Tag Archives: bridge

ถนนศิลปะ (Street art) รอบกาดกองต้า และสะพานรัษฎาภิเศก 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

ประวัติ
สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว
ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง
ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง
และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5
ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437

กาดกองต้า หรือ ตลาดจีน
เป็นย่านตลาดเก่าตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำวัง
ในซอยตลาดจีนริมน้ำ มีอาคารโบราณอายุเกือบร้อยปีบนถนนตลาดเก่าทั้งสาย
ชุมชนกาดกองต้าถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจ ที่มีความเป็นมาที่เก่าแก่
และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
กาดกองต้า หมายถึง ตลาดตรอกท่าน้ำ
ในอดีตเคยเป็น ตลาดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
เนื่องจากเมืองลำปางนั้นเคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าของ
ภาคเหนือย่านการค้าส่วนมากมักเกิดขึ้นริมฝั่งแม่น้ำสายใหญ่อย่างแม่น้ำวัง
ทำให้เกิดชุมชนที่เข้ามาทำธุรกิจ เช่น อังกฤษ พม่า และจีน
ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้ามาทำการค้ามากที่สุด จนกลายเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่
ชาวบ้านจึง เรียก กาดกองต้า ว่า ตลาดจีน
http://www.paiduaykan.com

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

พบว่า ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ได้แชร์ภาพ street art
ที่ถ่ายกับศิลปิน นักเรียน นักท่องเที่ยว และภาพที่กำลังวาดอยู่
บนกำแพงบริเวณรอบ ๆ กาดกองต้า ลำปาง
ติดกับสะพานรัษฎาภิเศก หรือสะพานขาว
อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเลื่องชื่อ ในเมืองที่ไม่หมุนไปตามกาลเวลา
มีชาวลำปาง และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจจำนวนมาก
และอยู่ระหว่างการวาดภาพไปตามแผนการพัฒนา
ภาพที่ได้เห็นเรียกว่าเสร็จกัน สดสด ร้อนร้อน

มีข้อความประกอบภาพว่า
ได้ไปเห็นกับตาได้ฟังด้วยหู พอรู้พอเข้าใจ และชื่นชมยินดี
กับกลุ่มและคณะที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ที่จะสร้างสีสันให้กับชุมชนริมแม่น้ำ และสะพานประวัติศาสตร์ของลำปาง
Lampang iconic bridge and the street art movement to
add life and beauty to the river walk and the community.

https://www.facebook.com/nirund.jivasantikarn/

kard10
ภาพสวย ๆ ในกลุ่ม ศิลปินเมืองรถม้า
โดย คุณนิเวศน์ อินติ๊บ
https://www.facebook.com/groups/145987012594744/

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561

street art กาดกองต้า 2561rt

100 ปี ขัวหลวงรัษฏาฯ (ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 – 2560)

สะพานที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผม

สะพานรัษฏาภิเศก มีความสำคัญสำหรับผมมาก เพราะเป็นเส้นทางกลับบ้าน เช้ามาจะไปทำงานก็ต้องข้ามไป พอเลิกงาน รับลูกที่โรงเรียน ก็ข้ามผ่านเส้นนี้ เพราะเป็นเส้นทางกลับบ้านที่ใกล้ที่สุด

ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560 ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี : 2460 - 2560

100 ปี ขัวหลวงรัษฏาภิเศก : 2460 – 2560

 

ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี “ขัวสี่โค้ง” หรือ “ขัวหลวงรัษฏา” สะพานขาวประวัติศาสตร์แห่งนครลำปาง 18 – 26 มีนาคม 2560 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป

Ratsadapisek Bridge 100 Years Historical Memories Day.
The Old White Bridge of Lampang 18 – 26 March, 2017. 5.00 p.m. onwards

ดร.กิตติภูมิ นามวงค์ นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวว่า จังหวัดลำปาง เทศบาลนครลำปาง ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลำปาง กำหนดจัดงานรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี ระหว่างวันที่ 18 – 26 มีนาคม 2560 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป

โดยวันที่ 18-23 มีนาคม 2560 เป็นการ ตกแต่งประดับสะพานให้มีความสวยงาม เหมาะสำหรับ การบันทึกภาพความทรงจำในอดีต และกำหนดเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560

คืนวันที่ 24-25 มีนาคม 2560 เชิญชมการแสดง แสง สี เสียง “100 ปี ขัวหลวงรัษฎา” และในวันที่ 26 มีนาคม 2560 ช่วงเช้า เชิญร่วมกันทำบุญตักบาตรบนสะพาน ภาคกลางคืน เป็นการประกวดการแต่งกายย้อนยุค ในรูปแบบของ “ถูกตีม แทคทีม เกิน 100” (Theme Team Over 100) คือ เชิญชวนให้ร่วมกันแต่งกายย้อนยุค สมัย รัชกาลที่ 6 ทีมละ 2 – 6 คน นับอายุรวมกันแล้วเกิน 100 ปี ขึ้นไป

ภายในงาน สัมผัสบรรยากาศและการแสดง “ยุคขัวหลวง 100 ปี” นิทรรศการมีชีวิตย้อนอดีต การประกวดของโบราณ การแสดงดนตรีย้อนยุค การจำหน่ายสินค้าและอาหารของดีนครลำปางบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำวัง นิทรรศการย้อนอดีต และมุมถ่ายภาพสวย ๆ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ของเทศบาลนครลำปาง ในโอกาสนี้ จึงขอเชิญชวนชาวลำปาง และนักท่องเที่ยวร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ 100 ปี “ขัวหลวงรัษฎา” ด้วยการแต่งกาย ชุดย้อนยุค (สมัยรัชกาลที่ 6) เพื่อเพิ่มสีสัน และบรรยากาศภายในงาน ให้กลมกลืนที่สุด

นายอนันต์ สีแดง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลำปางกล่าวว่า สะพานรัษฎาภิเศก ถือเป็นสถานที่ยอดฮิตแห่งหนึ่งในตัวเมืองลำปาง (Highlight of Lampang city) ในยามเย็น สะพานแห่งนี้มีการประดับไฟอย่างสวยงามและมักจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมเก็บภาพประทับใจและสัมผัสบรรยากาศบริเวณสะพานอยู่เสมอ ในการนี้ ททท. สำนักงานลำปาง ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงสะพานรัษฎาภิเศก ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สามารถสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือนลำปางได้เป็นจำนวนมาก และเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงสนับสนุนให้มีการจัดแสดงแสง สี เสียง 100 ปี “ขัวหลวงรัษฎา” ในคืนวันที่ 24-25 มีนาคม 2560 นี้ เพื่อให้ชาวลำปาง และนักท่องเที่ยวได้ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ครบ 100 ปี ร่วมกันอีกครั้ง

เครดิตภาพ และข้อมูล
https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานรัษฎาภิเศก
http://photo.lannaphotoclub.com/index.php?topic=8939.0
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1295939403800969&set=a.315057931889126.71900.100001547652168
https://www.facebook.com/nakhonlampang1/media_set?set=a.1299565180105058.100001547652168

ภาพนี่ผมถ่ายไว้ 4 ตุลาคม 2016

ภาพนี่ผมถ่ายไว้ 4 ตุลาคม 2016

https://www.facebook.com/tourlampangna/photos/rpp.1399580723594670/1828436807375724/

สะพานรัษฎาภิเศก 360 องศา

27 ก.พ.55 สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ที่ ถนนรัษฎา ต.หัวเวียง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน

สะพานรัษฎาภิเศกภิเษกยังทำหน้าที่สัญลักษณ์ของเมืองลำปาง ในฐานะของ “ขัวสี่โก๊ง(สะพานสี่โค้ง)” “ขัวหลวง (สะพานใหญ่)” “ขัวขาว (สะพานขาว)

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%81