Category Archives: education

งาน​ประเพณีสระเกล้าดำหัว​ คณะครูอาวุโสโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

สระเกล้าดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2566

งาน​ประเพณีสระเกล้าดำหัว​ คณะครูอาวุโสโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
วันเสาร์ที่​ 22​ เมษายน​ 2566​ ณ​ กรีนโดมของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566
แล้วสมาชิกของสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
ได้อัพโหลดภาพ เพื่อแบ่งปันลงในเฟซบุ๊กแบบเผยแพร่ทั่วไป
พบอัลบั้มใหญ่ ๆ อยู่หลายอัลบั้ม
จึงนำไปแชร์ต่อโดยแขวนไว้ในโฮมเพจ เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงได้ง่าย
แล้วต่อไปจะสืบค้นได้ผ่านบริการสืบค้นต่าง ๆ ในอนาคต
รวมได้ 4 อัลบั้ม = 781 ภาพ

  1. อัลบั้มของ Pongtep Boonkird – 28 ภาพ
  2. อัลบั้มของ Wijitra Gann – 596 ภาพ
  3. อัลบั้มของมนัสพี เดชะ – 80 ภาพ
  4. อัลบั้มของมาสเตอร์เรืองฤทธิ์ – 77 ภาพ

http://www.thaiabc.com/acla/thainewyear.asp

หากมีข้อเสนอแนะแจ้งเข้ามาได้ครับ
ปล. ไม่ได้เก็บภาพของพี่ ๆ ไว้ครับ แต่ลิงก์ตรงไปยังอัลบั้ม

สระเกล้าดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ประเพณีที่ศิษย์เก่ากลับมารวมกันทำกิจกรรมแสดงมุทิตาจิต ระลึกคุณความดีของครูอาวุโส ศิษย์เก่าอาวุโส ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ หรือขึ้นปีใหม่ไทย โดยสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และชมรมศิษย์อัสสัมชัญลำปาง(กรุงเทพ) ถือเป็นวัฒนธรรมอันดีที่ร่วมกันรักษาไว้ และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี

“พวกเรารักกัน อัสสัมชัญ สามัคคีกัน รักสถาบัน”
ปุณณสิน มณีนันทน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง

กีฬาบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดลำปาง

กีฬาบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดลำปาง อ.พ.ร.สัมพันธ์ 2566

ทุกปีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน ด้วยการจัดกิจกรรม “การแข่งขันกีฬาบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดลำปาง” ในชื่อ อ.พ.ร.สัมพันธ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดลำปาง ได้เล่นกีฬาและออกกำลังกาย มีกิจกรรมทางกายที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกาย และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง 17 สถาบัน ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำวิทยาเขตลำปาง 2) โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง 3) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 4) มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 5) มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง 6) วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 7) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง 8) วิทยาลัยเทคนิคลำปาง 9) วิทยาลัยการอาชีพเถิน 10) วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม 11) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเถินเทคโนโลยี 12) วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง 13) วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง 14) วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง และ 15) วิทยาลัยเทคนิค กฟผ.แม่เมาะ 16) สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และ 17) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โดยในปี พ.ศ. 2566 จัดงานขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ได้จัดการแข่งขันกีฬาสากล ประกอบด้วย การแข่งขัน 1) แบดมินตัน 2) เปตอง 3) เทเบิลเทนนิส 4) ฟุตบอล 7 คน 5) วอลเลย์บอล 6) แชร์บอล 7) เซปักตะกร้อ 8) ปาเป้า 9) ชู๊ตบาสผู้บริหาร ส่วนกีฬามหาสนุก ประกอบด้วย 1) โบลิ่งมหาสนุก 2) กระโดดเชือก 3) ท่อน้ำเลี้ยง 4) อาละดิน 5) บับเบิ้ลโกล 6) เต๋าเฮฮา 7) ปอบจับ 8) เต๋าเฮอริเคน และ 9) ชีวิตสู้กลับ สำหรับกิจกรรมในภาคค่ำ ราตรีสัมพันธ์ มีการมอบรางวัลและพิธีปิดการแข่งขัน โดยส่งมอบธงกีฬา อพร.สัมพันธ์ แก่มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมในปีต่อไป

รวมภาพโลโก้ของ 17 สถาบัน
https://www.thaiall.com/lovelampang/logo/
อัลบั้ม 266 ภาพ

คลังภาพ 266 ภาพ album

เขียนข่าวโดย : จารุวรรณ สุยะ https://lpc.rmutl.ac.th/news/21250

http://www.thaiall.com/weblampang

กีฬาปาเป้า (Darts)
กีฬากระโดด (Jumper)

มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
https://web.facebook.com/prlpru2015/posts/pfbid0GGUbLkGBS53DXtNZ9jcZSkwmXz4nuTz2moZFiATBGGV1As9drzUR8oDPNHT5Vfdul

กำหนดการ อ.พ.ร.สัมพันธ์
กำหนดการ อ.พ.ร.สัมพันธ์
เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ

เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ 12 รายการ

พบข้อมูลจากหนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย หน้า ๑๘-๒๐ ที่แจกให้กับผู้ไปร่วมงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖ พบว่าในเนื้อหาระบุถึง เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช ๒๕๖๖ มีเอกสารประกอบทั้งหมด ๑๒ รายการ ดังนี้

เอกสารชุดที่ ข-๑ “พิธีเชิดชูเกียรติ เพชรสยาม ครั้งที่ ๑๔ ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๑” ได้รับรางวัลเพชรสยาม ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
เอกสารชุดที่ ข-๒ “ศิลปนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา ภาควิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง การศึกษากระบวนการประดิษฐ์ท่าฟ้อนเผียไหม”
เอกสารชุดที่ ข-๓ “คู่มือศึกษาการแสดงศิลปะพื้นบ้าน โดย อาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย”
เอกสารชุดที่ ข-๔ “วันเชิดชูเกียรติ ศักดิ์ ส. รัตนชัย คุณูปการที่สรรค์สร้าง โดย สำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง”
เอกสารชุดที่ ข-๕ “รายงานนักศึกษาแลกเปลี่ยน OIU เสนอ อาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย พร้อมประสบการณ์ภาคสนาม เป็นเอกสารายงานที่เสนอเกี่ยวกับศิลปะพื้นเมืองหลักสูตร Yonok Okinawa ในศิลปะร้องรำทำเพลงกับการวัดผลการสอน ผลงานแสดงต่างประเทศที่ไต้หวัน ครั้งที่ ๑๑/๒๐๐๖”
เอกสารชุดที่ ข-๖ “ตำนานเพลงอมตะ ๑ ร่ำเปิงลำปาง โดย ศักดิ์ รัตนชัย ชุดสร้างสรรค์จรรโลงใจโดยกลุ่มศิลปินเพลงรุ่นอมตะ”
เอกสารชุดที่ ข-๗ “เพลงเฉลิมพุทธศตรวรรษ ๒๕-๒๖ ธรรมวิจัยปฏิรูป เทสวาสะ เศรษฐกิจพอเพียงเลี่ยงสิ่งเสพติดอบายภูมิ ๒๕๐๐-๒๕๕๕ฯ ๕๕ ปี เพลง ศักดิ์ ส.รัตนชัย สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง”
เอกสารชุดที่ ข-๘ “เอกกษัตริย์อัจฉริยะ”
เอกสารชุดที่ ข-๙ “เยี่ยมบ้านศิลปินครั้งที่ ๗”
เอกสารชุดที่ ข-๑๐ “คู่มือศึกษาการแสดงพื้นบ้านที่พัฒนาจากฟ้อนเชิง”
เอกสารชุดที่ ข-๑๑ “จุดประวัติศาสตร์โอเปร่า”
เอกสารชุดที่ ข-๑๒ “การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่” เป็นผลงานด้านการ์ตูนชิ้นเอกของอาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย ในการสอนธรรมะด้วยภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘

การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่

การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่
เป็นผลงานด้านการ์ตูนชิ้นเอกของอาจารย์ศักดิ์ ส.รัตนชัย
ในการสอนธรรมะด้วยภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘

https://www.thaiall.com/me/hotelcalifornia.htm

ประวัติและผลงาน
ศักดิ์ รัตนชัย
เด็กรักการอ่าน

เด็กลำปางฉลาดอ่านและเขียน

มีอยู่วันหนึ่ง ในช่วงปลายของฤดูหนาว
รุ่นน้องประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม
เรื่องส่งเสริมการอ่าน

รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย แชร์ข่าว จังหวัดลำปาง #Kickoff เรื่อง เด็กลำปางยุคใหม่อ่าน+เขียนได้ตามเกณฑ์ ในกลุ่มสังคมคนรักอ่าน มีพิธีลงนามระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการ เป็นกลไกหลักที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนส่งเสริม #สังคมคนรักอ่าน โดยเน้นไปที่นักเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัด สพฐ. ลำปาง เพราะการอ่านต้องเริ่มต้นปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เพื่อให้สามารถอ่าน เขียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลงนามเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2566 และคำว่า “Lampang smart kids read & write” ทำให้นึกถึง Tag line ว่า #เด็กลำปางฉลาดอ่านและเขียน

พบว่า มีจำนวนนักเรียนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานต้นสังกัด โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านการอ่านออกเสียง และการอ่านรู้เรื่อง มีจำนวนนักเรียน 755 คน ซึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่หน่วยงานทางการศึกษาทุกภาคส่วนในจังหวัด ควรร่วมมือกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจังหวัดลำปางมีประชากรประมาณ 761,949 คน

https://web.facebook.com/redcross.lp
หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

E-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

โดยหนังสือที่นำมาทำอีบุ๊ก ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมเล่มจาก อ.ป้อม หรือ อ.อาภาพร ซึ่ง อ.ศักดิ์ เคยขึ้นภาพ อ.ป้อม เป็นภาพปกคนแรกของข่าวออนไลน์ชื่อ #สกุลเมือง และผมไม่ได้ตัดปกเพื่อนำเข้าเครื่องสแกนแบบฟีดอัตโนมัติ แต่แกะแม็คแล้วใช้โทรศัพท์บันทึกภาพทีละหน้า แล้วนำเอกสารมาประกอบกลับให้เหมือนเดิม เพื่อนำไปคืน อ.ป้อม ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม จึงทำให้งานอีบุ๊กมีแสงและเงาที่ไม่คมเหมือนเล่มเอกสาร

ได้ปรับอีบุ๊กโดยเพิ่มเติมเนื้อหาจากเล่มเอกสารอยู่ก่อนปกหลัง เป็นคำนิยมของหลายท่าน เช่น ท่านพุทธทาสที่ได้เขียนให้กับหนังสือแก้วตาแม่ ของ อ.ศักดิ์ ซึ่ง อ.เจี๊ยบ ได้ส่งภาพเพิ่มเติม แล้วโทรมาเล่าเรื่องราวของหนังสือที่นำไปทำละครเวที และพูดถึงผลงานเพลงที่ท่านได้แต่งไว้ ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาประวัติและผลงานที่น่าเติมเต็มได้อีกมาก

นอกจากนี้มีผู้เกี่ยวข้อง สื่อทุกสำนัก สมาคม องค์กร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และชาวลำปาง ที่ร่วมกันไว้อาลัยการจากไปของ อ.ศักดิ์ มีการพูดถึงผลงานของท่านในสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงร่ำเปิงลำปาง  หนังสือการ์ตูนเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา เรื่องแก้วตาแม่ และด้วยผลงานมากมายตลอด 95 ปีของท่าน ซึ่งการรวบรวมผลงานในเวลาอันสั้นแล้วนำไปถ่ายเอกสารออกมาเป็นรูปเล่มเอสีเกือบร้อยหน้า ที่มีคณะผู้จัดทำ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และลูกหลาน ดูจะเล่มเล็กเกินไปที่จะบอกเล่าผลงานของท่านได้ทั้งหมด

หากผู้สนใจต้องการตามรอยวิถีปราชญ์ของท่าน ต้องลองอ่านหนังสือดูครับ แล้วมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าผู้อ่านได้อ่าน ค้น และติดตามผลงานของท่านต้องมีอึ้งกันบ้างหละ เพราะผลงานแน่นทั้งปริมาณและคุณภาพจริงครับ

คลิกเพื่อเปิด e-book
ถ่ายภาพ

อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการ

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

นักเรียน อัสสัมชัญลำปาง ชนะที่ 1 แข่งหุ่นยนต์ 2565

นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ทีม ThaiHetbGood ชนะรางวัลที่ 1 การแข่งขัน World Robot Olympiad 2022 หรือ การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ (WRO2022) ระดับนานาชาติ กับคู่แข่งกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ณ เมืองดอร์ทมุน สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี

ก่อนหน้านี้ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วม การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ สนามพิเศษ ประจำปี 2565” โดยหัวข้อการแข่งขัน ประเภท ROBOMISSION คือ My Robot, My Friend มีจำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 210 ทีม แบ่งเป็น 3 รุ่น ดังนี้ 1.รุ่นอายุไม่เกิน 12 จำนวน 70 ทีม 2.รุ่นอายุไม่เกิน 15 จำนวน 3. รุ่นอายุไม่เกิน 19 จำนวน 70 ทีม โดยผู้ชนะในแต่ละรุ่น จะได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฯ ระดับนานาชาติในลำดับต่อไป

ทีมของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปางได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปชิงแชมป์การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ กับคู่แข่งกว่า 70 ประเทศทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 4 ทีม ประกอบด้วย รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 2 ทีม และรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จำนวน 2 ทีม ระหว่างวันที่ 15-21 พฤศจิกายน 2565

https://wro-association.org/competition/2022-season/

https://web.facebook.com/skfc.samutsakhon/photos/946625502093776

ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับสโมสรฟุตบอล

น้องแม็กกี้ หรือ Naret Bualuay เป็นเพื่อนเฟส ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเนชั่น และเคยเป็นเพื่อนร่วมงาน ที่สนิทกับคนที่บ้าน แชร์ผลการศึกษาวิจัย เรื่อง “การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร” ในวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565 น.45-54
โดยเขียนอ้างอิงแบบ APA และแชร์ไว้ที่ https://www.thaiall.com/research/apa.htm

นเรศ บัวลวย และ ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์. (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 11(1), 45-54.

การอ้างอิงแบบ APA

พบว่า น้องเค้าศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ใน 6 ด้าน คือ ด้านเพศ ด้านอายุ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านรายได้เฉลี่ย/เดือน ด้านภูมิลำเนา ส่วนตัวแปรตาม คือ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ประกอบด้วย ปัจจัยต่อความภักดี และระดับความภักดี ข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มแฟนคลับติดตามสโมสรฟุตบอล สูงสุดถึง ร้อยละ 54 คือ นักฟุตบอลของสโมสร รองลงมา คือ ผลงานของทีม ร้อยละ 21 อีกข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัวอย่าง เชียร์ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาครเพียงทีมเดียว มีมากถึงร้อยละ 74.5

ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับสโมสรฟุตบอล
ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับสโมสรฟุตบอล

เมื่อมองการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการติดตามภักดีของกลุ่มแฟนคลับด้วยการทดสอบค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-square) พบว่า ทั้งอาชีพ และภูมิลำเนา ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความภักดีสโมสรฟุตบอลแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในส่วนของข้อเสนอแนะ คือ น่านำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดความภักดีต่อองค์กรให้มั่นคงในระยะยาว การเก็บข้อมูลน้องเค้าใช้คอแครน (Cochran) ได้ 384 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ในระหว่างทำการแข่งขันฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาครกับสโมสรอื่น รายละเอียดน่าสนใจอีกมากมาย ค้นจาก thaijo ก็จะพบบทความนี้อย่างแน่นอนครับ ถ้าไม่พบ บอกผมได้ เพราะ download เก็บไว้แล้ว

บทความวิจัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/252440/175808

ภาพประกอบจากเน็ต
https://web.facebook.com/NTUnationuniversity/photos/

โรงเรียนผู้สูงอายุ กับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย

หนึ่งในหกกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว พ.ค.2565

อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ พร้อมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น นำนิสิตสาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ ออกให้บริการวิชาการแก่นักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมี นายพิตินันท์ ผึ้งต้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งวัน โดยการกำกับดูแลสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และนายสุกฤษฎิ์ สุคำอ้าย ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหัวข้อ ผู้สูงอายุกับการเดินทางยุคโควิด-19 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเชิงบูรณาการกับคณะวิชาต่าง ๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัส การล้างมือสู้โรค การเดินทางโดยเครื่องบิน กิจกรรมยืดเหยียด และการดูแลช่องปาก และการขายผลิตภัณฑ์สู่การตลาดออนไลน์ใน Platform ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ

ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการประสานกับผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการ จาก คุณพิเชษฐ์ จริยงามวงค์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายนวพล จะงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดโครงการ กล่าวขอบคุณในพิธีปิดโครงการ และมอบเกียรติบัตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวเปิดโครงการเวลา 9.00น. กล่าวปิดโครงการในเวลา 15.30น. และมอบเกียรติบัตร

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20

ศิลปวัฒนธรรม
https://www.facebook.com/116550396702958/photos/a.449664943391500/449670770057584/
ศิลปวัฒนธรรม
งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20
งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20

เปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดย รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 “ข่วงวัฒนธรรมล้ำค่า สืบสานมรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดย รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ

งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา เป็นกิจกรรมที่สถาบันอุดมศึกษาสมาชิกเครือข่ายทั่วประเทศ ร่วมจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของไทย ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคของไทยในกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นการสะท้อนพลังการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป โดยมีสถาบันการศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการแสดงศิลปวัฒนธรรมกว่า 70 ชุดการแสดงจาก 61 สถาบัน จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 – 11 กุมภาพันธ์ 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00น.

https://fb.watch/b5vj28tTC4/
ถ่ายทอดสดพิธีปิด วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565

เวทีการแสดงที่ 2
กำหนดการ
กำหนดการ

โดย มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรม 2 ชุด

  1. ชุด ฟ้อนไทลื้อ ตำหูก ม.เนชั่น
    วันที่ 10 ก.พ. 2565 เวลา 14.25-14.35 น.
    เวทีที่ 2 ห้องประชุมโอฬารโรจน์
    อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ
  2. ชุด รัตนเภรี ศรีเขลางค์ ม.เนชั่น
    วันที่ 11 ก.พ. 2565 เวลา 11.45-12.00 น.
    เวทีที่ 1 หอประชุมใหญ่ มร.ลป.

มีนิสิตหลักสูตรธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้ยกพลไปแสดงความสามารถ โดยมีเพื่อนอาจารย์ทั้ง อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู อ.นงลักษณ์ สุวัฒน์ธนกิจกุล และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ ไปยืนเกาะแกะริมเวที ผมก็ส่งกำลังใจไปด้วยเช่นกัน ยังนำมาพูดคุยกับนิสิตชั้นเรียนออนไลน์อยู่เลยว่าแสดงดีทุกคน

Sitthichok Khowaboonphithak

รวมช็อตเด็ด งานแสดงศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20
โดย อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์
https://www.facebook.com/1681629741/videos/1041764349736183/

ทีมคณะบริหารธุรกิจฯ
ทีมคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
https://www.facebook.com/tompoiiop/posts/4644098199034342