Category Archives: book

ตำนานอำเภอเกาะคา

ตำนานอำเภอเกาะคา
ที่ได้อ่านจากหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
พบว่ามีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้
– ความเป็นมาอำเภอเกาะคา
– ประวัติการสร้างเมืองลำปาง – ตำนานพระนางจามเทวี เกี่ยวข้องกับพระธาตุลำปางหลวง
– ภูมิหลังเมืองลำปางกับตำนานพระธาตุลำปางหลวง
– ตำนานวัดไหล่หินหลวง
– ตำนานพระธาตุจอมพิงค์ชัยมงคล (พระธาตุจอมปิง)
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1784/

แผนที่อำเภอเกาะคา

แผนที่อำเภอเกาะคา

ข้อมูลจาก
http://www.ldslpg.org/structure/koka.htm

คำขวัญอำเภอเกาะคา
พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตน้ำตาลทราย สวดลายงามเครื่องปั้น จักสานเครื่องใช้ อุ่นไอบ่อน้ำร้อน ลือกระฉ่อนมนุษย์เกาะคา

พื้นที่
ประมาณ 551.152 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
แบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม) ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – มกราคม)

ข้อมูลการปกครอง
– ตำบล 9 แห่ง
– หมู่บ้าน 77  แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
– อาชีพหลัก ได้แก่ ด้านเกษตร  รับจ้างทั่วไป
– อาชีพเสริม ได้แก่ อุตสาหกรรมในครัวเรือน/โรงงานเซรามิคส์กว่า 50 โรง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
– แร่ฟอสเฟต  ที่ตั้ง บ้านหาดปู่ด้าย ม. 1 ตำบลนาแส่ง
– ปูนขาว ที่ตั้ง บ้านทุ่งขาม ม.6 ต.ใหม่พัฒนา

ด้านประชากร
– จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม 63,554 คน
– จำนวนประชากรชาย  รวม 30,990 คน
– จำนวนประชากรหญิง  รวม 32,564 คน

ด้านการเกษตร
– ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว  อ้อย  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง
– แหล่งน้ำที่สำคัญ  ได้แก่
1 ลำน้ำวัง ความยาว 42 กม.
2 ลำน้ำยาว ความยาว 18 กม.
3 ลำน้ำจาง ความยาว 8 กม.

ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง

ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง

ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง

เคยได้ยินว่า ดร.สุจิรา หาผล
ทำโครงการวิจัยย่อยที่ 4 (RDG 5550046) เรื่อง “องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าชุมชน
เพื่อสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง
ซึ่งอยู่ในแผนงานวิจัยเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอัตลักษณ์ชุมชนลำปาง
รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555
แล้วได้มีการรวบรวมตำนานเรื่องเล่าขานของท้องถิ่นจากทั้ง 13 อำเภอ
เป็นหนังสือ “ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
แล้ววันนี้ (21 มีนาคม 2559) กระผมได้รับหนังสือ
จาก ดร.สุจิรา หาผล มา 1 เล่ม อ่านแล้วสนุกมาก
นักเรียนที่บ้านบอกว่า ถ้าได้หนังสือมาก่อนหน้านี้
ทำวิจัยวิชาประวัติศาสตร์ที่คุณครูสั่งได้สบายเลย
มีครบถ้วนสมบูรณ์มาก ๆ
หนังสือเล่มนี้มี 215 หน้า
จัดทำโดย ดร.สุจิรา หาผล ดร.พรธาดา  สุวัธนวนิช อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม
ภาพปกโดย อ.มานะ  แสนหาญ
ที่ปรึกษาโครงการ ดร.วาณี  อรรจน์สาธิต

แผนที่ลำปาง และประชากร

แผนที่ลำปาง และประชากร

1. ตำนานอำเภอเมืองลำปาง (Mueang Lampang)
2. ตำนานอำเภอแม่เมาะ (Mae Mo)
3. ตำนานอำเภอเกาะคา (Ko Kha)
4. ตำนานอำเภอเสริมงาม (Soem Ngam)
5. ตำนานอำเภองาว (Ngao)
6. ตำนานอำเภอแจ้ห่ม (Chae Hom)  
7. ตำนานอำเภอวังเหนือ (Wang Nuea)
8. ตำนานอำเภอเถิน (Thoen)
9. ตำนานอำเภอแม่พริก (Mae Phrik)  
10. ตำนานอำเภอแม่ทะ (Mae Tha)  
11. ตำนานอำเภอสบปราบ (Sop Prap)
12. ตำนานอำเภอห้างฉัตร (Hang Chat)
13. ตำนานอำเภอเมืองปาน (Mueang Pan) 


หนังสือ ตำนานเรื่องเล่าเมืองลำปาง
ได้ขออนุญาต ดร.สุจิรา หาผล เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของลำปางแล้ว
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/608120246005464/

มั่วทั้งเช้ามั่วทั้งเย็น แต่ไม่มั่ววันค่ำ ณ กาดหัวขัว

กาดหัวขัว

กาดหัวขัว

ตามรอย อ.ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น ที่เขียน หนังสือลำปางพาชิม
เห็นบทที่ 7 “แอ่วกาดเช้า เซาะกิ๋นกับข้าวเมือง” ก็ลองตามไปดู
หน้า 47 บอกว่ากาดหัวขัว หรือตลาดเทศบาล 3 (รัษฏา)
มีอะไรน่าทานเยอะแยะ #เครือข่ายลำปาง

วันนี้แวะไปดูเค้ามั่วกันตอนเย็น มีแกงหม้อน่าทานทั้งนั้น
คนที่บ้านตั้งใจไปเอาแกงอ่อมมาให้ตา เพราะชอบแกงอ่อมเมือง
ผมก็ไปเดินดูกล้วย เห็นมีหลายเกรดทั้ง 15 20 หรือ 25
แต่ไม่ได้หยิบมา เพราะที่บ้านยังมีกล้วยเหลืออยู่อีกหวี
ได้พบกับชมพู่มะเหมี่ยว แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะรีบเดินกลับบ้าน
ได้ของพะรุงพะรังเต็ม 2 มือแล้ว

สรุปว่ากาดนี้มากันได้ทั้งเช้า และเย็น มั่วกันทุกวัน
แต่เช้าจะมั่วมากกว่า ใครไปกาดกองต้าวันเสาร์อาทิตย์
หรือไปถนนสายวัฒนธรรมวันศุกร์
จะแวะไปกาดหัวขัวก่อนก็ได้ เส้นทางใกล้ ๆ กันนั่นหละ
รับรองว่าไปแล้วจะไม่ผิดหวัง ตามแนวโลโซ
เพราะของกินเมืองเยอะม ที่นี่ชาวบ้านเอาผักสวนมาขายกันไม่น้อย
ของใช้อย่างเสื้อผ้า หรือของเบ็ดเตร็ดก็มีบ้างนิดนึง

ลำปางหนา พาชิม

อ่านหนังสือ “ลำปางหนา พาชิม” มาครับ
ชอบเทคนิคการเขียนของ อาจารย์ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
ทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจ ไม่ค่อยจะเห็นใครเขียนแบบนี้
เพราะเป็นหนังสือที่เขียนแบบสบาย ๆ เหมือนเพื่อนคุยกับเพื่อน
เล่าอะไรให้กันฟังแบบไม่เป็นทางการ ยิงมุขตาหลอด
เช่น “ไปทีไร กระเป๋าแฟบทุกที” หรือ “อภัยให้รูปหล่อ อย่างเคนด้วย”
ชื่อบททั้ง 25 ก็ใช้แนวการเขียนที่ไม่ซ้ำ ต้องลุ่นไปในแต่ละบทว่าจะแนะนำแนวไหน
ขนาดผมเป็นคนลำปาง อ่านไปต้องลุ่นไปว่าร้านอยู่ตรงไหน ซอกไหนนะ แล้วท่านเก็เฉลยทุกร้าน
ใต้หัวข้อ “ร้านนี้อยู่ไหน” .. ชอบมากครับ มุกเฉลยท้ายบท ชัดเจนดี


หนังสือได้มาจากงาน Book Fair Love Week 11 – 14 กุมภาพันธ์ 2559 ณ เซ็นทรัล ลำปาง
ท่านขึ้นไปเสวนาบนเวทีด้วย ทำให้ผมมีโอกาสขอลายเซ็นท่านลงหนังสือที่ผมได้มา

ลำปางหนา พาชิม ของ อ.ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น

ลำปางหนา พาชิม
ของ อ.ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น

 

ลำปางหนา พาชิม ของ อ.ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ลำปาง
ISBN 9789747037296

ผู้เขียนเซ็นหนังสือให้ผมด้วย
หนังสือมี 176 หน้า อ่านสนุกมาก
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เขียนคำนิยมด้วย
หนังสือมี 25 บท เล่มละ 99 บาท
แต่ละบทใช้ชื่อได้น่าสนใจ
อย่างบทแรกชื่อ “อิ่มละไมใต้ร่มสารภีที่บ้านเสานัก
ก็จะเล่าเรื่องบ้านเสานักไว้อย่างละเอียด
เพื่อนผม คุณอ้อย กับคุณจอย ก็แต่งงานที่นี่
คุณจิ๋มก็จัดประชุม ม.ลำปาง ที่นี่

สำหรับบทสุดท้ายชื่อ “สามเซียนเฒ่า ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นทำเอง
แต่ละบทมีแนวทางในการแนะนำที่ชิมแตกต่างกันไป
คำว่าสามเซียนเฒ่าก็มาจาก 3 ร้าน ดังนี้
1. ก๋วยเตี๋ยวบ้านดง โดยนายชู แซ่ลี่ และนางกิมเฮง แซ่ซือ
2. ก๋วยเตี๋ยวปู่โย่ง โดยนายโต้ยเตียง แซ่จึง
3. ก๋วยเตี๋ยวหงวนชุน โดยนายม่วยกี่ แซ่ตั้ง
มีรายละเอียดเยอะมากอ่านสนุก
ถ้าสนใจหนังสือก็สอบถาม อ.ไพโรจน์ได้นะครับ
ท่านอยู่หมู่บ้านเฮือนสายคำ แนะนำไว้ในหน้า 161
http://www.facebook.com/phairotchaimuangchun
หรือ lakorforum@yahoo.com

https://www.facebook.com/thaiall/photos/a.10153927378902272.1073741913.350024507271/10153927379017272/

หนังสือเล่มนี้ทำให้นึกถึงคำว่า “#เครือข่ายลำปาง
หรือ Lampang Network หรือสอดคล้องกับโดเมนเนม lampang.net
ที่เชื่อมโยงทุกอย่าง ทั้งการกิน การเที่ยว การดำรงชีวิต และประวัติศาสตร์