ปฏิทินวันหยุด (Holiday 2559)
Home  Contents KMArticlesMembersSponsorsAbout us

ปรับปรุง : 2559-05-12 (เพิ่ม tv8)
ขอบซ้ายขอบบน
ปฏิทินวันหยุด 2559
วันหยุดธนาคาร และราชการ ประจำปีพ.ศ. 2559
วันในสัปดาห์วันที่เหตุการณ์ธนาคาร #ราชการ
ศุกร์ 1 มกราคมวันขึ้นปีใหม่ (New Year's Days)1. วันหยุด1. วันหยุด
จันทร์ 22 กุมภาพันธ์วันมาฆบูชา (Makha Bucha Day) (wiki) (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3)2. วันหยุด2. วันหยุด
พุธ 6 เมษายนวันจักรี (Chakri Memorial Day)3. วันหยุด3. วันหยุด
พุธ 13 เมษายนวันสงกรานต์ (Songkran Festival Day)4. วันหยุด4. วันหยุด
พฤหัสบดี 14 เมษายนวันสงกรานต์ (Songkran Festival Day)5. วันหยุด5. วันหยุด
ศุกร์ 15 เมษายนวันสงกรานต์ (Songkran Festival Day)6. วันหยุด6. วันหยุด
อาทิตย์ 1 พฤษภาคมวันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day)--
จันทร์ 2 พฤษภาคมชดเชย วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day)7. วันหยุด-
พฤหัสบดี 5 พฤษภาคมวันฉัตรมงคล (Coronation Day)8. วันหยุด7. วันหยุด
ศุกร์ 6 พฤษภาคมวันฉัตรมงคล (Coronation Day) (มติ ครม.)9. วันหยุด8. วันหยุด
จันทร์ 9 พฤษภาคมวันพืชมงคล (Royal Ploughing Ceremony Day)## 9. วันหยุด
ศุกร์ 20 พฤษภาคมวันวิสาขบูชา (Visakha Bucha Day) (wiki) (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6)10. วันหยุด10. วันหยุด
ศุกร์ 1 กรกฎาคมวันหยุดภาคครึ่งปี ธนาคาร (Mid-year Bank Holiday)11. วันหยุด-
จันทร์ 18 กรกฎาคมวันอาสาฬหบูชา (Asarnha Bucha Day) (มติ ครม.)12. วันหยุด11. วันหยุด
อังคาร 19 กรกฎาคมวันอาสาฬหบูชา (Asarnha Bucha Day) (wiki) (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8)13. วันหยุด12. วันหยุด
พุธ 20 กรกฎาคมวันเข้าพรรษา (Buddhist Lent Day) (ธนาคารไม่หยุดวันนี้) (วันแรม 1 ค่ำเดือน 8)13. วันหยุด
ศุกร์ 12 สิงหาคมวันแม่ (Her Majesty The Queen's BirthDay)14. วันหยุด14. วันหยุด
อาทิตย์ 23 ตุลาคมวันปิยมหาราช (Chulalongkorn Memorial Day)- -
จันทร์ 24 ตุลาคมชดเชย วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Memorial Day)15. วันหยุด 15. วันหยุด
จันทร์ 5 ธันวาคมวันชาติ / วันพ่อ (His Majesty The King's BirthDay)16. วันหยุด16. วันหยุด
เสาร์ 10 ธันวาคมวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)--
จันทร์ 12 ธันวาคมชดเชย วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)17. วันหยุด 17. วันหยุด
เสาร์ 31 ธันวาคมวันสิ้นปี (New Year's Eve)- -
จันทร์ 2 มกราคมชดเชย วันสิ้นปี (New Year's Eve)18. วันหยุด 18. วันหยุด
วันในสัปดาห์วันที่เหตุการณ์ธนาคาร #ราชการ
ปฏิทินในอดีต 2544 :: 2545 :: 2549 :: 2550 :: 2551 :: 2552 :: 2553 :: 2554 :: 2555 :: 2556 :: 2557 :: 2558 :: 2559 :: 2560 :: 2561






