Category Archives: research

ประชาพิจารณ์ เหล้า-บุหรี่ โซนบ้านหัวโต้ง

ประชาพิจารณ์ เหล้า-บุหรี่ โซนบ้านหัวโต้ง

กิจกรรมลดพฤติกรรมเหล้าบุหรี่

กิจกรรมลดพฤติกรรมเหล้าบุหรี่

18 ต.ค.58 อสม. ผู้นำ และทีมงานวิจัย ที่บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
ร่วมกันจัดเวทีระดับโซนครั้งที่ 2 คือ โซนบ้านหัวโต้ง ณ วัดบ้านไร่ (ศิลาทอง)
จากทั้งหมด 4 โซน ให้ครบทั้งหมู่บ้าน และนำเสนอประเด็นให้กลุ่มย่อย
ที่จะแบ่งในแต่ละโซน ๆ ละ 4 กลุ่ม มีกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโดย อสม.ในแต่ละโซน
ในครั้งแรกวางแผนจัดเวทีใต้ต้นไม้ แต่ฝนตก จึงย้ายเข้าในศาลา
มีแผนกิจกรรม ดังนี้
9.00-9.10    กล่าวเปิดกิจกรรม
– นายจรูญ  วรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิด และเล่าประสบการณ์ในการนำเลิกเหล้า
9.10-9.20    ชี้แจงภาพรวม ที่มาที่ไป
– นางวันดี  เครือสุวรรณ หัวหน้าโซนกล่าวชี้แจง และนำทำกิจกรรม
9.20-9.40    เล่าบทเรียนเลิกเหล้าบุหรี่
– พ่อหนานศรีรัตน์ สายศร บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
– พันตรีศักดิ์ สว่างศรีคำนวณ บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
– พ่อทองอินทร์ ยะม่อนแก้ว บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
– พ่อแสน คำฟู บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
9.40-10.00 ชี้แจงประเด็นที่ได้มา
– พระอธิการไตรณรงค์ ฐิตธมฺโม ชี้แจง 7 ประเด็นที่เสนอให้กับชุมชน
10.00-10.10 ชี้แจงการทำกิจกรรมกลุ่ม
– นางวันดี  เครือสุวรรณ และทีม อสม. อธิบายเตรียมแยกกลุ่ม
10.10-11.10 ทำกิจกรรมในกลุ่มย่อย
แบ่ง 4 กลุ่ม ทำประชาพิจารณ์รายประเด็นทั้ง 7 ประเด็น

1. ไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ในวัด
2. ไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ในงานศพ
3. ไม่ดื่มสุราหรือบุหรี่ในงานประเพณี เช่น งานบวช งานกฐิน
4. ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ตลาด ที่ประชุมของหมู่บ้าน
5. ไม่จำหน่ายสุราหรือบุหรี่ให้กับเด็กและเยาวชน
6. ไม่จำหน่ายสุราในวันพระ
7. ไม่ดื่มสุราในวันสำคัญทางศาสนา

11.10-11.40 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ
คุณทองอินทร์ มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 1
ประธานนำเสนอ คุยสนุก เป็นกันเอง ยิงมุขครับ “เห็นด้วย จะใดบ่อฮู้”
และอยากให้โอกาสคนที่เครียดได้ระบาย
คุณศิริลักษณ์ เตชะสืบ มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 2
ยกตัวอย่างโฆษณา แล้วคุณมาทำร้ายฉันทำไม
https://www.youtube.com/watch?v=ss2N9V2ApZA
คุณนวลจันทร์  สุริยวงค์ มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 3
ย้ำเรื่องการแสดงความเห็นกับเพื่อน ๆ ว่า
ใครไม่เห็นด้วยก็บอก ถ้าไม่เห็นด้วยแล้วเงียบ
พอเป็นมติแล้ว จะมาทักท้วงทีหลังก็ไม่ได้นะ
คุณศิริลักษณ์ ผัดบุตร มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 4
เห็นว่า งานบวช แต่งงาน กฐินก็ยังนิยมกันอยู่นะ
11.40-12.00 สรุปภาพรวม
– พระอธิการไตรณรงค์ ฐิตธมฺโม สรุปประเด็นในภาพรวม
– นางศรีรัตน์ เขียวงาม สรุปกิจกรรมของ อสม.
– นายจรูญ  วรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านปิดการประชุม
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1141726192508177.1073741970.506818005999002

พระอาจารย์สาธิต ธีรปญฺโญ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาภิวัฒน์ บรรยายเรื่องเหล้า-บุหรี่ ที่วัดบ้านไร่ศิลาทอง

พระอาจารย์สาธิต ธีรปญฺโญ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาภิวัฒน์

พระอาจารย์สาธิต ธีรปญฺโญ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาภิวัฒน์

พระอาจารย์สาธิต ธีรปญฺโญ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาภิวัฒน์
บรรยายธรรม รณรงค์เลิกเหล้า-บุหรี่ ณ บ้านวัดบ้านไร่ศิลาทอง
ให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจจะเลิกเหล้า-บุหรี่ และชาวบ้านที่ใส่ใจเรื่องนี้
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2558 เป็นกิจกรรมที่ 5
ในโครงการสานพลัง อสม. เพื่อลดพฤติกรรมเหล้า-บุหรี่
ของคนในชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1077967145550749.1073741954.506818005999002
ท่านนำเสนอข้อมูลทางสถิติ ภาพถ่าย และคลิ๊ปที่เกี่ยวข้อง
ได้อย่างชัดเจน มีมุขให้ชาวบ้านประทับใจตลอด
https://www.facebook.com/satit.pothaseht

ระหว่างจัดกิจกรรม อ.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
เข้ามาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณืของการปั่นจักรยาน กับการเลิกบุหรี่ด้วย
http://www.facebook.com/thaicyling

ภาพจากอัลบั้มของพี่ยา (ศรีรัตน์ เขียวงาม)
ประธานอสม. บ้านไร่ศิลาทอง
https://www.facebook.com/noregret.songsohwa/posts/687149741391793

ธรรมมะเพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงของชีวิต
อบายมุข ๖
ผีตัวที่หนึ่ง ชอบดื่มสุราเป็นอาจิณ ไม่ชอบกินข้าวปลาเป็นอาหาร
ผีตัวที่สอง ชอบเที่ยวยามวิกาล ไม่รักลูกรักบ้านรักเมียตน
ผีตัวที่สาม ชอบเที่ยวดูการละเล่น ไม่ละเว้นบาร์คลับละครโขน
ผีตัวที่สี่ คบมิตรชั่วมั่วกับโจร หนีไม่พ้นอาญากราแผ่นดิน
ผีตัวที่ห้า ชอบเล่นการพนัน สาระพันไผ่ถั่วโปไฮโลสิ้น
ผีตัวที่หก เกียจคร้านการทำกิน มีทั้งสิ้นหกผีอัปรีย์เอย

โทษของการดื่มสุรา
อันสุราเรัยใครเสพติด พาชีวิตมืดมนจนฉิบหาย
หนึ่ง สินทรัพย์ของตนนั้นพลันวอดยาย
สอง อาจตายด้วยทะเลาะเพราะความเมา
สาม เป็นเหตุเกิดโรคาพยาธิ
สี่ คนตำหนินินทา พาโฉดเขลา
ห้า หน้าด้านหนักหนาเวลาเมา
หก โง่เขลาปัญหาหดหมดสิ้นเอย

คุยกับผู้สูงอายุและอสม. เรื่องโครงการของบกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ภาพกว้าง ๆ ของที่ประชุม

ภาพกว้าง ๆ ของที่ประชุม

9 ก.พ.58 อ.เบญฯ ชวนไปคุยกับคุณกา น้องต๋อม พี่แดง กับพี่อุบล บ้านหน้าค่าย
ที่เทศบาลฯ ตั้งแต่บ่ายสองถึงสี่โมง เรื่องจะพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพของชุมชนอย่างไร
ที่ตอบความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
เริ่มต้นด้วยการที่ อ.เบญฯ ยกร่างโครงการว่าเราจะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ที่อสม.เก็บได้
มาพัฒนาต่อยอด จัด focus group วิเคราะห์ และพัฒนาเป็นสารสนเทศที่ใช้งานได้
แต่ปัญหาคือมีข้อมูลหลายชุด คือ
1. เก็บข้อมูล จปฐ. โดยอสม. แต่กำหนดส่ง 10 และ 15 ก.พ.58 ให้หน่วยเหนือแล้ว
จะนำมาใช้ก็คงไม่ทันอนุมัติโครงการ และข้อมูลใน จปฐ. ก็มีที่นำมาใช้ได้บางส่วน
2. เริ่มเก็บข้อมูลกับใหม่โดยใช้ฟอร์ม TCNAP (Thailand Community Network Appraisal Program)
แต่แบบฟอร์มมีความละเอียด สมบูรณ์ และมีกระบวนการหลายขั้นตอน
ซึ่งการเข้าเก็บข้อมูลในชุมชนซ้ำ ๆ แบบนี้ อาจทำให้ชุมชนบอบช้ำได้
3. ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลมือ 2 ที่ อสม. หรือผู้สูงอายุ มีอยู่แล้ว
แต่นำข้อมูลมาผ่านกระบวนการ ปรับปรุง เพิ่มเติม วิเคราะห์ กลั่นกรอง
หรือร่วมกับ Focus Group แล้วได้ชุดข้อมูลใหม่
ที่นำไปสู่การพัฒนาโครงการ ที่ตอบความต้องการของชุมชน
ที่รองรับคน 3 วัย คือ วัยสูงอายุ วัยทำงาน และวัยเรียน

สรุปว่าวันนี้ไปพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อน
เตรียมสนับสนุนการเขียนโครงการ
โดยปกติมักดำเนินการโดยคนในชุมชน เป็นงานของชุมชน เพื่อชุมชน
หากมหาวิทยาลัยจะเข้าไปช่วยเขียนโครงการก็สามารถทำได้
แต่ถ้าเป็นเจ้าของโครงการ จะไม่สามารถเบิกค่าวิทยากรให้กับตนเองได้
ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ มีเฉพาะค่าอาหารว่าง กับอาหารกลางวัน .. ประมาณนั้น

คุณอุบล คุณแดง และคุณต๋อม

คุณอุบล คุณแดง และคุณต๋อม

อ.เบญ กับ คุณกา

อ.เบญ กับ คุณกา

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ
คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อ
คว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”
พบข่าวนี้ในหนังสือพิมพ์ แมงมุม
ฉบับที่ 672 ปีที่ 13 วันที่  4 – 10 เมษายน 2557

ในที่สุด ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น…จริง ๆ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ๆ กับรางวัล 5 ทีม สุดท้ายจาก สี่ร้อยกว่าทีมทั่วประเทศ รางวัลชนะเลิศโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การนำเสนอดีเด่น อนาคตสร้างได้หากเราร่วมกัน เชื่อมั่นและศรัทธาครับ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611791038897985.1073741969.228245437252549

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง สร้างชื่อคว้าสองรางวัลใหญ่ “ต้นกล้าสีขาว”

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทาง ในการประกวดโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ประจำปี 2556 ชนะเลิศโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ และรองชนะเลิศอันดับ 2 นำเสนอโครงการดีเด่น เข้ารอบ 5 ทีม สุดท้ายสุดท้าย จากสถาบันการศึกษาสี่ร้อยทีมทั่วประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง กล่าวว่า บริษัท กรุงไทย (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้ร่วมมือกับมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ตั้งแต่ปี 2550 ด้วยความร่วมมือจากมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของธนาคารในการเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ ที่มุ่งเน้นการให้บริการที่เป็นเลิศ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการบริหารภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวด ล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) มาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการสร้างทุนทางปัญญาให้กับทุกภาคส่วนในสังคม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นทุนที่ไม่มีวันหมด ยิ่งใช้ยิ่งมีคุณค่าและช่วยพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนอย่างแท้จริง อีกทั้งมีความมุ่งหวังที่จะเพาะพันธุ์ต้นกล้าสีขาว อันหมายถึงเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ให้เป็นคนที่เก่งและดี มีความรู้ คู่คุณธรรม และรู้จักน้อมนำแนว คิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและขยายผลไปสู่ครอบครัว รวมทั้งชุมชนต่อไป

ในโครงการนี้ ได้มีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขา ทุกชั้นปี ทุกสถาบันการศึกษากว่า 400 ทีม จากทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมการแข่งขันคิดวิเคราะห์แผนธุรกิจ พร้อมลงพื้นที่ดำเนินโครงการจริง แล้วนำเสนอผลงานผ่านภาพโปสเตอร์ทีสื่อให้เห็นถึงแนวคิดและกิจกรรมที่ทำ พร้อมนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทุนการศึกษาอีกจำนวนมาก

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดยทีม CIM Nation – U A ประกอบด้วย นางสาวนัชญา ปาปุ๊ดปลูก ประธานโครงการฯ , นางสาวอัมพิกา ตั้งเชิง , นางสาวปิยะพร ฝั้นจักสาย , นางสาวกัญญา ดีวันไชย , นางสาวนฤมล วงค์ชื่น , นางสาวอภิญญา ต๊ะนางอย และนายศิวัช อำนาจปลูก นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาการค้าและอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีนายวีระพันธ์ แก้วรัตน์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ และนายธวัชชัย แสนชมพู ผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ โดยทีม CIM Nation – U A ได้นำเสนอโครงการ ต้นกล้าสีขาว “บ้านไร่ร่วมใจพัฒนา สร้างคุณค่าให้ยั่งยืน” ณ ชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 5 บ้านไผ่แพะ และหมู่ที่ 6 บ้านไผ่ทอง ตำบลเมืองเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยได้น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว”

สำหรับการนำเสนอโครงการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ ทีม CIM Nation – U A ได้นำเสนอโครงการต้นกล้าสีขาว “บ้านไร่ร่วมใจพัฒนา สร้างคุณค่าให้ยั่งยืน” ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 5 บ้านไผ่แพะ และหมู่ที่ 6 บ้านไผ่ทอง ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เพื่อเข้าไปแก้ไขความยากจน การเกษตร ที่เป็นพืชเศรษฐกิจและสัตว์เลี้ยงที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการประกอบอาชีพ และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีการเผาเปลือกข้าวโพด และปัญหาในครอบครัวที่มีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ดังนั้น จึงทำให้ ทีม CIM Nation – U A ติดอันดับ 1 ใน 40 ของประเทศ และติดอันดับ 1 ใน 9 ของภาคเหนือ ได้เป็นตัวแทนของภาคเหนือนำโครงการดังกล่าวเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศที่กรุงเทพมหานคร ได้มีการประกวดบอร์ด, การประกวดโปสเตอร์, การประกวดนิทรรศการ และการพรีเซนเตชันบนเวที ให้กับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ บริษัท กรุงไทย (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้ร่วมมือกับมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรุงเทพมหานคร โดยทีม CIM Nation – U A ได้รับสองรางวัลใหญ่ น้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทาง ในการประกวดโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ประจำปี 2556 ชนะเลิศโครงการดีเด่นประจำภาคเหนือ และรองชนะเลิศอันดับ 2 นำเสนอโครงการดีเด่น ได้รับทุนการศึกษาพร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศ เข้ารอบ 5 ทีม สุดท้ายสุดท้ายจากสี่ร้อยทีมทั่วประเทศ จะได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมนำมาเป็นแนวทาง ด้านการศึกษา ด้านการทำงาน และอาชีพ ต่อไป

งานวิจัยการจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์

งานการวิจัย เรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ อัตลักษณ์ชุมชนลำปาง” รายละเอียดในแต่ละโครงการย่อยอยู่ในไวนิล ลองเรียนรู้กันดูได้ พบในงาน 6 วัสสา วิจัยยะท้องถิ่น : วิชาการรับใช้สังคมสู่การใช้ประโยชน์ทางการศึกษา  ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เมื่อ 18 ก.พ.2557
มีชื่อโครงการย่อย 6 โครงการ ดังนี้
1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์
2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง
3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. การพัฒนาศักยภาพสินค้าหัตถกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์

1. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ยั่งยืนในการจัดการอัตลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางอย่างสร้างสรรค์

2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

2. การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

3. การจัดทำระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

4. องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชนเพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

5. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

เขียนบล็อกเล่าเรื่องกิจกรรมย่อยที่ 1
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/423/

คลิ๊ปกล่าวเปิดงาน

ออกแบบปกซีดี ด้วย microsoft word ง่ายกว่าที่คิด

หน้าตาปกซีดี

หน้าตาปกซีดี

สืบเนื่องจาก ระหว่างวันที่ 26-28 กรกฎาคม 2556
ผมมีโอกาสเป็นวิทยากรในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การผลิตสื่อเพื่อสร้างสรรค์การท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ #ICT
อาคารปิ่นผไทกาญจนาภิเษก โรงเรียนลำปางกัลยาณี
#lampangkanlayaneeschool

แล้วพบบอร์ด .. แสดงผลงานนักเรียนของโรงเรียน
เป็นสื่อวีดีโอที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจัดทำขึ้น
และซีดีทุกแผ่นมีการเขียนปกซีดีไว้อย่างสวยงาม
#cdcover

ตอนนั้น .. ก็อยากทราบว่าเด็ก ๆ เขาใช้โปรแกรมอะไรนะ
ทำปกซีดีได้สวยงาม แล้ววันหนึ่งในเดือนมกราคม 2557
ผมก็ได้รับโจทย์ว่า ให้ออกแบบปกซีดี งานประชุมวิชาการ #NTC2014
พร้อมปก #proceeding ก่อนจะหาโปรแกรมมา
ก็คิดได้ว่า word มี template ให้เลือกมากมาย
ก็ใช้คำว่า CD ค้น templage จาก word
แล้วพบว่าใช้งานได้จริง ๆ .. ง่ายเลยครับ

proceeding cover

proceeding cover

การออกแบบปกซีดีในครั้งนี้ มี 2 คุณสมบัติ ที่เพิ่มเข้าไป
1. เปลี่ยนพื้นหลังของ shape เป็น picture
2. เพิ่ม wordart แบบโค้งเป็น circle

https://www.facebook.com/download/1402295556686471/CD_ntc2014_v3.rar
http://www.nation.ac.th/ntc2014
https://www.facebook.com/groups/tourlampang/photos/
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/956/

template  in word

template in word

ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว อ.แม่เมาะ

ท่องเที่ยวแม่เมาะ

ท่องเที่ยวแม่เมาะ

27 ก.ย. 2556 ที่จังหวัดลำปาง
มีกลุ่มคนรวมตัวกันระดมสมอง คุยกันเรื่อง
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่น อำเภอแม่เมาะ
จัดที่ ห้อง 1203 อาคารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
เป็นกิจกรรมในโครงการวิจัยเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม
กรณีศึกษา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

ซึ่งการระดมสมอง (Brain Storm) เป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดการความรู้
(Knowledge management)
แล้วในอนาคตเราก็จะได้แหล่งท่องเที่ยวดี ๆ เพิ่มขึ้นในจังหวัดลำปาง

การจัดการความรู้จังหวัดลำปาง

การจัดการความรู้จังหวัดลำปาง

km lampang

km lampang

 

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสารจังหวัดลำปาง
รวบรวมเอกสาร การจัดการความรู้จังหวัดลำปาง (KM) ไว้ปีละหลายเรื่อง

http://www.lampang.go.th/db_lap/km/

ปี 2554
– การพัฒนาตลาดสับปะรด (สนง.สหกรณ์จังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_54_pineapple_kmstep.pdf
– การจัดทำแนวกันไฟแบบป่าเปียก (สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_54_wet_forest_info_kmstep.pdf
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุเศษหินจากกระบวนการผลิตครกหินฯ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_54_design_stone_summary_working.pdf

ปี 2553
– การจัดการขยะชุมชน (สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_53_garbage_fullreport.pdf
– การเพาะเลี้ยงปลาบึก (สนง.ประมงจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_53_fish_fullreport.pdf
– การปลูกผักปลอดสารพิษ (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_53_vegetable_brochure.pdf
– การปลูกข้าวโดยวิธีโยนกล้า (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_53_rice_brochure.pdf
– ประโยชน์น้ำส้มควันไว้ PV (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_53_wood_vinegar_howto.pdf

ปี 2552
– การสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมักพีวีซี (สนง.ปศุสัตว์จังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_gas_howto.pdf
– การเพาะเลี้ยงอึ่ง (สนง.ประมงจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_frog_poster.pdf
– การเลี้ยงหมูหลุม (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_pig_brochure.pdf
– การอนุบาลลูกไก่พื้นเมือง (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_chicken_brochure.pdf
– เครื่องหยอดปุ๋ย (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_fertilizer_brochure.pdf
– การเลี้ยงหนองนก/จิ้งหรีด (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_worm_ppt.pdf
– ไผ่ชุมชน (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_52_bamboo_ppt.pdf

ปี 2551
– การแปรรูปอาหาร (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_51_food_processing_brochure.pdf
– การผลิตเสบียงสัตว์ (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_51_animal_food_proposal.pdf
– การบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_51_enterprise_community_brochure.pdf
– การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้กับแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” (สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_51_happy_village_report.pdf

ปี 2550
– การปรับปรุงบำรุงดิน (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_50_soil_howto.pdf
– เทคนิคการตัดแต่งกิ่งกาแฟ  (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_50_coffee_brochure.pdf
– เทคนิคการผลิตสับปะรด  (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_50_pineapple_howto.pdf
– กระบวนการเรียนรู้ผู้นำเครือข่าย  (สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง)
http://www.thainame.net/km/km_50_leader_report.pdf

ข้อมูลทั้งหมดจาก http://www.lampang.go.th/db_lap/km/

แล้วเผยแพร่ที่ http://www.thaiall.com/km/indexo.html

ชวนมอง .. แผนพัฒนาจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางภาคเหนือ

ชวนมอง แผนพัฒนาจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางภาคเหนือ

แผนพัฒนาจังหวัด

แผนพัฒนาจังหวัด

มีโอกาสประชุมเรื่องส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย แล้วหัวหน้าก็ชวนมองแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งจังหวัดที่ชวนให้มองจากทั้งหมด 77 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง มีแผน 4 ปี ระหว่าง 2557 – 2560 พบเอกสารในเว็บไซต์ของจังหวัดลำปาง lampang.go.th

สรุปประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ประเด็น (หน้า 104) ดังนี้

1. ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตเซรามิก
และสินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ
และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดลำปาง

งบประมาณร้อยละ 6.30

2. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง
ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

งบประมาณร้อยละ 11.13

3. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย
และได้มาตรฐานแบบครบวงจร

งบประมาณร้อยละ 36.36

4. เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมลำปาง
ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน
สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

งบประมาณร้อยละ 9

5. สร้างเสริมและพัฒนาจังหวัดลำปางให้มีความพร้อม
รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและกลุ่มประเทศอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

งบประมาณร้อยละ 29.08

6. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

งบประมาณร้อยละ 8.13

สรุปงบประมาณรวม 4 ปี ทั้งสิ้น 3,809.46 ล้านบาท

งบประมาณ 4 ปี ทั้งสิ้น 3809.46 ล้านบาท
http://www.lampang.go.th/stragegic/
http://www.lampang.go.th/stragegic/2555/planP57_60.rar