Category Archives: place

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม
ตั้งอยู่บนถนนวังเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง
เข้าทางวัดประตูต้นผึ้ง หรือเข้าทางสะพานรัษฎาภิเศก
ซึ่งเป็นแนวกำแพงเพมืองเดิม บนถนนมีกู่เจ้าย่าสุตา
สันนิษฐานว่าเป็นซุ้มประตูโขงของวัดกากแก้วในอดีต
โดยเทศบาลนครลำปาง ได้เปิด “ถนนายวัฒนธรรม”
ซึ่งมีลักษณะเป็น “กาดหมั้วคัวแลง” สืบสานวิถีดั้งเดิม ทุกเย็นวันศุกร์ เวลา 16.00-21.00 น.
เริ่มกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถ้ามีแขกบ้านแขกเมืองมาเที่ยวลำปาง
ผมก็มักจะแนะนำว่าวันศุกร์มีที่เดินที่ยอดเยี่ยม
ทานข้าวแลงย้อนยุค ไปทีไรผมก็จะทานขนมจีนนั่งยอง
เดี๋ยวนี้มีอาหารหลากหลาย และหลายร้านให้เลือก
หากไปเป็นหมู่คณะ ติดต่อไปก่อนก็จะทานข้าวแบบขันโตก
พร้อมกับชมการแสดงบนเวทีไปด้วยได้เลย
การแสดงชมฟรี เพราะอยู่บนถนนระหว่างทางเดินจับจ่ายซื้อของ

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

ถนนวัฒนธรรม หรือถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ทุกเย็นวันศุกร์

สินค้าที่มาจำหน่ายมีมากมาย หลากหลาย และเปลี่ยนแม่ค้าอยู่เสมอ
– พืชผักปลอดสาร ต้นไม้
– อาหารพื้นเมือง ปลาปิ้ง หมูย่าง ทอดมัน ลูกชิ้นนึ่ง ต้มแกง น้ำพริกผักนึ่ง
– สินค้าย้อนยุค ของเก่า จักรสาน กรอบพระ แกะสลัก เครื่องเงิน
– เสื้อผ้า กางเกง รองเท้า ของใช้ทำมือ ทำจากไม้ ของที่ระลึก เซรามิค ของเล่น
– ขนมโบราณ ขนมเค้ก หมี่กรอบ ซูชิ นมแพะ ขนมปังสังขยา กาแฟเย็น

ระยะทางประมาณ 550 เมตร

ระยะทางประมาณ 550 เมตร

แหล่งอ้างอิง – [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559]
เฟสบุ๊คหลัก ของ ถนนสายวัฒนธรรม ท่ามะโอ ลำปาง
https://www.facebook.com/culturalroad.lp
เมืองรถม้าเตรียมเปิดถนนสายวัฒนธรรมรับเทศกาลท่องเที่ยว
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9530000144631
ประวัติความเป็นมา
https://www.facebook.com/notes/702568333129143/
REVIEW – กาดมั่วคัวแลง ลำปาง
http://zeekway.com/review-kad-mua-lang-lampang/
ถนนวัฒนธรรม-คนเดิน จ.ลำปาง
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=numthip25&month=02-2011&date=20&group=3&gblog=2
รู้จักลำปาง – กิน-เที่ยวตามแผนที่ลำปาง
http://www.lampangbrand.com/?page=lampang&cat_id=1&cat_name=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87&a_id=2
ทานข้าวเย็นเป็นขนมจีนน้ำยาป่า กับ น้ำเงี้ยว

ถนนสายวัฒนธรรม



คลิ๊ป แบบใช้ drone


บรรยากาศเมื่อ 4 ตุลาคม 2013


Triptravelgang


การแสดง “วิถีถิ่น วิถีกลอง วิถีชาวละกอน เทิดไท้องค์ราชันย์ ๘๙ พรรษา”
https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/vb.1516851828642525/1596857470641960/

NANAH – แสงสีเสียงเส้นทางถนนสายวัฒนธรรม ลำปาง ๒๙ พค ๕๘


บรรยากาศถนนวัฒนธรรม จ.ลำปาง

Duomo ที่ลำปาง

ดูโอโม่ (Duomo) ในภาษาอิตาลีแปลว่า มหาวิหาร
ที่ลำปางได้นำคำนี้มาเป็นชื่อ ร้านอาหาร และร้านกาแฟ สไลต์อิตาลี ที่ลำปาง
https://www.facebook.com/DuoMo-Cafe-Restaurant-984799778247617/

duomo_5

2 เมษายน 2559 มีโอกาสขับรถผ่านไปบนถนนเลี่ยงเมือง
จากแยกหลักกิโลยักไปศาลากลาง ก่อนถึงศาลากลางประมาณ 2 กิโลเมตร
จะพบอาคารทรงฝรั่งทางด้านขวา
หรือขับรถยนต์ออกจากมหาวิทยาลัยเนชั่นเลี้ยวขวาที่สามแยกไฟแดง
ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรก็จะพบร้านอาหารทางซ้าย แถวนั้นไม่มีอาคารเลย
ถ้าพบอาคารสีเหลือง เขียว แดง ก็แสดงว่าใช่ล่ะ
และบนรั้วร้านอาหารจะเขียนคำว่า “LAMPANG CITY” ตัวใหญ่กำกับไว้

http://www.lampangfocus.com/duomo-cafe-restaurant/

duomo_1

พอไปถึงผมกับคุณแม่ก็เข้าร้านกาแฟเลย
ที่นี่มีอาหารหลากหลาย
ทางเข้าด้านซ้ายมีร้านอาหารอีสาน-ดู-ดี
แต่ผมจะขับตรงเข้าไปจอดด้านใน หน้าสุนัขขนาดใหญ่ 4 ตัว
ในตัวอาคารจะพบร้านกาแฟ กับร้านอาหารในอาคารเดียวกัน
ผมไป 2 ครั้ง ก็เข้าร้านกาแฟทั้ง 2 ครั้ง ชอบครับ
โซฟาสวย บรรยากาศเป็นกันเอง พนักงานใจดี
สั่งแล้วจ่ายตังตอนรับขนม หรือกาแฟ ไม่ไปตามเก็บตังที่โต๊ะ
สั่งกาแฟแก้วละ 70 บาท กับขนมชิ้นละ 50 บาท
ถ้าเป็น Strawberry cheesecake ก็เป็นราคาอยู่ในกลุ่มเค้กซึ่งน่าทานมาก
duomo_2

ก็เป็นธรรมเนียมที่เห็นร้านสวย สไตล์ฝรั่ง
เข้าใจว่าทางร้านตกแต่งให้ลูกค้าเข้าไปถ่ายรูปแล้วอัพเฟสได้
จึงไม่ได้เข้าไปขออนุญาต ลงรถก็หามุมถ่ายรูปกันจนอิ่ม
แล้วค่อยเข้าไปดื่มด่ำกับอาหารเครื่องดื่มภายในร้าน
คุณแม่บอกว่าชอบขนมเค้ก บอกว่า หวานดีduomo_3

ที่จังหวัดลำปาง ถ้าจะหาสถานที่พาคนที่บ้านไปทานของอร่อย ๆ ก็มีหลายร้านครับ
ถ้าไปตามห้างจนเบื่อแล้ว จะออกรอบนอกบ้างก็ดี
เช่น
ร้านฮักโฮม ของน้องออย จากแยกป่าขามไปอินทราเซรามิก
อยู่ทางซ้ายเลยคลองชนประทานมาประมาณ 100 เมตรก่อนถึงป้ำลำปางคูณ
บรรยากาศเป็นกันเองครับ ผมเคยพาแม่ไปทานข้าว กับกาแฟที่นั่นมาแล้ว
ร้านกาแฟถิ่นไทย ทางไปแพร่ อยู่แม่ทะ
ไกลหน่อย แต่ลูกค้าตอนกลางวันเยอะมาก เจ้าของเคยเป็นคุณครู น่ารักมากครับ
ฟาร์มแกะฮักยู ที่นี่เป็นสุดยอดเลย
ใครขับรถจากเกาะคาไปทางเถิน จะพบร้านอาหาร ที่เป็นฟาร์มแกะ
อยู่ทางซ้ายมือ ถ้าว่างก็แวะกันเลย
แต่ถ้าขับรถจากลำปางไปเพื่อนทานอาหารอย่างเดียว
ก็ได้รสชาติของธรรมชาติเต็ม ๆ เติมเต็มกับบรรดาแกะตัวน้อยน่ารัก
ถ่ายภาพได้เต็มที่ เป็นที่พักริมทางชั้นเยี่ยม
ขากลับแวะสักการะพระธาตุลำปางหลวงที่เกาะคาซะหน่อยก็ดี

duomo_4

ตำนานอำเภอเถิน

ตำนานอำเภอเถิน
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– เมืองเถินจากอดีตสู่ปัจจุบัน
– ตำนานพระธาตุเจ้าวัดเวียง
– ประวัติวัดดอยป่าตาล
– ตำนานพระธาตุเจ้าม่อนวัวนอน (วัดดอยป่าตาล)
– ประวัติดอยป่าตาล
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเถิน

แผนที่อำเภอเถิน

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/thoen.htm

คำขวัญอำเภอเถิน
– ส้มเกลี้ยงฉ่ำ น้ำตกงาม โป่งข่ามขลัง วังหินอ่อน

พื้นที่
ประมาณ 1,854 ตารางกิโลเมตร
http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=553&pv=51

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
อยู่ในเขตร้อน มีป่าไม้ ทิวเขา และหุบเขา ฝนจะตกตั้งแต่ เมษายน-พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 878.16 มิลลิเมตร/ปี

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 8 แห่ง
– หมู่บ้าน 93 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม
– อาชีพเสริม ได้แก่ ค้าขาย รับจ้าง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– น้ำตกแม่วะ
– น้ำตกแม่มอก
– ป่าแม่มอก
– ป่าแม่ปะ-แม่เลิม
– ป่าแม่อาบ

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม 63,942 คน
– จำนวนประชากรชาย  รวม 31,596 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม 32,348 คน
– ความหนาแน่นของประชากร  34 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเหนียว   ถั่วลิสง   ถั่วเขียว   หอม  กระเทียม
– แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่
1. แม่น้ำแม่วัง
2. ห้วยแม่ปะ
3. ห้วยแม่มอก
4. ห้วยแม่อาบ

ตำนานอำเภอห้างฉัตร

ตำนานอำเภอห้างฉัตร
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาของชื่ออำเภอห้างฉัตร
– ตำนานวัดปงยางคก (ทิพย์ช้างอนุสรณ์)
– วิหารพระแม่เจ้าจามเทวี
– พญาเบิก ตำนานเจ้าพ่อขุนตาน
– ตำนานวัดพระธาตุปางม่วง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอห้างฉัตร

แผนที่อำเภอห้างฉัตร

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/hangchat.htm

คำขวัญอำเภอห้างฉัตร
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เกรียงไกรเจ้าพ่อขุนตาน ตำนานวิหารจามเทวี ของดีตลาดทุ่งเกวียน

พื้นที่  
ประมาณ 684.757 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
เป็นแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน เดือนตุลาคม ฝนตกชุกพอสมควร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปานกลาง ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 7 แห่ง
– หมู่บ้าน 73 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่  อาชีพเกษตรกรรม  รับจ้างทั่วไปในโรงงาน
– อาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพเสิรมในครัวเรือน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– อุทยานแห่งชาติดอนขุนตาน
– สวนป่าทุ่งเกวียน

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น   รวม  51,973 คน
– จำนวนประชากรชาย   รวม  25,535 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม  26,438 คน
– ความหนาแน่นของประชากร  78 คน/ตารางกิโลเมตร

ข้อมูลด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ถั่วลิสง ผักปลอดสารพิษ
– แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่  ลำน้ำแม่ตาล  ลำน้ำแม่ไพร่  ลำน้ำแม่ยาว

ตำบลแม่สัน
– อ่างเก็บน้ำแม่ยาว พื้นที่รับน้ำ 3,750 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ ตำบลแม่สัน, ตำบลเมืองยาว ตำบลวอแก้ว
– อ่างเก็บน้ำแม่ไพร พื้นที่รับน้ำ 1,400 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ ตำบลวอแก้ว ตำบลปงยางคก

ตำบลปงยางคก
– อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วยแม่ตาล, ห้วยแม่วัก, ห้วยแม่ฮาว, คลองแม่น้อย

ตำบลเวียงตาล
– อ่างเก็บน้ำห้วยเรียน พื้นที่รับน้ำ 2,500 ไร่
– อ่างเก็บน้ำปางปง พื้นที่รับน้ำ 250 ไร่
– อ่างเก็บน้ำแม่ตาลน้อย พื้นที่รับน้ำ 370 ไร่
– อ่างเก็บน้ำห้วยแม่สัน พื้นที่รับน้ำ 950 ไร่

ตำบลหนองหล่ม
– ห้วยแม่ไพร พื้นที่รับน้ำ 8,514 ไร่
– ห้วยแม่ยิ่ง พื้นที่รับน้ำ 615 ไร่
– ห้วยแม่ติ๊บ พื้นที่รับน้ำ 635 ไร่

ตำบลเมืองยาว
– อ่างเก็บน้ำแม่ยาว พื้นที่รับน้ำ 2,250 ไร่

ตำบลห้างฉัตร
– อ่างเก็บน้ำห้วยลวด พื้นที่รับน้ำ 100 ไร่

ตำนานอำเภอเสริมงาม

ตำนานอำเภอเสริมงาม
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ตำนานอำเภอเสริมงาม
– ตำนานวัดหลวงนางอย
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเสริมงาม

แผนที่อำเภอเสริมงาม

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/sreamngam.htm

คำขวัญอำเภอเสริมงาม
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ เลิศล้ำถ้ำผากาน คู่บ้านวัดนางอย งามชดช้อยผ้าทอ เพียงพอเกษตรกรรม น้ำใจงามคนเมืองเสริม

พื้นที่
ประมาณ 631.727 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 4 แห่ง
– หมู่บ้าน 42 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา   การทำสวน   การทำไร่/เลี้ยงสัตว์
– อาชีพเสริม ได้แก่ หัตถกรรมผ้าทอ   ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป   ผลิตภัณฑ์ไม้

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– ป่าไม้
– ภูเขา
– แม่น้ำ

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 32,774 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 16,737 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 16,037 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 52 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่  กระเทียม   ข้าว   อ้อย  ถั่วลิสง
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่   แม่น้ำเสริม  แม่น้ำต๋ำ   แม่น้ำเลียง  แม่น้ำลา

ตำนานอำเภอสบปราบ

ตำนานอำเภอสบปราบ
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ย้อนรอย – วัฒนธรรม บรรพชนคนแม่ยอง – นาไม้แดง
– ตำนานวัดนายาง “สมภารตนบุญวัดนายาง กู้เมืองลำปาง” อ.สบปราบ
– ย้อนอดีต นักรบผู้เก่งกล้า “สมภารต๋นบุญนายาง”
– เจ้าพ่อประตูผา
– เรื่องเล่าบนเส้นทางแห่งตำนาน “ขุนเขาดอยจง”
– ตำนาน โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ “บ่อโข้ง”
– ตำนานพระพุทธบาทบ่อโข้ง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอสบปราบ

แผนที่อำเภอสบปราบ

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/sopprab.htm

คำขวัญอำเภอสบปราบ
อุทยานดอยจง มั่นคงวัฒนธรรม งามล้ำน้ำตกแม่ไซงู เชิดชูบ่อน้ำทิพย์ อ่างนับสิบรอบเมือง ฟูเฟื่องเรื่องดินขาว พร่างพราวปลาหลากพันธุ์

พื้นที่
ประมาณ 502.46 ตารางกิโลเมตร
http://www.amphoe.com

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
อากาศร้อนและแห้งแล้ง ในฤดูร้อน อากาศหนาวในฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 4 แห่ง
– หมู่บ้าน 42 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ อาชีพด้านการเกษตรกรรม   เลี้ยงสัตว์
– อาชีพเสริม ได้แก่ กลุ่มอาชีพต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ทอผ้า  ทำไข่เค็ม  ถั่วสมุนไพร ฯลฯ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– ดินขาว
– ป่าไม้

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 28,487 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 14,107 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 14,380 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 57.30 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   อ้อย   ถั่วลิสง
– แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่   น้ำแม่ปราบ   แม่น้ำวัง

ตำนานอำเภอแม่เมาะ

ตำนานอำเภอแม่เมาะ
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาของอำเภอแม่เมาะ
– ตำนานเจ้าพ่อประตูผา หรือ พญาข้อมือเหล็ก
– ตำนานดอยผาช้าง
– ถ้ำเทพสถิตย์
– ถ้ำผาโง้ม
– ถ้ำดอยน้อย
– ถ้ำดอยงู
– บ้านห้วยเป็ด
– แผ่นดินหวิด
– ศาลหลักเมือง
– วัดเมาะหลวง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแม่เมาะ

แผนที่อำเภอแม่เมาะ

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/maemo.htm

คำขวัญอำเภอแม่เมาะ
ถ้ำอินทร์เนรมิต แหล่งผลิตไฟฟ้า ถ่านหินล้ำค่า เจ้าพ่อประตูผา สวนป่าสักทอง

พื้นที่
ประมาณ 860.44 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
ค่อนข้างอบอ้าวและหนาวจัดในฤดูหนาว มีฝนตกน้อย

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล  5 แห่ง
– หมู่บ้าน  42 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ รับจ้าง การเกษตร
– อาชีพเสริม ได้แก่ ค้าขาย

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ที่สำคัญของอำเภอ ได้แก่ ถ่านหินลิกไนต์ หินปูน

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 38,776 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 19,625 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 19,151 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 45.02 คน/ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  อ้อย  ข้าว
– แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่
1 อ่างเก็บน้ำแม่จาง
2 อ่างเก็บน้ำแม่ขาม
3 น้ำแม่จาง

ตำนานอำเภอแม่พริก

ตำนานอำเภอแม่พริก
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาของอำเภอแม่พริก
– ภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณ
– ประวัติพระมหาธาตุเจดีย์ 12 ราศี
– ตำนานวัดผาปังกลาง
– ตำนานวัดพระพุทธบาทวังตวง
– ตำนานห้วยขี้ .. ที่ผาปัง
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแม่พริก

แผนที่อำเภอแม่พริก

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/maeprik.htm

คำขวัญอำเภอแม่พริก
สวนส้มเกลี้ยงลือไกล ถิ่นลำไยไร้สารพิษ ถ้ำน้ำผ่างามวิจิตร เมืองเศรษฐกิจชุมชน

พื้นที่
ประมาณ 538.921 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
เนื่องจากสภาพพื้นที่มีภูเขาล้อมรอบ ฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ฤดูร้อน (มีนาคม – พฤษภาคม ) ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 4  แห่ง
– หมู่บ้าน 28 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา  ทำไร่  เลี้ยงสัตว์
– อาชีพเสริม ได้แก่ ปลูกพืชฤดูแล้ง  หาของป่า

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
ได้แก่  ทรัพยากรป่าไม้

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น   รวม 17,389 คน
– จำนวนประชากรชาย   รวม 8,611 คน
– จำนวนประชากรหญิง   รวม 8,778 คน
– ความหนาแน่นของประชากร   32.27 คน/ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   ลำไย   ส้มเกลี้ยง
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่  แม่น้ำวัง

ตำนานอำเภอแม่ทะ

ตำนานอำเภอแม่ทะ
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่จุดเด่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ที่มีบทบาทเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และขยายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาอำเภอแม่ทะ
– พ่อหนานอินถา
– หนานอินถานายาบ
– พ่อเจ้าติ๊บปาละ (สามขา)
– ความเป็นมาของหมู่บ้านสามขา
– ตำนานพระเจ้าไม้แก่นจันทน์
– ตำนานพระเจ้าทันใจสองพี่น้อง วัดดอนไฟ
– ตำนานวัดดอยม่วงคำ กับนิทานพื้นบ้าน “หมาขนคำ”
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอแม่ทะ

แผนที่อำเภอแม่ทะ

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/maetha.htm

คำขวัญอำเภอแม่ทะ
ลำน้ำจางหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระไม้แก่นจันทน์ สินแร่สำคัญถ่านหินดินขาว อาชีพยืนยาวไม้แกะสลัก แหล่งประจักษ์ธรรมถ้ำพระสบาย

พื้นที่
ประมาณ 810.543 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
แบบมรสุม

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 10 แห่ง
– หมู่บ้าน 93 แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม   รับจ้าง   ปลูกพืชไร่
– อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ที่สำคัญของอำเภอ  ได้แก่   ดินขาว   ถ่านหินลิกไนท์

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 62,859 คน
– จำนวนประชากรชาย รวม 31,481 คน
– จำนวนประชากรหญิง รวม 31,378 คน
– ความหนาแน่นของประชากร 77.55 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว   อ้อย   มะเขือเทศ
– ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่  ลำน้ำจาง