ลีลาวดี หรือ ลั่นทม ที่ลำปาง

ลีลาวดี หรือ ลั่นทม

ลีลาวดี หรือ ลั่นทม

ดอกลีลาวดีสวย ๆ
กลางอาคารคณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
ช่วงร้อนสุด ๆ 7 วัน ระหว่าง 21 – 27 เมษายน 2555

http://blog.eduzones.com/dingo/3466

ลีลาวดี หรือ ลั่นทม  (Frangipani, Plumeria, Templetree) เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน เมื่อก่อนบางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ‘ระทม’ ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น
ลีลาวดี เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า “ต้นขอม” “ดอกอม”  เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” “ลั่น” แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง “ธม” หมายถึง “นครธม” ภายหลัง “ลั่นธม” เพี้ยนเป็น “ลั่นทม”
ลีลาวดี เป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี
ลีลาวดี เป็นไม้ประดับที่มีผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดใจในความงามของทรงต้น ใบ และดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์แล้วจะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกยังมีกลิ่นหอม อีกประการหนึ่งคือลีลาวดีเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร


ในอดีต ไม้ชนิดนี้จะไม่นิยมปลูกในบ้านเรือนเลย เพราะเนื่องจากความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความหมายของชื่อเดิมคือ “ลั่นทม” ทำให้ลั่นทมมีปลูกไว้เฉพาะในวัด และตามโบราณสถานต่าง ๆ ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาหลังจากเป็นที่รู้จักและคุ้นหูในนามของ “ลีลาวดี” เพียงเท่านี้ต้นลีลาวดีก็เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดภูมิทัศน์และจัดสวนทั้งสวนในบ้าน  บริเวณตึก อาคาร รีสอร์ท สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ต่าง ๆ  นอกจากนี้ปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ความต้องการลีลาวดีขยายตัวคือ การขยายตัวของธุรกิจสปา ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าในสถานประกอบการ สปานั้นนิยมนำดอกลีลาวดีมาเป็นไม้ประดับ เนื่องจากความสวยงามของรูปทรง สีสันและกลิ่นหอมเย็น
ด้วยราคาที่สูงอย่างต่อเนื่องของลีลาวดี ทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกลีลาวดีเพื่อการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เนื่องจากลีลาวดีต้นใหญ่นั้นหาได้ยากขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่มีต้นลีลาวดีทั้งต้นใหญ่ กิ่งชำ และเมล็ด ก็จะมีลูกค้าไปติดต่อขอซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่เกษตรกร
ในสมัยก่อน มีต้นลั่นทมเพียง 2 สายพันธุ์คือ
1. ลั่นทมขาว   อย่างที่เห็นกันตามวัดวาอาราม  ลั่นทมขาวจะชอบแดด มีความสูงตั้งแต่ 3 – 7 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านดูอวบ มีสีน้ำตาลปนเทา เป็นใบเดี่ยวรูปคล้ายหอก ยาว 20 – 30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวรูปกรวย มีกลีบดอก 5 กลีบ จะมีกลิ่นหอมมาก มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก
2. ลั่นทมแดง ทุกอย่างจะเหมือนลั่นทมขาว ยกเว้นใบ ที่บางครั้ง จะออกสีเขียวเข้ม ดอกมีสีแดงทั้งดอก ก้านออกเป็นสีม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอม ทั้งสองชนิดมีอายุยืน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 กว่าปี
ดอกลีลาวดี ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติ ของประเทศลาว โดยส่วนมากจะขึ้นอยู่ตอนเหนือของประเทศ ไทยทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง


ความเชื่อ
คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด
มี ความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ เป็นเพียงความเข้าใจผิด เพราะเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำว่า ระทมซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกจึงไม่เป็นที่โปรดปรานปลูกในบริเวณบ้านหรือที่ อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม
ลั่นทม ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทมแท้ที่จริงนั้นเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเนื่องจากความเข้าใจในภาษาคลาดเคลื่อน แต่ชื่อใหม่นั้นก็ความไพเราะสมกับท่วงท่าของลำต้น มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลีลาวดีในลักษณะต่างๆกันอย่างไรก็ตามพันธ์ไม้นี้ ตามหลักสากล ได้ถูกเรียกชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วๆไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)

Leave a Reply