1. ใครที่ถูกเรียกว่า นักคอมพิวเตอร์ ได้บ้าง
ในสาขาวิชาอื่น ๆ หลายสาขา เช่น หมอ หรือวิศวกร จะต้องมีใบอนุญาติ จึงจะสามารถประกอบอาชีพด้านนั้น ๆ ได้ แต่ในด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่มีการรับรองจากสมาคมใด อย่างเป็นทางการ จากองค์กรภายนอก หากนักคอมพิวเตอร์ทำผิดจริยธรรมด้านคอมพิวเตอร์ จะไม่มีใครมายึดใบอนุญาติการเป็น นักคอมพิวเตอร์คืน แน่นอน .. ซึ่งหมายความว่า ใครก็เป็นนักคอมพิวเตอร์ได้
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะความรู้ในด้านของคอมพิวเตอร์นั้น หลายหลายมาก และไม่มีความชัดเจน ประกอบกับลักษณะงาน มักไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม เช่น หมอ หากรักษาผิด อาจทำให้คนไข้ถึงตายได้ และวิศวกร หากสร้างอาคารไม่ถูกหลักการ อาจทำให้อาคารล้ม ผู้คนเสียชีวิตกันมากมายได้ เช่นกัน นอกจากนี้ การเรียนรู้ด้านของคอมพิวเตอร์ ยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้จากในห้องเรียน มีหลาย ๆ คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักคอมพิวเตอร์ โดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า รู้จักชายคนหนึ่ง จบการตลาด แล้วเข้าอบรมหลักสูตร VB ที่ธรรมศาสตร์เคยจัดขึ้น 3 เดือน จากนั้น ถูกจ้างไปเป็น webmaster ขององค์กรแห่งหนึ่ง ต่อมาก็ได้รับการทาบทามให้เป็นที่ปรึกษา ของบริษัทแห่งหนึ่ง รายได้ของเขาไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน ทั้งที่ไม่ได้จบด้านคอมพิวเตอร์เลย .. ซึ่งหมายความว่า นักคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จ อาจไม่จำเป็นต้อง สำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่ขอให้มีใจรักและใฝ่ศึกษา เป็นสำคัญ
Larry Page และ Sergey Brin นักศึกษาปริญญาโท ไม่ต้องจบ Doctor แต่สามารถพัฒนา google.com จนประสบความสำเร็จระดับโลก หรือ
Bill Gate ที่ใครต่อใคร รู้จัก และร่ำรวยจากการเขียน Microsoft Windows มานั้น ก็ไม่ได้สำเร็จการศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์ โดยตรง (เพราะออกกลางคันซะก่อน) แต่ที่เขาประสบความสำเร็จได้ เพราะมีใจรัก ไม่ต้องคอยให้ใครมาสั่งสอน ว่าต้องตั้งใจเรียน หมั่นศึกษาหาความรู้ เขาใช้เวลาเป็นวัน ศึกษาด้วยตัวเอง จากความพยายามนั้น เขาก็ประสบความสำเร็จ จากการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในโลกคอมพิวเตอร์ และ นำมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างยอดเยี่ยม
หลายท่านอาจจำได้ว่า นพ.ชุษณะ มะกรสาร แห่งโรงพยาบาลราชวิถี ได้พัฒนา โปรแกรมเวิร์ดราชวิถี ที่คนไทยเคยใช้กันทั้งประเทศ และมีคู่แข่งเพียง เวิร์ดจุฬา มีอาชีพหลักคือ เป็นหมอ แต่ท่านได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จนสามารถเขียนโปรแกรม ที่มีคนใช้กันทั้งประเทศได้ .. นี่คือตัวอย่างของคนที่ต้องได้รับการยกย่อง ว่าสุดยอด
สรุปว่า นักคอมพิวเตอร์ นั้นใคร ๆ ก็เป็นได้ แต่ถ้าจะเป็นให้ดี จะต้องใช้เวลาศึกษา หาความรู้ ใจรัก และทุ่มเทอย่างมาก กว่าจะรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งพอจะใช้งานได้ และในโลกนี้มี Software มากมาย ที่น่าศึกษา น่าเรียนรู้ นำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อ ตนเอง และคนรอบข้าง ท่านจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องแข่งขันกับตัวเอง แข่งขันกับความใฝ่รู้ของตน เพื่อเรียนรู้สิ่งดี ๆ มากมาย ที่กำลังรอท่านอยู่
|
โปรแกรมที่ควรใช้เป็น
+ ภาษาคอมพิวเตอร์เชิงวัตถุ
+ พัฒนาเว็บไซต์เชื่อม DB
