Author Archives: admin

มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)

nation universityมหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)

มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)

หาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University) มีชื่อเดิมว่ามหาวิทยาลัยโยนก (Yonok University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในจังหวัดลำปาง ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2531 ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโดย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยมี นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่นายกสภามหาวิทยาลัยเนชั่น และ ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ทำหน้าที่อธิการบดี

มหาวิทยาลัยเนชั่นเปิดสอน ทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีการจัดการเรียนการสอนทั้งที่จังหวัดลำปาง และศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ กรุงเทพฯ มีหลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2555 ทั้งสิ้น 10 หลักสูตร ที่อยู่ใต้การดูแลของคณะวิชาทั้งสิ้น 5 คณะ คือ คณะนิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยมีอัตลักษณ์ 3 เรื่อง คือ ทักษะความเป็นมืออาชีพ (Professional Skill) การสื่อสาร (Communication Skill) และภาษาอังกฤษ (English Skill)

! moe.go.th/websm/2011/dec/333.html
! 77.nationchannel.com/playvideo.php?id=137532

หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนชื่อหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนชื่อหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ

หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ

เดี่ยว 7 .. ลำปางหนาวมาก

ที่มาของคำว่า ลำปางหนาวมาก มาจากโน๊ต อุดม .. นี่เอง

หลังคำว่า ลำปางหนาวมาก เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

ก็มีการนำคำว่า “ลำปางหนาวมาก” มาเป็นจุดขายของสินค้า หรือสถานที่ท่องเที่ยว

ลำปางหนาวมาก

ลำปางหนาวมาก

นิราศพระธาตุลำปางหลวง

นิราศพระธาตุลำปางหลวง
คำร้อง / ทำนอง / ศิลปิน : คำหล้า ธัญยพร
เรียบเรียง / สร้างสรรค์ผลงานร่วม : อัจฉริยะ สุภาวสิทธิ์

http://www.youtube.com/watch?v=Xr2bcNEbzQI

ติดต่อได้ที่ พี่คำหล้า ธัญยพร
เลขที่ 125 ถ.เกาะกลาง ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
เบอร์โทรศัพท์ 081-5750556 และ 083-9488206

เปิดประตูเนชั่น เปิดโลกอุดมศึกษา

open nation door & education

open nation door & education

ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิด ประตูเนชั่น เปิดโลกอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555  โดยมีคณาจารย์ และนักเรียน ในจังหวัดลำปาง เข้าร่วมพิธีเปิด และร่วมการแข่งขันตอบคำถาม วิชาบัญชีและบริหาร วิชาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ โดยมีการแสดงนิทรรศการแนะแนวการศึกษา การแสดงร้องเพลงลูกทุ่ง การจำหน่ายสินค้าของคณะบริหารธุรกิจ ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555
นิเวศน์ อินติ๊บ (ภาพ/ข่าว)

ผู้ว่าจังหวัดลำปางคนที่ 38

booncherd

นายบุญเชิด คิดเห็น ผู้ว่าราชการ จังหวัดลำปาง คนที่ 38

จังหวัดลำปาง มีผู้ว่าราชการคนที่ 38 คือ นายบุญเชิด คิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2554 โดยย้ายจากรองอธิบดีกรมที่ดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการรวม 20 ราย ซึ่งในรายชื่อชุดนี้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางตามประกาศของ ครม.
ประวัติการศึกษา
ปี 2522     นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปี 2542     รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
ปี 2515    เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างจัตวา สำนักงานที่ดินอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี 2537    เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน 7
ปี 2539    เลขานุการ กรม (เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8) สำนักงานเลขานุการกรม
ปี 2543    ผู้อำนวยการกอง (เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน 8) กองทะเบียนที่ดิน
ผู้อำนวยการกอง (เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน 8) กองงานเลขาธิการคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
ปี 2544     ผู้อำนวยการสำนัก (เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน 9) สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ปี 2550-ปัจจุบัน  รองอธิบดีกรมที่ดิน

ประวัติการฝึกอบรมและดูงาน
– อบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ
– การบริหารงานคอมพิวเตอร์เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
– อบรมหลักสูตรนักบริหารงานที่ดินระดับสูง
– อบรมหลักสูตรการสร้างข้อสอบเพื่อการคัดเลือกบุคคลของกรมที่ดิน
– อบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูง
– อบรมหลักสูตรการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติราชการยุคใหม่

http://www.lampang.go.th/govlp.htm
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU5EazJPRGMzTlE9PQ==
http://www.dol.go.th/dol/index.php?option=com_content&task=view&id=924

ปรับ Permalink ของ wordpress

ใน lampang.net ได้แก้ไข Permalink Settings
จาก Post name หรือ /%postname%/ เป็น /%author%/%post_id%/
เหมือนกับที่ใช้ใน thaiall.com/blog และ thaiall.com/blogacla
เพราะไม่สามารถใช้ url ที่มีชื่อ topic เป็น url ได้

permalink ของ lampang.net

permalink ของ lampang.net

ข้อคิดเห็นของทีมต่อการดำเนินงาน ระยะที่ 2 กรกฎาคม 2554 – ธันวาคม 2554

ตีข้าว บ้านร่มเย็น ต.นิคมพัฒนา

ตีข้าว บ้านร่มเย็น ต.นิคมพัฒนา

การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ บ้านร่มเย็น หมู่ 8 ต.นิคมพัฒนา อ.เมือง จ.ลำปาง

 

          ทีมวิจัยที่เกิดจากตัวแทนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดลำปางจำนวน 5 สถาบัน ได้แก่ มจร. มทร. มรภ. กศน. และมนช. (มยน. เดิม) ร่วมกับตัวแทนจากชุมชน ทั้งผู้นำ ครู และชาวบ้าน เป็นคณะทำงานชุดใหญ่ แต่เมื่อลงไปทำงานก็พบว่าขนาดของทีมเป็นทั้งจุดเด่น และจุดด้อยไปพร้อมกัน โดยเฉพาะการลงไปทำงานในชุมชนขนาดเล็ก เพราะมีประชากรประมาณ 100 หลังคาเรือน และการเป็นชุมชนที่เกิดจากการย้ายถิ่นที่รับผลจากการสร้างเขื่อนกิ่วลม  ทำให้จารีตประเพณีในชุมชนต่างจากชุมชนอื่นที่ลงหลักปักฐานมานับร้อยปี ความเหนียวแน่นของเครือญาติ และศิลปวัฒนธรรม จึงไม่เด่นชัด ทำให้ทีมวิจัยต้องใช้เวลาเรียนรู้ และค้นหาตัวตนที่แท้จริงร่วมกับชุมชนให้กระจ่างชัด

          จุดเด่นของทีมที่มีขนาดใหญ่ คือ การลงพื้นที่ในแต่ละครั้งจะมีตัวแทนจากทุกสถาบันเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงมีกำลังของทีมมากพอที่จะทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย และมุ่งไปสู่เป้าหมายของแต่ละกิจกรรมได้ชัดเจน ส่วนจุดด้อยที่พอจะมองเห็นคือการหมุนเวียนสลับผลัดเปลี่ยนตัวแทนนักวิจัยจากแต่ละสถาบันเข้าไปในแต่ละกิจกรรม ทำให้การเชื่อมประสานข้อมูลจากแต่ละเวทีไม่ราบรื่น ทำให้ต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในการทบทวน ทำความเข้าใจกิจกรรมที่ผ่านมา ชี้แจงเป้าหมายในการหารือ และต้องเรียนรู้ข้อค้นพบที่เข้ามาใหม่จากแต่ละเวทีที่จำเป็นต้องใช้ในการกำหนดแนวทางการทำงานสำหรับเวทีต่อไป

          พี่เลี้ยง และผู้ช่วยนักวิจัย เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้การทำงานของทีมที่มีขนาดใหญ่สามารถขับเคลื่อนไปได้ และความร่วมมือของนักวิจัยในพื้นที่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำงานในช่วงที่ผ่านมาราบรื่น เพราะมีการลงไปทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด จนคนในชุมชนเข้าใจเป้าหมายของการเข้าไปทำงานของนักวิชาการที่มาจากภายนอก นำไปสู่การยอมรับ และการรวมกลุ่มของกลุ่มที่มีปัญหาได้สำเร็จในที่สุด

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150430198513895.379656.814248894&type=3

ข้อค้นพบจากการดำเนินงาน ระยะที่ 2 กรกฎาคม 2554 – ธันวาคม 2554

การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ บ้านร่มเย็น หมู่ 8 ต.นิคมพัฒนา อ.เมือง จ.ลำปาง

 

          การเข้าศึกษาชุมชนในระยะที่สอง มุ่งค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่ชุมชนต้องการแก้ไข เป็นการต่อยอดจากที่เคยศึกษาร่วมกับผู้นำชุมชนในระดับตำบล ซึ่งชุมชนบ้านร่มเย็น ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยคนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหลายบทบาท ที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันทั้งการศึกษา ฐานะ อาชีพ อายุ ความเป็นมา และความเข้มแข็งในครอบครัว การศึกษาบริบทพื้นฐานของชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและการลงพื้นที่ในระยะที่ 2 ทีมวิจัยเลือกพื้นที่คือบ้านร่วมเย็น หมู่ 8 เพราะสนใจประเด็นด้านการเกษตรพันธสัญญา แต่เมื่อเข้าไปเรียนรู้ในพื้นที่ พบว่า ชุมชนนี้มิได้ทำเกษตรพันธสัญญา แต่มีที่ดินของหมู่บ้านที่เรียกว่า นารวม หลังเรียนรู้ร่วมกันไประยะหนึ่งทีมวิจัยมีโอกาสเข้าไปสร้างสัมพันธ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมเกี่ยวข้าว และตีข้าว โดยการบูรณาการกับการเรียนการสอนที่นำนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุข และอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเนชั่น เข้าไปร่วมเรียนรู้ และตีข้าวกับคนในชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมอาสาของชุมชนที่มีคนจากนอกชุมชนเข้าไปร่วมกิจกรรมมากที่สุดเป็นครั้งแรก

