เครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม
15 ส.ค.55 ได้อ่านบทความวิชาการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม : หลักการและประสบการณ์จากโครงการสถาบันการศึกษาลำปาง” Establishment of a network to promote university social responsibility : Concept and experience from Lampang’s academic institutional project จากโครงการวิจัย “แนวทางการทำงานเครือข่ายสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ เพื่อให้ได้รูปแบบ/แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อให้ได้แนวทางการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
หากจะสรุปวัตถุประสงค์ สามารถสรุปได้ 3 คำหลัก คือ 1) แนวทางที่สถาบันทำงานร่วมกัน (work together) 2) แนวทางเรียนรู้ชุมชน (learn community) 3) แนวทางการเชื่อมสถาบันกับชุมชน (work with community)
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ 1) การทำงานเป็นภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตรระหว่างสถาบันการศึกษา ด้วยพลังจิตอาสา และนำความเข้มแข็ง ทางวิชาการของสถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันมาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อชุมชน 2) การเรียนรู้ชุมชนโดยอาศัยพลังเครือข่ายกัลยาณมิตร เคลื่อนงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ชุมชน 3) แต่ละสถาบันนำความรู้ในศาสตร์ของตน และนำนักศึกษามาร่วมเรียนรู้ บนฐานคิดที่ว่างานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม
องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ คือ 1) เรียนรู้วิถีชุมชน ผ่าน group discussion และ swot analysis ในประเด็น การศึกษา การเกษตร อาชีพ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนาขั้นตอนการวางแผน และประสานร่วมแรงร่วมใจ
การทำงานก่อให้เกิด คือ 1) ประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ 2) ขยายเครือข่ายงานวิจัยในสถาบันของตน 3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการระหว่างสถาบัน
บทเรียนของภาคีเครือข่ายกัลยาณมิตร มีดังนี้ 1) ตระหนักในจิตอาสาต่อพื้นที่ชุมชนจังหวัดลำปาง และจิตอาสาต่อพื้นที่การทำงานวิจัย 2) ตระหนักในองค์ความรู้ทางวิชาการของสถาบันที่มีอยู่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3) มีประสบการณ์ร่วมกันในการทำวิจัยเชิงพื้นที่ร่วมกัน 4) รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องร่วมกัน 5) ความเข้าใจในความเชี่ยวชาญของนักวิชาการที่ทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดคุณค่าตามมา 5.1) เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบัน 5.2) ขยายงานวิจัยในองค์กรของตน 5.3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างสถาบัน
บทเรียนใน 6 เดือนแรกช่วงเรียนรู้และหาโจทย์วิจัยกับพื้นที่ คือ
1) ชุมชนสามารถนำเสนอข้อมูลและองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) สร้างบรรยาการร่วมกันในการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเป็นสุข
3) การลงพื้นที่ทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย
4) ภาคีเครือข่ายควรมีแนวทางกระตุ้นให้ชุมชนมีทักษะในการเรียนรู้ปัญหาและช่วยเหลือตนเอง
มีประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่
– บทเรียนการเคลื่อนงานวิจัยท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค
– การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150751001108895.424758.814248894