ลีนุกซ์ (Linux)
Home  Contents KMArticlesMembersSponsorsAbout us

ปรับปรุง : 2556-10-06 (ปรับเป็นรุ่น 3)
ขอบซ้ายขอบบน
Linux : 0998
:: กลับหน้าแรก :: แสดงเนื้อหาทั้งหมด ::

9.98 ขั้นตอนการทำ server ตัวนี้
: เพื่อให้ท่านหรือทีมงาน สามารถ setup server แบบนี้ได้ง่ายขึ้น จึงเขียนขึ้นตอนไว้ดังนี้
บริการ เพื่อกรณีศึกษา โดยมือสมัครเล่น
ขอแนะนำว่าถ้ายังไม่รู้อะไรเลย ให้ไปหาหนังสือสำหรับลง Linux มากอดให้อุ่นใจสักเล่มหนึ่ง เพราะเชื่อแน่ว่า ถ้าอ่านวิธีการติดตั้งที่ผมเขียน โดยไม่มีประสบการณ์ linux มาก่อน .. จะต้องบ่นว่าผมเขียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจากเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เฉพาะ น้อยคนจริง ๆ ที่จะชำนาญ ผมเองก็พยายามศึกษาอยู่ ก็ได้แค่พอเป็นเท่านั้น (แต่นี่ผมก็พยายามเขียนให้ผมเข้าใจง่ายที่สุดแล้วนะครับ)
    ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมการ
    - Backup ข้อมูลที่สำคัญในเครื่องที่คิดจะติดตั้ง linux ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน
    - ถ้ามีเครื่องใหม่ และลง linux อย่างเดียวก็หาแผ่น linux มาลงได้เลย .. เพราะเสียแล้วไม่เป็นไร
    - ถ้ามี windows อยู่ต้องการลงทั้ง 2 ระบบให้ไปหา partition magic มาแบ่ง partition
    - แบ่งว่าจะใช้ Windows กี่ GB แต่ linux จะใช้ไม่น้อยกว่า 1 GB โดยปกติ
    - นั่งคิดให้ดีกว่าจะลง linux ไปทำไม เช่น ศึกษาเป็น work station หรือ เป็น server เป็นต้น
    - ไปหาโปรแกรม linux ซึ่งผมแนะนำว่าเป็น Redhat เพราะมีคนใช้กันมากที่สุดในโลก
    ขั้นตอนที่ 2 : ติดตั้ง
    - ถ้ามี windows อยู่ให้ใช้ partition magic แบ่ง partition ให้เรียบร้อย
    - ใช้แผ่น CD Boot แล้ว Enter เขาก็จะถามติดตั้งเลย ถ้า VGA card เป็นที่ยอมรับของ linux ก็จะได้เห็นจอสวย
    - ถ้าไม่มีสนับสนุนก็ต้องเล่น text mode ไปครับ คนที่ผมรู้จักหลายคน หรือแม้แต่เครื่องที่ผมใช้ ยังใช้ text mode เลย
    - เมื่อเข้าไปต้องแบ่งอย่างน้อย 2 partition คือ linux partiton และ linux swap
    - Install ตามขั้นตอน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (เหมือน windows นั่นหละครับ)
    - ถ้าโชคดี หลังติดตั้งเสร็จก็จะขึ้นคำว่า Login: มารอให้ป้อนรหัสเข้าสู่ระบบ
    - มีปัญหาการติดตั้งให้ถามที่ http://linux.thai.net เพราะทีมงานไม่ได้ชำนาญในการแก้ปัญหาทุกกรณี (ประสบการณ์น้อยมาก)
    ขั้นตอนที่ 3 : ใช้งาน linux เบื้องต้น (Server)
    - หัดใช้คำสั่งใน linux ที่ใช้กันบ่อย ๆ ซึ่งผมแนะนำในบทที่ 1 หัดเป็นผู้ใช้
    - เมื่อใช้เป็นแล้ว ลอง telnet เข้าไปใช้ server ที่อื่นดูครับ .. สั่งสมประสบการณ์
    - สู่บทที่ 2 แต่ต้องทำที่เครื่องตนเองนะครับ เช่น useradd usermod หัดใช้คำสั่งระดับสูงดูครับ
    - ซอกซอนเข้าไปดูระบบ และคำสั่งต่าง ๆ ยิ่งใช้เวลามาก ยิ่งซึมซับ .. ผมเองยังไม่มีเวลาเลย
    - วิธีการ config ระบบ ดูทุกแฟ้มที่นามสกุล .conf จะเข้าใจการทำงานของ linux มากขึ้น
    ขั้นตอนที่ 4 : ใช้ประโยชน์ Server ก่อนจะ upgrade server
    - หัดใช้ mail แบบต่าง ๆ ที่ Server ให้บริการ เช่น pop, imap, pine เป็นต้น
    - หัดเขียน Shell script เพราะจะทำให้โอกาสหน้า สามารถแก้ปัญหาระบบได้หลายเรื่อง
    - หัดเขียนทำเว็บในเครื่องตนเองด้วย html อย่างง่าย
    - หัดเขียน CGI เพื่อทำให้เว็บที่พัฒนาขึ้นมา เป็นยอดเว็บ เช่น yahoo, hypermart, pantip เป็นต้น
    ขั้นตอนที่ 5 : Install application
    - เนื่องจาก server ที่ติดตั้งไป มีบริการที่เป็นมาตรฐาน หากต้องการความสามารถใหม่ ต้องลงโปรแกรมเพิ่ม
    - บริการ Webbased mail อย่างง่าย (หัวข้อ 9.71)
    - บริการ proxy หรือ cache server (หัวข้อ 9.72)
    - บริการ incoming ใน ftp (หัวข้อ 9.73)
    - บริการ Apache + php + Mysql (หัวข้อ 9.74)
    - บริการ SSI (หัวข้อ 9.75)
    - บริการ Radius (หัวข้อ 9.76 เหมือนเปิดบริการเทียบ ISP เลยครับ)
    - บริการ Modem (หัวข้อ 9.77 เหมือนเปิดบริการเทียบ ISP เลยครับ)
    ขั้นตอนที่ 6 : ความปลอดภัย (Security)
    - หลายคนบอกว่า ความปลอดภัยเป็นเรื่องแรก แต่ผมว่า server ยัง up ไม่ขึ้น ความปลอดภัยอย่างพึ่งสนเลยครับ
    - การเป็น System Admin ที่ดี ผมว่าต้องเป็น Hacker ที่ดีด้วย ถึงจะไปด้วยกันได้ (ถ้าไม่รู้ว่า server รั่วอย่างไร จะปิดได้ไง)
    - อ่านหน่อยครับว่า ถูก hack อย่างไร จะได้เป็นบทเรียน (หัวข้อ 9.51)
    - อ่านหน่อยครับว่า ปกป้องตัวเองอย่างไร จะได้เป็นบทเรียน (หัวข้อ 9.52)
    - ป้องกัน hacker มือสมัครเล่นด้วย Restricted shell (หัวข้อ 9.52)
    - ปิดบริการด้วย TCP wrapper (หัวข้อ 9.54)
    ขั้นตอนที่ 7 : เรื่องเฉพาะที่ควรทราบ
    - ทำให้เครื่องเป็น DNS server (ยังไม่ได้เขียนเป็นจริงจัง)
    - บริการ Dedicate server (ยังไม่ได้เขียนเป็นจริงจัง)
    - ทำให้เครื่องมีหลาย IP ในกรณีที่ server ตัวหนึ่งล่ม จะได้ย้ายได้ใน 1 นาที (หัวข้อ 9.10)
    - Backup ระบบ (หัวข้อ 9.96) แต่ยังไม่ update
    - ใช้ php เขียนโปรแกรมบริการ mail แข่งกับ hotmail.com (ยังหาเวลาศึกษาไม่ได้)
    - เปิด free hosting (กำลังพยายาม เพราะระบบยังไม่แข็งพอสู้กับ hacker มืออาชีพ ก็เปิดไม่ได้)

    ขั้นตอนการติดตั้ง เมื่อ RedHat 9.0 (ปรับปรุงล่าสุด :: 13 กุมภาพันธ์ 2547)
  1. ติดตั้ง linux พร้อม Config ให้ใช้งานเครือข่ายได้
    รับผิดชอบโดย คุณสุวิทย์ คุณประเสริฐ เพราะชำนาญการ install Redhat
    บ่อยครั้งที่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม จึงต้องหามาจาก CD และใช้คำสั่ง rpm -i
    ชื่อแฟ้มใน CD ทั้ง 3 แผ่นมีดังนี้ แผนที่ 1, แผนที่ 2, แผนที่ 3
  2. #/usr/bin/setup
    1. แล้วกำหนด IP ด้วยนตัวเลือก network
    2. แล้วเปิดบริการด้วยตัวเลือก system services : httpd,imap,imaps,ipop2,ipop3,kudzu,named,network,pop3s,sendmail,sshd,syslog,vsftpd,xinetd,servers,services