+ สื่อมัลติมีเดีย
+ ระบบปฏิบัติการ
+ ระบบเครือข่าย
+ ระบบความปลอดภัย
+ e-Commerce
+ e-Learning
|
Info. Sys. Career Titles
1. Programmer
2. Systems Analyst
3. Information Officer
4. Security Officer
5. Network Administrator
6. Database Administrator
7. Help Desk Support
8. Technician
9.Trainer & Teacher
10.Web Designer&Developer
เรียบเรียงจาก unh.edu
|
|
1.1 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
1. นักเรียนประถม เช่น โรงเรียนอนุบาลลำปางสอนนักเรียนพัฒนาโฮมเพจ ส่งนักเรียนไปแข่งควบคุมหุ่นยนต์ สร้างอีบุ๊คด้วย Flip Publisher
2. นักเรียนมัธยม มีวิชาที่ทาง สสวท บรรจุเข้าไปในหลักสูตร เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ตารางทำงานและการประยุกต์เบื้องต้น, ตารางทำงานและการประยุกต์ขั้นสูง, การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น, การจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง, หลักการเขียนโปรแกรม, การเขียนโปรแกรมภาษา และพัฒนาโฮมเพจ
3. อาชีวศึกษา ก็มีทั้ง ปวช. ปวท. ปวส.
4. ปริญญาตรี หรือสูงกว่า เปิดสอนอย่างหลากหลาย
4.1 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education)
4.2 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
4.3 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
4.4 หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
4.5 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
4.6 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
4.7 หลักสูตรระบบสารสนเทศ (Information System)
1.2 อาชีพนักคอมพิวเตอร์อาจแยกได้เป็นกลุ่ม 6 กลุ่ม
เรียบเรียงจาก หนทางสู่อาชีพนักคอมพิวเตอร์ หน้า 22 โดย ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์
1. กลุ่มปฏิบัติการ (Operation Group)
2. กลุ่มพัฒนาระบบ และโปรแกรม (Developer Group)
3. กลุ่มบริหารงานคอมพิวเตอร์ (Administration Group)
4. กลุ่มช่างคอมพิวเตอร์ (Technical Group)
5. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจคอมพิวเตอร์ (Business Group)
6. กลุ่มผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ (Teacher Group)
1.3 องค์กรหาบุคลากรคอมพิวเตอร์ได้จากที่ไหน
เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 33 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์
วิธีแรก : มองหาบุคลากรจากภายในหน่วยงาน บางคนอาจอยากเปลี่ยนงาน เพราะท้ายทายกว่า
วิธีที่สอง : จ้างผู้ที่ศึกษาคอมพิวเตอร์จากสถาบันการศึกษา
1. สาขาประมวลผลข้อมูล และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Data processing และ Business Computer)
2. สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
3. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
4. สาขาระบบสารสนเทศ (Information Systems)
5. สาขาครูคอมพิวเตอร์ (Computer Education)
6. สาขาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
7. ผู้ที่ผ่านการอบรมระยะสั้น (Trainning course)
| |
2. มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แล้วไปทำอะไรได้บ้าง
การสำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นว่าตองทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก บางคนอยู่กับบ้านก็ทำงานได้ คือทำอาชีพอิสระไป หรือรับเขียนโปรแกรมอยู่กับบ้านก็ยังมี หรือจะเปิดร้าน Internet cafe ก็ยังมีกันมากมาย .. สรุปว่าจบคอมพิวเตอร์แล้ว มีอาชีพรองรับมากมาย หลายอาชีพไม่ต้องทำคอมพิวเตอร์เป็นก็ยังได้ เช่น เลขาฯ หรือธุรการเป็นต้น ขอพิมพ์ word เป็นก็ ok แล้ว
อาชีพของนักคอมพิวเตอร์
แบบที่ 1 : เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์, Programmer, System Analyst, IT Director, CIO #
แบบที่ 2 : ดูแลระบบบริการ ความปลอดภัย เครือข่าย หรือ Hardware Maintenance
แบบที่ 3 : เปิดร้าน Internet หรือร้านขายคอมพิวเตอร์
แบบที่ 4 : Graphic Creator, Special Effect หรือ Multimedia
แบบที่ 5 : ครู อาจารย์ หรือติวเตอร์
แบบที่ 6 : ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต เช่น e-Commerce, e-Learning, e-Service
2.1 วิธีเลือกบุคลากรที่เหมาะสม
เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 37 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์
1. ควรให้มีการสอบข้อเขียน (เพื่อวัดว่าจะทำงานได้หรือไม่)
2. ควรพิจารณาพื้นฐานการศึกษาของผู้สมัคร (ดูลักษณะหลักสูตร)
3. ควรพิจารณาหลักฐานการศึกษา (ดูคะแนน)
4. ควรสอบถามเรื่องการย้ายงานบ่อย (ว่าอยู่แต่ละงาน นานหรือไม่)
5. ควรให้ผู้สมัครเล่าผลงานให้ฟังว่าเคยทำอะไรมาบ้าง (ดูพฤติกรรม และทัศนคติ เช่นนินทาหรือหักหลังหรือไม่)
2.2 วิธีพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์มีกี่แบบ
เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 113 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์
1. ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จมาใช้
2. ให้ฝ่ายศูนย์คอมพิวเตอร์สร้างเอง
2.1 สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป
2.2 สร้างต้นแบบ
3. ให้ฝ่ายผู้ใช้สร้างเอง
4. จ้างบริษัทซอฟต์แวร์ให้ช่วยจัดทำระบบให้
2.3 วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ (SDLC = System Development Life Cycle)
อ้างอิงจาก http://www.thaiall.com/casereg
1. ทำความเข้าใจปัญหาในระบบเดิม (Problem recognition หรือ Problem Definition)
2. การศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาระบบ (Feasibility Study)
3. ทำความเข้าใจระบบที่ใช้อยู่เดิม (Understading Existing System)
4. ออกแบบระบบใหม่ (System Design)
5. การพัฒนาระบบ (System Construction)
6. การติดตั้งระบบใหม่ หรือนำมาใช้จริง (Conversion and Installation)
7. การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)
2.4 ผู้บริหารควรมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาระบบงาน
เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 117 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์
1. ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังเงิน และกำลังใจ
2. ต้องกำหนดสิ่งต้องการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบที่ถูกทิศทาง
3. ต้องกล้าตัดสินใจ ให้มีการเปลี่ยนแปลง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านปฏิบัติ และตัวบุคคล
4. ต้องเข้าใจว่าอะไรที่คอมพิวเตอร์ทำได้ และอะไรที่ทำไม่ได้
5. ต้องตอบสนอง และพิจารณาความคิดเห็น ของนักคอมพิวเตอร์อย่างตรงไปตรงมา และทันการณ์
| |
3. เป้าหมายในชีวิตของนักคอมพิวเตอร์
ทุกคนต่างมีเป้าหมายในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น (แม้หลาย ๆ คนจะบอกว่าไม่มีความหวังอะไรเลย ผมก็ยังเชื่อว่าสักวันก็ต้องมี) แต่น้อยคนที่จะพบเป้าหมาย ที่คาดหวังไว้ในตอนแรก เมื่อก่อนสำเร็จการศึกษา เราจะมีเป้าหมายแบบหนึ่ง แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว น้อยคนที่จะพบงานที่ถูกใจ หรือได้งานที่ถูกใจแล้ว เป้าหมายที่คาดหวังไว้ ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เพียงเอื้อม ทุกคนต้องใช้เวลาด้วยกันทั้งนั้น
เป้าหมายแรก ของนักเรียนจบใหม่ คือ ต้องให้ได้งาน .. บ่อยครั้ง งานที่ได้นั้นไม่ถูกใจ เหตุการณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้คนส่วนใหญ่ จะต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ คือการใช้ชีวิตบนโลกมนุษย์แห่งนี้ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง เช่น ครึ่งปี หรือ 1 ปี จะเริ่มปรับตัว และรู้ว่าอะไรเป็นอะไร และที่สำคัญ นักเรียนเริ่มมีประสบการณ์ในการทำงาน รู้ว่าชีวิตการทำงาน คืออะไร หลายคนเริ่มมองหางานใหม่ โอกาสใหม่ ๆ และเงินเดือนในองค์กรใหม่ที่สูงขึ้น รวมถึง เป้าหมายใหม่ในชีวิต .. คนมากมาย หยุดการเปลี่ยนงานในงานที่ 2 นี้เอง เพราะ งานแรกคือความจำเป็น แต่งานที่สองคือความสมัครใจ
3.1 ความเป็นมืออาชีพ
เรียบเรียงจาก หนทางสู่อาชีพนักคอมพิวเตอร์ หน้า 49 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์
อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ ต้องใช้สมอง และใช้สติปัญญาค่อนข้างมาก ซึ่งมีชี้เฉพาะลงไปที่งานเกี่ยวกับข้อมูล ข่าวสาร นับตั้งแต่การรับข้อมูล ประเมิน จัดเรียง จัดเก็บ สืบค้น จัดทำผลลัพธ์เผยแพร่ หรือผู้ทำงานที่ใช้สมองก็คือ ผู้ที่ทำงานกับตัวเลข ข้อความ และสัญลักษณ์ มากกว่าทำงานกับวัตถุสิ่งของ ทำงานกับนามธรรม มากกว่ารูปธรรม
วี.สไตบิก เขียนไว้ในหนังสือ "เครื่องมือของจิตใจ" กล่าวถึงส่วนประกอบสำคัญของงานใช้สมอง ไว้หลายข้อดังนี้
1. งานจัดระบบ วางแผน และทำบัญชีส่วนตัว
2. งานจัดการสารสนเทศ (เช่น รู้จักแสวงหาข้อมูลอ้างอิง หรือรู้จักการสืบค้นข้อมูล)
3. การใช้ระบบประมวลผลคำ (เช่น เขียนจดหมาย บันทึก ผังงาน)
4. การคำนวณ
5. งานจัดทำภาพกราฟิก
6. การสื่อสาร
7. งานอื่นตามลักษณะอาชีพ
3.2 ข้อคิดหลังสำเร็จการศึกษา
การสำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นว่าต้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์
แต่ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก บางคนอยู่กับบ้านก็ทำงานได้ คือ ทำอาชีพอิสระไป หรือรับเขียนโปรแกรมอยู่กับบ้านก็ยังมี
หรือจะเปิดร้าน Internet cafe ก็ยังมีกันมากมาย .. สรุปว่าจบคอมพิวเตอร์แล้ว
มีอาชีพรองรับมากมาย หลายอาชีพไม่ต้องทำคอมพิวเตอร์เป็นก็ยังได้ เช่น เลขาฯ หรือธุรการ เป็นต้น
ขอพิมพ์ word เป็นก็ ok แล้ว ลองหาอาชีพที่เหมาะสมได้ที่ เว็บไซต์หางานไทยจ๊อบดอทคอม
ข้อคิดโดย Arvinder Kalra (Jack)
| |
4. โลกของคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน
นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 เริ่มเรียนการพัฒนา Homepage เพราะครูเริ่มบรรจุ เข้าไปในหลักสูตร หลาย ๆ คนเริ่มเขียน CGI และคิดดูสิครับ อีก 6 ปี จึงจะจบมัธยมปลาย และอีก 4 ปีกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา นักเรียนประถมเหล่านี้มีเวลาถึง 10 ปี ที่จะก้าวสู่โลกของนักคอมพิวเตอร์ เมื่อหันกลับมามองตัวเราว่า เรามีเวลาศึกษาหาความรู้อีกเท่าใด และมีปัจจัยอะไรส่งเสริม ให้เราเรียนรู้ เทคโนโลยีรอบตัวเราอยู่บ้าง (หลายคนอาจไม่มีเหตุผลที่จะเรียนรู้) หรือจะรอให้เด็กรุ่นหลัง มาบอกว่า เราควรจะเรียนรู้อะไรต่อไป จึงจะเป็นนักคอมพิวเตอร์ในสังคม เทคโนโลยี ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ .. ผมคงเป็นคนหนึ่งที่จะไม่รอเวลานั้น แต่จะขอก้าวไปพร้อม กับเทคโนโลยี ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างรอบตัว เท่าที่จะทำได้ .. เพราะรู้ว่าพัฒนาการของเด็กประถมนั้น เร็วเพียงใด (ผมก็มีลูก ผมรู้ดี)
หลาย ๆ คน ถามว่าเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างเลยหรือ? คงเป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาทุกอย่าง ผมเองก็เป็นผู้เรียนรู้ และศึกษาหลาย ๆ เรื่อง สิ่งที่ผมศึกษา คือสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และไม่ยากจนเกินไป หากจะแนะนำท่านว่า จะศึกษาเรื่องอะไรดี ก็คงต้องบอกว่า ศึกษาทุกเรื่องที่ท่านสนใจ ที่มีแหล่งให้ศึกษาหาความรู้ได้โดยง่าย
มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าศึกษามากมาย (เพื่อเตรียมตัวไว้ให้พร้อมกับ 10 ปีข้างหน้า .. ส่วนผมกำลังศึกษาอยู่ครับ) เช่น
- เขียนเว็บเพจ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์เช่น html, perl, php, asp, asp.net, jsp, ruby, mysql เป็นต้น
- ศึกษาโปรแกรมประยุกต์ให้มากที่สุด เพื่อนำมาประยุกต์ในเหตุการณ์ที่เหมาะสม (ถ้าพัฒนาทุกโปรแกรม .. คงเป็นเรื่องยาว)
- ศึกษาการสร้างภาพ Graphic ด้วยโปรแกรม เช่น Photoshop, Animation 3D หรือ 3D studio เป็นต้น
- ศึกษา OS ทุกตัวที่มีโอกาส เพื่อหาจุดเด่น มาใช้ประโยชน์ เช่น Windows, Mac, Linux เป็นต้น
- บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง หรือเรื่องรอบตัว เพราะไม่มีใครจดจำทุกอย่าง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้หมด
- ศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น VB, Java, Delphi, C, Fox.., Pascal, Cobol, Qbasic, Clipper, Assembly, RPG เป็นต้น
- ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Video conference, Voice mail, Real media server, Service server, E-Commerce เป็นต้น
- ศึกษา Hardware อย่างน้อย เปลี่ยน harddisk เป็นก็ยังดี เช่น ซ่อมถอดประกอบเครื่อง รู้จักใช้อุปกรณ์ และ Hardware ใหม่
4.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการแข่งขันได้อย่างไร
เรียบเรียงจาก คอมพิวเตอร์หนึ่งนาที หน้า 24 โดย อ.ครรชิต มาลัยวงศ์
1. เพื่อภาพพจน์ ว่าเป็นองค์กรที่ก้างหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. เพิ่มปริมาณ และคุณภาพของการผลิต
3. เพิ่มบริการทั้งด้านเวลา และสถานที่
4. เพิ่มจำนวนลูกค้า และการซื้อขาย
5. เพิ่มสมรรถนะในการตัดสินใจของผู้บริหาร
| |
5. เปรียบเทียบเงินเดือน ราชการ และเอกชนบางแห่ง
ข้อมูลเงินเดือนปี 2550
อ้างอิงจาก http://www.mof.go.th/salary/sal_rate.htm (2550-05-19)
ตัวเลขข้างล่างนี้ไม่แน่นอน แตกต่างไปตามหน่วยงาน จังหวัด ประสบการณ์ นโยบายขององค์กร และที่ให้ข้อมูลไปนี้ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงในเบื้องต้น เท่านั้น
วุฒิการศึกษา | องค์กรเอกชนในเมืองหลวง | องค์กรเอกชนนอกเมืองหลวง | ราชการ(อย่างไม่เป็นทางการ) |
ม.6 หรือ ปวช | 8,000 | 4,600 | 4,700 |
ปวท หรือ ปวส | 10,000 | 5,500 | 5,180 |
ปริญญาตรี | 15,000 | 6,900 | 6,360 |
ปริญญาโท | 20,000 | 9,300 | 7,780 |
ข้อมูลเมื่อปี 2550 ที่เอกชนกับราชการเหลื่อมล้ำกันมาก แต่ปัจจุบันเงินเดือนราชการสูงกว่าเอกชนในต่างจังหวัดอย่างชัดเจน |
ข้อมูลเงินเดือนปี 2558
ที่ นร. ๑๐๑๒.๒/ว ๗
หนังสือจาก สำนักงาน ก.พ. เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ถึง กระทรวง กรม จังหวัด
เมื่อ 25 พฤษภาคม 2558
| |
|