Category Archives: place

ประตูโขง ประกบห้าแยกหอนาฬิกา

ประตูโขง จำลอง

ประตูโขง จำลอง

เช้าวันที่ 8 เมษายน 2556 ก่อน 8.00น. เดินทางผ่านห้าแยกหอนาฬิกาจังหวัดลำปาง พบซุ้มประตูโขงสวยงาม ซึ่งปกติจะเป็นประตูสำคัญที่ประดับอย่างสวยงาม ระยะหลังเห็นบ่อยว่าเป็นประตูวัด เช่น ประตูวันพระธาตุลำปางหลวง หรือประตูวัดไหล่หินหลวง หรือวัดสร้างใหม่ก็จะมีประตูที่สวยงามเช่นนี้ เพื่อจัดงานสงกรานต์ 2556 ให้ดูยิ่งใหญ่ จังหวัดจึงจำลองประตูโขงมาประกบคู่หอนาฬากาของจังหวัดลำปาง เพื่อน ๆ ผ่านไปผ่านมา แวะถ่ายรูปได้นะครับ

 

ชุดย้อนยุค 2556

ชุดย้อนยุค 2556

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=447937818616642&set=a.447937738616650.1073741855.228245437252549

ความหมาย ซุ้มประตูโขง  
คำว่า โขง น่าจะมาจาก โค้ง มีลักษณะเป็นซุ้มยอมดอกบัวตูม เป็นประตูรูปโค้งครึ่งวงกลม ด้านบนคล้ายปราสาทย่อส่วนซ้อนชั้นขึ้นไป และปลายสุดเป็นยอดแหลม เชื่อว่ามีที่มาจากทวารโตรณะของอินเดียที่เป็นสัญลักษณ์บอกทางเข้าพุทธสถาน

สาวลำปางรำไทย จากอัลบั้มของเจม

สาวลำปางรำไทย จากอัลบั้มของเจม

ภาพจากอัลบั้มของเจม

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.4452282479300.1073741833.1656676572

 

ปักหมุดลำปาง 24 หมุด

มองลำปาง จากบนฟ้าลงมา

มองลำปาง จากบนฟ้าลงมา

7 เม.ย.56 เช้านี้นั่งปักหมุดลำปางได้ 24 หมุดแล้ว
ทำให้รู้ว่าลำปางอยู่เส้นรุ่ง 18 เส้นแวง 99
และรู้สึกเหมือนซุปเปอร์แมน คือ ใช้มุมมองเหมือนบินร่อนไปร่อนมา
มองบ้านเมืองไม่เหมือนเคย ปกติก็เดินดินมองเห็นแต่ใต้ต้นไม้
พอมองลงมาจากบนฟ้า เห็นแต่ยอดไม้ หาซ้ายขวาก็ไม่เหมือนก่อน
ถ้าขึ้นบินบ่อย ๆ ก็คงชินไปเอง
ผมว่าที่นักบินต้องฝึกบินก็จะได้ชำนาณ หากขึ้นบินช่วงแรก ๆ ก็คงงุนงง
เหมือนเด็กหัดเดินใหม่ที่คิดว่าจะยกขาซ้ายหรือขวาดีอะไรทำนองนั้น
แล้วการบินกับ googlemap ก็มี 360 องศา และซูมเข้าออกได้อีก

http://www.thaiall.com/googlemap/googlemap.php

ไหว้พระที่ห้างสรรพสินค้า

central plaza lampang

central plaza lampang

6 เม.ย.56 มีเหตุให้ไป central plaza lampang เดินอยู่บริเวณชั้นหนึ่งอยู่พักหนึ่ง กำลังจะกลับบ้านพบพื้นที่ที่ทำให้ใจสงบขึ้น มีพระพุทธรูปตั้งอยู่ จึงเข้าไปสักการะแล้วรู้สึกสบายใจขึ้น เป็นทางเลือกของชาวลำปางที่จะเข้าถึงศาสนาได้มากกว่าเดิม มีคนบอกว่าวัดช่วยในการพัฒนาคนดังคำว่า “บ-ว-ร” ที่มาจาก บ้าน วัด โรงเรียน ที่ต้องร่วมแรงแข็งขันของทุกฝ่ายอาจทำให้การพัฒนาจิตใจของเยาวชน และผู้คนทั่วไป  สามารถขยับไปได้มากกว่านิ่งนอนใจ ก็เป็นภาพดังที่ปรากฎในปัจจุบัน
http://www.thaiall.com/googlemap/googlemap.php?gid=2

ปักหมุดลำปางได้ 6 หมุด

ปักหมุด ลำปาง

ปักหมุด ลำปาง

http://www.thaiall.com/googlemap/googlemap.php

มีโอกาสนั่งปักหมุด ใน google map
แต่เป็นการปักหมุด โดยเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลส่วนตัว
แยกออกมาจากใน google map
หลักการคล้ายกับ JHCIS แต่ระบบของเขาเน้นด้านสาธารณสุข
ส่วนที่ผมพัฒนาจะขยายไปเรื่อย ๆ ตามแต่โอกาสอำนวย
ตอนนี้ก็เพียงแต่ใส่ description กับ keyword เป็นสำคัญ ยังไม่มี cat
http://www.jhcis.net/

สรุปว่า ตอนนี้ปักหมุด ทดสอบได้ 6 หมุดแล้ว โดยเน้นที่ลำปาง
ที่ทำเรื่องนี้เพราะไปประชุมเรื่อง GIS ที่ลำปางครับ
http://thainame.net/edu/?p=624

สำหรับเทคนิคการเขียน AJAX ติดต่อ google map
ได้มาจาก http://www.ninenik.com/

เสรีสรรพสินค้า ห้างท้องถิ่นของคนลำปาง

เสรีสรรพสินค้า

เสรีสรรพสินค้า

จัดหนักจริง ๆ .. มาร่วมฉลอง 32 ปี กับห้างเสรีสรรพสินค้า
จัดสินค้าราคาพิเศษ ราคาเดียว 32 บาท ทั้งห้าง!
29-31 มีนาคม 2556 และร่วมฉลองกับดาราชื่อดัง ในวันครบรอบ 32 ปี เสรีลำปาง
ในวันที่ 30 มีนาคม พบกับกิจกรรมมากมาย นักแสดงหนุ่มชื่อดัง และ กิจกรรมแจกทอง สำหรับ 3 ท่านแรก
ที่มียอดช้อปสูงสุดในวันที่ 30 มีนาคม แจกเลย…จริงๆ

http://www.facebook.com/seree.lampang.3

งานรำลึกวันประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้าลำปาง ครั้งที่ 14

รำลึกวันประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้าลำปาง ครั้งที่ 14

รำลึกวันประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้าลำปาง ครั้งที่ 14

จังหวัดลำปาง ขอเชิญร่วมงาน
รำลึกวันประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้า ลำปาง ครั้งที่ 14
ระหว่าง 1 – 5 เมษายน 2556 ณ บริเวณหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ สมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง 054-318809

horse carriage

horse carriage

ภาคเช้า เวลา 9.00น. เป็นต้นไป
ชมนิทรรศการรถไฟ รถม้า รถไฟเล็ก จากชมรมรถไฟดอทคอม
http://www.rotfaithai.com/
เลือกซื้อสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชน

ภาคค่ำ เวลา 20.00น. และ 21.00น.
ชมนิทรรศการรถไฟ รถม้า รถไฟเล็ก
ชมสะพานดำ สะพานประวัติศาสตร์ยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2

วัตถุประสงค์การจัดงาน
– เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของกิจกรรมรถไฟและรถม้า
ที่เข้ามาสู่จังหวัดลำปางเป็นครั้งแรกในอดีต และได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง
ด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ชาวนครลำปางจนถึงปัจจุบัน
– เพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม
วิถีของชาวลำปางให้ดำรงคงอยู่และเผยแพร่สู่สาธารณชน
– เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

เล่าขานตำนานบุญวาทย์

bunyawat book

bunyawat book

มีโอกาสได้รับหนังสือเล่มหนึ่งจาก พระครูสังวรสุตกิจ ซึ่งเป็นหนังสือเผยแพร่ อ่านดูพบว่า หนังสือเล่าถึงการเชื่อมโยงของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ โรงเรียนบุญวาทย์ ถนนบุญวาทย์ วัดบุญวาทย์วิหาร หน่วยงานในวัดบุญวาทย์วิหาร  จิตกรรมฝาผนังวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งรวบรวมโดยพระครูสังวรสุตกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง และอาจารย์ประจำวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

เล่าขานตำนานบุญวาทย์

เล่าขานตำนานบุญวาทย์

http://www.mculampang.com

แล้วนำมาทำ e-book มีขั้นตอนดังนี้
1. นำหนังสือมาตัดขอบให้เป็นแผ่น
ทำให้สะดวกในการเข้าเครื่อง scan แบบ auto feed
2. นำเข้าเครื่อง scan
ทำให้ได้แฟ้มภาพ .jpg มาจำนวน 50 กว่าภาพ
3. นำมาตั้งชื่อใหม่ อาทิ b01.jpg
ทำให้แต่ละหน้ามีชื่อเรียกที่สื่อความหมาย ไปถึงเลขหน้า
แล้วขนาดภาพหลัง scan กว้างมากกว่า 2000 px
4. ใช้ crop ใน Microsoft picture manager ของ Office 2010
ตัดขอบออก ให้เหลือเท่าที่จำเป็น เพราะแต่ละภาพที่ได้มา มีขนาดไม่เท่ากัน
5. คัดลอกไป folder ใหม่
แล้วใช้ irfanview ลดขนาดภาพ ให้กว้าง 512 px และเพิ่ม sharpen
เพื่อนำไปใช้ใน flip album
6. นำภาพที่ได้ในข้อ 3 ส่งเข้า photo printing wizard
แล้วส่ง print ไปที่ PDFCreator เพื่อสร้างแฟ้ม pdf
เสร็จแล้วได้แฟ้ม pdf ขนาด 50 MB ซึ่งเก็บรายละเอียดได้ชัดเหมือนเอกสาร
7. นำภาพที่ได้ในข้อ 3 ส่งเข้า facebook page เพื่อเผยแพร่ให้แก่สมาชิก
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.342993125811673.1073741825.115935711850750
8. ส่งภาพทั้งหมดในข้อ 5 ไปที่ Web Server
ซึ่งเตรียม script ของ flip album ไว้รอท่า ทำให้มี e-book แบบ online
http://www.thaiall.com/e-book/bunyawat
9. นำแฟ้มในข้อ 6 ส่งไปที่ scribd.com
เพื่อฝากแฟ้มขนาดใหญ่ไว้ใน social media website สำหรับบริการลักษณะนี้
http://www.scribd.com/doc/127776462/
10. แชร์ (Share) ไปยัง page หรือ blog หรือ profile ต่าง ๆ
เพื่อเป็นการเผยแพร่ e-book ในรูปแบบที่เหมาะสม เพราะมี 3 รูปแบบที่พร้อมเผยแพร่แล้ว
อาทิ blog ของ http://www.lampang.net

ตารางเรียนฤดูร้อน

ตารางเรียนฤดูร้อน

ตารางเรียนฤดูร้อน

เป็นตัวอย่างที่ดีของการวางแผนหลายเรื่อง
แล้วตารางก็ใช้กำกับแผนที่จะทำ ไ่ด้ผลกว่าแผนภาพแบบอื่น

 

เด็กที่บ้านได้เอกสารมา คือ ตารางการเรียนภาคฤดูร้อนกับ โรงเรียนเสริมวิชาการลำปาง (ดิวดรอป) ซึ่งเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ วิชามีสาระเข้มข้น เรียนล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม โดยทีมคณาจารย์ผู้มีประสบการณ์จากโรงเรียนประจำจังหวัด และสอนสดในวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา ช่วง 1 – 30 เมษายน 2556 ค่าเรียน 1600 บาท เฉลี่ยชั่วโมงละ 18 บาท อยู่เยื้องโรงเรียนลำปางกัลยาณี มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ dewdroplp.com

เห็นตารางแล้วผมก็รู้สึกอึ้ง ๆ ว่าเด็กสมัยนี้เรียนหนัก จากกระแสการพัฒนาทางการศึกษาของ ศธ. บอกว่าลดการบ้าน ลดวิชาลง สอนเน้นที่สำคัญ หรืออะไรอีกมากมาย ผมว่าโรงเรียน กับเด็กในหลายจังหวัดไม่ค่อยเข้าใจนโยบายของรัฐ เพราะหลังเลิกเรียนเห็นผู้ปกครองไปเดิน central plaza ลำปาง แล้วบอกผมว่ารอรับเด็กตอนทุ่มกว่า ถ้าม.ปลาย ก็หลายทุ่ม ส่วนสุดสัปดาห์ก็ตะเวนส่งเด็กไปตามครูเฉพาะทาง แล้วสิงกันตามใต้ต้นไม้ในระแวกบ้านคุณครู มีเพื่อนบอกว่าสัปดาห์หนึ่งเรียน 6 ที่ ค่าใช้จ่ายก็ราว 3 พัน/คน/เดือน แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาต้องมีตาราง ซึ่งได้จากการวางแผนของครู นักเรียน และผู้ปกครอง จะได้ไม่สับสน และเตรียมตังไว้จ่าย

เคยบันทึกไว้ว่าที่ลำปางในเขตเมือง
มีโรงเรียนกวดวิชาที่เปิดเผยกว่า 30 โรงเรียน/สถาบัน
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/528/

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151319537397272&set=a.423083752271.195205.350024507271

รูปแบบการท่องเที่ยว

cultural tourism

cultural tourism

รูปแบบการท่องเที่ยว
1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism)
2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
http://www.thaiall.com/pptx/promote_travel_by_blog.pptx

1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism)
1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism)
1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism)
1.3 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (geo-tourism)
1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (agro tourism)
1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (astrological tourism)

2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism)
2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism)
2.2 การท่องเที่ยวชมงานวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism)
2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism / village tourism)

3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)
3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism)
3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (edu-meditation tourism)
3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism)
3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism)
3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel)
3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และฟาร์มสเตย์ (home & farm stay)
3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (longstay)
3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel)
3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE: M=meeting, I=incentive, C=conference, E=exhibition)
3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน (Integrated travel)

ข้อมูลจาก

http://www.travel.in.th/th/review/knowledge/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7