ขอบซ้ายขอบบน
วันสำคัญในประเทศไทย
วันสำคัญ ประจำปีพ.ศ. 2559
วันที่เหตุการณ์
9 มกราคม 2559วันเด็กแห่งชาติ (Children Day)
16 มกราคมวันครู (Teacher Day)
18 มกราคมวันยุทธหัตถี
25 มกราคมวันกองทัพไทย
8 กุมภาพันธ์ 2559วันตรุษจีน (Chinese New Year's Day) #
2 กุมภาพันธ์วันนักประดิษฐ์
3 กุมภาพันธ์วันทหารผ่านศึก
14 กุมภาพันธ์วันแห่งความรัก (Valentine's Day)
13 มีนาคมวันช้างไทย
2 เมษายนวันอนุรักษ์มรดกไทย
13 เมษายนวันผู้สูงอายุ
14 เมษายนวันครอบครัวไทย
22 เมษายนวันคุ้มครองโลก (Earth Day)
25 เมษายนวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวร
5 มิถุนายนวันสิ่งแวดล้อมโลก
26 มิถุนายนวันสุนทรภู่
29 กรกฎาคมวันภาษาไทยแห่งชาติ
7 สิงหาคมวันรพี
17 สิงหาคม 2559วันสารทจีน (Sart Chin Day or Ghost Festival or Spirit Festival) #
20 กันยายนวันเยาวชนแห่งชาติ
1 - 9 ตุลาคม 2559เทศกาลกินเจ (ขึ้น 1 ค่ำเดือน 9)
16 ตุลาคม 2559วันปวารณาออกพรรษา (End of Buddhist Lent Day) #
14 พฤศจิกายนวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
14 พฤศจิกายน 2559วันลอยกระทง (Loykatong Day) หรือวันสุดท้ายของกฐินกาล (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12)
1 ธันวาคมวันเอดส์โลก
28 ธันวาคมวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ขอบซ้ายขอบบน
แนะนำเว็บไซต์เกี่ยวกับวันหยุด
  1. รายชื่อวันสำคัญ
  2. วันหยุดราชการไทย
  3. ปฎิทินวันพระ : กรมการศาสนา โดย กรมการศาสนา Tel.0-2422-8804 ประกาศสิงหาคม ของทุกปี
  4. วันสำคัญ thaigoodview.com
  5. วันสำคัญ ธรรมะไทย
  6. วันสำคัญ พืชมงคลคืออะไร
  7. ความหมายปฏิทิน และกำเนิด
  8. วันสำคัญปี 2558 wikipedia.org และ timeanddate.com
  9. วันตรุษจีน จาก infoplease.com (Feb 19,2015)
  10. วันพืชมงคล จาก สำนักพระราชวัง Tel.0-2623-5500 ext.1124 ประกาศเป็นปี ๆ ไป
  11. วันสารทจีน (Ghost or Spirit Festival) จาก timeanddate.com (Aug 28,2015)
  12. วันหยุดธนาคาร จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2559
  13. Calendar : Excel Template
ข้อมูลที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับปี 2559
+ รอประกาศวันพืชมงคล จาก สำนักพระราชวัง # Tel.0-2623-5500 ext.1124 ประกาศเป็นปี ๆ ไป
+ ประกาศวันสำคัญทางศาสนา จาก กรมการศาสนา Tel.0-2422-8804 เช่น วันเข้าพรรษา ประกาศเป็นปี ๆ ไป
ติดต่อสอบถาม บุรินทร์
โทร.08-1992-7223
ผู้อาสารวบรวม


ข้อมูลข้างขึ้นข้างแรมดูจาก
timeanddate.com จะไม่ตรง
ต้องดูจาก กรมการศาสนา
ซึ่งตรงกับใน myhora.com
ขอบซ้ายขอบบน
ที่มา และประเด็นที่น่าสนใจ
กำเนิดปฏิทิน ข้อมูลจาก http://www.lib.ru.ac.th
ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ คาเลนดาร์ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”
ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ปฏิทินไทย
ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม
การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)
รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ
ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้
ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”
อ้างอิง
- มณฑา สุขบูรณ์ “ เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์ ” THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
- อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533

ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายวันหยุด และวันหยุดชดเชย
หลักของวันหยุดราชการ
ถ้ามีวันหยุดนักขัตฤกษ์ ติดต่อกัน 2 วันที่ตรงกับวันเสาร์ - อาทิตย์ จะให้หยุดชดเชยเพียงวันเดียวในวันทำงานปกติ ยกเว้นว่าจะมีประกาศจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นกรณีไป .. จาก มาตรา ๒๙ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่ระบุว่า "หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป"

วันหยุดตามประเพณีมีถึง 17 วัน แต่กฎหมายบอกว่าไม่น้อยกว่า 13 วัน ถ้าหน่วยงานเอกชนใดจะเลือกเพียง 13 วัน ก็ต้องพิจารณากันเอง ดังนี้ วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันจักรี วันสงกรานต์ 3 วัน วันแรงงานแห่งชาติ วันฉัตรมงคล (วันพืชมงคล ธนาคารไม่หยุด) วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา (วันเข้าพรรษา ธนาคารไม่หยุด) วันแม่ วันปิยมหาราช วันพ่อ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันสิ้นปี
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้
1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์
3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน
4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี
http://www.phuketlabour.org/law.htm

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา ๒๙ กำหนดว่า " ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปีวันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้"
http://law.siamhrm.com/?file=law-020

วันตรุษจีน ข้อมูลจาก http://www.infoplease.com
โดยปกติวันตรุษจีน จะมีวันที่เกี่ยวข้อง และติดกัน 3 วัน คือ
1. วันจ่าย คือ วันสำหรับออกไปจับจ่ายอาหาร ผลไม้ และเครื่องเซ่น มาเตรียมไว้
2. วันไหว้ คือ วันที่ทำพิธีไหว้เจ้า เป็นวันสิ้นปีของจีน
3. วันตรุษจีน หรือ วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือ วันตรุษจีน
ข้อมูลประกอบตรุษจีน
+ thaiall blog
+ facebook photo

การถวายผ้าจำนำพรรษา เป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวพุทธอีกรูปแบบหนึ่ง
ผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าที่ชาวพุทธนำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนแล้ว เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้ผลัดเปลี่ยน เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และปรากฎว่ามีเป็นแบบแผนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฎในพระราชพิธีสิบสองเดือนที่เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ปัจจุบันจะงดราชพิธีนี้ไปแล้ว แต่ชาวพุทธก็ยังปฏิบัติเป็นประเพณีกันโดยทั่วไป การถวายผ้าจะมีพิธีสวดมนต์เลี้ยงพระ และถวายปัจจัยไทยทาน ในช่วงเวลาระหว่างแรม ๑ ค่ำเดือนสิบเอ็ด (ประมาณต้นตุลาคม) ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสิบสอง (ประมาณต้นพฤศจิกายน) เท่านั้น ถ้าถวายผ้านอกกาลนี้ไม่นับเป็นผ้าจำนำพรรษา สำหรับปี 2553 สามารถทำได้ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2553 ถึง 21 พฤศจิกายน 2553

ประวัติวันวาเลนไทน์ (Valentine’s History)
เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีถูกจัดให้เป็นวันหยุด เพื่อเป็นเกียรติแต่เทพเจ้าจูโนผู้เป็นจักรพรรดินีแห่งเทพเจ้าโรมัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งอิสตรีเพศและการแต่งงาน
จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอโหดร้าย นิยมการทำสงคราม ทรงตระหนักว่าชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วมกองทัพ เนื่องจากไม่อยากพรากจากคู่รักและครอบครัวไป จึงมีพระราชโองการห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นหรือแต่งงานในโรม ทำให้ประชาชนทุกข์ใจยิ่งและขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์หรือวาเลนตินัส ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับชาวคริสต์หลายคู่ ทำให้วาเลนไทน์ถูกจับ ระหว่างเป็นนักโทษเชื่อกันว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะถูกตัดศีรษะ เขาส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลียโดยลงท้ายว่า “From Your Valentine” และวาเลนไทน์ก็ถูกประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270
หลังจากนั้นศพของเขาถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพูไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส โดยต้นอามันต์สีชมพูเป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพอันสวยงาม ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกเลือกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายังคงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนพอใจในวันวาเลนไทน์จนถึงทุกวันนี้
คติเตือนใจวันแห่งความรัก
+ ไม่โหดร้าย ไม่มือไว ไม่ใจเร็ว ไม่พูดปด ไม่หมดสติ
+ วัยพึ่ง วัยพบ วัยเพียร วัยพัก วัยพราก

ความหมายของสีดอกกุหลาบ
+ กุหลาบแดง (Red Rose)
: แทนประโยคว่า “ฉันรักเธอ”
+ กุหลาบขาว (White Rose)
: แทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์
+ กุหลาบชมพู (Pink Rose)
: แทนความรักแบบโรแมนติก
+ กุหลาบเหลือง (Yellow Rose)
: แทนความรักแบบเพื่อน เป็นสีแห่งความสดใส

ความเชื่อเรื่อง “วันห้ามต่าง ๆ ของไทย”
ข้อมูลจาก oknation.net
ความเชื่อ คือ ความคิดหรือทิศทางความเห็นที่กลุ่มชนพึงมีไปในทางเดียวกัน สอดคล้องสัมพันธ์กัน หรือประมาณเข้าใจว่าน่าที่จะเป็นเฉกเช่นนั้น เป็นต้น ความเชื่อของคนเราไทยนั้นดังที่พอทราบได้ว่ามีมากมายหลายอย่างโดยเฉพาะรูปแบบของความเชื่อที่ถูกถ่ายเทมาแต่ครั้งอดีต ตกทอดมายังคนรุ่นต่อ ๆ มา
ความเชื่อเรื่องวันห้าม
- ห้ามขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์ เพราะเชื่อกันว่าวันเสาร์เป็นวันแรง ถ้าขึ้นบ้านใหม่ในวันนี้แล้วจะทำให้ชีวิตครอบครัวอยู่กันอย่างไม่เป็นปกติสุข
- ห้ามเผาผีวันศุกร์ เพราะเชื่อว่าวันศุกร์เป็นวันแห่งโชคลาภ และความรื่นเริง หากเกิดการเผาผีขึ้นในวันนี้แล้วจะก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นดังคำกล่าวที่ว่า “เผาผีวันศุกร์ ให้ทุกข์แก่คนยัง”
- ห้ามโกนจุกวันอังคาร เพราะเชื่อว่าวันอังคารเป็นวันแข็ง หากโกนจุกในวันนี้แล้วอาจเกิดเรื่องร้ายแรง อาทิ อุบัติเหตุขึ้นกับผู้ถูกโกนจุกได้
- ห้ามแต่งงานวันพุธ เพราะเชื่อกันว่าวันพุธเป็นวันที่ไม่มีความมั่นคง หากแต่งงานในวันพุธแล้วจะทำให้ชีวิตแต่งงานพบแต่อุปสรรค
- วันพุธห้ามตัด เพราะเชื่อกันว่าวันพุธเป็นวันแห่งความเจริญงอกงาม จึงห้ามตัดสิ่งต่างๆในวันพุธ อาทิ การตัดต้นไม้ต่างๆ รวมทั้งร้านตัดผมก็ยังนิยมหยุดให้บริการในวันพุธ เป็นต้น
- วันพฤหัสห้ามถอน เพราะเชื่อกันว่าวันพฤหัสเป็นวันแห่งความมั่งคั่ง ดังนั้นการถอดถอนต้นไม้ เสาเรือน หรือถอดถอนสิ่งสำคัญต่างๆจึงพึงงดในวันดังกล่าว

วันสงกรานต์ คืออะไร
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง โดยประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน ของทุกปี และกำหนดเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยที่เป็นจุดเริ่มต้นของปีปฏิทินในประเทศไทย พ.ศ. 2431 หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
+ wikipedia.org
13 เม.ย.
วันสังขารล่อง
ทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
14 เม.ย.
วันเนา หรือวันเน่า
ห้ามพูดจาไม่ดี
15 เม.ย.
วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
วันทำบุญตักบาตร และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
     ในอดีต พระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อจุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือนในช่วงเข้าพรรษา คือช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงปลูกข้าวของชาวนา เมื่อชาวบ้านนำเทียนไปถวายมักจัดขบวนแห่อย่างสนุกสนาน ปฏิบัติสืบทอดกันเป็นประเพณีที่จัดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาทุกปี
     ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าวัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตายจะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมัน เพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ ส่วนชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ เมื่อนำมามัดรวมกันก็จะเรียกว่าต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของ เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา
+ http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no27/haer.html

