ศึกษาดูงาน IT ที่โยนก
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiabc.com | thaiall.korattown.com | perlphpasp.com | thaiall.com
ปรับปรุง : 2548-02-06 ()
ศึกษาดูงาน IT ที่โยนก
เว็บนี้ถูกเตรียมรับทีมดูงาน Web based ของ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา [it.suansunandha.com หรือ riss.ac.th]
ทีมงานขอขอบคุณที่ ท่านรองอธิการฝ่ายกิจการนักศึกษา อาจารย์ ทีมงานสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ และสำนักฯ ของสถาบันฯ
ช่วยซื้อหนังสือ http://www.perlphpasp.com จำนวน 15 เล่ม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2545
เมื่อ 10 มกราคม 2544 เวลา 11.00น. - 12.00น. ณ อาคารมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา
เน้นการดูงานเรื่อง Web based และระบบเครือข่ายสารสนเทศ
    สารบัญ
  1. บทนำ
  2. แผนพัฒนาเว็บ
  3. บริการที่เว็บสถาบันควรมี
    Powerpoint 97 presentation >> Download [ 39 KB ]
    Web linked >> ข้อมูลของศูนย์ CIT
    Web linked >>แผนบริหารศูนย์ CIT ตามที่วางไว้
บทนำ
    บันทึกเหตุการณ์
  1. พฤศจิกายน 2544 : ถูกรวมเข้าเป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
  2. ตุลาคม 2543 : เปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์ IT (Information Technology) เป็น ศูนย์ CIT (Computer and Information Technology)
  3. กันยายน 2543 : เริ่มโครงการเว็บสาธารณ isinthai.com เพื่อให้บริการ web hosting, ftp, pop3, imap, telnet, php, asp, perl เป็นต้น ซึ่งดูแลระบบทั้งหมดโดย วิเชพ ใจบุญ สำหรับงานจัดการกับ New account ดูแลโดย สุวิทย์ สมสุภาพรุ่งยศ และประเสริฐ ประสารยา
  4. กุมภาพันธ์ 2543 : ถูก h_cker เข้ามาใช้เครื่อง yn1.yonok.ac.th ส่ง spam จึงต้องรื้อระบบใหม่ และเปลี่ยนชื่อเครื่องไปเป็น star.yonok.ac.th จึงแก้ปัญหาเรื่องที่ hotmail.com ไปรับ email จากระบบของเราได้
  5. มิถุนายน 2541 : อ.อติชาติ หาญชาญชัย เข้ารับตำแหน่ง คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และแต่งตั้งอ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. พฤศจิกายน 2540 : ติดตั้งเครือข่าย internet ด้วยความเร็ว 64 kb โดยมีบริษัท Loxinfo เป็น ISP และบริษัท SiamSat ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมเข้า Loxinfo กรุงเทพฯ และเปิดให้บริการเว็บ www.yonok.ac.th และเริ่มให้บริการ email กับนักศึกษา และอาจารย์
  7. มิถุนายน 2539 : ศูนย์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บริการได้คลอบคลุม และทันสมัย
  8. เมษายน 2538 : เครื่อง AS/400 ถูกวางเพลิง ซึ่งเป็น case แรกที่มีการวางเพลิงเครื่องของ IBM ในสถานศึกษา (ยังหาตัวมือเพลิงไม่ได้)
  9. มิถุนายน 2537 : เริ่มใช้เครื่อง pc มารับลงทะเบียนนักศึกษา แทนเครื่อง AS/400 ซึ่งพัฒนาร่วมกับ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเปลี่ยนจากภาษา Cobol ไปเป็น Microsoft Access 2.0
  10. มิถุนายน 2535 : อ.อติชาติ หาญชาญชัย มารับตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์วิทยาลัยโยนก
  11. สิงหาคม 2534 : ซื้อคอมพิวเตอร์ AS/400 D20 มาใช้ในการเรียนการสอน RPG และพัฒนาระบบงานทะเบียนด้วย cobol
  12. มิถุนายน 2531 : วิทยาลัยโยนกเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก
    11 กลุ่มงานของศูนย์ CIT (รายละเอียดที่ http://www.thaiall.com/article/center.htm)
  1. พัฒนาเว็บ
    ควรมี 4 บริการเป็นอย่างน้อย (ข้อมูลทั่วไปของสถาบัน, บริการข้อมูล(SW,Article), บริการฐานข้อมูล(หน่วยงาน), บริการสังคม(จังหวัด,ประเทศ)
    เช่น yonok.ac.th, thaiall.com, yonok.hypermart.net, lampang.net, isinthai.com
  2. บริการการเรียน - การสอน
    จัดห้องปฏิบัติการ ทั้งสำหรับการเรียน และการฝึกปฏิบัติ หรือการให้บริการนักศึกษา
    ให้กับทุกวิชาที่ต้องการ และจัดบุคลากรตามความเหมาะสม เช่นช่วยสอน เป็นต้น
  3. บริการฝึกอบรม
    จัดหลักสูตรฝึกอบรม ตามที่นักศึกษา บุคลากร หรือบุคคลภายนอกร้อย
  4. พัฒนาฐานข้อมูลภายในสถาบัน
    รับพัฒนาให้หน่วยงาน เช่น ระบบทะเบียน ระบบเงินเดือน พัสดุ หอสมุด ระบบบุคคล เป็นต้น
  5. การจ้างงานนักศึกษา
    จ้างนักศึกษาดูแลห้องปฏิบัติการ และช่วยงานต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ
  6. การให้บริการนักศึกษา
    นอกจากเปิดห้องปฏิบัติการ แล้วยังให้บริการ Internet จากที่บ้าน Scan ภาพ ตอบคำถาม จำหน่ายแผ่น Diskette กระดาษ และหมึกพิมพ์
  7. ธุรกิจเพื่อการศึกษา
    จำหน่ายคอมพิวเตอร์
    E-commerce
    ISP
  8. แผนจัดหา Hardware & Software
    จัดหา Hardware ทุกยี่ห้อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ
    จัดหา Software เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความชำนาญ
  9. การรักษาความปลอดภัย
    จัดตั้ง Firewall, UPS, Cable protection และระบบการเข้าถึง Hardware(ไฟไหม้)
  10. งานซ่อมบำรุง
    แก้ปัญหา Software และ Hardware ให้กับทุกหน่วยงาน
  11. บุคลากร
    จัดหาบุคลากร และแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ทั้งด้านงานภายใน และงานภายนอกสถาบัน
แผนพัฒนาเว็บ
    http://www.yonok.ac.th
  1. ทุกเว็บในสถาบันอยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ CIT
  2. มี Web server เพื่อบริการเพียง 1 เครื่อง และใช้ Ghost Backup HD อีกตัวหนึ่งทุกสัปดาห์
  3. มี Account ให้ทุกหน่วยงานสามารถ upload เว็บของตนได้โดยอิสระ
  4. หน่วยงานที่ไม่มีบุคลากร ศูนย์ฯ จะรับผิดชอบเรื่องการนำเข้า Server
  5. หน้าเว็บหลัก หรือการพัฒนาฐานข้อมูลทั้งหมด อยู่ในความดูแลของศูนย์ฯ เช่น Webboard, Grade report
    http://www.isinthai.com
  1. จัดทำ Free hosting ให้บริการนักศึกษา หรือบุคคลภายนอก(จำกัด)
  2. ให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาการจัดทำ เพื่อสร้างประสบการณ์
  3. พัฒนา Application บนเว็บด้วย Php, Mysql, perl เป็นต้น
  4. ศึกษาการบริหาร Linux server
    http://www.lampang.net
  1. จัดทำข้อมูลของจังหวัด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และ E-commerce ในจังหวัด
    http://www.thaiall.com
  1. รวบรวมข้อมูล จัดทำเป็นบทความ เผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา และผู้สนใจ
  2. จัดทำศูนย์สอบ Online ให้นักศึกษาได้เข้าไปฝึกฝน
  3. จัดทำ Demo e-commerce ให้คัดลอกไปฝึกปฏิบัติ
  4. อื่น ๆ อีกหลายเรื่อง โดยเน้นด้านการศึกษา
    Tools น่าใช้
  1. Editor เช่น Editplus หรือ Textpad เป็นต้น
  2. Graphic เช่น Acdsee, Iview, Photoshop, Paint, Illustrator เป็นต้น
  3. Language เช่น Html, Php+Mysql, Asp+Access, Perl, Javascript เป็นต้น
  4. Ftp client เช่น Ws_ftp, Cute_ftp เป็นต้น
  5. Server เช่น Omni, Apache, Pws, Linux เป็นต้น
บริการที่เว็บสถาบันควรมี
    ทำไมควรสร้างเว็บบริการ
  1. เพื่อนักศึกษา และบุคลากรในสถาบัน
  2. เพื่อบริการสังคม
  3. เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ทีมพัฒนา และผู้เกี่ยวข้อง
  4. เพื่อตอบคำถามแก่ภาคธุรกิจ เพราะสถาบันคือความหวังของทุกองค์กร
  5. เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์สถาบันที่ดี
    บริการที่ควรมีให้
  1. Organization information
  2. Hot news and News letter
  3. Web board
  4. Free e-mail
  5. Article
  6. Quiz online
  7. Photo gallery : Student, building, activities, logo
  8. Database : ftp, grade report, club member, homepage service

Thaiabc.com