แนะนำจาวา
Home  Contents KMArticlesMembersSponsorsAbout us

ปรับปรุง : 2556-07-20 (ปรับ access level)
ขอบซ้ายขอบบน
แนะนำจาวา
1. ที่มา
ประวัติ (History) [wikipedia.org]
    บริษัท Sun Microsystems, Inc. ถูกซื้อโดยบริษัท Oracle ประมาณ 7.4 พันล้านดอลลาร์ 20 เมษายน 2552 หลังตกลงกันไม่ได้กับบริษัท IBM ปัจจุบันเรายังสามารถดาวน์โหลด Java Platform, Standard Edition มาใช้ได้ โดยแบ่งเป็น JDK (Java Development Kit for Developer) และ JRE (Java Runtime Environment)
    จาวา คือ ภาษาการโปรแกรม ถูกพัฒนาโดยบริษัทซันไมโครซิสเท็ม และเปิดตัวในปีพ.ศ. 2538 และขายให้บริษัท Oracle ในพ.ศ.2552 โปรแกรมที่นำไปใช้ได้จะถูกแปลให้อยู่ในรูปของไบท์โค้ด เมื่อนำไปประมวลผลจะมีตัวแปลภาษาที่ทำให้ไบท์โค้ดสามารถทำงานได้ในแต่ละอุปกรณ์ ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายสำหรับการพัฒนาเว็บ รูปแบบมีรากฐานจากภาษา C และ C++ แล้วยังเป็นภาษาที่ง่ายต่อการออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ และเป็นภาษาหลักสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน Android OS ที่นิยมใช้บน TabletPC หรือ SmartPhone
รุ่นต่าง ๆ ของ Java ยุคแรก ๆ
- J2SE: Java 2 Platform,Standard Edition :Core/Desktop
- J2EE: Java 2 Platform, Enterprise Edition :Enterprise/Server
- J2ME: Java 2 Platform, Micro Edition :Mobile/Wireless
- JRE: Java Runtime Environment
- JVM: Java Virtual Machine
    เว็บเพจนี้ถูกเรียบเรียง เพื่อเตรียมสอนจาวาสำหรับผู้เริ่มต้น + การโปรแกรมเชิงวัตถุ ภายหลังจากผู้เขียนสอบผ่าน SCJP1.4 และ SCJP5 จึงรู้ว่าเว็บเพจนี้ให้ข้อมูลขั้นพื้นฐานเท่านั้น ทำให้มีเรื่องมากมายต้องถูกปรับปรุง .. ให้ตรงตามหลักการของ Java Certified ที่ท่านเห็นขณะนี้เป็นเพียงความรู้เบื้องต้น(SL-110) ก่อนถึง SCJP(SL-275) รู้แค่ที่ผมเขียนไว้ ไม่พอไปสอบ SCJP .. ต้องอ่าน และทดสอบด้วยตนเองอีกมาก
รุ่นของ Java
1. JDK 1.0 (Jan 23, 1996)
2. JDK 1.1 (Feb 19, 1997)
3. J2SE 1.2 (Dec 8, 1998)
4. J2SE 1.3 (May 8, 2000)
5. J2SE 1.4 (Feb 6, 2002)
6. J2EE 5.0 (Sep 30, 2004)
7. Java SE 6 (Dec 11, 2006)
8. Java SE 7 (July 28, 2011)
คนจาวา ใจดี
+ narisa.com
+ thaidev.com
+ exzilla.net
+ yakyaihost.net
+ jarticles.com
+ webthaidd.com
2. ความหมาย (?)
ภาษาจาวา (Java Language) คือ ภาษาโปรแกรมที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถ้าเป็นคลาสก็จะเป็นต้นแบบของวัตถุสามารถมีเมทธอด (Method) ที่ประกอบด้วยพฤติกรรม (Behavior) รูปพรรณ (Identity) และสถานะ (State)
3. กฏของ OOP (Object Oriented Programming)
อาลัน เคร์(Alan Kay) เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุคนหนึ่ง และมีส่วนพัฒนา Small talk ได้เสนอกฎ 5 ข้อของ OOP ไว้ดังนี้
1. ทุกสิ่งเป็นวัตถุ (Everything is an object)
2. โปรแกรมคือกลุ่มของวัตถุที่ส่งข่าวสารบอกกันและกันให้ทำงาน (A program is a bunch(พวง) of objects telling each other what to do by sending messages)
3. แต่ละวัตถุต้องมีหน่วยความจำ และประกอบด้วยวัตถุอื่น (Each object has its own memory made up of other objects)
4. วัตถุต้องจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง (Every object has a type)
5. วัตถุประเภทเดียวกันย่อมได้รับข่าวสารเหมือนกัน (All objects of a particular type can receive the same messages)
4. ลักษณะที่ Object หนึ่ง ๆ ต้องมี
Object ModelGeneral, UMLOOPCoding in Java
StateValue of AttributeValue of PropertyValue of Variable/Attribute
BehaviorBehavior/ActionMethodMethod
IdentityAttributePropertyVariable/Attribute
5. การโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming)
การเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ(Objects) แต่ละวัตถุจะจัดเป็นกลุ่มในรูปของคลาส ซึ่งแต่ละคลาสอาจมีคุณสมบัติ การปกป้อง (Encapsulation) การสืบทอด (Inheritance) การพ้องรูป (Polymorphism)
แนวคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP Concepts) ?
1. การปกป้อง (Encapsulation)
- การรวมกลุ่มของข้อมูล และกลุ่มของโปรแกรม เพื่อการปกป้อง และเลือกตอบสนอง
2. การสืบทอด (Inheritance)
- ยอมให้นำไปใช้ หรือเขียนขึ้นมาทดแทนของเดิม
3. การพ้องรูป (Polymorphism) = Many Shapes
- Overloading มีชื่อโปรแกรมเดียวกัน แต่รายการตัวแปร (Parameter List) ต่างกัน
- Overriding มีชื่อโปรแกรม และตัวแปรเหมือนกัน เพื่อเขียน behavior ขึ้นมาใหม่
ตัวอย่างโปรแกรม
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
class father {
  int n_time;
  private int to_show (int run_time) {
    run_time = n_time + 1; 
    return run_time;
  }
}
class child extends father {
  child() {
    n_time = 5;
    System.out.println(to_show(n_time)); // 7
  }
  public static void main(String[] a) {
    new child();
  }
  private int to_show (int run_time) {
    run_time = n_time + 2; 
    return run_time;
  }
}
class x{
public static void main(String ar[]){
int a = 1; int b; b = a; a = 2;
int c[]={3}; int d[]=c; c[0]=4;
System.out.println(a+b+c[0]+d[0]); 
} // 11
}
Access Level #
SpecifierClassPackageSubclassWorld
public
/
/
/
/
protected
/
/
/
x
no modifier
/
/
x
x
private
/
x
x
x

6. เอกสารอ้างอิง
Java Language Specification 2.0
อธิบายเป็นบทชัดเจน 18 บท ถูกจัดเรียงเหมือนหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย ตั้งแต่ introduction, grammar ไปถึง syntax เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นการอธิบายมากกว่าตัวอย่างโปรแกรม
:: read | download 410 KB
API ref. & developer doc.
จำเป็นที่ผู้เรียน Java ต้องอ่านเอกสารชุดนี้ให้เป็น เพราะแต่ละ class มี method ให้ใช้มากมาย และอาจเปลี่ยนไปตามรุ่นของ Compiler สำหรับตัวอย่าง class String มีให้อ่าน และนำไปใช้ได้ทันที
:: read | download 32 MB
7. ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ Applet
//<applet code=x.class width=100 height=100></applet>
import java.applet.*;
import java.awt.*;
public class x extends Applet {
  int i = 0;
  public void init() { i = 1; repaint(); }
  public void start() { i += 10; repaint(); }
  public void stop() { i += 100; repaint(); }
  public void destroy() { }
  public void paint(Graphics g) {
    setBackground(new Color(255,255,200));
    Font fnt = new Font("Angsana NEW",Font.PLAIN,20);
    g.setFont(fnt); 
    g.drawString(i + "ดูที่นี่",20,20);
  }
}

8. ข้อยกเว้น (Exception)
java.lang.Object
java.lang.Throwable
java.lang.Error java.lang.Exception
AssertionError, AWTError, CoderMalfunctionError, FactoryConfigurationError, LinkageError, ThreadDeath, TransformerFactoryConfigurationError, VirtualMachineError
Subclas of Exception
java.lang.Object
 java.lang.Throwable
  java.lang.Exception
   java.lang.RuntimeException
    java.lang.IndexOutOfBoundsException
     java.lang.ArrayIndexOutOfBoundsException


class testofexception { public static void main(String[] args) { try { System.out.println(1/0); } catch (Exception e) { System.out.println(e); } // java.lang.ArithmeticException: / by zero } }
..., ClassNotFoundException, DataFormatException, DestroyFailedException, FontFormatException, GeneralSecurityException, GSSException, IllegalAccessException, InstantiationException, InterruptedException, InvalidMidiDataException, InvalidPreferencesFormatException, InvocationTargetException, IOException, LastOwnerException, NoSuchFieldException, NoSuchMethodException, NotBoundException, NotOwnerException, ParseException, ParserConfigurationException, PrinterException, PrintException, PrivilegedActionException, PropertyVetoException, RefreshFailedException, RemarshalException, RuntimeException, ServerNotActiveException, SQLException, TooManyListenersException ...

9. เจชาร์ป (J#)

เจชาร์ป เป็นผลงานของบริษัทไมโครซอฟท์ แต่มีหลักการ หรือทฤษฎีที่ต่อยอดมาจากภาษาจาวาของบริษัทซัน และเจพลัสพลัส (J++) จึงมีโครงสร้างภาษาเหมือนกัน ดังนั้นผู้ที่เคยศึกษาภาษาจาวาของบริษัทซันมาก่อน จึงสามารถพัฒนาภาษาจาวาด้วยเจชาร์ปได้โดยง่ายภายใต้สภาวแวดล้องของดอทเน็ต แต่ผลการแปลโปรแกรมผ่านเจชาร์ปจะไม่ได้ไบท์โค้ด (Byte Code) หรือแฟ้ม .class เหมือนผลการแปลด้วยตัวแปลภาษาของบริษัทซัน และเจชาร์ปไม่สนับสนุนการพัฒนาแอพเพล็ท (Applet)
นักพัฒนาสามารถใช้งานตัวแปลภาษาในสภาวะแวดล้อมบนวินโดว์ โดยเปิด Microsoft Visual Studio และสร้าง VJ# Console Application เมื่อจัดเก็บโครงงาน (Project) จะสร้างห้อง C:\Documents and Settings \admin \My Documents \Visual Studio 2005 \Projects \ConsoleApplication1 และแฟ้มที่ถูกสร้างขึ้น คือ Program.jsl
แฟ้มหลักสำหรับการเป็นตัวแปลภาษา คือ แฟ้ม vjc.exe (Visual Java Compiler) เก็บอยู่ในห้อง C:\WINDOWS.0 \Microsoft.NET \Framework \v2.0.50727 หากใช้ตัวแปลภาษาตัวนี้เพื่อแปลแฟ้มรหัสต้นฉบับชื่อ Program.jsl ผ่าน DOS Command ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำได้ ซึ่งผลจากการแปลแฟ้ม Program.jsl จะได้แฟ้ม Program.exe มีขนาด 4096 Byte มิใช่แฟ้ม Program.class เหมือนภาษาจาวาของบริษัทซัน
ตัวอย่างการแปล
DOS> vjc x.jsl
DOS> vjc x1.jsl x2.jsl /out:app.exe
10. โครงการจาวาภิวัฒน์ (Javapiwat) (!sipachiangmai.org)
- หลักสูตร พื้นฐาน ภาษาการโปรแกรมจาวา (SL-110)
- หลักสูตร ภาษาการโปรแกรมจาวา (SL-275) (Java Certification FAQ)
- ตัวอย่างข้อสอบ (JAVA Programmer Quiz)
1. thaiall.com/quiz (ข้อสอบชุดเล็ก เริ่ม 18 กรกฎาคม 2548)
2. thaiall.com/scjp (Pactice SCJP)
3. javaranch.com (Text 65 Questions + Online Checking 60 Questions)
4. jchq.net (Text 180 Questions)
5. danchisholm.net (Text 400 Questions)
6. 4tests.com (40 Questions ทำทีละข้อ แล้ว Download ข้อใหม่)
7. ! sun.com (Online Quiz for practice เฉลยทันที)
Java Certified Programmer สนับสนุนโดย SIPA สาขาเชียงใหม่
- sipa.or.th , !sipachiangmai.org
- เตรียมสอบ SCJP 5.0 (MZ)
- เตรียมสอบ SCJP 1.6 (whizlabs.com)
- Forum for SCJP
Sun Certified Programmer (Java 2 Platform 1.4)
1. Declarations and Access Control
2. Flow Control, Assertions and Exception Handling
3. Garbage Collection
4. Language Fundamentals
5. Operators and Assignments
6. Overloading, Overriding, Runtime Type & Object Orient.
7. Threads
8. Fundamental Classes in the java.lang package
9. The Collections Framework
Sun Certified Programmer (Java 2 Platform 5.0)
1. Declarations, Initialization and Scoping
2. Flow Control
3. API Contents
4. Concurrency
5. OO Concepts
6. Collections /Generics
7. Fundamentals
ต.ย.ใบรับรอง ของ
Certify Programmer
Score Report
ทราบผลหลังสอบทันที

Click to ... Practice
in thaiall.com website
SCJP
in Applet

beta version
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation university
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : Education
Blog : ACLA
Blog : Lampang
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor
http://goo.gl/72BPC