและพิธีปิดการแข่งขัน โดยส่งมอบธงกีฬา อพร.สัมพันธ์ แก่มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมในปีต่อไป

รวมภาพโลโก้ของ 17 สถาบัน
https://www.thaiall.com/lovelampang/logo/
อัลบั้ม 266 ภาพ

คลังภาพ 266 ภาพ album

เขียนข่าวโดย : จารุวรรณ สุยะ https://lpc.rmutl.ac.th/news/21250

http://www.thaiall.com/weblampang

กีฬาปาเป้า (Darts)
กีฬากระโดด (Jumper)

มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
https://web.facebook.com/prlpru2015/posts/pfbid0GGUbLkGBS53DXtNZ9jcZSkwmXz4nuTz2moZFiATBGGV1As9drzUR8oDPNHT5Vfdul

กำหนดการ อ.พ.ร.สัมพันธ์
กำหนดการ อ.พ.ร.สัมพันธ์
เนื้อเพลงรถม้าลำปาง

รถม้าลำปาง 2023

เพลง : รถม้าลำปาง 2023 (FINAL MIX)

[ดนตรี] …เฮ…เย้เฮ… เย้เฮ่…เย้เฮ่…เฮ เย้เฮ… เย้เฮ่…เย้เฮ่…

*** รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง …รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง
…รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง รถม้า… ***

ลองมาดูกับตาและสัมผัสด้วยหัวใจ รถม้าวิ่งได้ทุกทิศทั่วไปอยู่ในตัวเมืองลำปาง
รถม้าลำปางจะพาพวกเราไปเที่ยวให้สุขใจ สนุกเหลือเกินที่ได้เพลิดเพลินกับสารถีนั่นไง

*** เฮ่…อยากดูรถม้าต้องไปลำปาง…อยากดูรถม้าต้องไปลำปาง…อยากดูรถม้าต้องไปลำปาง
[ดนตรี] คาวบอยแลนด์ … (เสียงรถม้าวิ่ง เสียงกระดิ่งรถม้า)
เสียงรถม้าลำปางที่ดังกึกก้องแต่ไกล กรุ่งเกร่ง กรุ่งเกร่ง กรุ่งเกร่ง คอยบรรเลงให้ชื่นใจ
รถม้าลำปาง ในถิ่นลำปาง เราจะอนุรักษ์ไว้ ให้อยู่คู่ไทยตลอดต่อไปสุขใจไปเที่ยวด้วยกัน

* หา…ไปที่ไหนอ่ะ!! ที่ลำปาง ลำปาง รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง …ลำปาง ลำปาง รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง …ลำปาง ลำปาง รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง…รถม้า*

*** เฮ่…อยากดูรถม้าต้องไปลำปาง…อยากดูรถม้าต้องไปลำปาง…อยากดูรถม้าต้องไปลำปาง
…เฮ่ ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลั้น ลัล ลัล ลา …ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลัล ลา ลัล หล่า ..ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลั้น ลัล ลัล ลา

*** …ต่อนยอน ต่ะ ตอนย้อน ต่ะ ตอนย่อน ต๊อนยอน ต๋อนยอน
…ต่อนยอน ต่ะ ตอนย้อน ต่ะ ตอนย่อน ต๊อนยอน ต๋อนยอน
…ต่อนยอน ต่ะ ตอนย้อน ต่ะ ตอนย่อน ต๊อนยอน ต๋อนยอน…
…ต่อนยอน ต่ะ ตอนย้อน ต่ะตอน ย่อน ต๊อนยอน ต๋อนยอน…

[RAP]-
***อย่าให้รถม้าต้องหมดสิ้นไป ใครจะต่อลมหายใจให้กับรถม้าลำปาง
มานั่งรถม้าแล้วคุณจะติดใจ ช่วยกันรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติไทย
ได้นั่งรถม้ามีคุณค่าต่อจิตใจ ส่งความสุขต่อไปเป็นตัวตนคนลำปาง
COME TO ลำปาง ไม่ได้นั่งรถม้า ก็เหมือนมาบ่ถึง มาไม่ถึงลำปาง ***

[***ร้องซ้ า]
ลองมาดูกับตาและสัมผัสด้วยหัวใจ รถม้าวิ่งได้ทุกทิศทั่วไปอยู่ในตัวเมืองลำปาง
รถม้าลำปางจะพาพวกเราไปเที่ยวให้สุขใจ สนุกเหลือเกินที่ได้เพลิดเพลินกับสารถีนั่นไง

* …รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง …รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง …รถม้า รถม้า รถม้าลำปาง รถม้าลำปาง รถม้า….*

***เฮ่…ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลั้น ลัล ลัล ลา (ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลัล ลา ลา) ..ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลั้น ลัล ลัล ลา
(ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลั้น ลัล ลา) ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลั้น ลัล ลัล ลัลลา (ลั่น ลัน ลั้น ล้า ลัล ลา ลัล ลา)
[เสียงม้าร้อง…]

ศิลปินน้องใหม่ชื่อ YOK KY หรือ พุทธรักษา ทองสุขา เธอร้องเพลง “รถม้าลำปาง 2023” เนื้อร้องโดย ปณต สุสุวรรณ เรียบเรียงโดย ปิยะพันธ์ จิตประภาวัลย์ บริษัท Temuzixki (TTzound Music Company) บันทึกโดย ธีรดา มิวสิค น้องเรียนอยู่ที่โรงเรียนลำปางกัลยาณี

https://drive.google.com/file/d/1oWcVl29o5RFH6g1mrAclNbXKM6TpLfEj/view?usp=sharing

เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ

เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ 12 รายการ

พบข้อมูลจากหนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย หน้า ๑๘-๒๐ ที่แจกให้กับผู้ไปร่วมงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖ พบว่าในเนื้อหาระบุถึง เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช ๒๕๖๖ มีเอกสารประกอบทั้งหมด ๑๒ รายการ ดังนี้

เอกสารชุดที่ ข-๑ “พิธีเชิดชูเกียรติ เพชรสยาม ครั้งที่ ๑๔ ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๑” ได้รับรางวัลเพชรสยาม ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
เอกสารชุดที่ ข-๒ “ศิลปนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง การศึกษากระบวนการประดิษฐ์ท่าฟ้อนเผียไหม”
เอกสารชุดที่ ข-๓ “คู่มือศึกษาการแสดงศิลปะพื้นบ้าน โดย อาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย”
เอกสารชุดที่ ข-๔ “วันเชิดชูเกียรติ ศักดิ์ ส. รัตนชัย คุณูปการที่สรรค์สร้าง โดย สำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง”
เอกสารชุดที่ ข-๕ “รายงานนักศึกษาแลกเปลี่ยน OIU เสนอ อาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย พร้อมประสบการณ์ภาคสนาม เป็นเอกสารายงานที่เสนอเกี่ยวกับศิลปะพื้นเมืองหลักสูตร Yonok Okinawa ในศิลปะร้องรำทำเพลงกับการวัดผลการสอน ผลงานแสดงต่างประเทศที่ไต้หวัน ครั้งที่ ๑๑/๒๐๐๖”
เอกสารชุดที่ ข-๖ “ตำนานเพลงอมตะ ๑ ร่ำเปิงลำปาง โดย ศักดิ์ รัตนชัย ชุดสร้างสรรค์จรรโลงใจโดยกลุ่มศิลปินเพลงรุ่นอมตะ”
เอกสารชุดที่ ข-๗ “เพลงเฉลิมพุทธศตรวรรษ ๒๕-๒๖ ธรรมวิจัยปฏิรูป เทสวาสะ เศรษฐกิจพอเพียงเลี่ยงสิ่งเสพติดอบายภูมิ ๒๕๐๐-๒๕๕๕ฯ ๕๕ ปี เพลง ศักดิ์ ส.รัตนชัย สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง”
เอกสารชุดที่ ข-๘ “เอกกษัตริย์อัจฉริยะ”
เอกสารชุดที่ ข-๙ “เยี่ยมบ้านศิลปินครั้งที่ ๗”
เอกสารชุดที่ ข-๑๐ “คู่มือศึกษาการแสดงพื้นบ้านที่พัฒนาจากฟ้อนเชิง”
เอกสารชุดที่ ข-๑๑ “จุดประวัติศาสตร์โอเปร่า”
เอกสารชุดที่ ข-๑๒ “การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่” เป็นผลงานด้านการ์ตูนชิ้นเอกของอาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย ในการสอนธรรมะด้วยภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘

การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่

การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่
เป็นผลงานด้านการ์ตูนชิ้นเอกของอาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย
ในการสอนธรรมะด้วยภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘

https://www.thaiall.com/me/hotelcalifornia.htm

ประวัติและผลงาน
ศักดิ์ รัตนชัย
เด็กรักการอ่าน

เด็กลำปางฉลาดอ่านและเขียน

มีอยู่วันหนึ่ง ในช่วงปลายของฤดูหนาว
รุ่นน้องประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม
เรื่องส่งเสริมการอ่าน

รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย แชร์ข่าว จังหวัดลำปาง #Kickoff เรื่อง เด็กลำปางยุคใหม่อ่าน+เขียนได้ตามเกณฑ์ ในกลุ่มสังคมคนรักอ่าน มีพิธีลงนามระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการ เป็นกลไกหลักที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนส่งเสริม #สังคมคนรักอ่าน โดยเน้นไปที่นักเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัด สพฐ. ลำปาง เพราะการอ่านต้องเริ่มต้นปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เพื่อให้สามารถอ่าน เขียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลงนามเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2566 และคำว่า “Lampang smart kids read & write” ทำให้นึกถึง Tag line ว่า #เด็กลำปางฉลาดอ่านและเขียน

พบว่า มีจำนวนนักเรียนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานต้นสังกัด โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านการอ่านออกเสียง และการอ่านรู้เรื่อง มีจำนวนนักเรียน 755 คน ซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่หน่วยงานทางการศึกษาทุกภาคส่วนในจังหวัด ควรร่วมมือกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจังหวัดลำปางมีประชากรประมาณ 761,949 คน

https://web.facebook.com/redcross.lp
หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

E-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

โดยหนังสือที่นำมาทำอีบุ๊ก ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมเล่มจาก อ.ป้อม หรือ อ.อาภาพร ซึ่ง อ.ศักดิ์ เคยขึ้นภาพ อ.ป้อม เป็นภาพปกคนแรกของข่าวออนไลน์ชื่อ #สกุลเมือง และผมไม่ได้ตัดปกเพื่อนำเข้าเครื่องสแกนแบบฟีดอัตโนมัติ แต่แกะแม็คแล้วใช้โทรศัพท์บันทึกภาพทีละหน้า แล้วนำเอกสารมาประกอบกลับให้เหมือนเดิม เพื่อนำไปคืน อ.ป้อม ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม จึงทำให้งานอีบุ๊กมีแสงและเงาที่ไม่คมเหมือนเล่มเอกสาร

ได้ปรับอีบุ๊กโดยเพิ่มเติมเนื้อหาจากเล่มเอกสารอยู่ก่อนปกหลัง เป็นคำนิยมของหลายท่าน เช่น ท่านพุทธทาสที่ได้เขียนให้กับหนังสือแก้วตาแม่ ของ อ.ศักดิ์ ซึ่ง อ.เจี๊ยบ ได้ส่งภาพเพิ่มเติม แล้วโทรมาเล่าเรื่องราวของหนังสือที่นำไปทำละครเวที และพูดถึงผลงานเพลงที่ท่านได้แต่งไว้ ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาประวัติและผลงานที่น่าเติมเต็มได้อีกมาก

นอกจากนี้มีผู้เกี่ยวข้อง สื่อทุกสำนัก สมาคม องค์กร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และชาวลำปาง ที่ร่วมกันไว้อาลัยการจากไปของ อ.ศักดิ์ มีการพูดถึงผลงานของท่านในสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงร่ำเปิงลำปาง  หนังสือการ์ตูนเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา เรื่องแก้วตาแม่ และด้วยผลงานมากมายตลอด 95 ปีของท่าน ซึ่งการรวบรวมผลงานในเวลาอันสั้นแล้วนำไปถ่ายเอกสารออกมาเป็นรูปเล่มเอสีเกือบร้อยหน้า ที่มีคณะผู้จัดทำ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และลูกหลาน ดูจะเล่มเล็กเกินไปที่จะบอกเล่าผลงานของท่านได้ทั้งหมด

หากผู้สนใจต้องการตามรอยวิถีปราชญ์ของท่าน ต้องลองอ่านหนังสือดูครับ แล้วมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าผู้อ่านได้อ่าน ค้น และติดตามผลงานของท่านต้องมีอึ้งกันบ้างหละ เพราะผลงานแน่นทั้งปริมาณและคุณภาพจริงครับ

คลิกเพื่อเปิด e-book
ถ่ายภาพ

อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการ

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์