ประชุมถอดบทเรียนกลไกพะเยาระยะที่ 1 และเตรียมเดินหน้าระยะที่ 2 กับทีมกศน.พะเยา และ ว.พยาบาล

เตรียมกลไกพะเยา ระยะที่ 2

เตรียมกลไกพะเยา ระยะที่ 2

สกว.ลำปาง พาทีม ม.ลำปาง ไปประชุมร่วมกับทีมกลไกพะเยา
เมื่อ 18 ต.ค.59 ที่วิทยาลัยพยาบาลพะเยา ร่วมกับ กศน.พะเยา
กลับมาแล้วเห็นความเคลื่อนไหวว่า คุณภัทรา มาน้อย
แชร์งานเขียนของน้องนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สกว.ลำปาง
นางสาวชรินทิพย์ เชื้อเตจ๊ะ ได้ถอดบทเรียนจากการร่วมเวที
ในรูปของการเขียนแบบเรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling)
ไว้ดังนี้

สรุปบทเรียนเส้นทางการติดตามของ Node สกว.ลำปาง และทีมพี่เลี้ยงกลไกจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม 2559
#บทเรียนแรก เวทีประชุมหารือแผนการดำเนินงานระยะที่ 2 ภายใต้โครงการ การพัฒนากลไกสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี พะเยา
จากการหารือและร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความเห็น ทำให้กระบวนดังกล่าว นำไปสู่ผลลัพธ์การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้งานพัฒนาโจทย์และงานติดตามของพี่เลี้ยงกลไก พร้อมทั้งได้รูปแบบการดำเนินปี 60 และรูปแบบการติดต่อประสานงาน รวมถึงการบริหารจัดการภายในทีม ให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
#บทเรียนที่สอง เวทีติดตามงานสันหนองเหนียว ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา คืนวันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นการทบทวนสถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน โดยมีทีมครูกศน.เมือง กศน.จังหวัด และทีมสกว.ลำปาง
จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ทีมครูกศน.ได้ข้อมูลที่เป็น #ข้อมูลเชิงประจักษ์ และ #ได้แนวทางการฟื้นฟูประมงพื้นบ้าน ผ่านการระดมความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างคนในชุมชนและทีมครูกศน.เมืองและจังหวัด ขยายผลสู่การขับเคลื่อนและทิศทางการฟื้นฟูประมงต่อไป
#บทเรียนที่สาม เวทีติดตามงานบ้านต๋อมดง อ.เมือง จ.พะเยา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2559
รูปแบบการจัดกระบวนการดังกล่าว มีนักศึกษาจาก วพบ. มาร่วมดำเนินเวที โดยมีทีมพี่เลี้ยงกลไก วพบ.เป็นผู้ดูแล เวทีดังกล่าวเป็น การชวนคนในชุมชนร่วมพูดคุยถึง แหล่งที่มาของขยะ และประเภทของขยะที่มีอยู่ในชุมชน โดยใช้เครื่องมือ #แผนที่ขยะ #ปฎิทินขยะ #โอ่งขยะ เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักคิดและรู้ถึงแหล่งที่มาของขยะ นำไปสู่วิธีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
#บทเรียนที่สี่ บทเรียนจากพื้นที่บ้านแม่จั๊วะ อ.ปง จ.พะเยา เมื่อเย็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทีมครูกศน.ปงและชุมชนร่วมกันค้นหาสาเหตุ จนกระทั่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องระบบการจัดการน้ำ #โดยใช้เครื่องตะบันน้ำ เป็นกลไกในการกระจายน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้ง หญิงและชาย
… กลไกการขับเคลื่อนงานที่ดีที่สุดไม่ใช่เทคโนโลยีหรือเครื่องมือ #แต่เป็นกำลังคนต่างหากที่เป็นแรงพลักให้เกิดงาน โดยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น
#งานสร้างคน #คนสร้างงาน

https://www.facebook.com/groups/318171165053323/permalink/513338725536565/

 

 

mindmap - แผนที่ความคิด

mindmap – แผนที่ความคิด

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1397458766934917.1073741998.506818005999002&type=1&l=30685d0875

การจัดการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็กและเยาวชน

อนุกรรมการประเด็น การจัดการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็กและเยาวชน

อนุกรรมการประเด็น การจัดการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว สู่สุขภาวะเด็กและเยาวชน

7 ต.ค.59 13.00-16.00 ได้ร่วมประชุมกับพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ
ที่ห้องประชุมใน พมจ.ลำปาง ในบทบาทของอนุกรรมการ
ประเด็น “การจัดการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว
สู่สุขภาวะเด็กและเยาวชน

https://www.facebook.com/ajarnburin/photos/?tab=album&album_id=1387435857937208
[เอกสารที่เตรียมมี 2 ฉบับ]
เอกสารแรกคือ ร่างมติ
เอกสารสองคือ เอกสารหลัก
[ประกอบด้วย]
1. นิยมศัพท์
2. ความสำคัญของการป้องกันและแก้ปัญหา
3. กระบวนการป้องกันและแก้ปัญหา
4. ปัญหาสถานการณ์และแนวโน้ม
5. ข้อจำกัดในการดำเนินงาน
6. นโยบายมาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7. บทบาทขององค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
8. ประเด็นพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
[ผู้ร่วมประชุมยกร่างครั้งนี้มี 11 ท่าน]
1. คุณกรพินธุ์ พี่เจี๊ยบ พมจ.ลำปาง
2. คุณกัญชพร อ้อย เลขาฯ ทีม พมจ.
3. คุณณพนาถ ทีม พมจ.
4. คุณเกศทิพย์ ทีม พมจ.
5. คุณสิธิกร ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาสตรี ทีม พมจ.
6. คุณเจนนภา ทีม พมจ.
7. คุณสุรวัฒน์ ผู้แทน ป.ป้อม จากวังเหนือ
8. คุณทักษิณ รองปลัดอบจ. (ได้รับหนังสือที่ระลึกเกษียณเปี่ยมสุข)
9. คุณพิมพ์วารี ศพค.
10. รศ.นงเยาว์ นักวิชาการอิสระ
11. ผศ.บุรินทร์ นักวิชาการ ม.เนชั่น
[ยกร่างมติได้ระดมสมองมาได้ 6 ข้อโดยย่อ]
1. ขอให้ … ร่วมกัน สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนา ศพค. ให้เข้มแข็ง
2. ขอให้ อบจ และ .. พัฒนาความรู้ให้ ศพค. ทั้งจังหวัด
3. ขอให้ อปท. หนุนด้านแผน นโยบาย ให้ ศพค. ทำงานได้
4. ขอให้ กระทรวงยุติธรรม ให้ความรู้ด้านกฎหมายกับ ศพค.
5. ขอให้ … จัดกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว
6. ภาคีทำแล้ว ก็นำผลการดำเนินงานมารายงาน
[เลือกผู้เกี่ยวข้องกับมติที่ยกร่าง]
– มา 30 คน บวกทีม 10 คน ประชุมวิพากษ์ก่อนเสนอเข้า mini สมัชชา
[ทบทวนกำหนดการต่อไป]
– วันนี้ 7 ต.ค.59 ยกร่างเสร็จ
– ปรับร่างโดยทีมเลขาฯ เสร็จพร้อมส่งอังคารที่ 11 ต.ค.59 และส่ง
และทำหนังสือขอใช้สถานที่ ม.เนชั่น
– วิพากษ์พุธที่ 19 ต.ค.59 เข้า 40 คน ที่ ม.เนชั่น แล้วปรับแก้ ดูแลโดย ดร.กาญจนา
ณ ห้อง 1203 ชั้น 2 อาคารบริหารธุรกิจ ม.เนชั่น
– ส่งที่ปรับแก้ให้สมัชชาอังคารที่ 25 ต.ค.59
– นำเข้า mini สมัชชาพฤหัสบดี 3 พ.ย.59
– นำเข้า เวทีสมัชชาประจำปี 17 ธ.ค.59 ผู้ร่วม 500 คน
https://www.facebook.com/506818005999002/photos/?tab=album&album_id=1387435857937208

เตรียมพร้อมทีมยกร่าง ทั้งขาขึ้น และขาเคลื่อน

เตรียมพร้อมทีมยกร่าง ทั้งขาขึ้น และขาเคลื่อน

ภาคผนวก ก.
27 ส.ค.2559 ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบายฯ
และคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพ จังหวัดลำปาง ที่ ม.ราชภัฏ ลำปาง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154399871778895&set=a.10154399859253895.1073741908.814248894

ภาคผนวก ข.
3 ก.ย.59 ร่วมงานของ สสจ. ที่โรงแรมลำปางเวียงทอง
การนำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคัดเลือกตำบลต้นแบบ
การจัดระบบเตรียมความพร้อมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ปี 2559
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154423866498895.1073741910.814248894

ภาคผนวก ค.
10 ก.ย.59 ไปประชุมที่ พมจ.
แล้วคุยเรื่องสถิติ ความรุนแรงในครอบครัว ลำปาง เป็นข้อมูลยกร่างประเด็น
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154399859253895.1073741908.814248894

ภาคผนวก ง.
28 พ.ย.58 คณะนิเทศศาสตร์ ม.เนชั่น
นำนักศึกษาลงสู่สนามการปฏิบัติงานจริง ในการอบรมเรื่อง การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการสื่อสารของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัย เรื่อง สื่อเพื่อเสริมพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10153659525548895.1073741879.814248894

ภาคผนวก จ.
14 พ.ย.58 ร่วมงาน สมัชชาสุขภาพ จังหวัดลำปาง 2558
ผู้ว่าสามารถ ลอยฟ้า เล่นเรื่องพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงของเยาวชน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153659021593895&set=a.10153659525548895.1073741879.814248894

 

ประชุมใหญ่สมัชชาสุขภาพลำปาง

ประชุมใหญ่สมัชชาสุขภาพลำปาง

ข้อดีของฝายชะลอน้ำในหน้าแล้ง

ฝายชะลอน้ำ

ฝายชะลอน้ำ

ฝายชะลอน้ำ (Check Dam) ที่มักจัดสร้างขึ้นในภาคเหนือของไทย
เพื่อชะลอการไหลของน้ำ เก็บกักน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
สถาบันการศึกษา ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมสนับสนุนเต็มที่
เมื่อฝนตกลงมามาก
น้ำปริมาณหนึ่งก็จะถูกเก็บกักไว้เหนือฝาย
แล้วค่อย ๆ ไหลลงไปยังที่ต่ำ หรือชะลอการไหลลงไป
ผ่านไปยังพื้นที่เกษตร พื้นที่บ้านเรือนเพื่อใช้อุปโภค บริโภค
ในทางการเกษตรก็จะช่วยให้พืชเจริญงอกงาม
และช่วยให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คลิ๊ป .. สร้างฝายชะลอน้ำ ลำปาง


http://www.nation.ac.th/news-detail.php?main=9/32/243&content=498

ยินดีกับกลุ่มเยาวชนต้นแบบ ต.นาสัก ต.แม่พริก ต.เมืองปาน

กลุ่มเยาวชนต้นแบบ

กลุ่มเยาวชนต้นแบบ

ขอแสดงความยินดี .. กับกลุ่มเยาวชนต้นแบบ
รางวัลที่ 1 กลุ่มเยาวชน ต.นาสัก อ.แม่เมาะ
รางวัลที่ 2 กลุ่มเยาวชน ต.แม่พริก อ.แม่พริก
รางวัลที่ 3 กลุ่มเยาวชน ต.เมืองปาน อ.เมืองปาน
จากการคัดเลือกตำบลต้นแบบ
ใน “การจัดระบบเตรียมความพร้อมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กและเยาวชน ปี 2559
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2559 ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง
และอีก 5 ตำบลที่ได้รับรางวัลชมเชย
1. กลุ่มเยาวชน ต.บ้านร้อง อ.งาว
2. กลุ่มเยาวชน ต.แม่ตีบ อ.งาว
3. กลุ่มเยาวชน ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน
4. กลุ่มเยาวชน ต.แม่ปุ อ.แม่พริก
5. กลุ่มเยาวชน ต.จางเหนือ อ.แม่เมาะ

ประธานเปิดงาน คือ รุ่งนภา ยศตื้อ
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
ภาพโดย ยงยุทธ์ วงค์วิชัย
https://www.facebook.com/tok.lampang/media_set?set=a.1220059151378328.1073742341.100001227636083&type=3

กรรมการตัดสินประกอบด้วย
1. คุณยงยุทธ์ วงค์วิชัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรค
2. คุณอรนุช ดวงเบี้ย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
3. คุณนริศรา ชุ่มธิ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
แล้วมีทีมสมัชชาสมัชชาสุขภาพ ร่วมให้กำลังใจเยาวชน และเรียนรู้ร่วมกัน
ประกอบด้วย
ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์ หัวหน้าทีม สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง
ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง
คุณอรนุช ดวงเบี้ย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
โดย รศ.นงเยาว์ อุดมวงศ์ สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง
ชวนเครือข่ายในเวทีถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับเยาวชน

Tour lampang
https://www.facebook.com/tourlampangna/photos/a.1403939086492167.1073741840.1399580723594670/1815653058654099/?type=3&theater
น้อง Micky Nantawan
https://www.facebook.com/mixy.zaza/posts/639099792936231
น้อง Anan Promwichai
https://www.facebook.com/profile.php?id=100002993572428

โปเกมอนที่วัดศรีชุม ลำปาง

9 ส.ค.59 กิจกรรมของวัยรุ่นลำปาง ไปออกสื่อเดลินิวส์
เห็นข่าวบอกว่าเศรษฐกิจแถววัดศรีชุมดีขึ้น
มีการแชร์ข่าวในกลุ่ม Lampang City
พ่อค้าผัดไทยปลื้ม ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว
หลังมีข้อมูลว่าแถววัดนี้
มีจุดโปเกสต๊อป (PokeStop) จำนวนมาก
.. มีหลายมุมครับ แต่ช่วงนี้ควรงดโลกสวยนะครับ
.. มี กฤต นักข่าวช่อง 3 ออกคำแนะนำมา โดยเม้นกลับเยอะเลย
http://hilight.kapook.com/view/140586
.. ตอนนี้เราอยู่ก้ำกึ่งระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของโปเกม่อน
.. ต้องวางตัวให้ถูกทางลมกันหน่อย
http://www.dailynews.co.th/regional/514800

จุดโปเกสต๊อป (PokeStop)

จุดโปเกสต๊อป (PokeStop)

ผมว่ามีข่าวนี้ออกมา
คนจะไปจับโปเกมอนกันอีกมิใช่น้อย
ยิ่งมีข่าว ก็ยิ่งมีคนไปจับ
สงสัยบริษัทเกมจะขอบคุณผู้สื่อข่าวในใจเป็นแน่

ระยะทางจากอำเภอเมือง ถึงอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด

ระยะทางจากห้าแยกหอนาฬิกาถึงที่ว่าการอำเภอ

ระยะทางจากห้าแยกหอนาฬิกาถึงที่ว่าการอำเภอ

ข้อมูลสำหรับนักเดินทางแล้ว
การเดินทางไปไหนสักแห่งคงต้องการทราบว่าไกลแค่ไหน
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว วันนี้มีข้อมูลมาแบ่งปันว่า ไกลแค่ไหน และ เท่าไร
นี่คือ ข้อมูลระยะทางจากอำเภอเมืองลำปาง ถึงอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดลำปาง
ทั้ง 13 อำเภอ มีระยะทางเป็นกิโลเมตร
เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดงบประมาณในการเดินทาง

ข้อมูลระยะทางเรียงจากใกล้ไปไกล
1. อำเภอเมืองลำปาง 5 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 8.1 กม. ปัดเศษเป็น 9 กม.
2. อำเภอเกาะคา 15 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 15.2 กม. ปัดเศษเป็น 16 กม.
3. อำเภอห้างฉัตร 16 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 22.9 กม. ปัดเศษเป็น 23 กม.
4. อำเภอแม่ทะ 27 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 23.7 กม. ปัดเศษเป็น 24 กม.
5. อำเภอเมืองปาน 32 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 62.7 กม. ปัดเศษเป็น 63 กม.
6. อำเภอเสริมงาม 39 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 40.5 กม. ปัดเศษเป็น 41 กม.
7. อำเภอแม่เมาะ 40 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 21.3 กม. ปัดเศษเป็น 22 กม.
8. อำเภอแจ้ห่ม 52 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 57.2 กม. ปัดเศษเป็น 58 กม.
9. อำเภอสบปราบ 54 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 56.1 กม. ปัดเศษเป็น 57 กม.
10. อำเภองาว 83 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 86.7 กม. ปัดเศษเป็น 87 กม.
11. อำเภอเถิน 96 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 93.2 กม. ปัดเศษเป็น 94 กม.
12. อำเภอวังเหนือ 107 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 111 กม. ปัดเศษเป็น 111 กม.
13. อำเภอแม่พริก 125 กม. มีระยะใหม่วัดได้ 117 กม. ปัดเศษเป็น 117 กม.

อ้างอิงจาก http://www.sawadee.co.th/thai/lampang/

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับกิโลเมตรละ 4 บาท
1. อำเภอเมืองลำปาง 9 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 36 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 72 บาท
2. อำเภอเกาะคา 16 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 64 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 128 บาท
3. อำเภอห้างฉัตร 23 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 92 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 184 บาท
4. อำเภอแม่ทะ 24 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 96 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 192 บาท
5. อำเภอเมืองปาน 63 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 252 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 504 บาท
6. อำเภอเสริมงาม 41 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 164 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 328 บาท
7. อำเภอแม่เมาะ 22 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 88 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 176 บาท
8. อำเภอแจ้ห่ม 58 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 232 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 464 บาท
9. อำเภอสบปราบ 57 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 228 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 456 บาท
10. อำเภองาว 87 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 348 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 696 บาท
11. อำเภอเถิน 94 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 376 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 752 บาท
12. อำเภอวังเหนือ 111 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 444 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 888 บาท
13. อำเภอแม่พริก 117 กม. ๆ ละ 4 บาท คิดเป็น 468 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 936 บาท
รวมระยะทางเที่ยวเดียว 722 กม. รวมระยะทางไปกลับ 1444 กม.
รวมค่าเดินทางเที่ยวเดียว 2888 บาท  รวมค่าเดินทางไปกลับ 5776 บาท

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับกิโลเมตรละ 5 บาท
1. อำเภอเมืองลำปาง 9 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 45 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 90 บาท
2. อำเภอเกาะคา 16 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 80 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 160 บาท
3. อำเภอห้างฉัตร 23 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 115 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 230 บาท
4. อำเภอแม่ทะ 24 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 120 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 240 บาท
5. อำเภอเมืองปาน 63 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 315 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 630 บาท
6. อำเภอเสริมงาม 41 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 205 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 410 บาท
7. อำเภอแม่เมาะ 22 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 110 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 220 บาท
8. อำเภอแจ้ห่ม 58 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 290 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 580 บาท
9. อำเภอสบปราบ 57 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 285 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 570 บาท
10. อำเภองาว 87 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 435 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 870 บาท
11. อำเภอเถิน 94 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 470 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 940 บาท
12. อำเภอวังเหนือ 111 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 555 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 1110 บาท
13. อำเภอแม่พริก 117 กม. ๆ ละ 5 บาท คิดเป็น 585 บาท ถ้ารวมไปกลับคิดเป็น 1170 บาท
รวมระยะทางเที่ยวเดียว 722 กม. รวมระยะทางไปกลับ 1444 กม.
รวมค่าเดินทางเที่ยวเดียว 3610 บาท  รวมค่าเดินทางไปกลับ 7220 บาท

แผนที่การเดินทางไป 13 อำเภอ

แผนที่การเดินทางไป 13 อำเภอ

เส้นทางที่ 1 สายใต้ ที่ไปในทิศทางเดียวกันได้
1. อำเภอเกาะคา 15 กม.
2. อำเภอสบปราบ 54 กม.
3. อำเภอแม่พริก 125 กม.
4. อำเภอเถิน 96 กม.

เส้นทางที่ 2 สายตะวันออก ที่ไปในทิศทางเดียวกันได้
1. อำเภอเมืองปาน 32 กม.
2. อำเภอแจ้ห่ม 52 กม.
3. อำเภอวังเหนือ 107 กม.

ตำแหน่งของแต่ละอำเภอในจังหวัดลำปาง

ตำแหน่งของแต่ละอำเภอในจังหวัดลำปาง

อ้างอิงจาก http://www.lampang.go.th/travel/placetour.htm

แผนที่ และระยะทางไปยังที่ว่าการอำเภอต่าง ๆ

ศูนย์ราชการ

ศูนย์ราชการ

อำเภอเกาะคา

อำเภอเกาะคา

อำเภอแม่เมาะ

อำเภอแม่เมาะ

อำเภอห้างฉัตร

อำเภอห้างฉัตร

อำเภอแม่ทะ

อำเภอแม่ทะ

อำเภอเสริมงาม

อำเภอเสริมงาม

อำเภอแจ้ห่ม

อำเภอแจ้ห่ม

อำเภอสบปราบ

อำเภอสบปราบ

อำเภอเมืองปาน

อำเภอเมืองปาน

อำเภองาว

อำเภองาว

อำเภอเถิน

อำเภอเถิน

อำเภอวังเหนือ

อำเภอวังเหนือ

อำเภอแม่พริก

อำเภอแม่พริก

 

ส่งต่อจดหมายขอเป็นส่วนตัว (itinlife559)

the_great_moon

จดหมายลวง หรือข่าวลวง หรือไวรัสหลอกลวง มีชื่อภาษาอังกฤษว่าโฮแอ็ค (Hoax) เป็นคำที่มักนำมาพูดในหัวข้อไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ การแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่จริง ผู้ส่งต่อคือผู้ติดไวรัสหลอกลวง เมื่อเกิดขึ้นก็จะติดต่อ และแพร่กระจายได้เร็ว โดยเฉพาะยุคก่อนสื่อสังคม โฮแอ็คจะรู้จักกันมากและแพร่กระจายผ่านอีเมล อาทิ ได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่าผู้ให้บริการอีเมลจะปิดบริการ หากต้องการให้บริการนี้อยู่ต่อ ให้ส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังเพื่อนอีก 20 คน เพื่อเป็นข่าวสารย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการและจะยังให้บริการต่อไป โดยโฮแอ็คเป็นไวรัสที่ติดคน ถ้าคนเชื่อก็จะส่งต่อไปเรื่อย ติดต่อเนื่องกันไป ลักษณะการกระจายข่าวหลอกลวงแปรผันกับความอ่อนไหวในประเด็นของผู้ติดไวรัส
กรณีข่าวลวง หรือโฮแอ็คเรื่องเฟสบุ๊คที่แพร่หลายเมื่อ 2 กรกฎาคม 2559 จนมีชาวเฟสบุ๊คบางคนปฏิบัติตามคำแนะนำในข่าวลวง แล้วโพสต์ข้อความในหน้าโปรไฟร์ของตน เพราะเขียนได้น่าเชื่อ และกระทบความเป็นส่วนตัว (Privacy) คำว่า คิดก่อนโพสต์ (Think before post) อาจเข้าหยุดการแพร่ข่าวล่วงได้ไม่ทัน เพราะคนที่โพสต์มักคิดอย่างดีแล้วถึงได้โพสต์ตามคำแนะนำ สำหรับคนที่ไม่แชร์ข่าวลวงเรื่องความเป็นส่วนตัว เช่น อ.ปริญญา หอมเอนก เพราะมีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบรักษาความมั่นคงทางไอที และต้องบรรยายเรื่องเหล่านี้อยู่เสมอ ส่วนคนที่เคยดูคลิ๊ปคิดก่อนเชื่อ เช็คก่อนแชร์ (Check before share) ของ AIS เรื่อง ทามะนาว รักษามะเร็งได้ ก็น่าจะได้ตระหนักก่อนแชร์ตามบทเรียนที่ได้จากการชมคลิ๊ป และท่านที่ทำงานด้านสุขภาพก็จะไม่ติดไวรัสหลอกลวงเรื่องนี้

http://hoaxes.org/archive/permalink/the_great_moon_hoax

คำว่า Hoax แปลว่า หลอกลวง ไม่ได้กำเนิดมาจากยุคคอมพิวเตอร์ พบว่าปีค.ศ.1835 มีบทความเรื่องสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ (The Great Moon Hoax) ทั้งหมด 6 ตอน เขียนโดย Sir John Herschel ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The New York Sun ข่าวนี้แพร่กระจายออกไปผ่านการบอกเล่า จากคนสู่คน จากรุ่นสู่รุ่นมากว่า 180 ปี ทำให้หนังสือพิมพ์ขายดีขึ้นอย่างชัดเจน และหลังจากความจริงปรากฏ หนังสือพิมพ์ก็ยังขายดีต่อเนื่อง คนที่เชื่อจากการอ่านหนังสือพิมพ์ก็ยังเชื่อต่อไป และนำไปเล่าต่อให้ลูกให้หลานฟัง ปัญหาของโฮแอ็คจะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นกับประเด็นที่หลอกลวง

เดินห้าง สำรวจตลาด เห็นร้านรวงปิดหลายเลย

หลัง ๆ มานี้ไปเดินห้างกลางเมืองบ่อย
แต่ละชั้นมีร้านค้าแบรนด์เพียบ
ไปเดินบ่อยก็เห็นการเปลี่ยนแปลง
คะเนดูเมื่อปลายมิ.ย.59
มีร้านประมาณร้อยนึง แบ่งเป็นชั้นละ 35 ร้าน

แต่ละชั้นมีจำนวนห้องว่างต่างกัน
ชั้นแรกพบห้องเดียว ชั้นสองพบ 6 ห้อง
ชั้น 3 พบ 4 ห้อง รวม 11 ห้อง
ส่วนใหญ่เป็นร้านอุปกรณ์ไอที สื่อบันเทิง และอาหาร
ก็ประมาณ 10% ที่ปิดไป

กลับไปมองในตัวเมือง
ก็เห็นร้านกาแฟ กับร้านแมวปิดไป
ร้านน้ำตาล ที่เคยขายอาหาร กาแฟ ก็พึ่งปิด
ร้านเก่าก็ทะยอยปิดไปเรื่อย ๆ
ตลาดกลางคืนเปิดใหม่ คนก็ไม่ค่อยไปเดิน
เศรษฐกิจคงไม่ค่อยดี มี supply มากกว่า demand

สรุปว่าการลงทุนมีความเสี่ยง
ลงแล้วไม่ได้คืนก็เสียดายตังนะ