เทศกาลกินเจ (Nine Emperor Gods Festival)
เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี
และในปี 2557 มีวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 9 จำนวน 2 ครั้ง (จีนเรียกว่า หยุ่งง้วย)
และมีรอบแบบนี้ในทุก 132 ปี
ครั้งที่ 1 ตรงกับวันที่ 24 กันยายน - 2 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 2 ตรงกับวันที่ 24 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2557

ข้อพึงปฏิบัติในการกินเจมี 5 ข้อ
1. งดเว้นเนื้อสัตว์และทำอันตรายต่อสัตว์
2. งดนม เนย หรือน้ำมันที่มาจากสัตว์
3. งดอาหารรสจัด เผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก
4. งดผักหรือเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หัวหอม กุยช่าย หลักเกียว และใบยาสูบ
5. งดดื่มสุรา และของมึนเมา

คำว่า เจ .. ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า "อุโบสถ" เดิมหมายความว่า "การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน" ตามแบบอย่างของชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 ที่จะไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย เราจึงนิยมเรียกการไม่ทานเนื้อสัตว์รวมไปกับการกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ดังนั้นความหมายของคนกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ
การกินเจ .. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า "เจียฉ่าย" หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว
ธงเจ .. นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเป็นการเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตนถือศีลกินเจได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน

วัตถุประสงค์ของการกินเจ
1. กินเพื่อสุขภาพ
2. กินด้วยจิตเมตตา
3. กินเพื่อเว้นกรรม

การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ
1. รับประทานอาหารเจ
2. งดอาหารรสจัด
3. รักษาศีลห้า
4. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์
5. ทำบุญทำทาน
6. นุ่งขาวห่มขาว

ความแตกต่างของ "เจ" กับ "มังสวิรัติ"
อาหารมังสวิรัติก็เป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกัน แต่มังสวิรัติสามารถทานผักได้ทุกชนิด แต่อาหารเจ ต้องเว้นผักฉุน 5 ประเภท คือ กระเทียม หัวหอม (รวมทั้งหอมแดง หอมขาว หัวหอมใหญ่ ต้นหอม) หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน ไม่ค่อยพบในประเทศไทย) กุยช่าย และใบยาสูบ รวมทั้งของเสพติดทุกชนิด และยังต้องประพฤติศีลร่วมด้วย จึงจะเป็นการถือศีลกินเจที่แท้จริง ขณะที่มังสวิรัติ หมายถึง การไม่รับประทานเนื้อสัตว์เท่านั้น
+ http://hilight.kapook.com/view/29017
+ http://scoop.mthai.com/nine_emperor_gods_festival
+ http://www.timeanddate.com/calendar/?year=2014&country=41
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/6339/

กฎหมายคุ้มครอง .. แรงงานรับใช้ในบ้าน

กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงแรงงาน ฉบับที่ 14 (2555) ออกตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงานรับใช้ในบ้าน โดยไม่เลือกว่าจะเป็นแรงงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งครอบคลุมแรงงานทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้แรงงานรับใช้ในบ้านจะได้รับสิทธิคุ้มครองเพิ่มเติม 7 ข้อ
1. ลูกจ้างต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน
2. นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย และหากวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้ลูกจ้างหยุดเป็นวันหยุดชดเชยเพิ่มอีก 1 วัน
3. ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน
4. ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยตามที่ป่วยจริงได้ และหากลา 3 วันขึ้นไป นายจ้างสามารถขอใบรับรองแพทย์ยืนยันจ้างลูกจ้างได้
5.กรณีลูกจ้างเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับเด็กโดยตรง
6. ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุด ต้องได้รับเงินค่าจ้างด้วย
7. ลูกจ้างต้องได้ค่าจ้างในวันที่ลาป่วย โดยไม่เกิน 30 วันทำงาน
+ http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2151/
+ http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code174.pdf
+ http://news.voicetv.co.th/thailand/55825.html
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352735089&grpid=03

ครั้งแรก หรือ การเริ่มต้น
+เหตุการณ์ช่วงเวลาแหล่งอ้างอิง
+ โลก ดวงอาทิตย์ และระบบสุริยะกำเนิดขึ้นมาพร้อมกัน 4600 ล้านปี http://www.origins-earth-life.com
+ หลักฐานเกี่ยวกับปฏิทิน ครั้งแรกในเมืองไทย (ปลายสมัยรัชกาลที่ 3)
คาดว่าโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์เป็นผู้จัดพิมพ์
14 ม.ค. 2385 http://www.lib.ru.ac.th
+ รัชกาลที่ 4 โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย
ปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ หน้า 108
12 มี.ค. 2404
+ มีการพิมพ์ปฏิทินขาย ชื่อ "ประนินทิน" เป็นของโรงพิมพ์หมอสมิท
ราคาเล่มละ 4 บาท
รัชกาลที่ 5
2411 – 2453
+ ธนบัตร หรือ อัฐกระดาษ ถูกนำมาใช้แต่ไม่เป็นที่นิยม
ออกธนบัตรอีกครั้ง ในชนิด 5, 10, 20, 100, 1000 บาท
รัชกาลที่ 5
2435
2445
http://www.tv5.co.th
http://www.heritage.thaigov.net
+ เริ่มจากการมีบริษัทเดนมาร์กใช้รถรางไฟฟ้า ในปีพ.ศ.2437
มีองค์กรที่ดำเนินกิจการไฟฟ้า 2 แห่ง คือ การไฟฟ้ากรุงเทพ และกองไฟฟ้าหลวงสามเสน
ประเทศไทยเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอย่างเป็นทางการราวต้นปีพ.ศ. 2457
รัชกาลที่ 5
2437
http://www.mea.or.th
+ มีบันทึกว่า พบรถยนต์ 3 คันเข้ามาวิ่งตามถนนในเมืองบางกอก 2447 http://www.baanjomyut.com
http://www.chuansin.com
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/177/
+ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2486
ให้ประชาชนในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
รัชกาลที่ 8
2486
http://www.nurnia.com
http://www.seedang.com
+ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 ขนาด 6*9 ซม.
เป็นการจัดทำบัตรจากส่วนกลาง โดยออกบัตรเหลืองจนกว่าส่วนกลางจะส่งกลับมา
รัชกาลที่ 9
2505
+ บัตรประชาชนเปลี่ยนจากสีขาวดำเป็นสีธรรมชาติ
เริ่มใช้บัตรแถบแม่เหล็ก ผลิตบัตรแบบรอรับได้
เริ่าใช้บัตรอเนกประสงค์ หรือสมาร์ทการ์ด
2531
2539
2547
+ โฉนดที่ดินฉบับแรกเป็นของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต.บ้านแป้ง อ.พระราชวัง จ.กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) 89-1-52 ไร่
1 ต.ค.2444 http://www.dol.go.th
http://www.thaihomeonline.com
+ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
ใช้บังคับเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
2497
+ สร้างอารามเล็ก ๆ เป็นวัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม อ.เกาะคา จ.ลำปาง
และ พระวิหาร ร่วมสร้างโดย พระมหาป่าเกสร ปัญโญ และเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง
2181 (370 ปี)
2226 (325 ปี)
http://www.chiangmainews.co.th
http://www.laihin.org
http://www.onab.go.th
+ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครั้งแรกในประเทศไทย โดยสำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความเร็ว 9600 บิทต่อวินาที
2536 http://www.satitm.chula.ac.th
+ ระบบโทรเลขนำมาใช้ครั้งแรก ปีพ.ศ. 2418
และยกเลิกบริการรับส่งโทรเลข ไปแล้ว
2418
1 พ.ค. 2551
เผยแพร่ข่าวสารทางทีวี
เปรียบเทียบรูปแบบการทานอาหารจำแนกตามช่วงเวลา
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation university
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : Education
Blog : ACLA
Blog : Lampang
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor