วันหยุด วันหยุดประจำปี และวันสำคัญ แยกธนาคาร และราชการ 2549
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiabc.com | thaiall.com
ปรับปรุง : 2550-01-12 (หยุด ปฏิรูปการปกครอง)
    สารบัญ
  1. วันหยุด และวันสำคัญ (ธนาคาร+ราชการ) ปี 2549
  2. ปฏิทินปี 2549 ที่ http://www.timeanddate.com
  3. ปฏิทินปี 2549 ที่ http://www.wacoal.co.th
  4. วันหยุด ธนาคารแห่งประเทศไทย
  5. วันหยุด ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
  6. วันหยุด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  7. วันหยุด สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
  8. วันหยุด สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  9. วันหยุด travexnet.com (english)
  10. วันสำคัญ thaigoodview.com
  11. วันสำคัญ pattaya.com
  12. วันสำคัญ aksorn.com
  13. วันสำคัญ กระทรวงวัฒนธรรม
  14. วันสำคัญ ธรรมะไทย
  15. วันสำคัญ ปฎิทิน มกราคม (ยอด)
  16. เว็บเพจเดิม : calendar44.htm และ calendar45.htm
  17. ความหมายปฏิทิน และกำเนิด
Lee Young Ae Wallpaper
Lee Young Ae Print


Calendar 2550
ท่านใดพบข้อผิดพลาด หรือมีข้อเสนอแนะ แจ้งผมได้ที่ 08-1992-7223
ปฏิทินในอดีต 2544 :: 2545 :: 2549 :: 2550 :: 2551 :: 2552 :: 2553 :: 2554 :: 2555 :: 2556 :: 2557 :: 2558 :: 2559 :: 2560 :: 2561




วันหยุด และวันสำคัญ (ธนาคาร+ราชการ) ปี 2549
วันในสัปดาห์
(in week)
วันที่
(Date)
เหตุการณ์
(Event)
ธนาคาร
(Bank)
ราชการ
(Government)
อาทิตย์1 มกราคมวันขึ้นปีใหม่ (New Year's Days)วันหยุดวันหยุด
จันทร์2 มกราคมชดเชยวันขึ้นปีใหม่ (New Year's Days)วันหยุดวันหยุด
เสาร์14 มกราคมวันเด็กแห่งชาติ (Children Day)
จันทร์16 มกราคมวันครู (Teacher Day)
พุธ18 มกราคมวันยุทธหัตถี
อาทิตย์29 มกราคมวันตรุษจีน (Chinese New Year's Day)
จันทร์13 กุมภาพันธ์วันมาฆบูชา (Makha Bucha Day)วันหยุดวันหยุด
อังคาร14 กุมภาพันธ์วันแห่งความรัก (Valentine's Day)
พฤหัสบดี6 เมษายนวันจักรี (Chakri Memorial Day)วันหยุดวันหยุด
พฤหัสบดี13 เมษายนวันสงกรานต์ (Songkran Festival Day)วันหยุดวันหยุด
ศุกร์14 เมษายนวันสงกรานต์ (Songkran Festival Day)วันหยุดวันหยุด
เสาร์15 เมษายนวันสงกรานต์ (Songkran Festival Day)วันหยุดวันหยุด
พุธ19 เมษายนวันหยุดพิเศษ เนื่องจาก เลือกตั้ง ส.ว.วันหยุดวันหยุด
อังคาร25 เมษายนวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวร
จันทร์1 พฤษภาคมวันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day)วันหยุด
ศุกร์5 พฤษภาคมวันฉัตรมงคล (Coronation Day)วันหยุดวันหยุด
พฤหัสบดี11 พฤษภาคมวันพืชงคล (Royal Ploughing Ceremony Day)วันหยุด
ศุกร์12 พฤษภาคมวันวิสาขบูชา (Visakha Bucha Day)วันหยุดวันหยุด
ศุกร์9 มิถุนายนวันหยุดพิเศษ เนื่องจาก ฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี
(The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to The Throne)
วันหยุด
จันทร์12 มิถุนายนวันหยุดพิเศษ เนื่องจาก ฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี
(The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to The Throne)
วันหยุด
กรุงเทพ+ปริมณฑล
วันหยุด
กรุงเทพ+ปริมณฑล
อังคาร13 มิถุนายนวันหยุดพิเศษ เนื่องจาก ฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี
(The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to The Throne)
วันหยุด
กรุงเทพ+ปริมณฑล
วันหยุด
กรุงเทพ+ปริมณฑล
จันทร์10 กรกฏาคมวันอาสาฬหบูชา (Asarnha Bucha Day)วันหยุด
อังคาร11 กรกฏาคมวันเข้าพรรษา (Buddhist Lent Day)วันหยุดวันหยุด
อังคาร8 สิงหาคมวันสารทจีน (Sart Chin Day)
เสาร์12 สิงหาคมวันแม่ (H.M. The Queen's BirthDay)วันหยุดวันหยุด
จันทร์14 สิงหาคมชดเชยวันแม่ (H.M. The Queen's BirthDay)วันหยุดวันหยุด
พุธ20 กันยายนปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นำโดย พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลินวันหยุดวันหยุด
เสาร์7 ตุลาคมวันออกพรรษา (End of Buddhist Lent Day)
จันทร์23 ตุลาคมวันปิยมหาราช (Chulalongkorn Memorial Day)วันหยุดวันหยุด
อาทิตย์5 พฤศจิกายนวันลอยกระทง (Loykatong Day)
อังคาร5 ธันวาคมวันพ่อ (H.M. The King's BirthDay)วันหยุดวันหยุด
อาทิตย์10 ธันวาคมวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)วันหยุดวันหยุด
จันทร์11 ธันวาคมชดเชยวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)วันหยุดวันหยุด
อาทิตย์31 ธันวาคมวันสิ้นปี (New Year's Eve)วันหยุดวันหยุด

กำเนิดปฏิทิน ข้อมูลจาก http://www.lib.ru.ac.th
ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ คาเลนดาร์ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”
ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ปฏิทินไทย
ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม
การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)
รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ
ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้
ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”
อ้างอิง
มณฑา สุขบูรณ์ “ เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์ ” THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533

ท่านใดพบข้อผิดพลาด หรือมีข้อเสนอแนะ แจ้งผมได้ที่ 08-1992-7223
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation university
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : Education
Blog : ACLA
Blog : Lampang
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor