อนาคตนักคอมพิวเตอร์ | ||
|
นี่คือ อีกมุมมองหนึ่งของ นักคอมพิวเตอร์ ชาวลำปาง
+ http://www.thaiall.com/article/checklist.htm + http://www.thaiall.com/article/teachpro.htm + http://www.thaiall.com/student + http://www.thaiall.com/job/ (thaijob.com) |
1. ใครที่ถูกเรียกว่า นักคอมพิวเตอร์ ได้บ้าง
|
1.1 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน 1. นักเรียนประถม เช่น โรงเรียนอนุบาลลำปางสอนนักเรียนพัฒนาโฮมเพจ ส่งนักเรียนไปแข่งควบคุมหุ่นยนต์ สร้างอีบุ๊คด้วย Flip Publisher 2. นักเรียนมัธยม มีวิชาที่ทาง สสวท บรรจุเข้าไปในหลักสูตร เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ตารางทำงานและการประยุกต์เบื้องต้น, ตารางทำงานและการประยุกต์ขั้นสูง, การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น, การจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง, หลักการเขียนโปรแกรม, การเขียนโปรแกรมภาษา และพัฒนาโฮมเพจ 3. อาชีวศึกษา ก็มีทั้ง ปวช. ปวท. ปวส. 4. ปริญญาตรี หรือสูงกว่า เปิดสอนอย่างหลากหลาย 4.1 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) 4.2 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 4.3 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) 4.4 หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) 4.5 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) 4.6 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer) 4.7 หลักสูตรระบบสารสนเทศ (Information System) 1.2 อาชีพนักคอมพิวเตอร์อาจแยกได้เป็นกลุ่ม 6 กลุ่ม เรียบเรียงจาก หนทางสู่อาชีพนักคอมพิวเตอร์ หน้า 22 โดย ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ 1. กลุ่มปฏิบัติการ (Operation Group) 2. กลุ่มพัฒนาระบบ และโปรแกรม (Developer Group) 3. กลุ่มบริหารงานคอมพิวเตอร์ (Administration Group) 4. กลุ่มช่างคอมพิวเตอร์ (Technical Group) 5. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจคอมพิวเตอร์ (Business Group) 6. กลุ่มผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ (Teacher Group) 1.3 องค์กรหาบุคลากรคอมพิวเตอร์ได้จากที่ไหน เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 33 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์ วิธีแรก : มองหาบุคลากรจากภายในหน่วยงาน บางคนอาจอยากเปลี่ยนงาน เพราะท้ายทายกว่า วิธีที่สอง : จ้างผู้ที่ศึกษาคอมพิวเตอร์จากสถาบันการศึกษา 1. สาขาประมวลผลข้อมูล และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Data processing และ Business Computer) 2. สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) 3. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 4. สาขาระบบสารสนเทศ (Information Systems) 5. สาขาครูคอมพิวเตอร์ (Computer Education) 6. สาขาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 7. ผู้ที่ผ่านการอบรมระยะสั้น (Trainning course) |
2. มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แล้วไปทำอะไรได้บ้าง
| การสำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นว่าตองทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก บางคนอยู่กับบ้านก็ทำงานได้ คือทำอาชีพอิสระไป หรือรับเขียนโปรแกรมอยู่กับบ้านก็ยังมี หรือจะเปิดร้าน Internet cafe ก็ยังมีกันมากมาย .. สรุปว่าจบคอมพิวเตอร์แล้ว มีอาชีพรองรับมากมาย หลายอาชีพไม่ต้องทำคอมพิวเตอร์เป็นก็ยังได้ เช่น เลขาฯ หรือธุรการเป็นต้น ขอพิมพ์ word เป็นก็ ok แล้ว
แบบที่ 1 : เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์, Programmer, System Analyst, IT Director, CIO # แบบที่ 2 : ดูแลระบบบริการ ความปลอดภัย เครือข่าย หรือ Hardware Maintenance แบบที่ 3 : เปิดร้าน Internet หรือร้านขายคอมพิวเตอร์ แบบที่ 4 : Graphic Creator, Special Effect หรือ Multimedia แบบที่ 5 : ครู อาจารย์ หรือติวเตอร์ แบบที่ 6 : ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต เช่น e-Commerce, e-Learning, e-Service เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 37 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์ 1. ควรให้มีการสอบข้อเขียน (เพื่อวัดว่าจะทำงานได้หรือไม่) 2. ควรพิจารณาพื้นฐานการศึกษาของผู้สมัคร (ดูลักษณะหลักสูตร) 3. ควรพิจารณาหลักฐานการศึกษา (ดูคะแนน) 4. ควรสอบถามเรื่องการย้ายงานบ่อย (ว่าอยู่แต่ละงาน นานหรือไม่) 5. ควรให้ผู้สมัครเล่าผลงานให้ฟังว่าเคยทำอะไรมาบ้าง (ดูพฤติกรรม และทัศนคติ เช่นนินทาหรือหักหลังหรือไม่) 2.2 วิธีพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์มีกี่แบบ เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 113 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์ 1. ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จมาใช้ 2. ให้ฝ่ายศูนย์คอมพิวเตอร์สร้างเอง 2.1 สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป 2.2 สร้างต้นแบบ 3. ให้ฝ่ายผู้ใช้สร้างเอง 4. จ้างบริษัทซอฟต์แวร์ให้ช่วยจัดทำระบบให้ 2.3 วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ (SDLC = System Development Life Cycle) อ้างอิงจาก http://www.thaiall.com/casereg 1. ทำความเข้าใจปัญหาในระบบเดิม (Problem recognition หรือ Problem Definition) 2. การศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาระบบ (Feasibility Study) 3. ทำความเข้าใจระบบที่ใช้อยู่เดิม (Understading Existing System) 4. ออกแบบระบบใหม่ (System Design) 5. การพัฒนาระบบ (System Construction) 6. การติดตั้งระบบใหม่ หรือนำมาใช้จริง (Conversion and Installation) 7. การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance) 2.4 ผู้บริหารควรมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาระบบงาน เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 117 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์ 1. ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังเงิน และกำลังใจ 2. ต้องกำหนดสิ่งต้องการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบที่ถูกทิศทาง 3. ต้องกล้าตัดสินใจ ให้มีการเปลี่ยนแปลง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านปฏิบัติ และตัวบุคคล 4. ต้องเข้าใจว่าอะไรที่คอมพิวเตอร์ทำได้ และอะไรที่ทำไม่ได้ 5. ต้องตอบสนอง และพิจารณาความคิดเห็น ของนักคอมพิวเตอร์อย่างตรงไปตรงมา และทันการณ์ |
3. เป้าหมายในชีวิตของนักคอมพิวเตอร์
| ทุกคนต่างมีเป้าหมายในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น (แม้หลาย ๆ คนจะบอกว่าไม่มีความหวังอะไรเลย ผมก็ยังเชื่อว่าสักวันก็ต้องมี) แต่น้อยคนที่จะพบเป้าหมาย ที่คาดหวังไว้ในตอนแรก เมื่อก่อนสำเร็จการศึกษา เราจะมีเป้าหมายแบบหนึ่ง แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว น้อยคนที่จะพบงานที่ถูกใจ หรือได้งานที่ถูกใจแล้ว เป้าหมายที่คาดหวังไว้ ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เพียงเอื้อม ทุกคนต้องใช้เวลาด้วยกันทั้งนั้น เป้าหมายแรก ของนักเรียนจบใหม่ คือ ต้องให้ได้งาน .. บ่อยครั้ง งานที่ได้นั้นไม่ถูกใจ เหตุการณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้คนส่วนใหญ่ จะต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ คือการใช้ชีวิตบนโลกมนุษย์แห่งนี้ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง เช่น ครึ่งปี หรือ 1 ปี จะเริ่มปรับตัว และรู้ว่าอะไรเป็นอะไร และที่สำคัญ นักเรียนเริ่มมีประสบการณ์ในการทำงาน รู้ว่าชีวิตการทำงาน คืออะไร หลายคนเริ่มมองหางานใหม่ โอกาสใหม่ ๆ และเงินเดือนในองค์กรใหม่ที่สูงขึ้น รวมถึง เป้าหมายใหม่ในชีวิต .. คนมากมาย หยุดการเปลี่ยนงานในงานที่ 2 นี้เอง เพราะ งานแรกคือความจำเป็น แต่งานที่สองคือความสมัครใจ 3.1 ความเป็นมืออาชีพ เรียบเรียงจาก หนทางสู่อาชีพนักคอมพิวเตอร์ หน้า 49 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์ อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ ต้องใช้สมอง และใช้สติปัญญาค่อนข้างมาก ซึ่งมีชี้เฉพาะลงไปที่งานเกี่ยวกับข้อมูล ข่าวสาร นับตั้งแต่การรับข้อมูล ประเมิน จัดเรียง จัดเก็บ สืบค้น จัดทำผลลัพธ์เผยแพร่ หรือผู้ทำงานที่ใช้สมองก็คือ ผู้ที่ทำงานกับตัวเลข ข้อความ และสัญลักษณ์ มากกว่าทำงานกับวัตถุสิ่งของ ทำงานกับนามธรรม มากกว่ารูปธรรม วี.สไตบิก เขียนไว้ในหนังสือ "เครื่องมือของจิตใจ" กล่าวถึงส่วนประกอบสำคัญของงานใช้สมอง ไว้หลายข้อดังนี้ 1. งานจัดระบบ วางแผน และทำบัญชีส่วนตัว 2. งานจัดการสารสนเทศ (เช่น รู้จักแสวงหาข้อมูลอ้างอิง หรือรู้จักการสืบค้นข้อมูล) 3. การใช้ระบบประมวลผลคำ (เช่น เขียนจดหมาย บันทึก ผังงาน) 4. การคำนวณ 5. งานจัดทำภาพกราฟิก 6. การสื่อสาร 7. งานอื่นตามลักษณะอาชีพ 3.2 ข้อคิดหลังสำเร็จการศึกษา การสำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นว่าต้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก บางคนอยู่กับบ้านก็ทำงานได้ คือ ทำอาชีพอิสระไป หรือรับเขียนโปรแกรมอยู่กับบ้านก็ยังมี หรือจะเปิดร้าน Internet cafe ก็ยังมีกันมากมาย .. สรุปว่าจบคอมพิวเตอร์แล้ว มีอาชีพรองรับมากมาย หลายอาชีพไม่ต้องทำคอมพิวเตอร์เป็นก็ยังได้ เช่น เลขาฯ หรือธุรการ เป็นต้น ขอพิมพ์ word เป็นก็ ok แล้ว ลองหาอาชีพที่เหมาะสมได้ที่ เว็บไซต์หางานไทยจ๊อบดอทคอม ข้อคิดโดย Arvinder Kalra (Jack) |
5. เปรียบเทียบเงินเดือน ราชการ และเอกชนบางแห่ง
ข้อมูลเงินเดือนปี 2550
| อ้างอิงจาก http://www.mof.go.th/salary/sal_rate.htm (2550-05-19) ตัวเลขข้างล่างนี้ไม่แน่นอน แตกต่างไปตามหน่วยงาน จังหวัด ประสบการณ์ นโยบายขององค์กร และที่ให้ข้อมูลไปนี้ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงในเบื้องต้น เท่านั้น
ข้อมูลเงินเดือนปี 2558 หนังสือจาก สำนักงาน ก.พ. เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ถึง กระทรวง กรม จังหวัด เมื่อ 25 พฤษภาคม 2558 |