เล่าขานตำนานบุญวาทย์

bunyawat book

bunyawat book

มีโอกาสได้รับหนังสือเล่มหนึ่งจาก พระครูสังวรสุตกิจ ซึ่งเป็นหนังสือเผยแพร่ อ่านดูพบว่า หนังสือเล่าถึงการเชื่อมโยงของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ โรงเรียนบุญวาทย์ ถนนบุญวาทย์ วัดบุญวาทย์วิหาร หน่วยงานในวัดบุญวาทย์วิหาร  จิตกรรมฝาผนังวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งรวบรวมโดยพระครูสังวรสุตกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง และอาจารย์ประจำวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

เล่าขานตำนานบุญวาทย์

เล่าขานตำนานบุญวาทย์

http://www.mculampang.com

แล้วนำมาทำ e-book มีขั้นตอนดังนี้
1. นำหนังสือมาตัดขอบให้เป็นแผ่น
ทำให้สะดวกในการเข้าเครื่อง scan แบบ auto feed
2. นำเข้าเครื่อง scan
ทำให้ได้แฟ้มภาพ .jpg มาจำนวน 50 กว่าภาพ
3. นำมาตั้งชื่อใหม่ อาทิ b01.jpg
ทำให้แต่ละหน้ามีชื่อเรียกที่สื่อความหมาย ไปถึงเลขหน้า
แล้วขนาดภาพหลัง scan กว้างมากกว่า 2000 px
4. ใช้ crop ใน Microsoft picture manager ของ Office 2010
ตัดขอบออก ให้เหลือเท่าที่จำเป็น เพราะแต่ละภาพที่ได้มา มีขนาดไม่เท่ากัน
5. คัดลอกไป folder ใหม่
แล้วใช้ irfanview ลดขนาดภาพ ให้กว้าง 512 px และเพิ่ม sharpen
เพื่อนำไปใช้ใน flip album
6. นำภาพที่ได้ในข้อ 3 ส่งเข้า photo printing wizard
แล้วส่ง print ไปที่ PDFCreator เพื่อสร้างแฟ้ม pdf
เสร็จแล้วได้แฟ้ม pdf ขนาด 50 MB ซึ่งเก็บรายละเอียดได้ชัดเหมือนเอกสาร
7. นำภาพที่ได้ในข้อ 3 ส่งเข้า facebook page เพื่อเผยแพร่ให้แก่สมาชิก
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.342993125811673.1073741825.115935711850750
8. ส่งภาพทั้งหมดในข้อ 5 ไปที่ Web Server
ซึ่งเตรียม script ของ flip album ไว้รอท่า ทำให้มี e-book แบบ online
http://www.thaiall.com/e-book/bunyawat
9. นำแฟ้มในข้อ 6 ส่งไปที่ scribd.com
เพื่อฝากแฟ้มขนาดใหญ่ไว้ใน social media website สำหรับบริการลักษณะนี้
http://www.scribd.com/doc/127776462/
10. แชร์ (Share) ไปยัง page หรือ blog หรือ profile ต่าง ๆ
เพื่อเป็นการเผยแพร่ e-book ในรูปแบบที่เหมาะสม เพราะมี 3 รูปแบบที่พร้อมเผยแพร่แล้ว
อาทิ blog ของ http://www.lampang.net

ทุกคนในองค์กรมุ่งร้ายกับองค์กร .. งานเข้าล่ะสิ

ทุกคนในองค์กรมุ่งร้ายกับองค์กร .. งานเข้าล่ะสิ

ทุกคนในองค์กรมุ่งร้ายกับองค์กร .. งานเข้าล่ะสิ

ตอนสามในบทความเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต”

การทำงานโดยทั่วไปแล้วต้องเกี่ยวพันกับคนอื่น
ให้เริ่มต้นด้วยการคิดว่าคนอื่นไม่ได้หวังร้ายกับตัวเราหรืองานของเรา
คนอื่นก็เป็นส่วนหนึ่งของงานของหน่วยงาน
ถ้ามองกันในแง่ดีไว้ก่อน ต่างคนต่างมีเครดิตในสายตาของอีกคนหนึ่ง
ทำงานด้วยกันก็ไม่ยาก งานไหนเกินกำลังจริง ๆ ต้องขอแรงกันบ้างก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน

แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยการมองทุกคนในห่วงโซ่ของงานนั้นเป็นคนที่หวังร้ายกับเราไปหมด
คราวนี้เขาเชื่อที่เราบอก เราก็ไม่เชื่อว่าเขาเชื่อจริง จนคิดไปไกลว่าเขาวางกับดักอะไรอยู่
ถ้าท่านใดทำงานที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ของงานใหญ่อีกงานหนึ่ง
แล้วคิดว่ารอบวงมีแต่คนที่เกลียดเรา มีแต่คนที่ไร้ฝีมือ มีแต่คนที่ไม่น่าเชื่อถือ
ขอให้เปลี่ยนไปหางานอื่นทำโดยเร็ว เพราะยิ่งทำจะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ ทั้งเขาทั้งเรา

แต่ถ้าเปลี่ยนงานไม่ได้ก็ต้องเริ่มมองใหม่ทีละคนสองคน
มองหาความน่าเชื่อถือของคนที่เราต้องทำงานด้วยให้เจอให้ได้สักเรื่องสองเรื่อง
ลองเปลี่ยนความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับคนนั้นดูสักหน่อย
คนที่เราไม่เคยเชื่อนั้นอาจไม่ได้ไม่น่าเชื่อถืออย่างที่เราเคยคิดก็ได้

(3/3)
จากเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต” โดย ดร.บวร ปภัสราทร
http://bit.ly/WtjtXG

ตารางเรียนฤดูร้อน

ตารางเรียนฤดูร้อน

ตารางเรียนฤดูร้อน

เป็นตัวอย่างที่ดีของการวางแผนหลายเรื่อง
แล้วตารางก็ใช้กำกับแผนที่จะทำ ไ่ด้ผลกว่าแผนภาพแบบอื่น

 

เด็กที่บ้านได้เอกสารมา คือ ตารางการเรียนภาคฤดูร้อนกับ โรงเรียนเสริมวิชาการลำปาง (ดิวดรอป) ซึ่งเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ วิชามีสาระเข้มข้น เรียนล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม โดยทีมคณาจารย์ผู้มีประสบการณ์จากโรงเรียนประจำจังหวัด และสอนสดในวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา ช่วง 1 – 30 เมษายน 2556 ค่าเรียน 1600 บาท เฉลี่ยชั่วโมงละ 18 บาท อยู่เยื้องโรงเรียนลำปางกัลยาณี มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ dewdroplp.com

เห็นตารางแล้วผมก็รู้สึกอึ้ง ๆ ว่าเด็กสมัยนี้เรียนหนัก จากกระแสการพัฒนาทางการศึกษาของ ศธ. บอกว่าลดการบ้าน ลดวิชาลง สอนเน้นที่สำคัญ หรืออะไรอีกมากมาย ผมว่าโรงเรียน กับเด็กในหลายจังหวัดไม่ค่อยเข้าใจนโยบายของรัฐ เพราะหลังเลิกเรียนเห็นผู้ปกครองไปเดิน central plaza ลำปาง แล้วบอกผมว่ารอรับเด็กตอนทุ่มกว่า ถ้าม.ปลาย ก็หลายทุ่ม ส่วนสุดสัปดาห์ก็ตะเวนส่งเด็กไปตามครูเฉพาะทาง แล้วสิงกันตามใต้ต้นไม้ในระแวกบ้านคุณครู มีเพื่อนบอกว่าสัปดาห์หนึ่งเรียน 6 ที่ ค่าใช้จ่ายก็ราว 3 พัน/คน/เดือน แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาต้องมีตาราง ซึ่งได้จากการวางแผนของครู นักเรียน และผู้ปกครอง จะได้ไม่สับสน และเตรียมตังไว้จ่าย

เคยบันทึกไว้ว่าที่ลำปางในเขตเมือง
มีโรงเรียนกวดวิชาที่เปิดเผยกว่า 30 โรงเรียน/สถาบัน
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/528/

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151319537397272&set=a.423083752271.195205.350024507271

upgrade wordpress ใน lampang.net

top of wordpress

top of wordpress

21 ก.พ.56 มีโอกาสอัพเกรด wordpress ของ thaiabc.com/lampangnet เป็น 3.5.1 และทำให้ tracker ของ truehits.net หายไป เมื่อต้องเอากลับเข้าไปใส่ ผมก็เพิ่มของ nedstatbasic.net ซึ่งปัจจุบันเป็น  motigo.com เข้าไปด้วย เป็น 2 สถิติควบคู่กันไป โดยเพิ่มเข้าไปที่ footer.php ผ่าน appearance, editor

แล้วเพิ่มก่อนปิด tag ของ body แล้วปรับแก้ style.css ดังนี้
#site-title a {font-size: 30px;}
#site-title a {font-size: 14px;} ทำให้เท่ากับ site-description

#branding hgroup {margin: 0 7.6%;}
#branding hgroup {margin: 0 1%;} ทำให้ชิดซ้าย

#branding #searchform {top: 3.8em;}
#branding #searchform {top: 1em;} ทำให้สูงจากด้านบน 1 เท่าของตัวอักษร

#site-title {padding: 3.65625em 0 0;}
#site-title {padding: 1em 0 0;} ทำให้สูงจากด้านบน 1 เท่าของตัวอักษร

#branding {background: #3B5998;} เพิ่มสีของ fb

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครลำปาง

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครลำปาง

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครลำปาง

ประกาศจากผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลนครลำปาง
เรื่อง ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครลำปาง

ตามที่ได้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครลำปาง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 นั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเทศบาลนครลำปาง  ได้ดำเนินการรวมผลคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เสร็จสิ้นแล้ว และได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันเกี่ยวกับผลการนับคะแนนเลือกตั้ง เรียงตามลำดับผู้ได้รับคะแนนสูงสุด ดังนี้
ลำดับที่ 1
นายกิตติภูมิ นามวงค์ หมายเลขประจำตัวผู้สมัครหมายเลข 2 ได้คะแนน
10,545 คะแนน

ลำดับที่ 2
นายนิมิตร จิวะสันติการ หมายเลขประจำตัวผู้สมัครหมายเลข 1 ได้คะแนน
9,577 คะแนน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=328753587236620&set=a.328753560569956.66499.100003059451266

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

มาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน

เทศบาลนครลำปาง
มีมาตรการ 100 วันอันตราย จากปัญหาหมอกควัน ..
รณรงค์ หยุดเผา ขยะ เศษไม้ ใบหญ้า
ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสุขภาพตัวเองและผู้อื่น
ระหว่าง 21 ม.ค. – 30 เม.ย. 2556

โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าปีนี้น่าจะลดลงกว่าทุกปี
เพราะผมอ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้ไม่กล้าเผาขยะที่บ้าน
ต่อไปบ้านผมก็จะไม่เป็นต้นเหตุของปัญหาหมอกควันอีกแล้ว
http://www.dailynews.co.th/agriculture/184630
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=427482337328857&set=a.232673853476374.55211.228245437252549

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง

ฟ้าหม่นที่ปักกิ่ง เหมือนที่ลำปาง
ที่จีนยกรับดับเตือนภัยเป็นส้ม
#seethen #thinkof #BangkokPost 14
เห็นแล้ว คิดถึง ฟ้าวันนี้ที่ลำปางเริ่มหม่น
จึงได้ยินว่ามีมาตรการป้องกันปัญหาไฟป่า
ที่เป็นฝีมือของมนุษย์ ที่ปภ.ลำปาง
บอกว่า ถ้ามีไฟ ก็จะมีควัน
และควันไม่หายไป ยังลอยไปตามลม
ไปเข้าบ้าน ตามถนนน และที่ทำงานอยู่เสมอ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152070858077713&set=a.139933287712.105761.133643127712

http://thaiabc.com/lampangnet/admin/666/

ใช้เครื่องข่ายสังคมเพื่อสื่อสาร (itinlife 383)

fb ของกองการศึกษา

fb ของกองการศึกษา

มีโอกาสฟังคุณศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เล่าถึงการพัฒนาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ก่อนมาที่ลำปางว่ามีการสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสื่อสาร ด้วยการเปิดเฟซบุ๊คของส่วนราชการ องค์กร หรือชุมชน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน หรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลเสมือนกลไกขับเคลื่อนให้กลไกอื่น ๆ หมุนล้อไปตามกันให้ภาพใหญ่ปรากฎออกมาเด่นชัด เป็นแรงกระเพื่อมอีกแรงที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ปัจจุบันประชาชนเข้าถึงเฟสบุ๊คเกือบ 20 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แนวคิดของท่านรองฯ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงชุดโครงการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ลำปาง ของ อาจารย์อดิศักดิ์ จำปาทอง มีกิจกรรมหนึ่งที่จะจัดให้ผู้ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเข้ารับการอบรมฝึกทักษะเรื่องการใช้ Social Media สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งจัดไว้ 3 หัวข้อตามลักษณะบริการสื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ Blog, Facebook.com และ Youtube.com แต่ผู้เข้ารับการอบรมควรมีความเข้าใจใน 3 เรื่องสำคัญ คือ ความรู้เรื่องแหล่งท่องเที่ยวของตน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไอที และความเข้าใจเรื่องการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพ

แฟนเพจ (Fan Page) เป็นระบบเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข่าวสารที่เปิดให้ใช้บริการฟรีโดยเฟสบุ๊ค ผู้เป็นสมาชิกของแฟนเพจสามารถสมัครสมาชิกโดยการกดปุ่มไลค์ (Like button) และไม่ต้องรอรับการยืนยันจากผู้ดูแลเพจ แล้วสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นหรือรับเรื่องราวผ่าน Feed ได้ทันที สามารถนำมาใช้ได้ในระดับองค์กรเพื่อรับความคิดเห็นจากสาธารณะ หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารได้ แฟนเพจในปี 2555 ที่มีคนกดไลค์มากกว่า 1.7 ล้านในไทย คือ 1) ไพ่เท็กซัส 2) ตันภาสกรนที 3) nerkoo.com 4) อัพยิ้มดอทคอม 5) bodyslam หากท่านสนใจการทำแฟนเพจสามารถเรียนรู้จากเพจข้างต้น แต่ก็ต้องไม่ลืมเอกลักษณ์ของตน หากแฟนเพจทางการแพทย์ไปโพสต์เรื่องดูดวงตามราศี หรือแฟนเพจโรงเรียนมัธยมชวนสมาชิกเล่นเกม หรือแฟนเพจธรรมะชวนดูหนังจันดาราก็คงไม่เหมาะอย่างแน่นอน

 

http://th-th.facebook.com/permalink.php?story_fbid=247968515325777&id=259176487524058

 

 

 

รูปแบบการท่องเที่ยว

cultural tourism

cultural tourism

รูปแบบการท่องเที่ยว
1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism)
2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
http://www.thaiall.com/pptx/promote_travel_by_blog.pptx

1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism)
1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism)
1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism)
1.3 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (geo-tourism)
1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (agro tourism)
1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (astrological tourism)

2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism)
2.2 การท่องเที่ยวชมงานวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism)
2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism / village tourism)

3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism)
3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (edu-meditation tourism)
3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism)
3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism)
3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel)
3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และฟาร์มสเตย์ (home & farm stay)
3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (longstay)
3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel)
3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE: M=meeting, I=incentive, C=conference, E=exhibition)
3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน (Integrated travel)

ข้อมูลจาก

http://www.travel.in.th/th/review/knowledge/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7

การส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

lampang travel

lampang travel

การส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

ที่ลำปางจะมีโครงการฝึกอบรมเรื่อง การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง ซึ่งการบรรยายใน 1 วันแบ่งเป็น 4 ส่วน
การบรรยาย โดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง
1. เรื่อง การสื่อสารการตลาดและแนวทางการใช้ Social Media เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
2.  เรื่อง การจัดทำ Blog เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. เรื่อง การใช้ Facebook.com เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. เรื่อง การใช้ Youtube.com เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวได้กำหนดรูปแบบของนักท่องเที่ยว (Typology : a systematic classification or study of types) เพื่ออธิบายพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้มาจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการที่ใช้

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรูปแบบพื้นฐานที่สุดคือ การแบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น     2 กลุ่ม ตามลักษณะของพฤติกรรมของการเดินทาง คือ การแบ่งว่าบุคคลนั้นเป็น 1) นักท่องเที่ยว (Tourists) หรือ 2) นักเดินทาง (travelers) นักท่องเที่ยวคือ บุคคลซึ่งซื้อรายการนำเที่ยวเหมาจ่ายจากบริษัทนำเที่ยว ในขณะที่นักเดินทางคือ บุคคลซึ่งจัดการการเดินทางด้วยตนเอง เช่น ซื้อตั๋วเครื่องบินเอง จองที่พักเอง กำหนดสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง เป็นต้น

Perreault  และ  Dorden (1979) ได้เสนอรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวออกเป็น  4  รูปแบบ ได้แก่

1)  นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) โดยทั่วไปแล้วนักท่องเที่ยวประเภทนี้ทีรายได้ปานกลาง แต่แสวงหาการหยุดพักผ่อนหรือท่องเที่ยวที่ใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ

2)  นักท่องเที่ยวชอบผจญภัย (Adventurous Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการศึกษาดีและมีรายได้ปานกลางถึงสูง มีความชื่นชอบในกิจกรรมระหว่างการหยุดพักผ่อนหรือการท่องเที่ยวแบบผจญภัย

3)  นักท่องเที่ยวประเภทเดินทางระหว่างวันหยุด (Vacationers Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ ซึ่งมักใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือการเดินทางในครั้งต่อไปว่าจะไปที่ไหน อย่างไร นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความกระตือรือร้นแต่มีรายได้ค่อนข้างน้อย

4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเดินทางยาวนาน (Moderates Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีใจรักการท่องเที่ยวเดินทางอย่างมากแต่ไม่สนใจการท่องเที่ยวในระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์หรือการใช้เวลากับการเล่นกีฬา แต่จะชอบการเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานมากกว่า

Cohen (1979) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้

1) นักท่องเที่ยวแบบนันทนาการ (Recreational Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งเน้นความสำคัญในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนันทนาการหรือการพักผ่อนทางร่างกาย

2) นักท่องเที่ยวแบบปลีกตัวหาความเพลิดเพลิน (The Diversionary Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่พยายามทางแนวทางเพื่อลืมความจำเจในชีวิตประจำวัน

3) นักท่องเที่ยวมุ่งหาประสบการณ์ (The Experiential Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่แท้จริง นักท่องเที่ยวประเภทนี้สนใจศึกษาและได้รับประสบการณ์ที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ไปสัมผัส ตัวอย่างเช่น เมื่อเดินทางไปประเทศสเปน ก็ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมต่างๆ ที่แท้จริงเป็นของสเปน

4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบทดลอง (The Experimental Tourists) มีลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ ชอบติดต่อพูดคุยกับคนท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของคนท้องถิ่น

5)  นักท่องเที่ยวที่ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น (The Existential Tourists) นักท่องเที่ยวประเภทนี้ต้องการฝังตัวเองหรือใช้ชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดียวกับคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวที่มาใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในประเทศไทย เช่น พัทยาหรือเชียงใหม่ และพยายามใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัว การับประทานอาหาร การพยายามพูดภาษาท้องถิ่น เป็นต้น

สำนักงานเศรษฐกิจศึกษา  Westvlaams (1986, อ้างจาก Swarbrook และ Horner 1999) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้

1) นักท่องเที่ยวประเภทหลงใหลในทะเล (Active sea lovers)

2)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบผูกมิตร (Contact-minded holiday makers) มีจิตใจชอบติดต่อพบปะกับผู้อื่น แสวงหามิตรใหม่โดนเฉพาะที่เป็นคนท้องถิ่น

3)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบชมธรรมชาติ (Nature Viewers) ชอบความงดงามของภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว

4)  นักท่องเที่ยวประเภทแสวงหาการพักผ่อน (Rest-seekers) ใช้เวลาไปกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ

5)  นักค้นหา (Discovers) ชอบกิจกรรมประเภทผจญภัยและชอบแสวงหามิตรใหม่

6)  นักท่องเที่ยวแบบเดินทางพร้อมครอบครัว (Family-orientated) เป็นนักท่องเที่ยวที่หลงใหลในแสงแดดและทะเล และชอบเดินทางท่องเที่ยวแบบไปเป็นครอบครัว

7)  นักท่องเที่ยวแบบประเพณีนิยม (Traditionalists) ชอบเดินทางท่องเที่ยวที่เน้นความปลอดภัยและไม่   เสี่ยงภัย

http://touristbehaviour.wordpress.com/1/