Tag Archives: graduate

ฝากข้อคิดสำหรับบัณฑิตใหม่ 3 เรื่อง พิธีประสาทปริญญาบัตร ปีการศึกษา 2564

ภาพจากสถานที่จริง
พิธีประสาทปริญญาบัตร ปีการศึกษา 2564
วันที่ 25 – 26 มกราคม 2565
ณ ริมอ่างตระพังดาว มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่

อ.ธวัชชัย แสนชมภู (อ.ใหญ่)
ตัวแทนส่วนงานสวัสดิการพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น
ขอแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษา
ของ มหาวิทยาลัยเนชั่น ทุกท่าน ทั้งในระดับ ป.ตรี และ ป.โท

“ตลอดระยะเวลาที่ท่านได้ศึกษาอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยของเรา
พวกเราคณาจารย์และบุคลากร ก็ได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ
ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
เพื่อให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะไปปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อไป
แต่อย่างไรก็ตามการสำเร็จการศึกษานั้น
แค่เป็นการเริ่มต้นชีวิตของการทำงานและการเรียนรู้
ซึ่งผมอยากจะฝากสิ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญในการทำงานไว้ 3 เรื่อง

เรื่องแรก คือ เรื่องของเวลา
หมายถึง การเป็นคนตรงต่อเวลาและรักษาเวลาในการทำงานให้เสร็จสิ้นตามที่ได้รับมอบหมาย

เรื่องที่ 2 คือ การไม่หยุดที่จะเรียนรู้
เพราะในโลกปัจจุบันที่องค์ความรู้และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
การหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาก็จะทำให้ท่านทำงานในอนาคตได้อย่างไม่มีปัญหา

เรื่องที่ 3 จงยึดมั่นในความกตัญญูกตเวที
ทั้งต่อบิดา มารดา และผู้มีพระคุณที่เกี่ยวข้อง

หวังว่าผู้สำเร็จการศึกษาทุกคนจะเป็นคนเก่งและดี
ทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์แก่สังคมต่อไป
หากทุกท่านได้มีความมุ่งมั่น และพยายามดังนี้แล้ว
ขอให้ผลของการกระทำเรานั้นส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง
ทั้งในกิจการงานและครอบครัว
ท้ายนี้ขอให้ ทุกคนใส่ใจดูแลสุขภาพ
และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์
เจริญในทรัพย์ เจริญด้วยสติปัญญา”

ผ่านพบที่ผูกพัน
cr. Tawatchai Sanchomphoo

จากนักเรียน สู่บัณฑิต

จากนักเรียน สู่บัณฑิต

สี่ปราชญ์ให้โอวาทบัณฑิต

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง

21 ธ.ค.55 มีโอกาสฟังผู้ใหญ่ในพิธีประสาทปริญญาบัตร ซึ่งเป็นที่ประชุมอันทรงเกียรติที่เรายกย่องให้พวกท่านเป็นปราชญ์ผู้มาให้โอวาทแก่บัณฑิต และมหาบัณฑิต ณ อัฒจรรย์กลางแจ้ง มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง (ประสาทปริญญาบัตรกลางแจ้งแห่งเดียวในประเทศไทย) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธาน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี มากล่าวสุนทรพจน์ คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ซึ่งขอเรียบเรียงโอวาทของทั้งสี่ปราชญ์ไว้ดังนี้

1. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี
ให้ข้อคิดไว้ 3 เรื่อง
เรื่องแรก  บัณฑิตต้องเป็นผู้เรียนรู้
แล้วได้เล่านิทานธรรมเรื่อง “พระพุทธทาส” ที่ทั้งโลกยอมรับท่านเป็นปราชญ์
ครั้งหนึ่งศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เคยเข้าไปนมัสการพระพุทธทาส
แล้วก็พบว่าในห้องนอนของท่านมีเพียงหมอนไม้ กับหนังสือภาษาอังกฤษ
รวมถึงหนังสือ top seller ที่พึ่งเปิดตัวในต่างประเทศก็อยู่ในห้องท่าน
เป็นที่ชัดเจนว่าท่านเป็นผู้อ่านที่รักการเรียนรู้อย่างแท้จริง
อ่านหนังสือต่างประเทศที่สั่งซื้อเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเอง แม้สำเร็จการศึกษาไม่สูงนัก ฐานะยากจน
แต่ก็ไม่จนความพยายาม ความรู้แสวงหาได้ตลอดเวลา และการเรียนรู้นั้นสำคัญกว่าวุฒิบัตร หรือปริญญาใด ๆ
จนท่านเป็นบุคคลที่ยอมรับในระดับโลกเพียงหนึ่งเดียวของไทย ที่เทียบเท่าปราชญ์ระดับโลก
เรื่องที่สอง ทางเลือกในปัญหาใด ๆ มากกว่า 3 ทางเสมอ
แล้วได้เล่านิทานธรรมเรื่อง สุนัขดุกับขนมปัง ที่พบกันก็มักจะเห่าและแฮ่ใส่กัน
เมื่อทดลองทางเลือกอื่นแทนที่จะเห่าใส่กันก็ใช้ไม้แข็ง พอไม่ได้ผล ก็ใช้ขนมปังเป็นเหยื่อล่อ
จนสุนัขหันกลับมาส่ายหางแทนการเห่าในที่สุดก็ เพราะขนมปังนั่นเอง
เรื่องที่สาม อย่าด่วนตัดสินอะไร เพราะสิ่งที่เห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เห็น
แล้วได้เล่านิทานธรรมเรื่อง คุ๊กกี้ที่ถูกหยิบ โดยคุณผู้หญิงซื้อคุกกี้มาแล้วก็มีหนุ่มมานั่งใกล้
ต่อมาขนมคุ๊กกี้ออกมาอยู่นอกกระเป๋า
แล้วชายหนุ่มก็หยิบกินหน้าตาเฉย คุณผู้หญิงโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงแต่ไม่ได้พูดอะไร ต่างคนต่างหยิบ
พอกลับถึงบ้านก็พบว่าคุ๊กกี้ของตนอยู่ในกระเป๋ายังไม่ถูกแกะ แสดงว่าคุ๊กกี้ที่อยู่นอกกระเป๋าแล้วตนหยิบกินนั้น
เป็นของชายหนุ่มที่ซื้อมาจากร้านเดียวกัน หีบห่อจึงเหมือนกัน
แต่ก่อนหน้านี้ตัดสินไปแล้วว่าชายหนุ่มเป็นจำเลย

2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
ได้เรียบเรียงข้อคิด ดังนี้
พิธีนี้ฝรั่งเรียกว่า Commencement ซึ่งหมายถึงการเริ่มต้นรับผิดชอบ และอาจแบ่งการรับผิดชอบ เป็น 4 ระดับ คือ 1. รับผิดชอบตนเอง ก็คงต้องหางานเลี้ยงตัวเอง มิใช่ให้พ่อแม่เลี้ยงเหมือนแต่ก่อน 2. ครอบครัว 3. งาน 4. สังคม
แล้วท่านขยายความเรื่องรับผิดชอบครอบครัวไว้ว่า ต้องอย่าตระหนี่กับบุพการี
เพราะเราทำอย่างไรกับพ่อแม่ของเรา ลูกของเราก็จะทำอย่างนั้นกับเรา ถ้ากตัญญูกับท่านอีกหน่อยลูกเราก็จะกตัญญูกับเรา
การใช้จ่ายกับพ่อแม่นั้นอย่าตระหนี่ให้เท่าไรเท่ากัน แต่กับตนเองนั้นตระหนี่บ้างก็ได้
แล้วท่ายกตัวอย่าง ลูกหมูที่หลบเข้าอเมริกา ซึ่งหมายถึงคนจีนที่หลบเข้าเมือง เหมือนคนจีนที่เข้าไทยเมื่อศตวรรษที่ผ่านมาว่า
พวกเขาสำเร็จด้วย 3 คำ คือ 1. ขยัน 2.อดทน 3. โอกาส
โดยเฉพาะคำว่า โอกาสนั้นต้องไม่นั่งรอให้ราชรถเข้ามาเกย ต้องทำงานให้หนัก
เหมือนมีราชรถอยู่ที่ไหนก็ต้องวิ่งเข้าไปชน แล้วจะก้าวได้เร็วกว่าคนที่เช้าชามเย็นชาม

3. คุณสุทธิชัย หยุ่น
มีหลายเรื่องครั้งที่ท่านให้ไว้ในพิธีสวมฮูดและรำลึกความเป็นบัณฑิต
เรื่องหนึ่งคือ ครั้งหนึ่งมีคนถาม bill gates ว่าคุณเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ
เป็นคนที่รวยที่สุดในโลกได้อย่างไร โดยไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้วยการทิ้งการศึกษาไป
แล้วผู้ถามควรทิ้งการศึกษาไปทำธุรกิจ เจริญรอยตาม bill gates หรือ steve jobs หรือไม่
แล้ว bill gates ก็ตอบว่า ถ้าคุณยังมีคำถามอย่างนี้อยู่ก็จงเรียนต่อไป
นั่นหมายความว่า การศึกษามีสำหรับผู้ที่ต้องการ schooling แต่เขาออกจากการเรียนในห้องเรียน
ไปเรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียน ใบปริญญามีความหมายสำหรับสมัครงาน
แต่ใบปริญญาจะไม่มีความหมายสำหรับผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
ถ้าคิดว่าตนเองยังจำเป็นต้องเรียนภายใต้ schooling ก็จงเรียนต่อไป

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
ท่านกำชับบัณฑิตเรื่องอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ไว้เสมอ ดังนี้
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย (Uniqueness)
– เรียนกับมืออาชีพ
– บัณฑิตจิตอาสา
อัตลักษณ์ (Identity)
– ทักษะอาชีพ (Professional Skill)
– ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)
– ทักษะภาษาอังกฤษ (English Skill)
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

 

สูจิบัตรที่มีชื่อบัณฑิต และมหาบัณฑิตทุกท่าน
ที่ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564677650213037.139683.506818005999002

 

นักศึกษาป.โทใช้ yammer.com

yammer service for the private group of organization

yammer service for the private group of organization

มีผู้ใหญ่ใจดีแนะนำให้ผู้เขียนได้รู้จักกับ yammer.com ว่าเป็นเครือข่ายสังคมส่วนตัว (Private Social Network) เมื่อเข้าไปศึกษาก็พบว่าเป็นเว็บไซต์คล้ายกับ facebook.com แต่เว็บไซต์นี้บริการสำหรับองค์กรที่มุ่งที่จะทำงานร่วมกันอย่างสอดประสาน (Collaboration) มีความปลอดภัย สามารถใช้สื่อสารในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน สนับสนุนการทำงานจากต่างภูมิภาค หรือประยุกต์ใช้งานในเชิงธุรกิจ มีการสำรวจพบว่าในปลายปี 2010 มีการใช้งานกว่า 3 ล้านผู้ใช้จาก 8 หมื่นบริษัททั่วโลก และกว่าร้อยละ 80 ของบริษัทที่ถูกจัดอันดับใน Fortune 500 ก็ใช้เครื่องมือนี้สนับสนุนการทำงานขององค์กร
การใช้บริการของ yammer.com ต้องมีโดเมนเนมของตนเอง และต้องมีชื่ออีเมลภายใต้ชื่อโดเมนที่บริการสมาชิก เมื่อสมาชิกองค์กรสมัครเข้าสู่ระบบก็จะจำแนกผู้ใช้ผ่านโดเมนของอีเมล อาทิ name@thaiall.com ก็จะพบกันเฉพาะโดเมนนี้ แต่ถ้ามีอีเมลว่า name@thaiabc.com หากเข้าระบบของ yammer.com ก็จะไม่พบผู้ใช้ในกลุ่ม @thaiall.com เพราะเป็นคนละกลุ่ม ดังนั้นบุคลากรของ @thaiall.com จึงไม่มีโอกาสเข้าไปพบสื่อสารที่เกิดขึ้นในกลุ่มของ @thaiabc.com แล้วแต่ละองค์กรก็สามารถสร้างกลุ่มย่อยส่วนตัว (Private Group) ที่ไม่ยอมให้คนนอกกลุ่มเข้าไปมีส่วนร่วมได้
เนื่องจากมีโอกาสมอบหมายงานให้นักศึกษา ป.โท ในวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ จึงสร้างบทบาทจำลองกลุ่มอบต. ที่เสมือนว่าโดเมนเป็นของจังหวัด และทุกคนอยู่ในจังหวัดเดียวกัน เปิดโอกาสให้ร่วมกันวางแผน ดำเนินการร่วมกัน หาข้อสรุปร่วม แล้วนำเสนอบทเรียนที่ได้จากการใช้ Social Media ซึ่งบริการของ yammer.com พร้อมเชื่อมโยงเครื่องมืออื่น เข้าไปทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ เพราะโปรแกรมออกแบบมาคล้าย facebook.com ที่ทุกคนคุ้นเคย มีบริการที่ใช้ประโยชน์ได้จริง อาทิ Poll, Schedule, Organization Chart, Upload file, Page, Private Message, Group และวางลิงค์ต่าง ๆ จากภายนอกได้ จึงสรุปได้ว่าเป็นบริการที่น่าใช้งานสำหรับองค์กรยุคเครือข่ายสังคม