บทความนี้เขียนขึ้น เพื่อนำเสนอวิธีการเดินสาย fiber optic และรายละเอียด ตามที่บริษัท Lalas เสนอมา หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องของ Fiber Optic บ้าง (หากมีอะไรผิดพลาดโปรดชี้แนะด้วย)
รูปแบบลักษณะการเชื่อมต่อของเครือข่าย (Network topology) เป็นลักษณะการเชื่อมภายในระบบเครือข่าย ซึ่ง Topology ขั้นพื้นฐานของเครือข่ายมี 4 ประการคือ Bus topology, Ring topology, Star Topology และ Switched topology
ถ้าเป็นการบ้าน ท่านคิดว่า จากรายละเอียดที่มีให้ ท่านจะคิดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครือข่าย FiberOptic และ UTP ภายในอาคารเท่าใด .. ใบ้ให้ว่าไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน .. แต่ถามว่าถ้าเป็นท่าน แล้วจะคิดค่าใช้จ่ายตาม specification ตามนี้เท่าใด รายละเอียดขอบข่ายการติดตั้งสายใยแก้วนำแสง (OPTIC FIBER CABLE) ภายในวิทยาลัยโยนก ระหว่างอาคารบริหารธุรกิจ ไปหอพัก อาคารนิเทศศาสตร์ และอาคารอเนกประสงค์ ซึ่งเสนอโดย ตั้งอยู่ที่ 70/21 ซอยอินทามาระ 3 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 คุณณรงค์ กฤช โควินทวงศ์ (Narongkrit Cowinthawong) - Product Marketing Manager - Tel.279-7337, 618-3168, 618-3184, 9462202-3 Fax.66-2-6183182 Mobile.01-6202602 1. กำหนดใช้สายใยแก้วนำแสง (OPTIC FIBER CABLE) ขนาด 6 Core มี Steel Tape Armoured แบบ Multimode ผลิตมา เพื่อใช้งานสำหรับติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Type) ขนาดของ Core/Cladding เป็น 62.5/125 Micron จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้ 1.1 เส้นทางที่ 1 ติดตั้งสายใยแก้วนำแสงจากอาคารบริหาร ชั้น 3 ห้องคอมพิวเตอร์ ไปอาคารนิเทศศาสตร์(อาคาร 4) ชั้น 2 ความยาวประมาณ 350 จำนวน 1 เส้น 1.2 เส้นทางที่ 2 ติดตั้งสายใยแก้วนำแสงจากอาคารนิเทศศาสตร์(อาคาร 4) ชั้น 2 ไปอาคารศิลปศาสตร์ (อาคาร 10) ห้องสมุด ชั้น 2 ความยาว ประมาณ 310 เมตร จำนวน 1 เส้น 1.3 เส้นทางที่ 3 ติดตั้งสายใยแก้วนำแสงจากอาคารบริหาร ชั้น 3 ห้องคอมพิวเตอร์ ไปหอพักหญิง (หอ 2) ชั้น 3 ความยาวประมาณ 325 เมตร จำนวน 1 เส้น 1.4 เส้นทางที่ 4 ติดตั้งสายใยแก้วนำแสงจากหอพักหญิง(หอ 2) ชั้น 3 ไป หอพักชาย (หอ 1) ชั้น 3 ความยาวประมาณ 100 เมตร จำนวน 1 เส้น 2. รายละเอียดการติดตั้งการเดินสายใยแก้วนำแสง(OPTIC FIBER CABLE) ระหว่างอาคาร 2.1 เส้นทางที่ 1 เดินสายใยแก้วนำแสงจาก RACK 19 นิ้ว เดิม จากห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 3 อาคารบริหาร ไปอาคารนิเทศศาสตร์ (อาคาร 4) ในส่วนภายนอกอาคารกำหนดให้เดินสายใยแก้วนำแสงเริ่มจากมุมอาคารบริหารไปตามแนวทางเดินผ่านสันเขื่อนริมอ่างเก็บน้ำ อ้อมไป ด้านหลังอาคารนิเทศศาสตร์(อาคาร 4) โดยผู้รับจ้างต้องจัดหา HAND HOLE จำนวน 4 ชุด เพื่อความสะดวกในการลากสาย ตามรายละเอียดในแบบที่แนบมา ไปสิ้นสุดที่ Rack 19 นิ้ว 15 U ใหม่ ภายในห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 กำหนดให้เดินสายใยแก้วนำแสงภายในท่อ PVC สีเหลืองหนา Class 2 ขนาด 3 นิ้ว ฝังดินตลอดความยาวสาย มีความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร 2.2 เส้นทางที่ 2 เดินสายใยแก้วนำแสงจาก RACK 19 นิ้ว เดิม จากห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 2 อาคารนิเทศศาสตร์(อาคาร 4) ไปยัง Rack 19 นิ้ว 15 U ใหม่ เช่นเดียวกัน บริเวณห้องสมุด ชั้น 2 อาคารศิลปศาสตร์(อาคาร 10) กำหนดให้เดินสายใยแก้วนำแสงภายในท่อ PVC สีเหลือง หนา Class 2 ขนาด 3 นิ้ว ฝังดินตลอดแนวความยาวสายมีความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ตลอดแนวสาย ยกเว้นในช่วงที่ใช้แนวเสาไฟฟ้าด้านหลังอาคารเดิม กำหนดให้เดินแขวนตามแนวเสาไฟฟ้านั้น ผู้รับจ้างต้องทำ Riser Pole ช่วงขึ้นและลงเสาไฟฟ้าโดยใช้ท่อเหล็กขนา 3 นิ้ว และมี CAP ป้องกันน้ำหุ้มปลายท่อ ให้ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 2.3 เส้นทางที่ 3 เดินสายใยแก้วนำแสงจาก RACK 19 นิ้ว เดิมจากห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 3 อาคารบริหารไปหอพักหญิง(หอ 2) ชั้น 3 การเดินสาย ใยแก้วนำแสงจากภายนอกอาคารกำหนดให้เดินจากมุมอาคารบริหารไป ตามแนวทางเดินภายในท่อ PVC สีเหลืองหนา Class 2 ขนาด 2 นิ้ว มีความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ลอดผ่านแนวถนน และแขวนไปตามแนวเสาไฟฟ้าเดิม จนถึงเสาไฟฟ้า หน้าหอพักหญิง, ในช่วงข้ามถนน ใช้ EXTENSION ARM เป็นตัวยึดกับอาคารหอพักหญิง ไปสิ้นสุดที่ RACK 19 นิ้ว 42 U ใหม่ บริเวณชั้น 3 ผู้รับจ้างต้องทำ RISER POLE ช่วงขึ้นเสาไฟฟ้า จำนวน 1 จุด และช่วงผ่านถนน เมื่อผู้รับจ้างขุดและวางท่อแล้ว ให้ใช้ MIXED คลุก กลบ และตบ ให้เรียบร้อยคล้ายกับสภาพเดิม 2.4 เส้นทางที่ 4 เดินสายใยแก้วนำแสงจาก RACK 19 นิ้ว 42 U ใหม่ จากชั้น 3 หอพักหญิงไปหอพักชาย สิ้นสุดที่ RACK 19 42 U ใหม่ ที่บริเวณชั้น 3 เช่นเดียวกัน แนวสายใยแก้วนำแสงในส่วนนอกอาคาร กำหนดให้เดินฝังดินภายในท่อ PVC สีเหลือง หนา Class 2 ขนาด 2 นิ้ว มีความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร 2.5 ผู้เสนอราคาต้องจัดทำแผนผังพร้อมรายละเอียดประกอบการเดินสายติดตั้งและอุปกรณ์ที่เสนอราคา 2.6 การเดินสายใยแก้วนำแสงตามแนวเสาไฟฟ้า กำหนดให้รัดสาย (Lashing) กับลวด Strand 6 M มีอุปกรณ์ยึดจับและการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 2.7 ผู้รับจ้างต้องทำการ TERMINATE ด้วยหัวต่อสัญญาณปลายสาย (ST-Connector) ทุก Core รวม 48 Core และต้องทำการทดสอบสายสัญญาณ (OTDR Test Report) เพื่อให้เห็นว่าสายใยแก้วนำแสงทุก Core สามารถใช้งานได้ตามมาตรฐานการสื่อสารข้อมูล 2.8 ที่จุดปลายสายใยแก้วนำแสงต้องมีแผงพักปลายสาย(Fiber Optic Patch Panel) แบบติดตั้งกับ RACK 19 นิ้ว 2.9 มีความยาวของสายสำรองก่อนเก็บเข้าตู้อุปกรณ์ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร 2.10 รับประกันอย่างน้อย 2 ปี ภายหลังคณะกรรมการตรวจรับ 3. สถาบันกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหา PASSIVE DEVICE ที่ติดตั้งตามอาคารต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 อาคารบริหาร 3.1.1 12 Port Fiber Optic Patch Panel จำนวน 1 ชุด 3.1.2 ST Connector, Multimode จำนวน 12 ชุด 3.1.3 OTDR Test Report จำนวน 12 ชุด 3.2 อาคารนิเทศศาสตร์(อาคาร 4) 3.2.1 19" High Quality Export Rack 15 U จำนวน 1 ชุด 3.2.2 19" High Quality Export Rack 6 U(Wall Mounted) จำนวน 2 ชุด 3.2.3 12 Port Fiber Optic patch Panel จำนวน 1 ชุด 3.2.4 ST Connector, Multimode จำนวน 12 ชุด 3.2.5 Ventilation Fan Size 4" จำนวน 2 ชุด 3.2.6 Cable Management Panel จำนวน 1 ชุด 3.2.7 AC Power Distribution 6 Outlet จำนวน 3 ชุด 3.2.8 Fix Shelve 45 Cm. Depth จำนวน 1 ชุด 3.2.9 OTDR Test Report จำนวน 12 ชุด 3.3 อาคารศิลปศาสตร์ (อาคาร 5) 3.3.1 19" High Quality Export Rack 15 U จำนวน 1 ชุด 3.3.2 19" High Quality Export Rack 6 U(Wall Mounted) จำนวน 2 ชุด 3.3.3 6 Port Fiber Optic patch Panel จำนวน 1 ชุด 3.3.4 ST Connector, Multimode จำนวน 6 ชุด 3.3.5 Ventilation Fan Size 4" จำนวน 2 ชุด 3.3.6 Cable Management Panel จำนวน 1 ชุด 3.3.7 AC Power Distribution 6 Outlet จำนวน 3 ชุด 3.3.8 Fix Shelve 45 Cm. Depth จำนวน 1 ชุด 3.3.9 OTDR Test Report จำนวน 6 ชุด 3.4 หอพักหญิง(หอ 2) 3.4.1 19" High Quality Export Rack 42 U จำนวน 1 ชุด 3.4.2 12 Port Fiber Optic Patch panel จำนวน 1 ชุด 3.4.3 ST Connector, Multimode จำนวน 12 ชุด 3.4.4 Ventilation Fan Size 4" จำนวน 2 ชุด 3.4.5 Cable Management Panel จำนวน 2 ชุด 3.4.6 AC Power Distribution 6 Outlet จำนวน 1 ชุด 3.4.7 Fix Shelve 45 Cm. Depth จำนวน 1 ชุด 3.4.8 OTDR Test Report จำนวน 12 ชุด 3.5 หอพักชาย (หอ 1) 3.5.1 19" High Quality Export Rack 42 U จำนวน 1 ชุด 3.5.2 6 Port Fiber Optic patch Panel จำนวน 1 ชุด 3.5.3 ST Connector, Multimode จำนวน 6 ชุด 3.5.4 Ventilation Fan Size 4" จำนวน 2 ชุด 3.5.5 Cable Management Panel จำนวน 2 ชุด 3.5.6 AC Power Distribution 6 Outlet จำนวน 1 ชุด 3.5.7 Fix Shelve 45 Cm. Depth จำนวน 1 ชุด 3.5.8 OTDR Test Report จำนวน 6 ชุด 4. รายละเอียดขอบข่ายการติดตั้งสาย UTP กำหนดให้ใช้ UTP Enhanced Cat 5 E Cable มีรายละเอียดการเดินสายดังนี้ 4.1 อาคารบริหาร ไม่มีการเดินสาย 4.2 อาคารนิเทศศาสตร์ (อาคาร 4) 4.2.1 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 15 U ชั้น 2 ไปยัง Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ชั้น 1 จำนวน 1 จุด 4.2.2 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 15 U ชั้น 2 ไปยัง Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ชั้น 3 จำนวน 1 จุด 4.2.3 ชั้นที่ 1 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 24 จุด 4.2.4 ชั้นที่ 2 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 27 จุด 4.2.5 ชั้นที่ 3 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 34 จุด 4.3 อาคารศิลปศาสตร์(อาคาร 5) 4.3.1 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 15 U ชั้น 2 ไปยัง Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ชั้น 1 จำนวน 1 จุด 4.3.2 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 15 U ชั้น 2 ไปยัง Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ชั้น 3 จำนวน 1 จุด 4.3.3 ชั้นที่ 1 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 26 จุด 4.3.4 ชั้นที่ 2 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 51 จุด 4.3.5 ชั้นที่ 3 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 12 จุด 4.4 หอพักหญิง(หอ 2) 4.4.1 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 42 U ไปยัง Work Station จำนวน 101 จุด 4.5 หอพักชาย (หอ 1) 4.5.1 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 42 U ไปยัง Work Station จำนวน 101 จุด 4.6 บ้านพักอธิการบดี 4.6.1 ผู้รับจ้างจัดหา Rack 19 นิ้ว 6 U (Wall Mounted) จำนวน 1 จุด 4.6.2 เดินสาย UTP จาก Rack 19 นิ้ว 42 U หอพักหญิงมายัง Rack 19 น้ว 6 U (Wall Mounted) ภายในท่อ PVC สีเหลือง หนา Class 2 ขนาด 2 นิ้ว ฝังดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร 4.6.3 เดินสายจาก Rack 19 นิ้ว 6 U (Wall Mounted) ไปยัง Work Station จำนวน 4 จุด 4.7 ปลายสาย UTP ด้าน Work Station ให้ติดตั้ง RJ-45 MODULAR PLUG OUTLET(BOX ลอย) พร้อมสำหรับใช้งาน 4.8 ปลายสาย UTP ด้าน RACK 19 นิ้ว ให้เข้าหัว RJ-45 MODULAR JACK และต้อง MARKING กำกับสายไว้ 4.9 ให้ใช้รางครอบสายสีขาว ครอบสาย UTP จากระดับฝ้าลงมาถึง RJ-45 MODULAR PLUG OUTLET ทุกจุด Active device (ประมาณ 8 แสน) อุปกรณ์ที่ต้องใช้กับระบบของ Fiber optic เพื่อเชื่อม Lan ทั้งหมดเข้าด้วยกัน 1. ES3508A : Fast Ethernet Dual-Speed Hubs with 16 10BASE-T/100BASE-TX ports 3 ชุด 2. EM3554-FX-ST : Slide-in module with 4 100BASE-FX(ST-Type) ports for ES3508A 3 ชุด 3. EM3554-TX : Slide-in module with 4 10/100BASE(RJ-45)ports for ES3508A 1 ชุด 4. EM3554-TF-ST : Slide-in module with 2 10BASE-T/100BASE-TX (RJ-45) and 2 100BASE-FX(ST-Type) ports 2 ชุด 5. EH3524A : Intelligent Fast Ethernet Dual-Speed Hub with 24 10BASE-T/100BASE-TX ports,1 Slot for SNMP Module and 1 Slot for Switch/Fiber Modules 14 ชุด 6. EH3512A : Intelligent Fast Ethernet Dual-Speed Hub with 12 10BASE-T/100BASE-TX ports,1 Slot for SNMP Module and 1 Slot for Switch/Fiber Modules 6 ชุด 7. ES3002-TF-ST : Smart Fast Ethernet Switch with 1 10BASE-T/100BASE-TX and 1 100BASE-FX(ST-Type) port 2 ชุด 8. EH3016A : Fast Ethernet Dual-Speed Hubs with 16 10BASE-T/100BASE-TX ports 1 ชุด อุปกรณ์ทั้ง 8 รายการราคาตัวที่ต่ำสุดตัวละ 10000 ตัวสูงสุดมากกว่า 30000 บาทขึ้น (ราคาไม่แน่นอนครับ ขึ้นกับค่าเงินบาท แล้วผมก็ไม่ใช่ Sale ซึ่งทาง Sale เขาห้ามผม Post ราคาลงไปด้วย) รายละเอียดอุปกรณ์อื่น ๆ
ภาพนี้ไม่ได้กำหนดจุดที่จะวางสาย เพราะต้องการใช้ภาพได้ในหลายสถานการณ์ แต่ถ้าดูจากภาพน่าจะรู้ว่าเราเดินสายไปจากตึกบริหารไปทางพอพัก 1 เส้น อีกเส้นหนึ่งจากตึกบริหารไปอาคารนิเทศศาสตร์ ถึงอาคารอเนกประสงค์ รวมเป็น 2 เส้น | |||||||||||||||
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือน .. แล้วเข้ามาใหม่นะครับ .. ยินดีต้อนรับเสมอ |