ศ.บัณฑิต กันตะบุตร ผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ของไทย
รับพระราชทานนามสกุล "กันตะบุตร"
ส
องพี่น้อง
อำมาตย์เอก พระยาราชวรัยยการ (บู่ กันตะบุตร) และ เรือโท นายแพทย์ โกศล กันตะบุตร, ร.น. พี่และน้อง ผู้รับพระราชทานนามสกุล "
กันตะบุตร
" จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2462 โดย
พระยาราชวรัยยการ (บู่ กันตะบุตร)
มีบุตรและธิดา 3 คน คือ นายบรรฦา กันตะบุตร คุณหญิงบรรเลง (กันตะบุตร) ชัยนาม และศาสตราจารย์กิตติคุณบัณฑิต กันตะบุตร ส่วน
เรือโท นายแพทย์ โกศล กันตะบุตร, ร.น.
มีบุตร 2 คน คือ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดอกเตอร์เรืองศักดิ์ กันตะบุตร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์มนตรี กันตะบุตร
ศาสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
ภาพจากหนังสือ Internet today
ศ
าสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
ผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย และเป็นผู้บุกเบิกวิชาคณิตศาสตร์ประกันชีวิตของประเทศไทย ข้อมูลจากนิตยสาร Internet Today ปีที่ 6 ฉบับที่ 66 ประจำเดือนมกราคม 2544 หน้า 7 และ
นิตยสาร Commart ฉบับที่ 77 ปักษ์แรก มกราคม 2544
ข้อมูลจากโฮมเพจ
Bundhit Kantabutra - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประวัติ
ประวัติ ของ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร 8 หน้า
ท่านเกิดเมื่อ 23 ตุลาคม 2459 ที่จังหวัดลำปาง
บิดา คือ พระยาราชวรัยยการ (บู่ กันตะบุตร)
มารดา คือ คุณหญิงบุณรอด ราชวรัยยการ
สมรสกับ อาจารย์ประภา สกุลเดิม ตัณฑ์ไพโรจน์
มีบุตร 3 คน คือ อาจารย์บุรินทร์ กันตะบุตร คุณจิตราภา (กันตะบุตร) หิมะทองคำ และ ดร.วิทิต กันตะบุตร
การศึกษา
ชั้นมัธยม จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ
B.S. จาก Far Eastern University, Philippines
M.S. จาก University of the Philippines
MBA จาก University of Chicago สหรัฐอเมริกา
ศึกษาเพิ่มเติมวิชาสถิติและคณิตศาสตร์ และวิชาเศรษฐศาสตร์จาก University of Chicago
ปฏิบัติหน้าที่ในราชการ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ในกรมตรวจเงินแผ่นดิน สำนักนายกรัฐมนตรี
แนะนำแหล่งข้อมูล
แฟนเพจ
บ้านกันตะบุตร นครลำปาง
ประวัติ
wikipedia.org
ข้อมูล
ใน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูล
ใน
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทย คือ IBM 1620
บ้านราชวรัยยการ
บ้านเก่าเล่าเรื่อง หวงแหนได้ แต่ไร้สิทธิ์
ประวัติ
IBM 1620
IBM 1401
ศ
าสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
ผู้ซึ่งนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก และเป็นผู้ริเริ่มการสอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย
ได้จากไปเมื่อวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543
ศ
าสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร เกิดที่จังหวัดลำปาง
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2459 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ท่านเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศฟิลิปปินส์ จนสำเร็จปริญญาตรี (B.S.) จาก Far Eastern University และ ปริญญาโท (M.S.) จาก The University of Philippines หลังจากนั้นท่านบินข้ามทวีป ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ the University of Chicago ได้รับปริญญา MBA เน้นหนักวิชาคณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
ร
ะหว่างที่ศาสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) พร้อม ๆ กับเป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านมองเห็นศักยภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถปฏิวัติการศึกษา และการพัฒนาประเทศไทย ท่านจึงได้หาเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ และทรัพยากรอื่น ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อจัดหา และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์สองระบบแรกของประเทศไทย คือ เครื่อง IBM 1620 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครื่อง IBM 1401 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ในปี พ.ศ.2506
สำ
หรับการสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร ได้จัดหลักสูตรสอนการเขียน Machine Language, Symbolic Language, FORTRAN และ COBOL เป็นแห่งแรกของประเทศ ที่ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัย โดยใช้เครื่อง IBM 1620 ให้นิสิตใช้เรียน และใช้วิ่งโปรแกรมได้เต็มที่ ขณะเดียวกันก็ยังมีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มาขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ทั้งเพื่อการเรียนการสอน และเพื่อการทำวิจัยมากกมาย กล่าวได้ว่า จากวิสัยทัศน์ที่ล้ำสมัยนี้ เป็นจุดเริ่มต้น ของการผลิตลุคลากรชั้นนำด้านไอที ให้กับประเทศ ซึ่งมีผลจนถึงทุกวันนี้ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่ภาควิชาสถิตินี้ ยังเปิดโอกาสให้บุคคลภาคนอก เข้ารับการอบรมด้วย จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาไอที และเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาต่อมา ส่วนเครื่อง IBM 1401 ที่ สสช. ก็ใช้ปฏิบัติงานด้านประมวลข้อมูลจำนวนมาก เช่น งานสำมโนประชากรเป็นต้น
ศ
าสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
ยังเป็นผู้บุกเบิกด้านธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิต โดยที่ท่านเและภรรยา (อาจารย์ประภา กันตะบุตร) เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันชีวิตรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ศ
าสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และรางวัลมากมาย จากการรับใช้ชาติบ้านเมือง ล่าสุดท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสามสถาบันภายในประเทศ และได้รับ Professional Achievement Citation จากสมาคมศิษย์เก่าแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ศาสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร ไดัรับยกย่องให้เป็น
บิดาของวิชาสถิติ
และ
ผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย และเป็นผู้บุกเบิกวิชาคณิตศาสตร์ประกันชีวิตของประเทศไทย
ศ
าสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร
มีภรรยา คือ อาจารย์ประภา กันตะบุตร ซึ่งท่านก็เป็นนักคณิตศาสตร์เช่นเดียวกับสามี และสืบตระกูลโดยบุตรชายสองคน คือ
คุณบุรินทร์ และดร.วิฑิต และบุตรสาวคนเดียวคือ คุณจิตราภา หิมะทองคำ
ประวัติภาษาอังกฤษ
Professor Bundhit Kantabutra's Biography
ภาพความทรงจำ
ภาพจากโฮมเพจของ
ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร
ขณะศึกษาที่ฟิลิปปินส์
ภาพคู่กับอาจารย์ประภา กันตะบุตร
ประชุมกับนักวิชาการ
ทำงาน
นักวิชาการ
ประชุมกับนักวิชาการ
Prof. Bundhit Kantabutra giving one of his many speeches.
Stat Chula Gathering on 18 August 2544
สารสถิติ : ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับงานสถิติ
อาคารบัณฑิต กันตะบุตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ
าสตราจารย์กิตติคุณบัณฑิต กันตะบุตร
เป็นผู้บุกเบิกงานรากฐานสำคัญของไทยหลายด้านด้วยกัน คือ เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาสถิติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเลขาธิการผู้ก่อตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นผู้นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ๒ เครื่องแรกเข้ามาใช้งานสำมะโนประชากร เพื่อรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ และใช้สอนนิสิตที่ภาควิชาสถิติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ผลิตบุคลากรด้านสถิติ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและประกันภัย ให้แก่ประเทศมาอย่างต่อเนื่อง
ด้
านความเป็นครู
เนื่องจากศาสตราจารย์กิตติคุณบัณฑิต กันตะบุตร ใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาอย่างยาวนานจึงซึมซับวัฒนธรรมอเมริกันและอยากให้นิสิตได้เรียนรู้ จึงได้ริเริ่มกิจกรรมเสริมหลายอย่างให้แก่นิสิตที่ภาควิชาสถิติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น การสอนให้พูดภาษาอังกฤษในที่สาธารณะ การดื่มน้ำชาแบบฝรั่ง การตีกอล์ฟ ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการเข้าสังคม ซึ่งส่งผลดีต่อหน้าที่การงานในอนาคต
ศ
าสตราจารย์กิตติคุณบัณฑิต กันตะบุตร
เป็นบุตรชายคนเล็กของอำมาตย์เอก พระยาราชวรัยยการ อัยการมณฑลพายัพและคุณหญิง (บู่และบุญรอด กันตะบุตร) ถือกำเนิดที่จังหวัดลำปาง ด้วยคุณงามความดีที่ได้กระทำมาตลอดชีวิต จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ถึงแม้ว่าได้ออกจากราชการมาแล้วหลายสิบปี ซึ่งหากเป็นสมัยโบราณท่านก็จะเป็น "พระยาพานทอง" คือ พระยาระดับสูงที่มีพานทองเป็นเครื่องประดับยศ
รำลึกนึกถึงพระคุณท่าน
ศุ
กร์ที่ 14 ธ.ค.2544 จัดงาน
1 ปี รำลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ บัณฑิต กันตะบุตร
วัตถุประสงค์
เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ บัณฑิต กันตะบุตร ในการพัฒนา วิชาการทางสถิติคอมพิวเตอร์ และประกันภัยอย่างต่อเนื่อง ภาควิชาสถิติขอเรียนเชิญศิษย์เก่าทุกท่านร่วมรำลึกถึง ศาสตราจารย์กิตติคุณ บัณฑิต กันตะบุตร และบริจาค สมทบกองทุนศาสตราจารย์กิตติคุณ บัณฑิต กันตะบุตร เพื่อนำไปจัดตั้ง Chaired Professorship สาขาสถิติ และให้ทุนการศึกษาแก่นิสิต รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของภาควิชาสถิติ และพบปะสังสรรค์ระหว่างคณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และผู้ร่วมวงวิชาชีพเดียวกัน
http://stat.acc.chula.ac.th/alumni_event_detail.php?ae-id=12
ทีมงาน thaiall.com ขอชื่นชม และขอแสดงความนับถือ ต่อท่านผู้มีคุณต่อประเทศชาติ
ผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย
และ ผู้บุกเบิกวิชาคณิตศาสตร์ประกันชีวิตของประเทศไทย
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือน แล้วเข้ามาใหม่นะครับ
ยินดีต้อนรับเสมอ