  3. หัวข้อ 9.95 :: copy passwd, shadow, group จาก server ตัวหลัก มาแทนที่ในเครื่องที่ติดตั้งใหม่
  4. หัวข้อ 9.10 :: เพิ่ม IP ใน Server ตัวเดียวด้วย IFCONFIG
  5. หัวข้อ 9.65 :: เปิดบริการ SAMBA server
  6. หัวข้อ 9.66 :: เปิดบริการ DNS server ให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย สามารถใช้ชื่อเว็บไซต์ได้ถูกต้อง มิเช่นนั้นต้องใช้ตัวเลข
  7. หัวข้อ 9.78 :: เปิดบริการ sendmail หรือ smtp ให้ผู้ใช้สามารถส่ง e-mail ด้วย outlook ผ่าน server ของเรา
  8. หัวข้อ 9.62 :: แก้ไขแฟ้ม /etc/httpd/conf/httpd.conf เพื่อเปิดบริการต่าง ๆ ของ apache webserver
  9. หัวข้อ 9.63 :: เปิดบริการ FTP server
  10. หัวข้อ 9.68 :: เปิดบริการ Web-based mail ด้วย uebimiau-2.7.2-any.zip
  11. หัวข้อ 9.67 :: เปิดบริการ Web hosting file manager ด้วย easyhost_free.zip
  12. หัวข้อ 9.11 :: เปิดบริการ Virtual hosts
  13. หัวข้อ 9.76 :: เปิดบริการ RADIUS server
  14. หัวข้อ 5.1 :: เปิดบริการ MYSQL server
  15. หัวข้อ 9.69 :: เปิดบริการ DHCP server แจก Dynamic IP

ขอบซ้ายขอบบน
สารบัญ
กรณีศึกษาจาก Redhat 6.2 -> Fedora Core 4 -> Android 4.01
บทที่ 1 : คำสั่งสำหรับผู้ใช้พื้นฐาน (Basic user command)
    1.1 คำสั่ง ls : แสดงรายชื่อแฟ้มในห้องปัจจุบัน หรือห้องอื่น ๆ ที่ต้องการ 1.2 คำสั่ง chmod : เปลี่ยนสถานะของแฟ้มเช่น Read Write eXecute 1.3 คำสั่ง man : แสดงรายละเอียดของคำสั่ง (Manual) 1.4 คำสั่ง mkdir, rmdir, cd : คำสั่งเกี่ยวกับ Directory หรือ Folder เพื่อสร้าง หรือลบ 1.5 คำสั่ง pico : editor ยอดฮิตใน Linux ที่ต้องมากับ Pine เป็น Text mode ที่ใช้ง่ายที่สุด 1.6 คำสั่ง emacs : editor ยอดฮิตใน Linux ใช้ยากกว่า pico นิดหน่อย 1.7 คำสั่ง vi : editor ยอดฮิตใน Linux ที่ใช้ยากที่สุด 1.8 คำสั่ง id, finger, who, w : โปรแกรมตรวจสอบ username ของตนเอง 1.9 คำสั่ง cat : แสดงข้อมูลในแฟ้มเหมือนคำสั่ง type ในระบบ DOS 1.10 คำสั่ง ifconfig : ดู IP หรือเพิ่ม IP เข้าไปใน linux server 1.11 คำสั่ง netstat : แสดงสถานะของเครือข่าย 1.12 คำสั่ง service : แสดงสถานะโปรแกรมที่เปิดให้บริการ 1.13 คำสั่ง xinetd : แสดงบริการที่เปิดใต้โปรแกรม xinetd 1.14 คำสั่ง whereis : ค้นหาแฟ้มที่ต้องการว่าอยู่ที่ห้องใด 1.15 คำสั่ง cp, rm, mv : จัดการแฟ้มเช่น คัดลอก ลบ และย้าย 1.16 คำสั่ง ping : ตรวจสอบ ip และการเชื่อมต่อ internet 1.17 คำสั่ง env : แสดงค่า environment ปัจจุบัน 1.18 คำสั่ง lynx : Text browser ที่ใช้งานง่าย ใช้ดู source หรือ download ได้ 1.19 คำสั่ง nslookup : แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ name server จาก ip หรือ domain name 1.20 คำสั่ง tail : แสดงส่วนท้ายของแฟ้มที่มีขนาดใหญ่ ต้องข้ามกับ cat ที่ดูตั้งแต่เริ่มแฟ้ม 1.21 คำสั่ง telnet : ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ .
บทที่ 2 : คำสั่งสำหรับผู้ใช้ระดับกลาง (Intermediate user command) เพื่อต้องการตรวจสอบระบบ
    2.1 คำสั่ง df : แสดง partition ของ linux พร้อมขนาดที่ใช้ไป 2.2 คำสั่ง du : แสดงพื้นที่ใช้งานในแต่ละ Directory 2.3 คำสั่ง ps : แสดง process ที่กำลังทำงานอยู่ทั้งของเครื่อง และตนเอง 2.4 คำสั่ง kill : ยกเลิก process ที่ทำงานอยู่ 2.5 คำสั่ง find : ค้นหาแฟ้มที่ต้องการภายในทุก ๆ directory ได้ 2.6 คำสั่ง gzip : คลายการบีบอัด หรือแตกแฟ้มประเภท .gz 2.7 คำสั่ง tar : คลายการบีบอัด หรือแตกแฟ้มประเภท .tar 2.8 คำสั่ง last : แสดงรายชื่อผู้ใช้งานระบบปัจจุบันไปถึงอดีต 2.9 คำสั่ง grep : เลือกข้อความที่ต้องการภายในแต่ละบรรทัด 2.10 คำสั่ง date, hwclock : ใช้กำหนด หรือแสดงเวลาปัจจุบัน 2.11 คำสั่ง top : แสดง process ที่ทำงานในปัจจุบัน พร้อม refresh ตลอดเวลา 2.12 คำสั่ง ntsysv และ setup : กำหนดบริการที่ต้องการเปิด หรือปิด เช่น httpd หรือ vsftp 2.13 คำสั่ง route : ใช้กำหนด แสดง ตารางเส้นทาง 2.14 คำสั่ง shutdown, reboot : ใช้ปิดเครื่อง หรือ ปิดและเปิดเครื่องใหม่อย่างถูกวิธี 2.15 คำสั่ง runlevel : คู่กับแฟ้ม /etc/inittab 2.16 คำสั่ง fsck : ซ่อมแซมระบบแฟ้มใน linux 2.17 คำสั่ง chown, chgrp : เปลี่ยนเจ้าของ หรือเปลี่ยนกลุ่ม 2.18 คำสั่ง chkconfig : กำหนด หรือแสดง บริการที่สั่งประมวลผลใน level ต่าง ๆ ขณะเปิดเครื่อง 2.19 คำสั่ง mount, umount : เชื่อมต่ออุปกรณ์ หรือ partition เช่น Diskette หรือ Handy drive 2.20 คำสั่ง mkbootdisk : สร้างแผ่น boot disk เพื่อใช้ boot ระบบ linux ขึ้นมาภายหลัง 2.21 คำสั่ง traceroute : แสดงเลข ip ของเครื่องที่ถูกเชื่อมต่อ ไปยังปลายทางที่ต้องการ 2.22 คำสั่ง rpm : ใช้ตรวจสอบ เพิ่ม หรือลบ package ของระบบ linux เกือบทั้งหมด 2.23 คำสั่ง su : ขอเปลี่ยนตนเองเป็น Super user เพื่อใช้สิทธิสูงสุดในการบริหารระบบ 2.24 คำสั่ง useradd : เพิ่มผู้ใช้รายใหม่เข้าไปในระบบ 2.25 คำสั่ง userdel : ลบผู้ใช้รายเดิม ออกจากระบบ 2.26 คำสั่ง usermod : แก้ไขข้อมูลของผู้ใช้ได้ 2.27 คำสั่ง crontab : ตั้งเวลาสั่งงานคอมพิวเตอร์ 2.28 คำสั่ง lspci : ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง 2.29 คำสั่ง nmap : ตรวจสอบเครือข่ายแบบกวาดทั้งในเครื่อง และ class C .
บทที่ 3 : บทเรียน PERL บทที่ 4 : บทเรียน PHP บทที่ 5 : บทเรียน MYSQL บทที่ 6 : แนะนำเครื่องบริการ บทที่ 7 : การใช้ application บทที่ 8 : ระบบ file และ directory บทที่ 9 : การบริหารระบบ โดย Super User
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation university
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : Education
Blog : ACLA
Blog : Lampang
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor