Category Archives: news

มีตติ้ง ศิษย์เก่า งานเล็ก หรือ ใหญ่
กับการลงทะเบียน

เพื่อน ย่อมมีการนัดหมาย
พบปะ พูดคุย สังสรรค์
ทานข้าว แข่งกีฬา เข้าวัด เข้าโบสถ์
ทำบุญ รดน้ำดำหัว
หรือ ออกทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกัน
.
มักมีให้ได้เห็น
อย่างสม่ำเสมอ ในสื่อสังคม
.
ผ่านสื่อหลายรูปแบบ
ทั้งภาพ คลิปเสียง คลิปวิดีโอ
หรือ บทความ
ทั้งแบบที่เป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ
.
หนึ่งในกลุ่มที่มีความเข็มแข็ง
ที่เห็นได้ชัดเจน
คือ สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
เมื่อมองแล้ว พบเครือข่าย
ที่เชื่องโยงกันมากมาย
เช่น ชมรมศิษย์เก่ากรุงเทพ
ชมรมศิษย์เก่าเชียงใหม่
กลุ่มครูเก่า กลุ่มศิษย์เก่าอาวุโส
กลุ่มห้องเรียน กลุ่มชั้นเรียน
.
แล้วพบว่าศิษย์เก่าที่เข้มแข็ง
ให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน
หรือ โรงเรียนสนับสนุนศิษย์เก่า
หรือ ศิษย์เก่าสนับสนุนซึ่งกันและกัน
.
เมื่อร่วมกลุ่มกันแล้ว ทำให้นึกถึงกิจกรรม
ที่ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
เช่น การลงทะเบียนบันทึกการเข้าร่วมงาน
ที่ทำให้ศิษย์เก่าได้ติดต่อสื่อสาร
สานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ
การมีกลุ่มในสื่อหลากหลายช่องทาง
มีอาคารที่ตั้งสมาคม มีสื่อสังคม
มีเนื้อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์
การเขียนบทความถอดบทเรียน
จากการทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการใช้ชีวิต
การทำจุลสาร หรือ อีบุ๊ค
เพื่อเป็นเวทีในการบอกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์
.
และ ยังเรื่องราวอีกมากมาย ที่สมาชิกศิษย์เก่า
สามารถ คิด ทำ และพัฒนา
เพื่อสร้างนวัตกรรมในสังคมศิษย์เก่านี้

Acl alumni

https://vt.tiktok.com/ZSF7nSwKh/

มีตติ้ง #ศิษย์เก่า
งานเล็ก หรือ ใหญ่
กับการลงทะเบียน
#โรงเรียนอัสสัมชัญ
#acl
#meeting
#กิจกรรม
#alumni
#lifestyle
#association
#college
#สมาชิก

กาดฮิมขัวหรือตลาดข้างสะพาน

ที่จังหวัดลำปาง
มีการจัดตั้งกาดขึ้นหลายรูปแบบ
ล่าสุดมี กาดฮิมขัว
หรือ ตลาดข้างสะพาน
เพื่อพัฒนาตลาดใหม่
สนับสนุนการพัฒนาย่านวัฒนธรรม
ให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
.
จัดขึ้นบริเวณลานหน้าวัดนาเวียง
ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
จัดขึ้นครั้งแรก
ในวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 และ
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2567
ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
.
ในภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือ
กาด คือ ตลาด
ฮิม คือ บริเวณด้านข้าง
ขัว คือ สะพาน
.
การเดินทางไปกาดฮิมขัวนี้
แนะนำได้ 2 เส้นทางหลัก
เส้นทางแรก
เข้าซอย 4 บ้านผึ้ง
ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา
ซอยนี้อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลเกาะคา
เมื่อเข้าซอยนี้แล้ว ให้ตรงไปเรื่อย ๆ
ผ่าน 4 แยกทั้งหมดสองแยก
ก็จะพบสะพาน ซึ่งวัดนาเวียง
อยู่ทางขวามือหลังลงสะพาน
.
เส้นทางที่สอง
วิ่งรถมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง
มาทางอำเภอเกาะคา เพื่อเข้าตัวเมือง
เมื่อพบคลองถมเกาะคา ที่จัดทุกวันศุกร์
จะอยู่ทางขวามือ ก็ให้ชะลอรถ
จากนั้นจะพบซอยด้านซ้าย
ให้เลี้ยวเข้าบ้านนาเวียง
วิ่งตรงมาเรื่อย ๆ
จนพบวงเวียน ให้หาที่จอดเลย
อย่าตรงขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำวัง
เพราะเป็นเขตบ้านผึ้ง
ถ้าจอดรถแถววงเวียน
ก็จะเป็นหน้าวัดนาเวียง บ้านนาเวียง
เป็นพื้นที่จัดงานกาดฮิมขัว
.
กาดฮิมขัว จัดขึ้นตามโครงการ
การบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม
และการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
และสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน
.
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกระดับครัวเรือนด้วยอัตลักษณ์ต้นทุนทางวัฒนธรรมลำปาง
2. เพื่อพัฒนาตลาดย่านวัฒนธรรมชุมชนสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวย่านวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
.
สรุปว่าชวนเที่ยวกาดครับ
ภายในกาด พบกับ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน
กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การประกวดแข่งขันการทำลาบเมือง
การประกวดการตกแต่งร้านค้าของชุมชน
การแสดงของกลุ่มเยาวชน
กลุ่มผู้สูงอายุ
และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย

งานน้อมรำลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง

งานน้อมรำลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง
งานฤดูหนาวและของดีเมืองเกาะคา ลำปาง
17 – 25 มกราคม 2567

ณ ถนนข้าง เทศบาลตำบลเกาะคา
และบริเวณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

17 ม.ค.67 คาวบอย Snooker band
18 ม.ค.67 พิธีเปิด และประกวดธิดาเกาะคา
19 ม.ค.67 วงดนตรีรำวงย้อนยุคเจ็บวาย
20 ม.ค.67 ศร อิฉา/ประกวดบาสโลป/วง IRON BAND
21 ม.ค.67 โบว์ ซุปเปอร์วาเลนไทน์
22 ม.ค.67 โชคมงคล ไหทองคำ
23 ม.ค.67 ประกวดนางฟ้าจำแลง
24 ม.ค.67 วงดนตรี SL มิวสิค
25 ม.ค.67 พิธีบวงสรวงและตักบาตรพระสงฆ์ 99 รูป

เล่าจากความทรงจำ

หูผึ่งตาลุกวาวเป็นประกายทุกครั้ง
ที่มีรถแห่ผ่านหน้าบ้านประกาศว่ามี
งานมหรสพจัดที่โรงเรียนประจำอำเภอ
งานใหญ่สุดคงหนีไม่พ้นงานฤดูหนาว
.
สมัยก่อนไฟฟ้ายังไม่เข้าบ้าน
ออกบ้านยามค่ำก็ต้องมีไฟฉายติดตัว
ลูกชิ้นปิ้งห้าลูกไม้บาทเดียว
สมัยนั้นใจปล้ำซื้อทีละสิบบาทได้เต็มถุง
แบ่งกันกินได้จุก ๆ ทั้งครอบครัว
เดินกลับเป็นกิโล
เดินไปกินไปส่องทางไป เดี๋ยวก็หมด
และก็ต้องไปซื้อกินที่งานฤดูหนาว
งานที่คนทั้งอำเภอตั้งตารอ
คือ งานที่จัดปีละครั้ง
รถแห่บอกว่า #ปีนี้ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี
แบบนี้ไม่เคยพลาดเลยสักปี
.
โตขึ้นก็ทำงานเป็นครูอาจารย์
ได้ไปงานฤดูหนาวทุกปี
มีจับฉลากว่าได้อยู่เวรเฝ้าบูธวันไหน
ไปเฝ้าบอร์ด แจกเอกสาร แนะนำหลักสูตร
บางปีขนห้องปฏิบัติการบริการอินเทอร์เน็ต
บางปีบริการเกมให้เด็ก ๆ แข่งกันตีป้อม
นึกถึงสถาบันต่าง ๆ ที่ไปแสดงจุดเด่น
สายช่างก็มีอุปกรณ์เครื่องจักร
มีรถรางบริการวิ่งภายในงาน
สายอาหารก็ไปเปิดร้านขายอาหาร
มีเด็ก ๆ มาบริการทำอาหารขายกัน
สายวิชาการก็ไปตั้งโต๊ะ
ให้คำปรึกษาตามที่ตนถนัด
.
เดี๋ยวนี้งานฤดูหนาวต้องมีดนตรี
มีนักร้องดัง ๆ มาเป็นแม่เหล็ก
ดูดคนไปเที่ยวงาน
มีประกวด แข่งขันหลายรายการ
มีฉลาก มีสอยดาว แจกของใหญ่
ที่มีกระดาษสะท้อนแสงแผ่นเล็กจิ๋ว
เขียนตัวอักษรไปผูกไว้บนต้นมะขาม
แล้วเอาไม้ไผ่ไปสอยมาเปิดดู
ลุ้นว่าจะได้รางวัลอะไร
เดี๋ยวนี้พัฒนาจากสอยดาวเป็นมัจฉา
เอากระชอนไปตักจากในบ่อน้ำมาลุ้น
.
ปัจจุบัน
เห็นป้ายประชาสัมพันธ์งานฤดูหนาวฯ
อยู่หน้าที่ว่าการอำเภอเกาะคา
มีภาพนักร้องในดวงใจ กิจกรรมรายวัน
ชอบวงไหนก็ไปวันนั้น ว่างไปทุกวันก็ได้
ท้ายป้ายมีช่องทางติดต่อ
สำหรับผู้แสวงหาช่องทางขายของ
ไปเปิด #แผงลอย หรือ #ร้านค้า
#งานฤดูหนาว
#memo670116

งานฤดูหนาวเกาะคา
คาวบอย snooker band
พิธีเปิด และประกวดธิดาเกาะคา
วงดนตรีรำวงย้อนยุคเจ็บวาย
ศร อิฉา/ประกวดบาสโลป/วง IRON BAND
โบว์ ซุปเปอร์วาเลนไทน์
โชคมงคล ไหทองคำ
ประกวดนางฟ้าจำแลง
วงดนตรี SL มิวสิค
พิธีบวงสรวงและตักบาตรพระสงฆ์ 99 รูป

ลำปางเซรามิกแฟร์ครั้งที่36

#ลำปางเซรามิกแฟร์ครั้งที่36
ที่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ระหว่าง 24 ธ.ค.2566
ถึง 2 ม.ค.2567
ใน ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตรงข้ามโรงพยาบาลเวชชารักษ์ อ.เกาะคา จ. ลำปาง
#เซรามิกแฟร์

วันสุดท้ายลุ้นทองคำหนัก 3 บาท

งานฤดูหนาวและงานกาชาด
ของดีนครลำปางประจำปี 2567

งานฤดูหนาวและงานกาชาด
ของดีนครลำปางประจำปี 2567
วันที่ 15-24 ธันวาคม 2566
ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติจังหวัดลำปาง
สนามกีฬากลาง หนองกระทิง
ก่อนไปเพื่อน ๆ ระลึกนึกถึงอะไรกันบ้าง
สำหรับผมนึกถึงสิ่งเหล่านี้
1. ประกวดนางสาวลำปาง
2. งานแสดงศิลปวัฒนธรรม
3. ของดีโอท็อปแต่ละอำเภอ
4. พบสถาบันการศึกษา รัฐ และเอกชน
5. มัจฉากาชาด ฉลากกาชาด
6. เกมชิงตุ๊กตา
7. ซุ้มอาหารนานาชาติ
8. นกกระทาหัน

9. คอนเสิร์ตสนุก ๆ ทุกวัน

ข้อมูลจากเพจ
#งานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง

https://www.facebook.com/WinterEventLampang?mibextid=ZbWKwL

#งานฤดูหนาว
#ลำปาง

คอนเสิร์ต
โปสเตอร์แนวตั้ง
กิจกรรมแสนสนุก
กิจกรรมแสนสนุก
จักรยานกาชาด
สินค้ามากมาย
การแสดงของนักศึกษา
ประกวดสาวงามลำปาง
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาลำปาง
นกกระทาหัน
ป้ายที่แยกลำปางเวียงทอง

ลำปางแบรนด์ 2566

ลำปางแบรนด์ คือ ตราสินค้าของจังหวัดลำปางที่แสดงถึงภาพพจน์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของผลงานการออกแบบสินค้า บริการ และภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากตราสินค้าอื่น ซึ่งการสร้างตราสินค้าเพื่อให้เป็นที่จดจำของกลุ่มเป้าหมายและใช้ในการโฆษณาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลาและทรัพยากรในการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์

งานพัฒนาแบรนด์ของจังหวัดได้เคยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับลำปางแบรนด์เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง

ซึ่ง ลำปางแบรนด์กับผลิตภัณฑ์ชุมชนคนลำปางใน lampangbrand.com คือ งานที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 3) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง และ 4) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง

ซึ่งลำปางแบรนด์ เป็นงานวิจัยของ
ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์ อาจารย์สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านวิสาหกิจ เพื่อสังคมด้วยแนวคิดลำปางแบรนด์ ภายใต้ทุนอุดหนุนวิจัยจาก สกสว. ประจำปีงบประมาณ 2566

เมื่อกันยายน 2566 พบว่า ในเว็บไซต์ลำปางแบรนด์ แบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น เครื่องแต่งกาย อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปั้น สมุนไพร เครื่องประดับ เครื่องสำอาง และ งานจักรสาน โดยพบว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลำปางแบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืนและไปได้ไกลที่สุด

ยี่ห้อลำปาง

แล้วพบใน Lampang City
ประกาศเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาเครื่องหมาย “ลำปางแบรนด์” และลุ้นรับของที่ระลึก

https://forms.gle/B2ARHnLpw1DWSrCe8

ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านวิสาหกิจเพื่อสังคมด้วยแนวคิดลำปางแบรนด์ โดย ม.ราชภัฏลำปาง

ผมเข้าไปเลือกแล้ว 1 แบบ

ชวนไปเดินงานอุตสาหกรรมแฟร์

วันนี้ 23 มิ.ย.66 ในช่วงบ่ายกับช่วงเย็น ได้ไปเดินชม #งานอุตสาหกรรมแฟร์ #DIPROM #IndustryFair ที่ #อำเภอเกาะคา #จังหวัดลำปาง ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า อุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จังหวัดลำปาง เค้าจัดงานตั้งแต่ 23 -30 มิ.ย.66 เวลาสิบโมงถึงสองทุ่ม ผมได้พบบูธแสดงสินค้าและผู้คนที่น่าสนใจจะมาบอกเล่า ดังนี้

มีบูธผลิตภัณฑ์เด่น ๆ มากมาย เข้าบูธไหนก็จะไปฟังเค้าเล่าถึงความเป็นมาและคุณสมบัติก็รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรม เช่น เครื่องแยกเมล็ดกาแฟตามสี หรือเครื่องแยกเศษพลาสติกตามสี ผู้ที่อยู่ประจำบูธเค้ามีความเข้าใจและพร้อมนำเสนอ จึงมีผู้สนใจยืนฟังแต่ละบูธไม่ขาดสาย บูธทุเรียนก็มีมานะครับ

มีบูธผู้ผลิตยางตามสั่ง ผมก็เผลอทักไปว่าขายไหม น้องที่ดูแลบูธเค้าบอกว่ารับผลิต วันนี้นำสินค้ามาแสดงไม่ได้นำมาขาย ผมสนใจวาล์ลเปิดปิดน้ำของโถสุขภัณฑ์ น้องเค้ามีหลายอัน ใจดีจึงแบ่งให้ผมมาลองใช้ 1 อันด้วย ขอบคุณครับ

ผลิตภัณฑ์จากชุมชนก็มาจากหลายแหล่ง ที่เห็นแล้วก็คุ้นเคย เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของแต่ละหมู่บ้านในลำปาง ไปงานไหนก็ได้พบได้เห็นเสมอ

ส่วนสินค้าที่มาจากต่างถิ่นก็เห็นอยู่หลายบูธ เช่น ผ้าทอกี่ หรือผ้าปักทั้งผืน แม่ค้าบอกว่า แต่ละผืนราคาไม่เท่ากัน เริ่มต้นผืนละ 1800 บาท ซึ่งเข้าใจว่าเป็นราคาปกติ เพราะเป็นสินค้าที่ผมก็สนใจเป็นพิเศษเช่นกัน

โซนด้านหน้าอาคารยังมีรถฟู้ดทรัคมาจอดให้บริการหลายคัน ผมก็ไปใช้บริการมาแล้ว ซื้อกาแฟเย็นเมื่อตอนเที่ยง เพราะแว้นไปงานนี้ อากาศก็จะร้อนหน่อย หากาแฟเย็นดื่ม พอชื่นใจก็หิ้วเข้าไปชมบูธ ท่านที่ไปงานนี้ไม่ต้องกลัวหลง เค้ามีแผนผังจัดงานชัดเจน อยากดูอะไรก็เดินตามแผนผังได้เลย

แชร์ใน Lampang City

บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32

บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566

บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566 โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2566 ในประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่

โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า “บ้านป่องนักเป็นอาคารที่มีความสำคัญ ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางสถาปัตยกรรมที่ยังรักษาความแท้ของรูปทรงภายนอก องค์ประกอบอาคารไว้ได้ค่อนข้างครบถ้วน มีการดูแลรักษาอาคารเป็นอย่างดี โดยมีการซ่อมแซมโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์และสื่อความหมายให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามยังขาดการออกแบบอนุรักษ์ที่มีกระบวนการทำงานที่ครบถ้วน ที่มีการวิเคราะห์รูปแบบ วัสดุ และสีดั้งเดิมของอาคาร ขาดความละเอียดในการเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรม

“บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32
เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ทางเข้าอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
สร้างปี พ.ศ. 2468 หรือประมาณ 103 ปีที่แล้ว
ใช้งบประมาณสร้างถึง 16,000 บาท มีหน้าต่าง 469 บาน
เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับในหลวง รัชกาลที่ 7
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ มีอุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชม
มีน้อง ๆ ในค่ายฯ คอยดูแล ตอบข้อซักถาม และพาชม
ปี 2565 เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
มีกาแฟสดจำหน่าย มีดนตรี และมีที่พัก
เป็นเรือนรับรองที่บุคคลภายนอกขอเข้าพักได้
ตัวบ้านออกแบบตามสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิค
ถ้าได้เข้าไปเที่ยวที่บ้านป่องนัก ลองซื้อกาแฟชิม
แล้วชวนกันเดินนับป่องดูครับ ว่าจะได้จำนวนเท่าใด”

ภาพบ้านป่องนัก คัดเพียง 9 ภาพ เผยแพร่ใน เสี่ยวหงซู (Xiaohongshu)
และภาพชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ดร.อติชาต หาญชาญชัย

สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
https://asa.or.th/news/asa-conservation-awards-2023/

คุณมนัสพี เดชะ ได้แบ่งปันเรื่องราวผ่านเฟซบุ๊ก
https://web.facebook.com/manaspee/

ตามรอยละครที่บ้านป่องนัก
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1745/

บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566
บ้านป่องนัก ได้รับการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566

ในการประกาศผลครั้งนี้ มีราลวัลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้


ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน

ระดับดีมาก

  1. ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  2. โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ กรุงเทพฯ

ระดับดี

  1. วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง
  2. กุฎิหลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน จังหวัดชุมพร
  3. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น “ชุมทางประวัติศาสตร์ทุ่งสง” จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. มัสยิดบ้านควนลังงา จังหวัดปัตตานี

ประเภท ก. งานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน
ระดับสมควรได้รับการเผยแพร่

  1. พิพิธภัณฑ์บ้านป่องนัก จังหวัดลำปาง
  2. อาคารสำนักงานคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดสุโขทัย วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร จังหวัดสุโขทัย
  3. ยงคัง ท่าวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเภท ข. งานออกแบบใหม่ในบริบทการอนุรักษ์

  1. คาเฟ่ อเมซอน สาขาย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา

ประเภท ค. บุคคลหรือองค์กร อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม

  1. ศูนย์อนุรักษ์เฮือนโบราณ โดย นายรุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ จังหวัดเชียงใหม่

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

E-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

โดยหนังสือที่นำมาทำอีบุ๊ก ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมเล่มจาก อ.ป้อม หรือ อ.อาภาพร ซึ่ง อ.ศักดิ์ เคยขึ้นภาพ อ.ป้อม เป็นภาพปกคนแรกของข่าวออนไลน์ชื่อ #สกุลเมือง และผมไม่ได้ตัดปกเพื่อนำเข้าเครื่องสแกนแบบฟีดอัตโนมัติ แต่แกะแม็คแล้วใช้โทรศัพท์บันทึกภาพทีละหน้า แล้วนำเอกสารมาประกอบกลับให้เหมือนเดิม เพื่อนำไปคืน อ.ป้อม ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม จึงทำให้งานอีบุ๊กมีแสงและเงาที่ไม่คมเหมือนเล่มเอกสาร

ได้ปรับอีบุ๊กโดยเพิ่มเติมเนื้อหาจากเล่มเอกสารอยู่ก่อนปกหลัง เป็นคำนิยมของหลายท่าน เช่น ท่านพุทธทาสที่ได้เขียนให้กับหนังสือแก้วตาแม่ ของ อ.ศักดิ์ ซึ่ง อ.เจี๊ยบ ได้ส่งภาพเพิ่มเติม แล้วโทรมาเล่าเรื่องราวของหนังสือที่นำไปทำละครเวที และพูดถึงผลงานเพลงที่ท่านได้แต่งไว้ ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาประวัติและผลงานที่น่าเติมเต็มได้อีกมาก

นอกจากนี้มีผู้เกี่ยวข้อง สื่อทุกสำนัก สมาคม องค์กร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และชาวลำปาง ที่ร่วมกันไว้อาลัยการจากไปของ อ.ศักดิ์ มีการพูดถึงผลงานของท่านในสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงร่ำเปิงลำปาง  หนังสือการ์ตูนเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา เรื่องแก้วตาแม่ และด้วยผลงานมากมายตลอด 95 ปีของท่าน ซึ่งการรวบรวมผลงานในเวลาอันสั้นแล้วนำไปถ่ายเอกสารออกมาเป็นรูปเล่มเอสีเกือบร้อยหน้า ที่มีคณะผู้จัดทำ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และลูกหลาน ดูจะเล่มเล็กเกินไปที่จะบอกเล่าผลงานของท่านได้ทั้งหมด

หากผู้สนใจต้องการตามรอยวิถีปราชญ์ของท่าน ต้องลองอ่านหนังสือดูครับ แล้วมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าผู้อ่านได้อ่าน ค้น และติดตามผลงานของท่านต้องมีอึ้งกันบ้างหละ เพราะผลงานแน่นทั้งปริมาณและคุณภาพจริงครับ

คลิกเพื่อเปิด e-book
ถ่ายภาพ

อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการ

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์