          เมื่อลงพื้นที่ และศึกษาบริบทของชุมชนก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละครั้งตามแผน และข้อมูลที่ได้จากแต่ละเวทีก่อนหน้านี้ ในบางครั้งการลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็พบประเด็นที่จำเป็นต้องนำกลับมาคุยกันในทีมวิจัย ก็เลือกหารือกันที่วัดบุญวาทย์วิหาร เพราะเป็นศูนย์รวมจิตใจ และศูนย์กลางของจังหวัดที่นักวิจัยสะดวกในการเข้าไปประชุมร่วมกันหลังเลิกงาน แล้วพูดคุยกันหาข้อสรุป ใช้เวลากันตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ตกถึงห้าทุ่มหลายครั้ง

          เครื่องมือใหม่ถูกนำมาใช้ ผ่านคำแนะนำของทีมใหญ่ที่ต่างประสบการณ์ แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งกะเทาะหาข้อเท็จจริงออกมาจากชุมชนให้มากที่สุด และเรียนรู้กับชุมชนไปพร้อมกัน เครื่องมือที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงมีหลากหลาย อาทิ โอ่งชีวิต แผนที่ชุมชน แผนที่ความคิด ต้นไม้ชุมชน ปฏิทินกิจกรรม ในที่สุดเราก็พบว่ากลุ่มแม่บ้านที่รวมกลุ่มกันทำข้าวซ้อมมือ ต้องการรวมกลุ่มใหม่หลังจากกลุ่มสลายตัวไปด้วยเหตุผลบางประการ เมื่อตัวแทนของชุมชนหยิบยกปัญหาการล้มหายของกลุ่ม ทีมวิจัยจึงเข้าไปชวนกลุ่มศึกษาตนเองในรายละเอียด พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ จนเกิดการรวมกลุ่มตามความต้องการของชุมชนอีกครั้ง ซึ่งมีข้อสรุปว่ากลุ่มข้าวซ้อมมือที่รวมกลุ่มขึ้นมาใหม่นั้น ยังมีปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยเฉพาะการขาดความรู้ที่จะสนับสนุนการดำเนินการที่จะทำให้กลุ่มยั่งยืนต่อไป ซึ่งเข้าตามกรอบพันธกิจของสถาบันการศึกษาในด้านการบริการวิชาการ และคาดว่าจะมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในโครงการวิจัยระยะที่ 3 ที่เน้นไปที่การให้บริการวิชาการแก่กลุ่มตามความถนัดของแต่ละสถาบันการศึกษา

http://www.youtube.com/watch?v=8sYSkYKgssI

บล็อกของลำปางดอทเน็ต (blog of lampang.net)

lampang.net move forwarding

lampang.net move forwarding

7 ม.ค.55 เริ่มต้นใหม่กับ lampang.net โดยการย้าย Forwarding with masking ที่เดิมชี้ไป http://www.thaiall.com/lampang แล้วเปลี่ยนให้ชี้ไป http://www.thaiabc.com/lampangnet โดยข้อมูลใน url เดิมมิได้มีปัญหาอะไร แต่เปลี่ยนแนวการพัฒนาจาก one webpage ไปเป็น personal blog ซึ่งผมใช้แนว one webpage (dynamic) มาตั้งแต่ 1998 – 2010 แล้วผมไปกู้โดเมนมาเป็นของตนเอง ก็ยังปล่อยให้เป็น one webpage (dynamic) ตลอด 1 ปีเต็ม จนกระทั่งวันนี้ ใช้บริการ wordpress application ของ windows server of godaddy.com แล้ว post เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก หลังติดตั้ง และเปลี่ยน forwarding ส่วนเนื้อหาเดิม และข้อมูลต่าง ๆ ก็คงทะยอยเข้ามาในระบบของ blog

สิ่งที่แก้ไขเป็นสิ่งแรก ใน Blog Settings คือ Permalink Settings เพราะต้องการให้เข้าถึงแต่ละ post ผ่าน url ที่เป็น Permanent link มิใช่ผ่านการส่งค่าผ่าน get ซึ่งบาง social network ไม่รับ url ทีี่ต้องกำหนด ?

คงต้องกล่าวว่า “สวัสดีชาวโลก”
จาก เว็บมาสเตอร์ลำปางดอทเน็ต

http://www.thaiall.com/lampang