บ้าน คือ ที่พัก ที่ปลอดภัย ที่ใช้ชีวิต และที่ทำกิน
เจ้าของบ้าน คือ ผู้ที่กำหนดว่าจะสร้างกี่ชั้น ด้วยอะไร ที่ไหน เมื่อไร เพื่ออะไร
ที่ดิน คือ สิ่งที่ใช้วางสิ่งก่อสร้าง
ทะเบียนบ้าน และโฉนดที่ทางการออกให้ คือ สิ่งที่อ้างอิงในการสื่อสาร ใช้อ้างสิทธิ์
ผู้รับเหมา คือ ผู้คุมงานสร้างให้เป็นตามที่เจ้าของบ้านต้องการ บางงานก็ทำเองแทนรายย่อย
สถาปนิก คือ ผู้ช่วยออกแบบบ้าน จัดสวน และหาของตกแต่ง
ผนัง เสา และคาน คือ สิ่งที่เป็นหน้าเป็นตา แสดงถึงนวัตกรรมได้
ปูน คือ สิ่งที่มีเทคนิคว่าใช้แบบใด ผสมอย่างไร ฉาบอย่างไร เชื่อมทุกอย่าง
ผู้รับเหมารายย่อย คือ ผู้รับรายละเอียดอื่นให้บ้านสมบูรณ์ น้ำ ไฟ แก๊ซ ปาเก้
เพื่อนบ้าน คือ ผู้มีน้ำใจถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นพันธมิตร
ลูกค้า คือ แขกบ้าน ผู้มาเยือน ผู้อาศัย ที่ทำให้บ้านไม่เป็นบ้านร้าง
หลังคา คือ สิ่งที่ถูกพบเห็นมาแต่ไกล ประทับใจที่ใช้บริการ
ผู้ร้าย คือ ผู้จ้องย่องเข้าบ้าน จะทำร้ายบ้าน หรือคนในบ้าน
ตำรวจ คือ ผู้จ้องดูแลให้บ้านและผู้อาศัยปลอดภัย
ตู้ โต๊ะ เตียง คือ ของที่มักซื้อที่สำเร็จมาใช้ ต่อไปก็เพียงดูแล ให้ใช้ได้นาน
พาหนะ คือ สิ่งที่มีไว้ขนข้าวปลา ข่าวสาร หรือผู้คน
สายโทรศัพท์ สายไฟ น้ำมัน คือ แหล่งพลัง ตัวกลาง ให้อุปกรณ์ทำงาน และสื่อสารได้
แผนสร้างบ้าน คือ สิ่งที่ไปยื่นธนาคาร กู้เงินมาสร้างบ้าน
ดูบ้านอื่น ดูแบบบ้าน คือ การช่วยเจ้าของบ้าน ออกแบบ กำหนดได้ว่าบ้านในฝันจะเป็นไง
ทำความสะอาดบ้าน คือ ขจัดสิ่งไม่ใช้ออกไป จะได้เหลือที่สำคัญเท่านั้น
การศึกษาไทย กับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
คริสต์ศตวรรษที่ 21 ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 2001-2100
http://www.p21.org/overview
critical thinking = การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการคิดเชิงวิพากษ์
3 ส.ค.55 ไปซื้อกาแฟแก้วหนึ่งที่ลำปางระหว่างรอหมอที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ควักแบ็งค์ 20 สองใบเตรียมจ่ายค่ากาแฟ ปกติผมก็ดื่มกาแฟกระป๋องนะครับ กระป๋องละ 10 บาท มาวันนี้เข้าร้านกาแฟ กะว่า 40 บาทคงได้ทอนสัก 10 บาทเป็นแน่ แต่พอพนักงานรับตังไป เธอก็บอกผมว่า 45 บาทค่ะ ผมก็อึ้งเล็กน้อย ในใจลึก ๆ นึกว่า .. นี่ถ้าพกตังมา 40 บาท คงเสียศักดิ์ศรีของคนดื่มกาแฟแย่เลย (ผมมีอัตตาเหลืออยู่ในจิตสำนึกไม่น้อย) เพราะมีตังไม่พอจ่ายค่ากาแฟ 1 แก้ว ก็นึกขึ้นได้ว่าผมคงขาดทักษะในการเข้าร้านกาแฟแบบนี้ คงต้องหากาแฟกระป๋องในร้านสะดวกซื้อดื่มต่อไปซะแล้ว
ในระหว่างรอกาแฟ ก็อ่าน chiangmai mag หน้า 102 ฉบับที่เท่าไรไม่ทราบ แต่เป็นบทความเรื่อง “การศึกษาไทย กับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” เขียนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในบทความกล่าวถึงความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต ว่าต้องการบัณฑิตที่มีทักษะการทำงาน และทักษะชีวิตที่ดี ซึ่งรวมเป็นทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21
แล้วผมตั้งใจใช้ภาพนี้ เริ่มต้นในการสอนสำหรับ ศตวรรษที่ 21 ด้วย เพราะประทับใจคำว่า ผู้ใฝ่รู้ตลอดชีวิต (Life-long learners) เป็นคำถามที่น่าหาคำตอบนะครับ สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21
http://www.magazinechiangmai.com/cm-mag/?author=1
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496427
http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417
http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/
http://www.siamintelligence.com/education-reform-21-century/
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/mba/20120323/443450/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21.html
ดีต่อดี ของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ต่อยอด คนดีแทนคุณแผ่นดิน ที่ลำปาง
ดีต่อดี เป็นโครงการต่อยอดของโครงการคนดีแทนคุณแผ่นดิน
ที่ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 มีการบันทึกเทป เพื่อไปออกรายการทีวี
บริษัท เนชั่น มัลดีมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง จัดเสวนา “ดีต่อดี” แทนคุณแผ่นดิน
เพื่อเป็นการรณรงค์ และส่งเสริมให้เกิดการทำดีในสังคม
story telling
วิทยากรพูดถึงคำว่าต้นกล้าและติดตามผล เป็นการตอกย้ำความสำเร็จ
โครงการดำเนินการต่อเนื่อง ตั้งแต่ 2550
ปีนี้จึงต่อยอดด้วยการจัดเสวนา ดีต่อดี ที่ลำปางเป็นภาคแรก
มีคนดีร่วมโครงการไปแล้วกว่า 600 คนทั่วประเทศ
เพื่อนที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ นำนักศึกษาเข้าร่วมพร้อมหน้า
มีประเด็นพูดคุยหลายเรื่อง จากคนดีต่างวัย ต่างบทบาท ต่างพื้นที่
ประเด็นที่ผุดขึ้นระหว่าพูดคุยที่ชัด คือ การจัดการป่า การเผาป่า ปัญหาหมอกควัน
พระสงฆ์จากเมืองน่าน บอกว่า ป่าสงวนเป็นไร่ข้าวโพดไปหมดแล้ว
ตอนนี้สองผัวเมีย มีเครื่องมือเครื่องจักร เหมาทั้งเขา
การทำไร่ก็มีแต่ได้กับได้ ในการบุกป่าทำกิน
พอแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด แมลงลง ราคาตก พายุ รัฐบาลก็ชดเชย
แล้วป่าจะเหลือเหรอ และชวนคนลำปางไปร่วมกิจกรรมในอนุรักษ์ป่าช่วง summer ด้วย
ส่วนคุณพี่ผู้หญิงบ้านล่องบอน บอกว่าทุกวันนี้ต่อสู้กับนายทุน
ที่หวังมาซื้อที่ดินจากชาวบ้าน แต่ต้องสู้เพื่อปกป้องป่าต้นน้ำให้ลูกหลาน
ถ้าห้ามเผาป่าไม่เข้าใจ ก็ต้องอาศัยพระ คือสวดบังสุกุลในป่าที่ถูกเผา
จากนั้นก็ไม่มีการเผาป่าโดยคนในหมู่บ้านอีก เพราะชาวบ้านกลัวโดนแช่ง
น้องสาวปี 2 เคยเป็นผู้นำเยาวชนก็ยังทำงานต่อเนื่อง
เคยอยู่ลำพูน ตอนนี้เรียนต่อ มรภ.เชียงใหม่
เสนอแนวคิดว่า ภาครัญต้องเข้ามามีบทบาทมากกว่านี้
คุณพี่ egat บอกว่าเจ้านายหนุนให้ลงชุมชน ทำ CSR
ให้รถ ให้เวลา นอกจากสอนดนตรีกับเยาวชน
ก็ยังเผยแพร่เรื่องตอกเส้นด้วย เรื่องหมอกควันก็มาจากคนเก็บของป่าในชุมชน
เหมือนที่อื่นๆ แต่หนักกว่าเพราะแม่เมาะเป็นแอ่งกะทะ ควันไม่มีที่ไป
เผาเสร็จก็ลอยไป ลอยมา เข้าปอดชาวบ้านนั่นหละ
คุณพี่ผู้ชายตัวสูง พูดถึงยาฆ่าแมลงว่าต้องใช้มาตรการของชุมชน
ใครใช้ยาเป็นเลิกคบ ไหลลงแม่น้ำแม่จาก ไปลงแม่น้ำวัง
แล้วคนในเมืองก็สูงไปกินไปใช้ ยาทั้งนั้น
http://www.facebook.com/TanKhunPaenDin
งานเสวนาดีต่อดี แทนคุณแผ่นดิน
ขอเชิญคนดี ร่วมกิจกรรมเชื่อ
คุณสมบัติของคนดีแทนคุณแผ่นดิน
๑. เป็นคนดีที่ได้รับการยอมรับจากสังคม
๒. เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีมุมมองนอกรอบ
๓. มีผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมในวงกว้าง
๔. ผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้สร้างคุณประโยชน์ให้สังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน
๕. มีประวัติชีวิตและผลงานที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมได้ถือเป็นแบบอย่าง
http://www.facebook.com/TanKhunPaenDin
http://charoenjit.com/2010-09-05-03-34-52/41-2009-11-16-06-02-03/107-2009-11-30-09-52-55.html
โดย Admin ของ Charoenjit.com
คนดีในคำนิยามของหลาย ๆ คนเป็นอย่างไรเราไม่รู้ รู้แต่ว่านิยามความดีในแง่ความคิดของเรา คือ ไม่ใช่แค่เรารับผิดชอบตัวเองและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้ว ยังต้องแบ่งปันและช่วยเหลือคนอื่นในสังคมอีกด้วย
