ประชุมถอดบทเรียนกลไกพะเยาระยะที่ 1 และเตรียมเดินหน้าระยะที่ 2 กับทีมกศน.พะเยา และ ว.พยาบาล

เตรียมกลไกพะเยา ระยะที่ 2

เตรียมกลไกพะเยา ระยะที่ 2

สกว.ลำปาง พาทีม ม.ลำปาง ไปประชุมร่วมกับทีมกลไกพะเยา
เมื่อ 18 ต.ค.59 ที่วิทยาลัยพยาบาลพะเยา ร่วมกับ กศน.พะเยา
กลับมาแล้วเห็นความเคลื่อนไหวว่า คุณภัทรา มาน้อย
แชร์งานเขียนของน้องนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สกว.ลำปาง
นางสาวชรินทิพย์ เชื้อเตจ๊ะ ได้ถอดบทเรียนจากการร่วมเวที
ในรูปของการเขียนแบบเรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling)
ไว้ดังนี้

สรุปบทเรียนเส้นทางการติดตามของ Node สกว.ลำปาง และทีมพี่เลี้ยงกลไกจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม 2559
#บทเรียนแรก เวทีประชุมหารือแผนการดำเนินงานระยะที่ 2 ภายใต้โครงการ การพัฒนากลไกสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี พะเยา
จากการหารือและร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความเห็น ทำให้กระบวนดังกล่าว นำไปสู่ผลลัพธ์การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้งานพัฒนาโจทย์และงานติดตามของพี่เลี้ยงกลไก พร้อมทั้งได้รูปแบบการดำเนินปี 60 และรูปแบบการติดต่อประสานงาน รวมถึงการบริหารจัดการภายในทีม ให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
#บทเรียนที่สอง เวทีติดตามงานสันหนองเหนียว ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา คืนวันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นการทบทวนสถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน โดยมีทีมครูกศน.เมือง กศน.จังหวัด และทีมสกว.ลำปาง
จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ทีมครูกศน.ได้ข้อมูลที่เป็น #ข้อมูลเชิงประจักษ์ และ #ได้แนวทางการฟื้นฟูประมงพื้นบ้าน ผ่านการระดมความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างคนในชุมชนและทีมครูกศน.เมืองและจังหวัด ขยายผลสู่การขับเคลื่อนและทิศทางการฟื้นฟูประมงต่อไป
#บทเรียนที่สาม เวทีติดตามงานบ้านต๋อมดง อ.เมือง จ.พะเยา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2559
รูปแบบการจัดกระบวนการดังกล่าว มีนักศึกษาจาก วพบ. มาร่วมดำเนินเวที โดยมีทีมพี่เลี้ยงกลไก วพบ.เป็นผู้ดูแล เวทีดังกล่าวเป็น การชวนคนในชุมชนร่วมพูดคุยถึง แหล่งที่มาของขยะ และประเภทของขยะที่มีอยู่ในชุมชน โดยใช้เครื่องมือ #แผนที่ขยะ #ปฎิทินขยะ #โอ่งขยะ เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักคิดและรู้ถึงแหล่งที่มาของขยะ นำไปสู่วิธีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
#บทเรียนที่สี่ บทเรียนจากพื้นที่บ้านแม่จั๊วะ อ.ปง จ.พะเยา เมื่อเย็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทีมครูกศน.ปงและชุมชนร่วมกันค้นหาสาเหตุ จนกระทั่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องระบบการจัดการน้ำ #โดยใช้เครื่องตะบันน้ำ เป็นกลไกในการกระจายน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้ง หญิงและชาย
… กลไกการขับเคลื่อนงานที่ดีที่สุดไม่ใช่เทคโนโลยีหรือเครื่องมือ #แต่เป็นกำลังคนต่างหากที่เป็นแรงพลักให้เกิดงาน โดยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น
#งานสร้างคน #คนสร้างงาน

https://www.facebook.com/groups/318171165053323/permalink/513338725536565/

 

 

mindmap - แผนที่ความคิด

mindmap – แผนที่ความคิด

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1397458766934917.1073741998.506818005999002&type=1&l=30685d0875

Leave a Reply