#ลำปางเซรามิกแฟร์ครั้งที่36
ที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ระหว่าง 24 ธ.ค.2566
ถึง 2 ม.ค.2567
ใน ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตรงข้ามโรงพยาบาลเวชชารักษ์ อ.เกาะคา จ. ลำปาง
#เซรามิกแฟร์
วันสุดท้ายลุ้นทองคำหนัก 3 บาท
#ลำปางเซรามิกแฟร์ครั้งที่36
ที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ระหว่าง 24 ธ.ค.2566
ถึง 2 ม.ค.2567
ใน ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตรงข้ามโรงพยาบาลเวชชารักษ์ อ.เกาะคา จ. ลำปาง
#เซรามิกแฟร์
วันสุดท้ายลุ้นทองคำหนัก 3 บาท
งานฤดูหนาวและงานกาชาด
ของดีนครลำปางประจำปี 2567
วันที่ 15-24 ธันวาคม 2566
ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติจังหวัดลำปาง
สนามกีฬากลาง หนองกระทิง
ก่อนไปเพื่อน ๆ ระลึกนึกถึงอะไรกันบ้าง
สำหรับผมนึกถึงสิ่งเหล่านี้
1. ประกวดนางสาวลำปาง
2. งานแสดงศิลปวัฒนธรรม
3. ของดีโอท็อปแต่ละอำเภอ
4. พบสถาบันการศึกษา รัฐ และเอกชน
5. มัจฉากาชาด ฉลากกาชาด
6. เกมชิงตุ๊กตา
7. ซุ้มอาหารนานาชาติ
8. นกกระทาหัน
9. คอนเสิร์ตสนุก ๆ ทุกวัน
…
ข้อมูลจากเพจ
#งานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง
https://www.facebook.com/WinterEventLampang?mibextid=ZbWKwL
…
#งานฤดูหนาว
#ลำปาง
ลำปางแบรนด์ คือ ตราสินค้าของจังหวัดลำปางที่แสดงถึงภาพพจน์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของผลงานการออกแบบสินค้า บริการ และภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากตราสินค้าอื่น ซึ่งการสร้างตราสินค้าเพื่อให้เป็นที่จดจำของกลุ่มเป้าหมายและใช้ในการโฆษณาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลาและทรัพยากรในการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์
งานพัฒนาแบรนด์ของจังหวัดได้เคยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับลำปางแบรนด์เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง
ซึ่ง ลำปางแบรนด์กับผลิตภัณฑ์ชุมชนคนลำปางใน lampangbrand.com คือ งานที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 3) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง และ 4) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง
ซึ่งลำปางแบรนด์ เป็นงานวิจัยของ
ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์ อาจารย์สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านวิสาหกิจ เพื่อสังคมด้วยแนวคิดลำปางแบรนด์ ภายใต้ทุนอุดหนุนวิจัยจาก สกสว. ประจำปีงบประมาณ 2566
เมื่อกันยายน 2566 พบว่า ในเว็บไซต์ลำปางแบรนด์ แบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น เครื่องแต่งกาย อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปั้น สมุนไพร เครื่องประดับ เครื่องสำอาง และ งานจักรสาน โดยพบว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลำปางแบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืนและไปได้ไกลที่สุด
แล้วพบใน Lampang City
ประกาศเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาเครื่องหมาย “ลำปางแบรนด์” และลุ้นรับของที่ระลึก
https://forms.gle/B2ARHnLpw1DWSrCe8
ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านวิสาหกิจเพื่อสังคมด้วยแนวคิดลำปางแบรนด์ โดย ม.ราชภัฏลำปาง
วันนี้ 23 มิ.ย.66 ในช่วงบ่ายกับช่วงเย็น ได้ไปเดินชม #งานอุตสาหกรรมแฟร์ #DIPROM #IndustryFair ที่ #อำเภอเกาะคา #จังหวัดลำปาง ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จังหวัดลำปาง เค้าจัดงานตั้งแต่ 23 -30 มิ.ย.66 เวลาสิบโมงถึงสองทุ่ม ผมได้พบบูธแสดงสินค้าและผู้คนที่น่าสนใจจะมาบอกเล่า ดังนี้
มีบูธผลิตภัณฑ์เด่น ๆ มากมาย เข้าบูธไหนก็จะไปฟังเค้าเล่าถึงความเป็นมาและคุณสมบัติก็รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรม เช่น เครื่องแยกเมล็ดกาแฟตามสี หรือเครื่องแยกเศษพลาสติกตามสี ผู้ที่อยู่ประจำบูธเค้ามีความเข้าใจและพร้อมนำเสนอ จึงมีผู้สนใจยืนฟังแต่ละบูธไม่ขาดสาย บูธทุเรียนก็มีมานะครับ
มีบูธผู้ผลิตยางตามสั่ง ผมก็เผลอทักไปว่าขายไหม น้องที่ดูแลบูธเค้าบอกว่ารับผลิต วันนี้นำสินค้ามาแสดงไม่ได้นำมาขาย ผมสนใจวาล์ลเปิดปิดน้ำของโถสุขภัณฑ์ น้องเค้ามีหลายอัน ใจดีจึงแบ่งให้ผมมาลองใช้ 1 อันด้วย ขอบคุณครับ
ผลิตภัณฑ์จากชุมชนก็มาจากหลายแหล่ง ที่เห็นแล้วก็คุ้นเคย เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของแต่ละหมู่บ้านในลำปาง ไปงานไหนก็ได้พบได้เห็นเสมอ
ส่วนสินค้าที่มาจากต่างถิ่นก็เห็นอยู่หลายบูธ เช่น ผ้าทอกี่ หรือผ้าปักทั้งผืน แม่ค้าบอกว่า แต่ละผืนราคาไม่เท่ากัน เริ่มต้นผืนละ 1800 บาท ซึ่งเข้าใจว่าเป็นราคาปกติ เพราะเป็นสินค้าที่ผมก็สนใจเป็นพิเศษเช่นกัน
โซนด้านหน้าอาคารยังมีรถฟู้ดทรัคมาจอดให้บริการหลายคัน ผมก็ไปใช้บริการมาแล้ว ซื้อกาแฟเย็นเมื่อตอนเที่ยง เพราะแว้นไปงานนี้ อากาศก็จะร้อนหน่อย หากาแฟเย็นดื่ม พอชื่นใจก็หิ้วเข้าไปชมบูธ ท่านที่ไปงานนี้ไม่ต้องกลัวหลง เค้ามีแผนผังจัดงานชัดเจน อยากดูอะไรก็เดินตามแผนผังได้เลย
แชร์ใน Lampang City
บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566 โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2566 ในประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่
โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า “บ้านป่องนักเป็นอาคารที่มีความสำคัญ ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางสถาปัตยกรรมที่ยังรักษาความแท้ของรูปทรงภายนอก องค์ประกอบอาคารไว้ได้ค่อนข้างครบถ้วน มีการดูแลรักษาอาคารเป็นอย่างดี โดยมีการซ่อมแซมโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์และสื่อความหมายให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามยังขาดการออกแบบอนุรักษ์ที่มีกระบวนการทำงานที่ครบถ้วน ที่มีการวิเคราะห์รูปแบบ วัสดุ และสีดั้งเดิมของอาคาร ขาดความละเอียดในการเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรม“
“บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32
ภาพบ้านป่องนัก คัดเพียง 9 ภาพ เผยแพร่ใน เสี่ยวหงซู (Xiaohongshu)
เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ทางเข้าอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
สร้างปี พ.ศ. 2468 หรือประมาณ 103 ปีที่แล้ว
ใช้งบประมาณสร้างถึง 16,000 บาท มีหน้าต่าง 469 บาน
เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับในหลวง รัชกาลที่ 7
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ มีอุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชม
มีน้อง ๆ ในค่ายฯ คอยดูแล ตอบข้อซักถาม และพาชม
ปี 2565 เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
มีกาแฟสดจำหน่าย มีดนตรี และมีที่พัก
เป็นเรือนรับรองที่บุคคลภายนอกขอเข้าพักได้
ตัวบ้านออกแบบตามสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิค
ถ้าได้เข้าไปเที่ยวที่บ้านป่องนัก ลองซื้อกาแฟชิม
แล้วชวนกันเดินนับป่องดูครับ ว่าจะได้จำนวนเท่าใด”
และภาพชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ดร.อติชาต หาญชาญชัย
สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
https://asa.or.th/news/asa-conservation-awards-2023/
คุณมนัสพี เดชะ ได้แบ่งปันเรื่องราวผ่านเฟซบุ๊ก
https://web.facebook.com/manaspee/
ตามรอยละครที่บ้านป่องนัก
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1745/
ในการประกาศผลครั้งนี้ มีราลวัลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน
ระดับดีมาก
ระดับดี
ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน
ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่
ประเภท ข. งานออกแบบใหม่ในบริบทการอนุรักษ์
ประเภท ค. บุคคลหรือองค์กร อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม
หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน
โดยหนังสือที่นำมาทำอีบุ๊ก ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมเล่มจาก อ.ป้อม หรือ อ.อาภาพร ซึ่ง อ.ศักดิ์ เคยขึ้นภาพ อ.ป้อม เป็นภาพปกคนแรกของข่าวออนไลน์ชื่อ #สกุลเมือง และผมไม่ได้ตัดปกเพื่อนำเข้าเครื่องสแกนแบบฟีดอัตโนมัติ แต่แกะแม็คแล้วใช้โทรศัพท์บันทึกภาพทีละหน้า แล้วนำเอกสารมาประกอบกลับให้เหมือนเดิม เพื่อนำไปคืน อ.ป้อม ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม จึงทำให้งานอีบุ๊กมีแสงและเงาที่ไม่คมเหมือนเล่มเอกสาร
ได้ปรับอีบุ๊กโดยเพิ่มเติมเนื้อหาจากเล่มเอกสารอยู่ก่อนปกหลัง เป็นคำนิยมของหลายท่าน เช่น ท่านพุทธทาสที่ได้เขียนให้กับหนังสือแก้วตาแม่ ของ อ.ศักดิ์ ซึ่ง อ.เจี๊ยบ ได้ส่งภาพเพิ่มเติม แล้วโทรมาเล่าเรื่องราวของหนังสือที่นำไปทำละครเวที และพูดถึงผลงานเพลงที่ท่านได้แต่งไว้ ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาประวัติและผลงานที่น่าเติมเต็มได้อีกมาก
นอกจากนี้มีผู้เกี่ยวข้อง สื่อทุกสำนัก สมาคม องค์กร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และชาวลำปาง ที่ร่วมกันไว้อาลัยการจากไปของ อ.ศักดิ์ มีการพูดถึงผลงานของท่านในสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงร่ำเปิงลำปาง หนังสือการ์ตูนเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา เรื่องแก้วตาแม่ และด้วยผลงานมากมายตลอด 95 ปีของท่าน ซึ่งการรวบรวมผลงานในเวลาอันสั้นแล้วนำไปถ่ายเอกสารออกมาเป็นรูปเล่มเอสีเกือบร้อยหน้า ที่มีคณะผู้จัดทำ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และลูกหลาน ดูจะเล่มเล็กเกินไปที่จะบอกเล่าผลงานของท่านได้ทั้งหมด
หากผู้สนใจต้องการตามรอยวิถีปราชญ์ของท่าน ต้องลองอ่านหนังสือดูครับ แล้วมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าผู้อ่านได้อ่าน ค้น และติดตามผลงานของท่านต้องมีอึ้งกันบ้างหละ เพราะผลงานแน่นทั้งปริมาณและคุณภาพจริงครับ
พักนี้นั่งส่องกลุ่ม #เสี่ยวหงซู #socialmedia
จนรู้ว่าอุปกรณ์ไม่พร้อม ที่จะเข้าไปคบเพื่อนที่นั่น
ที่เมืองจีนมีว่าที่เพื่อนเยอะก็จริง แต่ไกลไปนิดนึง
กลับมาดูอาหารการกินบ้านเราดีกว่า
พบว่า ลำปางมีร้านแบบบุฟเฟ่ต์จำนวนไม่น้อย
ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น โพสต์แนะนำหมูกระทะ
มีหลายร้านที่ผมไปประจำ จะไปก็ต้องจองก่อน
เดินสุ่มสี่ สุ่มห้า น้องที่ร้านก็จะบอกว่าเต็มล่ะ
เช่น ร้านต๋าปิ้นโหล่ว เป็นของลูกศิษย์ในสาขา
มีน้ำ 2 หม้อ ไปครั้งใดก็ไม่เคยผิดหวัง อร่อยทุกจาน
ราคาไม่แพง เน้นสั่งเป็นชุด มาครบจบในเซต
เมื่อครึ่งเดือนที่แล้ว ไปต่างจังหวัด
หลังผ่านแยกเข้าวัดท่าสี ขาเข้าลำปาง
ห่างลำปางไปประมาณ 39 กิโลเมตร
ผมก็เกิดอุบัติเหตุที่นั่น
หลังฝนตกไม่นาน มีผู้โดยสารกันเต็มรถ
แต่ไม่มีใครเจ็บตัว มีตกใจและคอเคล็ดนิดหน่อย
ทันทีที่ผ่าน แยกเข้าวัดท่าสี
ด้วยความเร็วประมาณ 60 – 70 ต่อชม.
รถไถล ทีแรกนึกว่ายางแตก
ก็จะประคองรถเข้าข้างทาง
จำได้ว่าในรถถามว่ารถเป็นอะไร
ผมยังตอบว่าสงสัยยางแตก
แต่ไม่น่าใช่ครับ เพราะเคยแตก และเปลี่ยนมาไม่นาน
จึงชะลอเบี่ยงซ้าย แต่อยู่ ๆ รถก็หมุน
หมุนกลางถนนอยู่ 2 รอบ
รอบแรก
กันชนหน้าซ้ายไปกระแทก
แท่งแบริเออร์คอนกรีตที่กั้นด้านขวา
รอบสอง
กันชนหลังไปกระแทกแถบเดิม
ถ้าไม่มีแท่งแบริเออร์ รถคงข้ามไปอีกฝั่ง
แล้วรถก็หยุดกลางถนน ขวางลำ
จากนั้นก็ขับมาจอดริมทางชิดซ้าย
เพื่อลงดูความเสียหายทั้งหน้าหลัง
พอลงรถ
ก็มีคุณพี่ในชุมชนที่บอกว่าได้ยินเสียงดังอีกล่ะ
ออกมาเรียกขึ้นไปอยู่บนเนิน
แล้วเอากรวยส้ม มาวาง กลัวเกิดซ้ำซ้อน
เพราะมีอุบัติเหตุสิบกว่าครั้งล่ะ ช่วงเดือนนี้
ทุกคำถาม
ถาโถมมาที่ผม ว่าเกิดอะไรขึ้น
ยังไม่ทันตอบ ก็มีปิคอัพสีเทาอีกคัน
เป็นรถผู้รับเหมาก่อสร้างมีทีมอยู่ 4 คน
ไถลและหมุนมาแต่ไกล แบบผมเลย
แต่เค้าน่าจะเบรค
ทำให้รถหยุดกลางถนน มาไม่ถึงรถผม
โดยไม่กระแทกอะไร อยู่คุยกันแป๊ป
แล้วสักพักเค้าก็ขับกลับบ้านตามปกติ
อาการสำคัญ คือ โซลินอยเกียร์แตก
ป้ำน้ำมันเกียร์เข้าเครื่องไม่ได้ ก็วิ่งไม่ได้
ตำรวจมา ตามที่คุณพี่บนเนิ่นโทรตามไป
เค้าก็บอกว่าเส้นนี้มีอุบัติเหตุตลอด
แนะนำ ติดต่อรถยกและอู่ให้
ชุมชนเคยแจ้งการทางไปแล้ว
ส่วนใหญ่ถ้าไม่กระแทก ไม่มีอุบัติเหตุซ้ำซ้อน
ก็จะวิ่งกันเข้าเมืองกันต่อได้
ค้นข่าว “โค้งอันตราย บ้านท่าสี”
พบชาวบ้านเดือดร้อน
บางวันเกิดเหตุ 5-6 ครั้ง
ทำให้นึกถึงการตีเส้น ที่ชาวบ้านขอไป
คือ การเทพื้นสีส้ม หรือฟ้าในหลายถนน
ที่ทำให้เราต้องชะลอ ต้องระวัง
เมื่อรอดชีวิตกลับมาคุยกับเพื่อน
เค้าก็บอกว่า
ตัวเค้าก็เคยเจอ
คนรู้จักก็เคยประสบมาแล้ว
บางคนไม่โชคดีแบบผม
ถือเป็นช่วงถนนที่อันตราย
อีกเส้นของลำปาง ขับรถระวังกันด้วยครับ
เพราะฝนตกใหม่ถนนจะลื่น
ปล. ผมยังไม่หายตกใจกับค่าซ่อมรถเลย
ตอนนี้จอดรออะไหล่มาครึ่งเดือนแล้ว
แต่ถือว่าโชคดีที่ไม่มีใครเป็นอะไร
อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ พร้อมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น นำนิสิตสาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ ออกให้บริการวิชาการแก่นักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมี นายพิตินันท์ ผึ้งต้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งวัน โดยการกำกับดูแลสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และนายสุกฤษฎิ์ สุคำอ้าย ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหัวข้อ ผู้สูงอายุกับการเดินทางยุคโควิด-19 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเชิงบูรณาการกับคณะวิชาต่าง ๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัส การล้างมือสู้โรค การเดินทางโดยเครื่องบิน กิจกรรมยืดเหยียด และการดูแลช่องปาก และการขายผลิตภัณฑ์สู่การตลาดออนไลน์ใน Platform ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ
ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการประสานกับผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการ จาก คุณพิเชษฐ์ จริยงามวงค์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายนวพล จะงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดโครงการ กล่าวขอบคุณในพิธีปิดโครงการ และมอบเกียรติบัตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวเปิดโครงการเวลา 9.00น. กล่าวปิดโครงการในเวลา 15.30น. และมอบเกียรติบัตร