จะมีคนซักกี่คนที่ไม่แบมือ “ขอ (get)” อย่างเดียว และคิดจะ”ให้”(give) ด้วย
เราเองเคยได้ยินทุกคนไม่ว่าใครก็ตาม ต่างบอกว่าตัวเองเป็นคนดี ถ้าทุกคนเป็นคนดีจริงแล้วทำไมสังคมยังแย่อยู่แบบนี้ หรือ นั่นเป็นการหลงผิดของมนุษย์เท่านั้นเอง คนฉลาดจะไม่ยกยอตัวเอง เพราะจะมีคนเห็นในความดีหรือความฉลาดนั้นเองโดยไม่ ต้องเชิญชวน แต่คนโง่เท่านั้นที่จะยกยอตัวเองเพื่อให้คนอื่นได้เห็นกับความดีหรือความ ฉลาดเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับ ที่มาของคำว่า “i know that i know nothing” ของโสเครติส ที่หมายความว่า ฉันรู้ว่าฉันไม่รู้อะไรเลย นั่นแหละที่จะทำให้เราวางทิฐิและสามารถรับฟังความเห็นของคนอื่นได้มากและทำ ให้เรากลายเป็นคนฉลาดได้ในที่สุด หรือ เรียกได้ว่า อย่าอวดฉลาดเท่านั้นเอง
ดังนั้นในสายตาที่เรามองเห็นคนที่ทำความดีนั้น มักจะไม่ใช่คนที่อวดอ้างตัวเอง มักจะไม่ใช่คนที่ทำ เพื่อเอาหน้าตาทางสังคม แต่เป็นคนที่ทำแบบปิดทองหลังพระ และไม่หวังผลตอบแทนหรือคำสรรเสริญใด ๆ จากคนรอบข้าง เพราะแสดงให้เห็นว่าเค้าได้ทำ เพราะเค้าอยากทำด้วยใจ การที่ไม่ได้อวดให้ใครเห็นแสดงว่าเค้าก็ไม่ได้ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆเช่น เดียวกัน และนั่นคือ การทำความดีที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
ใครเอาเนยแข็งของฉันไป
บทคัดย่อเรื่อง “ใครเอาเนยแข็งของฉันไป”
แปลจากหนังสือเรื่อง “Who moved my cheese?”
แต่งโดย นายแพทย์ สเปนเซอร์ จอห์นสัน
ปรับมาจากบทความของ g4968073 @ pirun.ku
ที่มาที่ทำให้เรื่องนี้น่าสนใจ
1. Barack Obama ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐ พูดคำว่า “hope” and “change”
2. ในทางไอที เมื่อพัฒนาองค์กรโดยใช้ไอที ย่อมเกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเสมอ
3. อาจารย์ที่สอนแฟนใน วิชา HR แนะนำหนังสือ “ใครเอาเนยแข็งของฉันไป”
4. บทบาทในนิทานมี 2 บทบาทสำคัญคือ
หนูชื่อ scurry(ลนลาน), sniff(สูดกลิ่น) และคนแคระชื่อ hem(ปิดล้อม) และ haw(ลังเล)
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1684/
เกริ่นนำ
(Introduction)
แองเจล่า เนธาน คาร์ลอส ไมเคิล และเพื่อนร่วมห้องอีกหลายคน นัดทานข้าวหลังงานเลี้ยงรุ่นวันหนึ่ง หลังจากไม่ได้พบหน้ากันมานาน เพราะต่างคนต่างแยกย้ายไปทำงาน ตามทางของตน การพบกันคราวนี้จึงเป็น โอกาสให้ทุกคนได้คุยหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน การสนทนาหลังอาหารดำเนินไปอย่างออกรสชาติ แต่ละคนได้แลกเปลี่ยนเรื่องสารทุกข์สุกดิบให้กันและกันฟัง
แม้จะแตกต่างกันด้วยอาชีพการงาน ทุกคนต่างรู้สึกเหมือนกันว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิตมากมาย และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดช่างเป็นเรื่องยาก เพื่อนหลายยอมรับว่ายังไม่รู้ว่าจะ “รับมือ” กับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
แล้ววงสนทนาก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับ สาเหตุ(cause) ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยยอมเปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวตลอดเวลา คาร์ลอส กัปตันทีมฟุตบอลของโรงเรียน ผู้ซึ่งมีกิตติศัพท์เรื่องความเก่งกล้าทางกีฬา สรุปให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า “บางทีเราอาจจะกลัวความเปลี่ยนแปลงก็ได้”
“ตอนที่เกิดเรื่องกับธุรกิจของผม ผมเองก็กลัวเหมือนกัน กลัวโน่นกังวลนี่ จนไม่กล้าทำอะไรซักอย่างจนเกือบจะเสียอะไร ๆ ไป พอมาได้ยินนิทานเรื่อง “ใครเอาเนยแข็งของ ฉันไป” ก็เลยได้คิด ผมเริ่มมองการเปลี่ยนแปลงด้วยมุมมองใหม่ แล้วชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัวก็เริ่มดีขึ้น”
ประโยคสุดท้ายของไมเคิล ได้จุดประกายความอยากรู้อยากเห็นของเพื่อน ๆ ที่นั่งรอบโต๊ะอาหาร แล้วเพื่อนก็พร้อมใจกันพูดว่า “เล่าให้เราฟังบ้างสิ ไมเคิล”
—————————————————-
เรื่อง ใครเอาเนยแข็งของฉันไป
(Who moved my cheese?)
ณ ดินแดนอันไกลโพ้นที่มีชื่อเรียกขานกันว่า “อาณาจักรแห่งเมซ” ซึ่งภายในเต็มไปด้วย ช่องคดเคี้ยวไปมาราวเขาวงกตและโพรงลึกลับมากมาย ภายในโพรงเหล่านี้บางแห่งมืดทะมึนน่ากลัว แต่บางแห่งกลับเต็มไปด้วยเนยแข็งรสโอชะ อาณาจักรแห่งเมซ เป็นที่อาศัยของหนูสองตัว ชื่อ scurry และ sniff และคนแคระสองคน ชื่อ hem และ haw ทั้งหมดมีชีวิต ด้วยการกินเนยแข็งเป็นอาหาร
scurry และsniff ก็เหมือนหนูทั่ว ๆ ไป หาอาหารโดยใช้จมูกดมกลิ่นและวิ่งตามหาไปเรื่อย มันใช้สัญชาตญาณเป็นหลัก ผิดบ้างถูกบ้าง ถ้าเข้าไปในโพรงไหนแล้วไม่พบอะไร ก็หันหลังกลับออกมา แล้ววิ่งหาต่อไปจนกว่าจะพบเนยแข็งที่ต้องการ
hem และ haw มีสมองที่ฉลาดล้ำและเต็มไปด้วยความเชื่อต่าง ๆ นานา ทั้งคู่รู้จักคิดและเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต และเชื่อว่า “เนยแข็ง” แบบที่ตนกินต้องพิเศษกว่าของใครอื่น ทั้งสองเชื่อว่าเนยแข็งชนิดพิเศษจะทำให้ชีวิตมีความสุขและสมหวัง
แล้วทั้งสี่ชีวิตก็ค้นพบโพรงมหึมาที่มีเนยแข็งอยู่เต็มเพียบ ทั้งคนแคระ ทั้งหนูต่างเลือกกิน กันอย่างสบายอกสบายใจ อิ่มแล้วก็กลับบ้านนอน เช้าวันรุ่งขึ้นก็วิ่งกลับมาใหม่ scurry และ sniff เป็นหนูขยัน ตื่นแต่เช้าแล้วออกวิ่งตามเส้นทางเดิมมุ่งหน้าไปยังโพรงเนยแข็งเหมือนเคยทุกวัน ทำเช่นนี้เป็นกิจวัตรประจำ hem และ haw มาพักหลัง เริ่มขี้เกียจ และมองไม่เห็นความจำเป็นว่าจะต้องเร่งรีบตื่นเช้าไปทำไม ในเมื่อ “เรามีเนยแข็งอยู่ตั้งเยอะ กินจนตายก็ไม่หมด” ทั้งสองดีใจกับความสุขใหม่ในชีวิต และเฝ้าบอกตัวเองว่าต่อจากนี้ไปไม่ต้องห่วงอะไรอีกแล้ว
“มีเนยแข็งอยู่กับตัวกลัวอะไร ชีวิตมีแต่สุข สดใส ไร้กังวล”
hem และ haw เขียนข้อความนี้ติดฝาผนังบ้านตัวเองแล้ววาดรูปเนยแข็งล้อมไว้
วันเวลาผ่านไป ความสบายใจกลับกลายเป็นความชะล่าใจในที่สุด ทั้งคู่ไม่เคยสังเกตเลยว่า เกิดอะไรขึ้นกับเนยแข็งในโพรงมหึมานั้น ตรงกันข้ามเจ้าหนู scurry และ sniff ซึ่งวิ่งไปถึงแหล่งอาหารแต่เช้าทุกวัน เมื่อถึงแล้วก็ถอดรองเท้าห้องคอไว้จะได้ไม่หาย เพราะอาจต้องใช้รองเท้าวิ่งไปหาอาหารในแหล่งอื่นต่อไป เนื่องจากสังเกตเห็นว่าเนยแข็งที่มันกินร่อยหรอลงทุกวัน มันจึงไม่แปลกใจที่อยู่มาวันหนึ่ง พบว่าไม่มีเนยแข็งเหลืออยู่ในโพรงเลย มันรู้อยู่เต็มอกว่าเหตุการณ์นี้จะต้องเกิดขึ้นสักวัน และเมื่อวันนั้นมาถึงมันจึงไม่เสียเวลากับการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพราะคำถามและคำตอบแจ่มแจ้งอยู่ตรงหน้า ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว ด้วยสัญชาตญาณของหนูมัน จึงรู้ทันทีว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ว่าแล้ว scurry และsniff ก็ไม่รอช้า รีบวิ่งปรู๊ดออกไปหาเนยแข็งก้อนใหม่ทันที
สายวันเดียวกัน hem และ haw เดินทอดน่องมาถึงโพรงเนยแข็งที่เดิม โดยที่ ไม่เคยเตรียมอก เตรียมใจมาก่อน ทันทีที่ไม่เห็นอาหาร ทั้งคู่จึงตกใจและทำใจไม่ได้ “ใครมาเอาเนยแข็งของฉันไป” hem และ haw ถามกันวุ่นวายและเริ่มโวยวายว่า “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมไม่มีใครมาบอกก่อน ว่ามันจะหมด ทำอย่างนี้ก็แย่ซิ อุตส่าห์วางแผนในชีวิตไว้ตั้งเยอะ หายไปเฉย ๆ แบบนี้แล้วพรุ่งนี้จะทำอย่างไรล่ะ” ทั้งคู่วนเวียนคิดไปคิดมาอยู่หลายตลบกับการค้นหาคำตอบว่าทำไมเนยแข็งจึง “หายไป” มันหายไปไหน ใครเอาไป ชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีอะไรกิน
“ยิ่งเนยแข็งสาคัญกับเรามากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งยึดติดกับมันมากเท่านั้น”
haw เขียนบอกตัวเองบนฝาผนัง
“ทำไมเราไม่ออกไปหาที่ใหม่ล่ะ บางทีอาจจะมีเนยแข็งอยู่ที่อื่นอีกก็ได้นะ” haw ออกปากชวนเพื่อน
“ไม่เอา” hem รีบปฏิเสธ
“ฉันคุ้นกับตรงนี้แล้ว มันสบายดี อีกอย่าง ฉันเองก็แก่แล้ว ไม่อยากออกไปวิ่ง เสียแรง เสี่ยงหลงทางด้วย ที่อื่นจะเป็นยังไงก็ไม่รู้ นายรู้ได้ยังไงว่า ออกไปหาแล้วจะเจอ สู้เรานั่งรอตรงนี้ ต่อไปอีกหน่อยดีกว่า อีกเดี๋ยวเขาก็เอาเนยแข็งมาคืนเองแหละ” hem อธิบาย
ขณะที่คนแคระทั้งคู่เฝ้ารออย่างลม ๆ แล้ง ๆ ว่าเมื่อไหร่อาหารวิเศษของตนจะกลับมา เจ้าหนู scurry และ sniff ซึ่งไม่ได้คิดอะไรอื่น นอกจากใช้จมูกดม แล้ววิ่งหาแหล่งอาหารแห่งใหม่ ก็ได้พบสิ่งที่มันต้องการ เนยแข็งกองมหึมาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนกองอยู่ในโพรงตรงหน้า
ความกลัวทำให้ทั้ง hem และ haw ไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ทั้งคู่นิ่งไม่ยอมทำอะไร นอกจากเวียนไปวนมาดูโพรงที่ปราศจากเนยแข็ง เฝ้ารอวันแล้ววันเล่า ราวกับจะได้คำตอบที่ต้องการ ยิ่งรอนานวันเข้าสถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลง ทั้งคู่ตัวผอมโซ อ่อนโรย สมองเครียดหนักขึ้นทุกวัน เพราะไม่มีอะไรกิน แล้ววันหนึ่ง haw ก็หัวเราะให้กับความโง่เขลาของตนเอง และตะโกนบอกเพื่อนว่า “โธ่เอ๊ย จะให้อะไร ๆ มันดีขึ้นได้ยังไง ก็เรามัวแต่อยู่กันอย่างนี้ จะไปได้อะไร วนถามไป ๆ มา ๆ แต่เรื่องเก่า ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทุกวัน ตอนนี้อะไร ๆ มันเปลี่ยนไปแล้ว และคงไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมได้อีก ชีวิตเราก็เหมือนกันไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันไป จริงมั๊ย”
“ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง เราคงต้องสูญพันธุ์แน่เลย“ haw เขียนข้อความ เตือนเพื่อนและตัวเองบนฝาผนัง
ในที่สุด haw ก็ตัดสินใจว่าจะออกไปหาอาหารที่ใหม่ การปลดเปลื้องตัวเองให้หลุดพ้นจากความกลัว ทำให้เขารู้สึกปลอดโปร่ง และกระชุ่มกระชวยขึ้นมาอย่างประหลาด ถึงตอนนี้เขารู้แล้วว่า การกลัวอะไรมากเกินไปจนไม่กล้าขยับทำอะไรเลยเป็นสิ่งไม่ดี แต่บางครั้งความกลัวก็อาจ ให้ผลดีเหมือนกัน เพราะมันอาจเร่งให้เราตัดสินใจทำอะไรบางอย่างได้แต่เนิน ๆ
“รู้งี้ตัดใจตั้งแต่แรกก็ดีหรอก มัวแต่นั่งลุ้นรอ ไม่มีอะไรกินอยู่ในนั้นตั้งนาน หิวก็หิว โทรมก็ โทรม คราวหน้าถ้าเจอแบบนี้อีก มันจะรีบปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้เร็วกว่านี้ อะไรๆ จะได้ง่ายขึ้น” haw พร่ำบอกตัวเองว่าเหตุการณ์คราวนี้เป็นบทเรียนสำคัญ แต่ถึงจะช้า ก็ยังดีกว่าไม่ตัดสินใจทำอะไรเลย เขาเขียนสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้ใหม่บนฝาผนังว่า
“คุณจะรู้สึกเป็นอิสระ เมื่อก้าวพ้นความกลัว”
แล้ว haw ก็ออกตระเวนหาเนยแข็งก้อนใหม่ ทั้ง ๆ ที่ยังรู้สึกไม่มั่นใจนักว่าจะได้เจอ ทุกอย่างดูเลือนราง สับสน แต่ก็ไม่ได้น่ากลัวมากอย่างที่คิด เขายอมรับว่าบางทีก็รู้สึกท้อแท้ แต่ทุกครั้งที่ เริ่มรู้สึกท้อแท้ เขาจะรีบยับยั้งและเตือนตัวเองว่า “ถ้า scurry และ sniff ทำได้ ฉันก็ทำได้ เหมือนกัน” ไม่นานเขาก็เริ่มคิดได้ว่าที่จริงเนยแข็งในโพรงคงไม่ได้หายวับไปในพริบตาอย่างที่คิด ถ้าได้เฉลียวใจดูสักนิดก่อนหน้านี้ก็คงเห็นว่าเนยแข็งมันร่อยหรอลงทุกวัน นี่เป็นเพราะเขาไม่ได้คิดล่วงหน้าว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ก็เลยต้องมาเจอสถานการณ์แบบนี้
“อย่ามัวแต่กินอย่างเดียว ต้องดม ๆ เนยแข็งดูบ้าง จะได้รู้ว่ามันเก่าหรือเปล่า” haw เขียนข้อความเตือนใจบนฝาผนังอีก
haw ยังคงเดินหาเนยแข็งต่อไปตามช่องทางที่ลดเลี้ยวและมุมมืดต่าง ๆ แต่ก็ผิดหวัง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีแต่โพรงที่ว่างเปล่า บางโพรงมีแต่เศษเนยแข็งตกอยู่นิดหน่อย เขารู้ทันทีว่าต้องมีใครมาถึงโพรงแห่งนี้ก่อน และกินเนยแข็งไปจนหมด แล้วเขารู้สึกเสียดายว่าถ้าตัดสินใจเร็วกว่านี้อีกนิด ไม่มัวแต่คิดกลัวอะไรไปบ้า ๆ ป่านนี้คงได้อิ่มอร่อยไปแล้ว
“ปล่อยวางจากเนยแข็ง ก้อนเดิมได้เร็วเท่าไหร่ ก็มีโอกาสพบเนยแข็งก้อนใหม่เร็วขึ้นเท่านั้น”
haw เดินย้อนกลับไปหาเพื่อนหวังชวนออกไปหาอาหารด้วยกัน แต่ hem ก็ยังไม่ยอมร่วมทางด้วยอยู่ดี “ยังไง ฉันก็จะอยู่ ตรงนี้ จนกว่าจะได้เนยแข็งของฉันกลับมา ฉันไม่ยอมเปลี่ยนอะไรทั้งนั้น จนกว่าจะได้ของที่อยากได้” haw จำต้องปล่อยให้เพื่อนอยู่ในโพรงที่ปราศจากเนยแข็งต่อไป เขารู้แล้วว่าความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่าทุกอย่างจะอยู่ยั่งยืนตลอดไป บัดนี้ได้เปลี่ยนไป แล้ว เขาเริ่มยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดาและเกิดขึ้นตลอดเวลา อาการตกใจหรือประหลาดใจเกิดขึ้น เพราะเขาไม่ยอมรับหรือรู้เท่าไม่ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่างหาก
“ความเชื่อเก่า ๆ ที่ฝังอยู่ในหัว ไม่ได้ช่วยให้เราพบเนยแข็งก้อนใหม่เลย” haw เขียนเป็นอุทาหรณ์เตือนใจ
“การสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง แม้เพียงเล็กน้อย แต่เนิ่น ๆ ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่จะตามมาได้ง่ายขึ้น”
haw เดินต่อไปจนถึงโพรงใหญ่แห่งหนึ่ง ตาของเขาเบิกกว้างและหัวใจพองโต ด้วยความดีใจเมื่อเห็นเนยแข็ง จำนวนมากมายกองโตเป็นภูเขาอยู่ในโพรงแห่งนั้น เขาเห็นเจ้าหนู scurry และ sniff อยู่ข้าง ๆ มันยิ้มรับและโบกมืออันอวบอ้วนทักทาย เขารู้ในทันทีว่าหนูทั้งสองตัวคงอยู่กิน ที่นี่มานานโขแล้ว
haw ใช้เวลาขณะที่กำลังอร่อยกับเนยแข็งก้อนใหม่ ประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสรุปว่าจุดแรกที่ทำให้เขาเริ่มเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นมาจากการที่เขาเปิดใจยอมรับว่าตัวเองทำผิด และวิธีที่เร็วที่สุดที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงก็คือ การสลัดอดีตทิ้งไปและก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
เขารู้สึกละอายใจ เมื่อคิดเปรียบเทียบตัวเองกับเจ้า scurry และ sniff ซึ่งเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีสมอง แต่กลับเอาตัวรอดกับสถานการณ์นี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เขาได้บทเรียนชิ้นสำคัญจากเหตุการณ์นี้เป็นประโยชน์ต่อการ “รับมือ” กับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า
* ต้องรู้จักวิธีที่จะทำให้ชีวิตเป็นเรื่องง่าย มีความยืดหยุ่น และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
* ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก หรือปล่อยให้ความเชื่อเก่า ๆ มาทำให้เรากลัวและสับสน
* การสังเกตเห็นหรือล่วงรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่าที่จะมาถึงได้ดีขึ้น
* การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต้องกระทำอย่างรวดเร็วและทันการณ์ จึงจะมีประโยชน์
* อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้เราเปลี่ยนแปลงก็คือตัวของเรานั่นเอง ไม่มีใครสามารถควบคุมหรือผลักดันให้เรา “เปลี่ยน” ได้ ถ้าเราไม่ยอม “เปลี่ยน” ตัวเอง
* มี “เนยแข็ง” ก้อนใหม่รอให้เราค้นพบอยู่เสมอ เพียงถ้าเราตัดสินใจออกแสวงหา สิ่งสำคัญคือ ต้องสลัดตัวเองให้หลุดพ้นจากความกลัว ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จึงจะบรรลุเป้าหมายได้ตามที่หวัง
* ความกลัวบางครั้งก็มีประโยชน์ หากมันทำให้เราหลีกเลี่ยงอันตรายได้ แต่บ่อยครั้งที่ความกลัวเป็นเรื่องไร้สาระ และเป็นสาเหตุสาคัญที่ขัดขวางไม่ให้เรา “เปลี่ยน” ในยามจำเป็น
* การเปลี่ยนแปลงนำมา ซึ่งสิ่งที่ดีกว่า และทำให้เราได้ “ค้นพบ” ตัวเราเอง
รวบรวมสัจจธรรม
ที่ได้ค้นพบและเรียนรู้ด้วยตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นนิรันดร์
มีคนคอยย้ายเนยแข็งของเราอยู่เสมอ
เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
พร้อมเสมอเมื่อเนยแข็งถูกย้ายไปจากที่เดิม
หมั่นตรวจดูว่ามีอะไรเปลี่ยนไปหรือไม่
ต้องคอยดมกลิ่นเนยแข็งเป็นประจำ จะได้รู้ว่ามันเสียหรือเปล่า
เปิดใจให้ยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ปล่อยวางจากเนยแข็งก้อนเดิมได้เร็วเท่าไหร่
ก็มีโอกาสพบเนยแข็งก้อนใหม่เร็วเท่านั้น
“เปลี่ยน” ตัวเอง ขยับตัวเองไปพร้อม ๆ กับเนยแข็งก้อนนั้น
เตรียมพร้อม .. ทำตัว ทำใจ ให้สนุกกับ การเปลี่ยนแปลง
ตื่นเต้นกับการผจญภัย เพื่อค้นหาเนยแข็งก้อนใหม่และเอร็ดอร่อยกับรสชาติของมัน
เตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เมื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่มาถึง
เพราะมีคนคอยย้ายเนยแข็งของเราอยู่เสมอ
ชีวิตคนเราคงหาความสุขไม่ได้
หากไม่รู้จักเรียนรู้ที่จะ “Move with the Cheese”
ปรับมาจากบทความของ g4968073
http://pirun.ku.ac.th/~g4968073/report/475534/Wh o%20move%20my%20Cheese.pdf
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านเคยเป็นเจ้านายใน “ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)” เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปาง และชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก
http://www.fungdham.com/sound/kasem.html
ประวัติ
หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็กมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง) เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศรีษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น
เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา
ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเก็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย
หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ถึงแก่พิราลัย ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2
tourism cluster ที่ ม.เนชั่น
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวต้อนรับใน การสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนโครงการ Tourism cluster กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2555 (ภายใต้โครงการนวัตกรรมการตลาดท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ปีมหัศจรรย์ ไทยแลนด์) ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555 โดยมี นายชนะ เจริญพร ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำปาง กล่าวรายงาน โดยมี นายสุรชัย จงรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมกับบรรยายพิเศษเรื่อง “โอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง”
10.00 – 12.00น. มีเวทีเสวนาเรื่อง “ย้อนอดีต มองอนาคต การพัฒนา Tourism Cluster 4 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน 1” มีผู้ร่วมเวทีคือ คุณสราวุธ แซ่เตี๋ยว นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ คุณสุรพล ตันสุวรรณ นายกสมาคมท่องเที่ยวนครลำปาง คุณชีรโชติ สุนทรารักษ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน คุณสุพจน์ กลิ่นปราณีต นายกสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินรายการโดย ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ ประธานคณะทำงานส่งเสริมการวิจัย และบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเนชั่น
13.00 – 15.00 น. จัดเสวนากลุ่มย่อย เรื่อง การพัฒนาโครงการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพบนเส้นทางการท่องเที่ยว 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน แล้วนำเสนอพร้อมกับประกาศผลลำดับความสำคัญของโครงการท่องเที่ยว
งานสัมมนา ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับเนชั่น กรุ๊ป และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมมนา “ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจสู่ประชาคมอาเซียน จากผู้บริหารมืออาชีพในระดับประเทศ เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง กล่าวต้อนรับ และ คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการบรรยายพิเศษ จากนั้น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้เพื่อการบริหารจัดการธุรกิจสู่ประชาคมอาเซียน จากผู้บริหารมืออาชีพในระดับประเทศ ในวันดังกล่าวได้มีการเสวนาหัวข้อสำคัญ เรื่อง “จากลำปาง สู่ AEC” โดยคุณอธิภูมิ กำธรวรินทร์ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง คุณอนุศิษฏ์ ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้า จังหวัดลำปาง และนายนิรันดร์ ปาเต็ล บริษัท ITC NTRECUT จำกัด นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ( M.B.A.) ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ร่วมเสวนาในครั้งนี้
ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึง การที่ประเทศไทยจะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และความสัมพันธ์กับภายนอกภูมิภาคอาเซียน ได้ตระหนักถึงการสร้างความรู้ และความเข้าใจเรื่องอาเซียน ต่อสาธารณชน และเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นการเตรียมความพร้อม อีกทั้งถือเป็นการพัฒนาบุคลากร เกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 ด้าน คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ด้วยทิศทางประเทศไทยในประชาคมอาเซียนร่วมกันภายในปีพุทธศักราช 2558 อย่างสง่างามและสมภาคภูมิ
ข่าวโดย นิเวศน์ อินติ๊ป
http://www.ustream.tv/recorded/23815560
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.339255416151550.76624.228245437252549
http://www.nation.ac.th/newsletter/prasan.html
บันทึกจากการฟังด้วย mindmap
เรียนปริญญาตรี ภาคเสาร์อาทิตย์
ข่าวเกี่ยวกับการศึกษาที่ลำปาง
เรียนปริญญาตรีใบที่ 2 ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นหลักสูตรปริญญาตรี ภาคพิเศษ รับทั้งที่ลำปาง และกรุงเทพฯ ใน 4 คณะวิชาได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีค่าลงทะเบียน 30,000 บาท/ภาคการศึกษา ใช้วิธีคัดเลือกจากการสอบสัมภาษณ์ มีรายละเอียดที่ http://www.nation.ac.th หรือสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย (สามารถใช้เวลาศึกษาน้อยกว่า 4 ปี สำหรับระดับ ปวส. หรือปริญญาใบที่ 2 โดยขึ้นกับสาขาวิชาของวุฒิปวส./ปริญญาตรีที่สำเร็จมา และการพิจารณาเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย)